โดย MGR Online
8 กันยายน 2559 17:38 น. (แก้ไขล่าสุด 8 กันยายน 2559 18:00 น.)
เอเจนซีส์ - รายงานการสืบสวนความปลอดภัยด้านการบินพบว่า เครื่องบินโดยสารลำหนึ่งของ “แอร์ เอเชีย เอ็กซ์” ที่จะต้องเดินทางจากซิดนีย์ของออสเตรเลีย มีปลายทางที่กัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย กลับลงเอยด้วยการไปลงจอดที่เมลเบิร์น เพราะนักบินระบุพิกัดผิดพลาดในระบบนำร่อง เหตุเกิด 10 มี.ค.ปีที่แล้ว
เครื่องบินแอร์บัส A330 ลำดังกล่าว มีกำหนดจะต้องออกจากท่าอากาศยานนานาชาติซิดนีย์ตอนเวลา 11.55 น.ของวันที่ 10 มีนาคมปีที่แล้ว และจะต้องไปถึงกัวลาลัมเปอร์ในอีกไม่เกิน 9 ชั่วโมงต่อมา
แต่แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ด้วยการผสมผสานระหว่างการระบุข้อมูลที่ผิดพลาด ลูกเรือเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือนที่อธิบายไม่ได้ของระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงสภาพอากาศที่ย่ำแย่ในซิดนีย์ ทำให้เที่ยวบินดังกล่าวลงเอยด้วยการไปลงจอดที่เมลเบิร์นตอนเวลาหลัง 14.00 น.เล็กน้อย
สนามบินเมลเบิร์นนั้นอยู่ห่างจากซิดนีย์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 722 กิโลเมตร ส่วนกัวลาลัมเปอร์นั้นอยู่ห่างไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 6,611 กิโลเมตร
จากรายงานของสำนักงานความปลอดภัยด้านการขนส่งออสเตรเลีย (ATSB) ที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันพุธ (7 ก.ย.) มีการระบุว่าปัญหาเกิดขึ้นตอนที่หูฟังทำงานผิดพลาดทำให้กัปตันและผู้ช่วยต้องสลับหน้าที่กันตรวจเช็คก่อนออกบินในแบบที่ไม่คุ้นเคย
รายงานระบุว่า โดยปกติแล้วกัปตันจะต้องดำเนินการตรวจสอบภายนอก ส่วนผู้ช่วยจะต้องอยู่ในห้องนักบินคอยดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ช่วงก่อนเริ่มบิน
ในวันนั้น เนื่องจากหูฟังของกัปตันใช้การไม่ได้ เขาจึงรับหน้าที่ดำเนินการในห้องนักบินแทนผู้ช่วย ซึ่งนั่นรวมถึงการระบุพิกัดปัจจุบัน ซึ่งจะต้องระบุพิกัดของประตูขาออกลงในระบบนำร่องภายในของเครื่องบิน
รายงานระบุว่า กัปตันได้ทำการระบุพิกัดด้วยตัวเอง โดยก๊อบปี้พิกัดที่เห็นจากป้ายนอกหน้าต่างห้องนักบินใส่ลงไปในระบบ ซึ่งต่อมาก็มีการวิเคราะห์แล้วแสดงให้เห็นว่า “ระบุข้อมูลผิดพลาด”
แทนที่จะใส่พิกัดลองจิจูด 151° 9.8’ ตะวันออก หรือ 15109.8 ลงในระบบ กัปตันดันใส่ข้อมูลผิดเป็น 15° 19.8’ ตะวันออก หรือ 01519.8.
“นั่นส่งผลให้การระบุตำแหน่งผิดพลาดเกินไปถึง 11,000 กิโลเมตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนำร่องของเครื่องบิน จนมีสัญญาณเตือนขึ้นมา” ATSB ระบุในรายงาน
รายงานระบุว่า ลูกเรือได้รับโอกาสอยู่พักหนึ่งที่จะระบุให้ถูกต้องเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด แต่ก็ไม่ได้สนใจจนกระทั่งเครื่องบินได้ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า แล้วเริ่มมุ่งหน้าไปสู่ทิศทางที่ผิด
โอกาสเหล่านั้นมีทั้งสัญญาณและข้อความที่กะพริบขึ้นบนหน้าจอของกัปตันระหว่างทำการตรวจเช็กและเตรียมพร้อมห้องนักบิน ซึ่งทางผู้ช่วยนักบินได้บอกกับเจ้าหน้าที่สืบสวนของ ATSB ในเวลาต่อมาว่า เขาเห็นสัญญาณพวกนั้น แต่ไม่ได้สนใจเพราะมันเร็วมากเกินกว่าที่จะตีความได้ แล้วก็มีเสียงเตือน 3 ครั้ง ซึ่งไม่ได้มาพร้อมกับข้อความจากคอมพิวเตอร์ สัญญาณพวกนั้นถึงถูกเพิกเฉย
สัญญาณเตือนที่ 5 ที่บ่งบอกว่ามีอะไรบางอย่างผิดพลาดก็มาในรูปแบบของเสียงเตือนสภาพภูมิประเทศดังว่า “TERRAIN! TERRAIN!” ซึ่งมักจะเตือนเวลาที่เครื่องบินจะชนอะไรบางอย่าง สัญญาณเตือนนี้ไม่ถูกเพิกเฉย นักบินทั้งสองรับรู้และก็พากันตกใจ แต่เมื่อมองไปข้างหน้าแล้วเห็นว่าทางสะดวก แถมรันเวย์ที่วุ่นวายของสนามบินซิดนีย์ก็มักจะทำให้เกิดสัญญาณเตือนที่ไม่พึงประสงค์บ่อยครั้ง พวกเขาจึงออกเดินทาง
อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบนักบินอัตโนมัติทำงานที่ความสูง 410 ฟุต มันก็เริ่มนำเครื่องบินเข้าสู่เส้นทางบินมุ่งไปยังอีกรันเวย์ที่ไม่ใช่เป้าหมาย
ATSB ระบุว่า ทั้งกัปตันและผู้ช่วยพยายามจะแก้ไขระบบ แต่ความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขปัญหากลับยิ่งทำให้ระบบนำร่องภายในยิ่งแย่หนักไปกว่าเดิม เช่นเดียวกับระบบให้คำแนะนำและระบบควบคุมการบินก็ป่วนไปด้วย
พวกเขาส่งคำร้องขอกลับไปซิดนีย์ โดยบอกกับศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศว่า พวกเขาทำได้เพียงลงจอดเองด้วยสายตาของนักบิน ซึ่งเป็นการลงจอดโดยไม่ได้รับการช่วยเหลือจากระบบนำร่อง
ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศได้ตอบกลับไปว่า สภาพอากาศและวิสัยทัศน์เลวร้ายมากที่ซิดนีย์ พวกเขาควรเปลี่ยนไปลงจอดที่เมลเบิร์นแทน
เครื่องบินลำนั้นใช้เวลา 3 ชั่วโมงบินไปลงจอดที่เมลเบิร์น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนจะออกเดินทางอีกครั้งเพื่อไปกัวลาลัมเปอร์ โดยไปถึงที่นั่นตอนเวลา 22.20 น. ช้ากว่ากำหนดเดิมถึง 6 ชั่วโมง
ATSB ระบุว่า แม้แต่ลูกเรือที่มีประสบการณ์ก็ยังไม่อาจรอดพ้นจากปัญหาการระบุข้อมูลที่ผิดพลาด พร้อมแนะนำให้แอร์เอเชียอัปเกรดระบบเที่ยวบินให้ช่วยป้องกันปัญหาหรือช่วยตรวจพบปัญหาแบบนี้ได้ในอนาคต
ทางด้านสายการบินแอร์ เอเชีย ระบุว่า ได้ทำการอัปเกรดระบบบริหารจัดการเที่ยวบินของเครื่องบิน “แอร์ เอเชีย เอ็กซ์” โดยส่งเอกสารเกี่ยวกับการฝึกไปให้กับทีมงานเพื่อเน้นย้ำให้รู้ถึงแนวทางและการปฏิบัติที่ถูกต้องของระบบข้อมูลเที่ยวบิน ทั้งยังบรรยายสรุปให้แก่นักบินทั้งหมดเกี่ยวกับการสืบสวนภายใน
“แอร์ เอเชีย เอ็กซ์ อยากจะเน้นย้ำว่าเรามีระบบบริหารจัดการที่ดีในการสังเกตการณ์และป้องกันเหตุร้ายแบบนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีก” แอร์ เอเชีย ระบุในคำแถลงเมื่อวันพุธ
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000090463
นักบิน “แอร์เอเชีย เอ็กซ์” ใส่พิกัดพลาด จะไปมาเลเซียดันไปลงเมลเบิร์น
8 กันยายน 2559 17:38 น. (แก้ไขล่าสุด 8 กันยายน 2559 18:00 น.)
เอเจนซีส์ - รายงานการสืบสวนความปลอดภัยด้านการบินพบว่า เครื่องบินโดยสารลำหนึ่งของ “แอร์ เอเชีย เอ็กซ์” ที่จะต้องเดินทางจากซิดนีย์ของออสเตรเลีย มีปลายทางที่กัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย กลับลงเอยด้วยการไปลงจอดที่เมลเบิร์น เพราะนักบินระบุพิกัดผิดพลาดในระบบนำร่อง เหตุเกิด 10 มี.ค.ปีที่แล้ว
เครื่องบินแอร์บัส A330 ลำดังกล่าว มีกำหนดจะต้องออกจากท่าอากาศยานนานาชาติซิดนีย์ตอนเวลา 11.55 น.ของวันที่ 10 มีนาคมปีที่แล้ว และจะต้องไปถึงกัวลาลัมเปอร์ในอีกไม่เกิน 9 ชั่วโมงต่อมา
แต่แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ด้วยการผสมผสานระหว่างการระบุข้อมูลที่ผิดพลาด ลูกเรือเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือนที่อธิบายไม่ได้ของระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงสภาพอากาศที่ย่ำแย่ในซิดนีย์ ทำให้เที่ยวบินดังกล่าวลงเอยด้วยการไปลงจอดที่เมลเบิร์นตอนเวลาหลัง 14.00 น.เล็กน้อย
สนามบินเมลเบิร์นนั้นอยู่ห่างจากซิดนีย์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 722 กิโลเมตร ส่วนกัวลาลัมเปอร์นั้นอยู่ห่างไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 6,611 กิโลเมตร
จากรายงานของสำนักงานความปลอดภัยด้านการขนส่งออสเตรเลีย (ATSB) ที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันพุธ (7 ก.ย.) มีการระบุว่าปัญหาเกิดขึ้นตอนที่หูฟังทำงานผิดพลาดทำให้กัปตันและผู้ช่วยต้องสลับหน้าที่กันตรวจเช็คก่อนออกบินในแบบที่ไม่คุ้นเคย
รายงานระบุว่า โดยปกติแล้วกัปตันจะต้องดำเนินการตรวจสอบภายนอก ส่วนผู้ช่วยจะต้องอยู่ในห้องนักบินคอยดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ช่วงก่อนเริ่มบิน
ในวันนั้น เนื่องจากหูฟังของกัปตันใช้การไม่ได้ เขาจึงรับหน้าที่ดำเนินการในห้องนักบินแทนผู้ช่วย ซึ่งนั่นรวมถึงการระบุพิกัดปัจจุบัน ซึ่งจะต้องระบุพิกัดของประตูขาออกลงในระบบนำร่องภายในของเครื่องบิน
รายงานระบุว่า กัปตันได้ทำการระบุพิกัดด้วยตัวเอง โดยก๊อบปี้พิกัดที่เห็นจากป้ายนอกหน้าต่างห้องนักบินใส่ลงไปในระบบ ซึ่งต่อมาก็มีการวิเคราะห์แล้วแสดงให้เห็นว่า “ระบุข้อมูลผิดพลาด”
แทนที่จะใส่พิกัดลองจิจูด 151° 9.8’ ตะวันออก หรือ 15109.8 ลงในระบบ กัปตันดันใส่ข้อมูลผิดเป็น 15° 19.8’ ตะวันออก หรือ 01519.8.
“นั่นส่งผลให้การระบุตำแหน่งผิดพลาดเกินไปถึง 11,000 กิโลเมตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนำร่องของเครื่องบิน จนมีสัญญาณเตือนขึ้นมา” ATSB ระบุในรายงาน
รายงานระบุว่า ลูกเรือได้รับโอกาสอยู่พักหนึ่งที่จะระบุให้ถูกต้องเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด แต่ก็ไม่ได้สนใจจนกระทั่งเครื่องบินได้ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า แล้วเริ่มมุ่งหน้าไปสู่ทิศทางที่ผิด
โอกาสเหล่านั้นมีทั้งสัญญาณและข้อความที่กะพริบขึ้นบนหน้าจอของกัปตันระหว่างทำการตรวจเช็กและเตรียมพร้อมห้องนักบิน ซึ่งทางผู้ช่วยนักบินได้บอกกับเจ้าหน้าที่สืบสวนของ ATSB ในเวลาต่อมาว่า เขาเห็นสัญญาณพวกนั้น แต่ไม่ได้สนใจเพราะมันเร็วมากเกินกว่าที่จะตีความได้ แล้วก็มีเสียงเตือน 3 ครั้ง ซึ่งไม่ได้มาพร้อมกับข้อความจากคอมพิวเตอร์ สัญญาณพวกนั้นถึงถูกเพิกเฉย
สัญญาณเตือนที่ 5 ที่บ่งบอกว่ามีอะไรบางอย่างผิดพลาดก็มาในรูปแบบของเสียงเตือนสภาพภูมิประเทศดังว่า “TERRAIN! TERRAIN!” ซึ่งมักจะเตือนเวลาที่เครื่องบินจะชนอะไรบางอย่าง สัญญาณเตือนนี้ไม่ถูกเพิกเฉย นักบินทั้งสองรับรู้และก็พากันตกใจ แต่เมื่อมองไปข้างหน้าแล้วเห็นว่าทางสะดวก แถมรันเวย์ที่วุ่นวายของสนามบินซิดนีย์ก็มักจะทำให้เกิดสัญญาณเตือนที่ไม่พึงประสงค์บ่อยครั้ง พวกเขาจึงออกเดินทาง
อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบนักบินอัตโนมัติทำงานที่ความสูง 410 ฟุต มันก็เริ่มนำเครื่องบินเข้าสู่เส้นทางบินมุ่งไปยังอีกรันเวย์ที่ไม่ใช่เป้าหมาย
ATSB ระบุว่า ทั้งกัปตันและผู้ช่วยพยายามจะแก้ไขระบบ แต่ความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขปัญหากลับยิ่งทำให้ระบบนำร่องภายในยิ่งแย่หนักไปกว่าเดิม เช่นเดียวกับระบบให้คำแนะนำและระบบควบคุมการบินก็ป่วนไปด้วย
พวกเขาส่งคำร้องขอกลับไปซิดนีย์ โดยบอกกับศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศว่า พวกเขาทำได้เพียงลงจอดเองด้วยสายตาของนักบิน ซึ่งเป็นการลงจอดโดยไม่ได้รับการช่วยเหลือจากระบบนำร่อง
ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศได้ตอบกลับไปว่า สภาพอากาศและวิสัยทัศน์เลวร้ายมากที่ซิดนีย์ พวกเขาควรเปลี่ยนไปลงจอดที่เมลเบิร์นแทน
เครื่องบินลำนั้นใช้เวลา 3 ชั่วโมงบินไปลงจอดที่เมลเบิร์น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนจะออกเดินทางอีกครั้งเพื่อไปกัวลาลัมเปอร์ โดยไปถึงที่นั่นตอนเวลา 22.20 น. ช้ากว่ากำหนดเดิมถึง 6 ชั่วโมง
ATSB ระบุว่า แม้แต่ลูกเรือที่มีประสบการณ์ก็ยังไม่อาจรอดพ้นจากปัญหาการระบุข้อมูลที่ผิดพลาด พร้อมแนะนำให้แอร์เอเชียอัปเกรดระบบเที่ยวบินให้ช่วยป้องกันปัญหาหรือช่วยตรวจพบปัญหาแบบนี้ได้ในอนาคต
ทางด้านสายการบินแอร์ เอเชีย ระบุว่า ได้ทำการอัปเกรดระบบบริหารจัดการเที่ยวบินของเครื่องบิน “แอร์ เอเชีย เอ็กซ์” โดยส่งเอกสารเกี่ยวกับการฝึกไปให้กับทีมงานเพื่อเน้นย้ำให้รู้ถึงแนวทางและการปฏิบัติที่ถูกต้องของระบบข้อมูลเที่ยวบิน ทั้งยังบรรยายสรุปให้แก่นักบินทั้งหมดเกี่ยวกับการสืบสวนภายใน
“แอร์ เอเชีย เอ็กซ์ อยากจะเน้นย้ำว่าเรามีระบบบริหารจัดการที่ดีในการสังเกตการณ์และป้องกันเหตุร้ายแบบนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีก” แอร์ เอเชีย ระบุในคำแถลงเมื่อวันพุธ
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000090463