ที่มา:
http://www.siamintelligence.com/sixth-industrialization-1x2x36/
อุตสาหกรรมขั้นที่ 6 คือแนวคิดของญี่ปุ่นในปี 2010 เป็นการทำให้เกษตรกรกลายมาเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเองโดยชุดคิด sixth’ industrialization ด้วยสูตร 1x2x3x=6 1. เกษตร 2.การผลิตและแปรรูป 3. การตลาด เริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกแล้วนำมาแปรรูปสินค้าและหาช่องทางจำน่ายตามความต้องการของตลาด และหากขาดขั้นตอนใดไปทุกอย่างจะมีค่าเท่ากับ 0 โดยวงจรทั้งหมดจะเริ่มจากภาคเกษตรเป็นหลัก
สาเหตุที่ทำให้เกิดแนวคิด Sixth-Order Industry
เนื่องจากปี 2003 GDP ของญึ่ปุ่นอยู่ที่ 154.6 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมอาหาร 25.6 ล้านล้านบาท ในขณะที่ภาคเกษตรมีมูลค่าเพียง 3.2 ล้านล้านบาท ดังนั้นแนวคิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมขั้นที่ 6 “sixth ” industrialization จึงเกิดขึ้น จุดประสงค์คือการเพิ่มรายได้ให้กับภาคเกษตร โดยการเพิ่มมูลค่าสินค้าแก่เกษตร การทำประมง และการฟื้นฟูชนบท โดยการยกระดับขีดความสามารถของภาคเกษตรและอุตสาหกรรมในท้องถิ่น และยังเป็นการสร้างโอกาศให้กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องด้วยประชากรภาคเกษตรในญี่ปุ่นประมาณ 1.8 ล้านคน ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีจำนวนมากถึง 60 %
ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นบริโภคผลิตภัณฑ์การเกษตรโดยตรงเพียงแค่ 20.7 % ของภาครวมทั้งหมด ซึ่งมีอัตราส่วนที่น้อยกว่าภาคแปรรูป( 26.0% และภาคบริการ (27.6%)ทางเกษตรนั้นยังจำกัดเฉพาะในด้านของภาคการผลิตทางเกษตรไม่มีข้อเกี่ยวโยงกับ ภาคอุตสาหกรรม และหากเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นระะหว่างปี 1960 กับปี 1990 สัดส่วนตลาดของภาคเกษตร มีแนวโน้มลดลงเป็นอย่างมาก จาก 41 % ในปี 1960 เหลือ 20 % ในปี 1990 แต่ในทางกลับกัน ในภาคแปรรูป และการบริการมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น
การสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐและเอกชน
การรวมกลุ่มของอุตหสาหกรรมขั้นที่ 6 Sixth-Order Industry เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ชนบทเพื่อสนับสนุนภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมการแปรรูป และภาคการตลาดการจำหน่าย ตลอดจนการขนส่ง ทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้ทำให้เกิดเป็น “Agi-Business” ในชุมชน
หน่วยงานที่ส่งเสริมแนวคิดนี้คือ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) โดยการตั้งกองทุนพัฒนาทางการเกษตร มีความร่วมมือจากทั้งสุถาบันการเงิน ภาคเอกชน และหน่วยงานท้องถิ่น สนับสนุนการวางแผนของกลุ่ม ให้เกษตรกรกู้ยืมเงินในการพัฒนาด้านการเกษตรโดยไม่คิดดอกเบี้ย(ไม่เกิน 50 ล้านเยน/บุคคล และไม่เกิน 150 ล้านเยน/กลุ่มเกษตรกร)
สนับสนุนด้านการเงินเพื่อการลงทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาระบบให้ความสะดวกในการทำธุรกรรมกับหน่วยงานของรัฐ การเพิ่มช่องทางการจำหน่าย และการประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันญี่ปุ่นมีกลุ่มที่ดำแนนแผนธุรกิจจำนวน 1,690 แผนงาน โดยแบ่งเป็นกลุ่มผัก (32%)ผลไม้(18.5%) ข้าว12 (%) เนื้อสัตว์(11.5%)
แนวคิดของอุตสาหกรรมขั้นที่ 6 ที่จะส่งผลให้เกิดโอกาศทางธุรกิจในด้านต่างๆ
- การสร้างตลาดของสินค้าเกษตรที่ครบวงจร ด้านการผลิต แปรรูปและบริการ
- เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง
- สามารถเชื่อมต่อระหว่างเมือง และชุมชน โดยผ่าน Greem TOURISM
- เกิดเป็นชุมชนชน Agri-Business
- เกิดการสร้างงานสำหรับสุภาพสตรี
- การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายผู้ผลิตการเกษตร
- การเกิดธุรกิจการเกษตรที่หลากหลาย
ภาคเกษตรสามารถรับรู้ถึงความต้องการของผู้บริโภค และสามารถผลิตสินค้าตามความต้องการได้ ซึ่งแตกต่างจากการที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้นั้นจะต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการการรวบรวมข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข่าวสารต่างๆเพื่อนำมาวิเคราะห์หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิตและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บริการใหม่ๆ และอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ด้านการตลาด การบริหารจัดการ ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเกษตรเสมอไป
รูปแบบการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม(Food Industry Cluster ) ด้วยแนวคิดอุตสาหกรรมขั้นที่ 6 และห่วงโซ่คุณค่า( Value chain)
1.
การบริหารจัดการ การรวมตัวกันของกระบวนการด้านการจัดการผลิตผลไปสู่การแปรรูปและจำหน่ายเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งกระบวนการผลิตและการตลาด
2.
การเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม การแลกเปลี่ยนแนวทางกลยุทธ์ให้กลุ่มผู้เข้าร่วมแทนการให้เพียงความรู้และเทคโนโลยี และสร้างโอกาศความร่วมมือกันในการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร
3.
การสร้างห่วงโซ่คุณค่า การสร้างความสัมพันธ์ของธุรกิจ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ขยายไปสู่ผู้บริโภคปลายทาง
4.
วิธีการใหม่ในการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม การใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสร้างรายได้ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากชุมชนในท้องถิ่น
ความมีประสิทธิภาพของกลยุทธฺ์ในการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม พิจารณาจากภาคการผลิตและการกระจายสินค้า สามารถทำกำไรในส่วนของการผลิตเพื่อที่จะขยายฐานการผลิต สามารถการดำเนินธุรกิจของแต่ละกลุ่ม สร้างโอกาศในการรวมกลุ่ม แบ่งปันผลกำไรระหว่างส่วนกลางและส่วนอื่นๆในกลุ่มการเลือกกลุ่มพื้นที่ธุรกิจเป้าหมาย การรวมกลุ่มกับผู้ประกอบการอาหาร
เกษตรกรต้องสร้างธุรกิจใหม่จากการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น การเพิ่มบริมาณการบริโภคสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น และส่งเสริมแผนธุรกิจ โดยการเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างความร่วมมือระหว่างภาคการเกษตร -ธุรกิจการค้า-ภาคอุตสาหกรรม เพื่อความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกว่าการซื้อขายแบบปกติทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้เกิดการสร้างผลิตภัทฑ์ และบริการใหม่ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นและเกิดการจ้างงานในท้องถิ่น
ข้อกำหนดสำหรับผู้ผลิตสินค้าภาคเกษตรจำเป็นต้องนำไปปฎิบัติ
- การพัฒนาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยการนำไปแปรรูป มีการใช้วัตถุดิบเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 90%
- การประยุกต์ใช้วิธีการจำหน่ายรูปแบบใหม่มาปรับปรุงวิธีการจำหน่ายในปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด เช่นช่องทางการขายตรง การจำหน่ายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต
-ปรับปรุงวิธีการผลิตตามที่ได้กล่าวมา ซึ่งเป็นการใช้กระบวนการผลิตแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และมีผลให้ราคาเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า ในขณะที่การจำหน่ายเป็นวัตถุดิบ อาจได้ราคาเพิ่มขึ้นเพียง 2 เท่า
การเพิ่มมูลค่าสินค้า
การเพิ่มมูลค่าสินค้าเป็นเรื่องที่ท้าทายของผู้ผลิต เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความต้องการด้านคุณภาพ แหล่งเพราะปลูกและการแข่งขันด้านราคาในตลาด การเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรด้ายการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยลดอิทธิพลจากปัจจัยทางการตลาด อย่างไรก็ดีต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคด้วย ประกอบไปด้วย คุณภาพ การแปรรูป ความสดใหม่ ความปลอดภัยด้านอาหาร การมีสินค้าอย่างสม่ำเสมอ
ตัวอย่างอุตสาหกรรมขั้นที่ 6
- ผลิตภัณฑ์กีวีอบแห้ง จากผลกีวีที่มีขนาดเล็กผลเล็กเกินไป ถูกคัดออกจากเกรดที่ขยายผลสด และนำมาทำแห้งโดยมีการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการแปรรูป ผลิตภัตภัณฑ์ได้รับความสนใจและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในกรุงโตเตียว
- ผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ จากผลไม้ที่สุกก่อนการเก็บเกี่ยว เนื่องจากผลไม้มีระยะการสุกไม่พร้อมกัน จะมีผลไม้ส่วนหนึ่งสุกมากเกินกว่าจะเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปขายสดได้ จึงถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ชนิดต่างๆ
- การทำสวนผักอินทรีย์ ปลูกผักปลอดสารพิษ และเปิดร้านอาหารในบริเวณเดียวกัน ทำให้ลูกค้าสามารถเห็นบรรยากาศของฟาร์มนอกจากการรับประทานอาหาร ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่า และสามารถกำหนดราคาให้สูงได้
ตัวอย่างรูปแบบการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมตามแนวคิด Sixth-Order Industry
Wagoen ธุรกิจเกี่ยวกับผักแปรรูปชนิดต่างๆ เช่นผักแช่เยือกแข็ง ผักตัดแต่ง มีการนำของเสียจากกระบวนการตัดแต่งผักมาใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนผลิตภัณฑ์มีการจำหน่ายไปยังร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายสำหรับประกอบเมนูต่างๆ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือไปยังต่างประเทศ เพื่อเป็นฐานในการผลิตสินค้าด้วย แต่อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากค่าขนส่งมีราคาแพง
Nagai Farm เป็นการทำเกษตรแบบผสมผสานระหว่างปลูกข้าวและฟาร์มโคนม ฟางที่ได้หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวจะนำไปเป็นอาหารให้โคนม และนำไปปูพื้นโรงเลี้ยงโคนม จากนั้นจะนำฟางที่เปื้อนมูลโคไปทำการหมักที่โรงปุ๋ยของฟาร์มร่วมกับแกลบ เมื่อหมักจนได้ที่แล้วจะนำไปใช้ในนาข้าว
ส่วนนมสดที่รีดได้จากโคนมจะนำมาผลิตเป็นไอศครีม มีการนำข้าวและข้าวเหนียวที่ปลูกมาทำเป็นข้าวเกรียบและโมจิจำหน่ายเป็นต้น การแปรรูปนมสดเป็นไอศรีมนั้นทางบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเอง ส่วนการแปรรูปข้าวเป็นข้าวเกรียบ บริษัทจะจ้างผู้ประกอบการเฉพาะทางเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนการจำหน่ายบริษัทได้เปิดร้านขายไอศรีมในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น และนำสินค้าอื่นๆของบริษัทไปจำหน่ายในร้าน และยังมีการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยเช่นกัน
ในขณะที่ปัญหาของเกษตรกรไทยภาคการเกษตรกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และสินค้าทางการเกษตรมีมูลค่าต่ำ ที่ผ่านมาเน้นการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้มีการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรอย่างจริงจัง การเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ผ่านมาเช่นโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ยังไม่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน และขาดความเชื่อมโยง เนื่องด้วยบริษัทที่แปรรูปพืชผลทางการเกษตรส่วนใหญ่จะแปรรูปและจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของตัวเอง ผู้ประกอบการที่รับจ้างแปรรูปมีน้อย และกระจุกตัวในบางพื้นที่ ทำให้การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทำได้ยาก และมีต้นทุนที่สูง ในขณะที่การสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐยังขาดการสนับสนุนเงินทุน การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้
หากสามารถประยุกต์แนวคิดจากญี่ปุ่นมาปรับเปลี่ยนเกษตรกรให้กลายเป็นผู้ประกอบการได้ภายใต้การสร้างมูลค่าสินค้าและแบนด์ของตัวเอง จะส่งผลให้เกิดการสร้างงานเพิ่มขึ้นในระดับชุมชน เกิดธุรกิจแนวใหม่ที่หลากหลาย และพัฒนาเศรษฐกิจระดับล่างให้เติบโตต่อไปได้ในอนาคต
_________________________________________________
ข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม
กิจการประเภทที่ 6 โดยสำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสหาหกรรม ประจำญี่ปุ่น :
http://site.thaiembassy.jp/upload/pdf/03-event-type-6.pdf
Multicountry Observational Study Mission On Regional Business Partnerships Among Farmers Food-processing SMEs,and Research Institutes โดย นางสาวงามจิตร โล่วิทรู :
http://www.ftpi.or.th/download/APO-Article/Agriculture-Sector/Agricultural%20Marketing-Processing/e13AG02OSMRegBusiness-NgamjitL29Apr14.pdf
อุตสาหกรรมขั้นที่ 6 ญี่ปุ่นเปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการได้อย่างไร?
อุตสาหกรรมขั้นที่ 6 คือแนวคิดของญี่ปุ่นในปี 2010 เป็นการทำให้เกษตรกรกลายมาเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเองโดยชุดคิด sixth’ industrialization ด้วยสูตร 1x2x3x=6 1. เกษตร 2.การผลิตและแปรรูป 3. การตลาด เริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกแล้วนำมาแปรรูปสินค้าและหาช่องทางจำน่ายตามความต้องการของตลาด และหากขาดขั้นตอนใดไปทุกอย่างจะมีค่าเท่ากับ 0 โดยวงจรทั้งหมดจะเริ่มจากภาคเกษตรเป็นหลัก
สาเหตุที่ทำให้เกิดแนวคิด Sixth-Order Industry
เนื่องจากปี 2003 GDP ของญึ่ปุ่นอยู่ที่ 154.6 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมอาหาร 25.6 ล้านล้านบาท ในขณะที่ภาคเกษตรมีมูลค่าเพียง 3.2 ล้านล้านบาท ดังนั้นแนวคิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมขั้นที่ 6 “sixth ” industrialization จึงเกิดขึ้น จุดประสงค์คือการเพิ่มรายได้ให้กับภาคเกษตร โดยการเพิ่มมูลค่าสินค้าแก่เกษตร การทำประมง และการฟื้นฟูชนบท โดยการยกระดับขีดความสามารถของภาคเกษตรและอุตสาหกรรมในท้องถิ่น และยังเป็นการสร้างโอกาศให้กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องด้วยประชากรภาคเกษตรในญี่ปุ่นประมาณ 1.8 ล้านคน ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีจำนวนมากถึง 60 %
ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นบริโภคผลิตภัณฑ์การเกษตรโดยตรงเพียงแค่ 20.7 % ของภาครวมทั้งหมด ซึ่งมีอัตราส่วนที่น้อยกว่าภาคแปรรูป( 26.0% และภาคบริการ (27.6%)ทางเกษตรนั้นยังจำกัดเฉพาะในด้านของภาคการผลิตทางเกษตรไม่มีข้อเกี่ยวโยงกับ ภาคอุตสาหกรรม และหากเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นระะหว่างปี 1960 กับปี 1990 สัดส่วนตลาดของภาคเกษตร มีแนวโน้มลดลงเป็นอย่างมาก จาก 41 % ในปี 1960 เหลือ 20 % ในปี 1990 แต่ในทางกลับกัน ในภาคแปรรูป และการบริการมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น
การสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐและเอกชน
การรวมกลุ่มของอุตหสาหกรรมขั้นที่ 6 Sixth-Order Industry เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ชนบทเพื่อสนับสนุนภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมการแปรรูป และภาคการตลาดการจำหน่าย ตลอดจนการขนส่ง ทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้ทำให้เกิดเป็น “Agi-Business” ในชุมชน
หน่วยงานที่ส่งเสริมแนวคิดนี้คือ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) โดยการตั้งกองทุนพัฒนาทางการเกษตร มีความร่วมมือจากทั้งสุถาบันการเงิน ภาคเอกชน และหน่วยงานท้องถิ่น สนับสนุนการวางแผนของกลุ่ม ให้เกษตรกรกู้ยืมเงินในการพัฒนาด้านการเกษตรโดยไม่คิดดอกเบี้ย(ไม่เกิน 50 ล้านเยน/บุคคล และไม่เกิน 150 ล้านเยน/กลุ่มเกษตรกร)
สนับสนุนด้านการเงินเพื่อการลงทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาระบบให้ความสะดวกในการทำธุรกรรมกับหน่วยงานของรัฐ การเพิ่มช่องทางการจำหน่าย และการประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันญี่ปุ่นมีกลุ่มที่ดำแนนแผนธุรกิจจำนวน 1,690 แผนงาน โดยแบ่งเป็นกลุ่มผัก (32%)ผลไม้(18.5%) ข้าว12 (%) เนื้อสัตว์(11.5%)
แนวคิดของอุตสาหกรรมขั้นที่ 6 ที่จะส่งผลให้เกิดโอกาศทางธุรกิจในด้านต่างๆ
- การสร้างตลาดของสินค้าเกษตรที่ครบวงจร ด้านการผลิต แปรรูปและบริการ
- เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง
- สามารถเชื่อมต่อระหว่างเมือง และชุมชน โดยผ่าน Greem TOURISM
- เกิดเป็นชุมชนชน Agri-Business
- เกิดการสร้างงานสำหรับสุภาพสตรี
- การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายผู้ผลิตการเกษตร
- การเกิดธุรกิจการเกษตรที่หลากหลาย
ภาคเกษตรสามารถรับรู้ถึงความต้องการของผู้บริโภค และสามารถผลิตสินค้าตามความต้องการได้ ซึ่งแตกต่างจากการที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้นั้นจะต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการการรวบรวมข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข่าวสารต่างๆเพื่อนำมาวิเคราะห์หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิตและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บริการใหม่ๆ และอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ด้านการตลาด การบริหารจัดการ ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเกษตรเสมอไป
รูปแบบการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม(Food Industry Cluster ) ด้วยแนวคิดอุตสาหกรรมขั้นที่ 6 และห่วงโซ่คุณค่า( Value chain)
1. การบริหารจัดการ การรวมตัวกันของกระบวนการด้านการจัดการผลิตผลไปสู่การแปรรูปและจำหน่ายเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งกระบวนการผลิตและการตลาด
2. การเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม การแลกเปลี่ยนแนวทางกลยุทธ์ให้กลุ่มผู้เข้าร่วมแทนการให้เพียงความรู้และเทคโนโลยี และสร้างโอกาศความร่วมมือกันในการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร
3. การสร้างห่วงโซ่คุณค่า การสร้างความสัมพันธ์ของธุรกิจ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ขยายไปสู่ผู้บริโภคปลายทาง
4. วิธีการใหม่ในการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม การใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสร้างรายได้ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากชุมชนในท้องถิ่น
ความมีประสิทธิภาพของกลยุทธฺ์ในการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม พิจารณาจากภาคการผลิตและการกระจายสินค้า สามารถทำกำไรในส่วนของการผลิตเพื่อที่จะขยายฐานการผลิต สามารถการดำเนินธุรกิจของแต่ละกลุ่ม สร้างโอกาศในการรวมกลุ่ม แบ่งปันผลกำไรระหว่างส่วนกลางและส่วนอื่นๆในกลุ่มการเลือกกลุ่มพื้นที่ธุรกิจเป้าหมาย การรวมกลุ่มกับผู้ประกอบการอาหาร
เกษตรกรต้องสร้างธุรกิจใหม่จากการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น การเพิ่มบริมาณการบริโภคสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น และส่งเสริมแผนธุรกิจ โดยการเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างความร่วมมือระหว่างภาคการเกษตร -ธุรกิจการค้า-ภาคอุตสาหกรรม เพื่อความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกว่าการซื้อขายแบบปกติทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้เกิดการสร้างผลิตภัทฑ์ และบริการใหม่ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นและเกิดการจ้างงานในท้องถิ่น
ข้อกำหนดสำหรับผู้ผลิตสินค้าภาคเกษตรจำเป็นต้องนำไปปฎิบัติ
- การพัฒนาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยการนำไปแปรรูป มีการใช้วัตถุดิบเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 90%
- การประยุกต์ใช้วิธีการจำหน่ายรูปแบบใหม่มาปรับปรุงวิธีการจำหน่ายในปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด เช่นช่องทางการขายตรง การจำหน่ายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต
-ปรับปรุงวิธีการผลิตตามที่ได้กล่าวมา ซึ่งเป็นการใช้กระบวนการผลิตแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และมีผลให้ราคาเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า ในขณะที่การจำหน่ายเป็นวัตถุดิบ อาจได้ราคาเพิ่มขึ้นเพียง 2 เท่า
การเพิ่มมูลค่าสินค้า
การเพิ่มมูลค่าสินค้าเป็นเรื่องที่ท้าทายของผู้ผลิต เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความต้องการด้านคุณภาพ แหล่งเพราะปลูกและการแข่งขันด้านราคาในตลาด การเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรด้ายการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยลดอิทธิพลจากปัจจัยทางการตลาด อย่างไรก็ดีต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคด้วย ประกอบไปด้วย คุณภาพ การแปรรูป ความสดใหม่ ความปลอดภัยด้านอาหาร การมีสินค้าอย่างสม่ำเสมอ
ตัวอย่างอุตสาหกรรมขั้นที่ 6
- ผลิตภัณฑ์กีวีอบแห้ง จากผลกีวีที่มีขนาดเล็กผลเล็กเกินไป ถูกคัดออกจากเกรดที่ขยายผลสด และนำมาทำแห้งโดยมีการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการแปรรูป ผลิตภัตภัณฑ์ได้รับความสนใจและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในกรุงโตเตียว
- ผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ จากผลไม้ที่สุกก่อนการเก็บเกี่ยว เนื่องจากผลไม้มีระยะการสุกไม่พร้อมกัน จะมีผลไม้ส่วนหนึ่งสุกมากเกินกว่าจะเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปขายสดได้ จึงถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ชนิดต่างๆ
- การทำสวนผักอินทรีย์ ปลูกผักปลอดสารพิษ และเปิดร้านอาหารในบริเวณเดียวกัน ทำให้ลูกค้าสามารถเห็นบรรยากาศของฟาร์มนอกจากการรับประทานอาหาร ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่า และสามารถกำหนดราคาให้สูงได้
ตัวอย่างรูปแบบการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมตามแนวคิด Sixth-Order Industry
Wagoen ธุรกิจเกี่ยวกับผักแปรรูปชนิดต่างๆ เช่นผักแช่เยือกแข็ง ผักตัดแต่ง มีการนำของเสียจากกระบวนการตัดแต่งผักมาใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนผลิตภัณฑ์มีการจำหน่ายไปยังร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายสำหรับประกอบเมนูต่างๆ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือไปยังต่างประเทศ เพื่อเป็นฐานในการผลิตสินค้าด้วย แต่อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากค่าขนส่งมีราคาแพง
Nagai Farm เป็นการทำเกษตรแบบผสมผสานระหว่างปลูกข้าวและฟาร์มโคนม ฟางที่ได้หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวจะนำไปเป็นอาหารให้โคนม และนำไปปูพื้นโรงเลี้ยงโคนม จากนั้นจะนำฟางที่เปื้อนมูลโคไปทำการหมักที่โรงปุ๋ยของฟาร์มร่วมกับแกลบ เมื่อหมักจนได้ที่แล้วจะนำไปใช้ในนาข้าว
ส่วนนมสดที่รีดได้จากโคนมจะนำมาผลิตเป็นไอศครีม มีการนำข้าวและข้าวเหนียวที่ปลูกมาทำเป็นข้าวเกรียบและโมจิจำหน่ายเป็นต้น การแปรรูปนมสดเป็นไอศรีมนั้นทางบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเอง ส่วนการแปรรูปข้าวเป็นข้าวเกรียบ บริษัทจะจ้างผู้ประกอบการเฉพาะทางเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนการจำหน่ายบริษัทได้เปิดร้านขายไอศรีมในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น และนำสินค้าอื่นๆของบริษัทไปจำหน่ายในร้าน และยังมีการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยเช่นกัน
ในขณะที่ปัญหาของเกษตรกรไทยภาคการเกษตรกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และสินค้าทางการเกษตรมีมูลค่าต่ำ ที่ผ่านมาเน้นการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้มีการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรอย่างจริงจัง การเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ผ่านมาเช่นโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ยังไม่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน และขาดความเชื่อมโยง เนื่องด้วยบริษัทที่แปรรูปพืชผลทางการเกษตรส่วนใหญ่จะแปรรูปและจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของตัวเอง ผู้ประกอบการที่รับจ้างแปรรูปมีน้อย และกระจุกตัวในบางพื้นที่ ทำให้การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทำได้ยาก และมีต้นทุนที่สูง ในขณะที่การสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐยังขาดการสนับสนุนเงินทุน การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้
หากสามารถประยุกต์แนวคิดจากญี่ปุ่นมาปรับเปลี่ยนเกษตรกรให้กลายเป็นผู้ประกอบการได้ภายใต้การสร้างมูลค่าสินค้าและแบนด์ของตัวเอง จะส่งผลให้เกิดการสร้างงานเพิ่มขึ้นในระดับชุมชน เกิดธุรกิจแนวใหม่ที่หลากหลาย และพัฒนาเศรษฐกิจระดับล่างให้เติบโตต่อไปได้ในอนาคต
_________________________________________________
ข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม
กิจการประเภทที่ 6 โดยสำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสหาหกรรม ประจำญี่ปุ่น : http://site.thaiembassy.jp/upload/pdf/03-event-type-6.pdf
Multicountry Observational Study Mission On Regional Business Partnerships Among Farmers Food-processing SMEs,and Research Institutes โดย นางสาวงามจิตร โล่วิทรู : http://www.ftpi.or.th/download/APO-Article/Agriculture-Sector/Agricultural%20Marketing-Processing/e13AG02OSMRegBusiness-NgamjitL29Apr14.pdf