สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (JFA) วางแผนพัฒนาระยะยาว 2015-2030 อย่างไรมาดูกัน

ผมเห็นกระทู้เกี่ยวกับฟุตบอลไทยและญี่ปุ่นหลังจบการแข่งรายการ WCQ นัดที่สองเยอะมาก
จึงขอนำ JFA Plan 2015-2030 บางส่วนมาให้อ่านกันครับ เผื่อมีประโยชน์สำหรับการนำไปใช้อ้างอิง
หากผิดพลาดอะไรก็ขออภัยด้วยครับ

สำหรับเนื้อหาหลักที่ผมนำเสนอครั้งนี้เป็น "Mid-Term Plan for 2015-2022"
ที่ทางญี่ปุ่นกำลังพยายามทำเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายในปี 2030 *รวมถึงฟุตบอล/ฟุตซอล ทั้งชายและหญิงนะครับ



จากรูปภาพจะเห็นได้ว่าทางญี่ปุ่นได้วางแผนและดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2015
โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ 1.เพิ่มจำนวนแฟนบอล 2.ขยับอันดับไปเป็น Top 10 ของโลก (สมาคมฟุตบอล)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับเป้าหมายระยะยาวนั้นจะมีการแบ่งย่อยเป็น 8 ภารกิจและแผนสำหรับปฎิบัติจำนวน 11 แผน



สำหรับภารกิจที่ต้องทำก่อนถึงปี 2022 นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มปัจจัย คือ

"Popularisation"
Mission 1 : ส่งเสริมให้เป็นที่แพร่หลายแก่ประชาชน
Mission 2 : ส่งเสริมเรื่องความสะดวกสบาย

"Development"
Mission 3 : การสร้างทีมชาติญี่ปุ่น
Mission 4 : สร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการพัฒนาเยาวชน
Mission 5 : จัดการแข่งขันระดับประเทศ

"Organisation"
Mission 6 : ความร่วมมือร่วมกับ J.League
Mission 7 : การสนับสนุนในเวทีโลกและยกระดับเรื่อง CSR
Mission 8 : การทำโครงสร้างพื้นฐานให้มั่นคงแข็งแรง

สำหรับการวางแผนทาง JFA จะทำการอ้างอิงจากแผนการตลาดทุก 8 ปี และบอลโลกทุก 4 ปี เพื่อให้มาบรรจบครบตามเป้าหมายในปี 2030

ต่อมาคือ การอธิบายว่าทั้ง 3 กลุ่มปัจจัยนั้นจะประสบผลสำเร็จได้ก็ต้องเกิดจาก Mission ทั้ง 8



ทีนี้การจะทำให้ภารกิจทั้ง 8 ดำเนินต่อไปได้อย่างไรนั้น ก็จะลงรายละเอียดในแผนกลยุทธ์



จากตารางเวลาที่วางแผนไว้ จะเห็นได้ว่ามีการทำไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ปี 2017 แล้ว

"Popularisation"
ในปี 2017 จะมีการออกแบบระบบใหม่และทำให้องค์กรเกิดความสอดคล้องกันมากขึ้น โดยในปี 2019 มีการนำระบบสมาชิก JFA แบบใหม่มาใช้
ในขณะเดียวกันปี 2017 ทาง JFA จะมีการช่วยเหลือในเรื่องการอำนวยความสะดวกให้กับฟุตบอลจนถึงปี 2022
และมีการสร้างศูนย์ฟุตบอลระดับประเทศซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2019

"Development"
จะเน้นเรื่องการแข่งขันระดับประเทศและจัดการแข่งขันเป็นส่วนใหญ่
เพื่อเป็นเวทีสำหรับให้วงการฟุตบอลญี่ปุ่นได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
โดย WC 2018 ญี่ปุ่นตั้งเป้าเป็น Top 20 จาก FIFA Ranking
และเข้าร่วม WC หญิงในปี 2019 และฟุตซอลโลกในปี 2021
ในขณะที่ปี 2020 ก็ได้มีการจัดการแข่งขันโอลิมปิคที่ญี่ปุ่น และปี 2021 จะครบรอบ 100 ปีของ JFA

"Organisation"
ปี 2017-2018 จะมีการเปลี่ยนแผนผังรายการฟุตบอลใหม่โดย JFA และทาง J.League
ปี 2019-2022 จะมีการประมูลลิขสิทธิ์ FIFA Club world cup, FIFA U20 world cup และ FIFA U20 women's world cup
รวมถึงรายการลิขสิทธิ์ J.League

มาถึงตรงนี้บางคนอาจสงสัยว่าจาก 3 กลุ่มปัจจัยและ 8 ภารกิจ ที่อธิบายมาทำไมไม่มีเรื่องของ
แผนการนำไปปฎิบัติทั้ง 11 แผน ที่ได้เขียนไว้ตั้งแต่ตอนต้น คือ รายละเอียดของแผนการปฎิบัติมันละเอียดมาก
เกรงว่าจะยาวเกิน จึงของนำมาอธิบายรวมไว้ตรงนี้ ซึ่งมีภาพประกอบให้เข้าใจจะง่ายกว่า



จากรูปภาพขอยกตัวอย่างดังนี้

"Coaches" การฝึกสอนโค้ชนั้นจะอยู่ในกลุ่มปัจจัย Development โดยการพัฒนาโค้ชจะส่งผลไปสู่การพัฒนาทีมชาติ
เมื่อทีมชาติแข็งแกร่งและทำผลงานได้ดีก็จะดึงดูดเด็กๆ ให้สนใจ พอเด็กเหล่านี้สนใจและเติบโตขึ้นก็จะสร้างมูลค่าให้กับฟุตบอล
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พอมูลค่าของฟุตบอลเพิ่มขึ้น มันก็จะไปเพิ่มประชากรที่สนใจหรืออยากเกี่ยวข้องกับวงการฟุตบอลมากขึ้น
เมื่อทุกอย่างพัฒนาขึ้น มันก็จะไปยกระดับการแข่งขันภายในประเทศขึ้นไปเรื่อยๆ

สำหรับส่วนที่จะไปขับเคลื่อนกลุ่มปัจจัย "Popularisation" และ "Development" นั้นก็คือ
"Organisation" (โดย JFA และ J.League ที่ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แต่ต้องช่วยกันพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันตามแผนพัฒนา)

หลังจากอธิบายตัวอย่างของการดูภาพความเชื่อมโยงแล้ว ต่อไปจะเป็นการลงรายละเอียดของแผนปฎิบัติทั้ง 11 แผน

1. Popularisation
ในแผน mid-term ที่จะสร้างให้ประชาชนสนใจฟุตบอลมากขึ้นนั้น ทาง JFA ได้วางแผนที่จะสร้าง
"สภาพแวดล้อม" และ "เพิ่มความสนุก" ให้กับประชาชน โดยประชาชนจะสามารถติดตามรับชมรายการต่างๆ เกี่ยวกับฟุตบอล
ได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกช่วงอายุ ทุกเวลาการแข่ง (ซึ่งส่วนนี้จะส่งผลดีถึงธุรกิจฟุตบอลด้วย)

สถานการณ์ในปัจจุบัน
- จำนวนคนที่มาเล่นฟุตบอลลดลง 1% ในทุกรุ่นอายุ ตั้งแต่ปี 2013-1014
- มีโอกาสน้อยมากที่เด็กนักเรียนจะหันมาสนใจกีฬาฟุตบอล
- ขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับฟุตบอลในทุกช่วงอายุ
- ต้องการปรับปรุงตารางเวลาของฟุตบอลใหม่
- ต้องการปรับปรุงระบบลงทะเบียนของฟุตบอลใหม่ (ทั้งการดูข้อมูล การแก้ไขข้อมูล การลงทะเบียน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ฯลฯ)
- ต้องการใช้ระบบสมาชิกแบบใหม่
- การขาดแคลนสนามฟุตบอล

2. Domestic Competitions
สำหรับส่วนนี้จัดได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของ Popularisation และ Development
ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่จะช่วยให้การแข่งขันของ League และ รายการต่างๆ มีความน่าสนใจ มีความสนุกสนาน
ทาง JFA ต้องพิจารณาถึงสถานที่การจัดการแข่งขัน การทำตารางเวลาแข่งขันให้ยืดหยุ่น
และสามารถให้ผู้เข้าร่วมทุกภาคส่วนมีความสนุกกับการแข่งขัน นอกจากนี้ทาง JFA จะทำงานอย่างใกล้ชิด
เพื่อสนับสนุนการจัด League และเพิ่มมูลค่าให้กับการแข่งขัน

สถานการณ์ในปัจจุบัน
- การเติบโตของรายการ Emperor's Cup
- การเพิ่มขึ้นของมูลค่าในการแข่งขันภายในประเทศ
- การปฎิบัติตามแนวทางของการแข่งขันในรายการต่างๆ อย่างจริงจัง
- การปรับปรุงการมีส่วนร่วมในการแข่งขัน
- การร่วมมือในการจัดการตารางเวลาแข่งขันของ League
- สร้างตัวชี้วัดของทีมและผู้เล่น
- เพิ่มความร่วมมือจากผู้เล่นอาวุโส

3. Referees
เป้าหมายของ JFA คือ ต้องการสร้างผู้ตัดสินที่มีคุณภาพสูง เพื่อใช้ในการแข่งขันต่างๆ
ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาให้ทันกับระดับโลกอยู่ตลอดเวลา
การฝึกอบรมผู้ตัดสินของญี่ปุ่นต้องถูกส่งเสริมให้กลายเป็นผู้นำของโลกในเรื่องของศูนย์ฝึกและพัฒนาผู้ตัดสิน
JFAจะสร้างภาพลักษณ์และสร้างแรงดึงดูดให้กับวงการผู้ตัดสินทั่วโลก

สถานการณ์ในปัจจุบัน
- จัดทำระบบการพัฒนาผู้ตัดสินและเพิ่มจำนวนผู้ตัดสินรุ่นใหม่
- จัดทำการพัฒนาโครงสร้างและมอบโอกาสให้กับผู้ตัดสินรุ่นใหม่
- จัดทำสภาพแวดล้อมที่อำนวยความสะดวกต่อผู้ตัดสินในการทำหน้าที่ของเขา

4. Coaches
พัฒนาเยาวชนตั้งแต่ระดับรากหญ้าเพื่อให้โตไปอาจได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมชาติ
กุญแจความสำเร็จของกระบวนการนี้อยู่ที่โค้ช ทาง JFA จะสร้างการฝึกอบรมโค้ช ที่จะช่วยพัฒนาเยาวชนให้มีระดับสูงขึ้น
โดยใช้หลัก "ผู้เล่นต้องมาก่อน" คือ การสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกกับการเล่นฟุตบอล
ทาง JFA ตระหนักถึงมาตรฐานระดับโลกเสมอและต้องการเพิ่มโอกาสสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ
ซึ่งจะทำให้ JFA สามารถสร้างโค้ชระดับโลกได้ และโค้ชคนนั้นก็จะนำพาทีมชาติสามารถต่อกรกับทีมอื่นๆ ในโลกได้

สถานการณ์ในปัจจุบัน
- การฝึกซ้อมและการศึกษาของโค้ชในระดับโลกจะนำไปสู่การทำทีมชาติ
- ในอนาคตจะเพิ่มคุณภาพของโค้ชและลดความก้าวร้าวลง
- ปรับปรุงความร่วมมือและเข้าเรียนรู้กับสโมสรใน J.League

5. Development
JFA ฝ่ายเทคนิคทำการสำรวจและพัฒนาผู้เล่น โดยใช้การวิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ปัจจุบันที่กำลังเผชิญ
และสร้างแนวทางขึ้นใหม่ ด้วยเป้าหมายในการพัฒนาทีมชาติในทุกรุ่นอายุ
JFA จะมีการร่วมมือกับ J.League หรือ League อื่นๆ ในระยะยาว เพื่อการพัฒนาระบบสำหรับสร้างผู้เล่นเยาวชน

สถานการณ์ในปัจจุบัน
- ตรวจสอบ JFA อย่างเข้มงวด
- ตรวจสอบและปรับปรุงศูนย์ฝึกของ JFA
- คุณภาพของภูมิภาคต่างๆ และศูนย์ฝึกของประเทศ
- ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาผู้เล่น
- ความไม่ต่อเนื่องของการแข่งขันในรุ่นอายุ 19-22 ปี
- ปรับปรุงความร่วมมือร่วมกับศูนย์ฝึกเยาวชนของ J.Leauge

6. Reinforcement of the Japan National Teams
ทุกๆ ความสำเร็จของทีมชาติญี่ปุ่นต้องการให้เด็กๆ และประชาชน ให้ความสนใจ
และสร้างมูลค่าให้กับฟุตบอลญี่ปุ่น โดยในปี 2019 เมื่อศูนย์ฟุตบอลแห่งชาติเสร็จ
จะกลายเป็นสถานที่หลักของทีมชาติในการเข้าฝึกซ้อมและทำหน้าที่ของพวกเขา
ด้วยความร่วมมือของฝ่ายเทคนิคจะช่วยยกระดับให้กับทีมชาติทุกรุ่นอายุในทุกประเภท
การสนับสนุนอย่างเต็มที่และดูแลผู้เล่นอย่างใกล้ชิด จะทำให้ผู้เล่นแสดงศักยภาพได้เต็มที่เมื่อแข่งขันในนามทีมชาติ

สถานการณ์ในปัจจุบัน
- ผู้เล่นทีมชาติ (ประเภทชาย) ทำผลงานได้ไม่ดีในทุกรุ่นอายุ
- ปัญหากลยุทธ์ในการแข่งขันกับทีมที่แข็งแกร่ง
- คุณภาพของโค้ช ทีมงาน และ สภาพแวดล้อมสำหรับการฝึกซ้อม

7. International Matches and Competitions
การนำทีมชาติไปแข่งขันในระดับประเทศกับทีมชาติอื่นๆ นั้น
เป็นความกดดันที่ยิ่งใหญ่และสร้างความภูมิใจให้กับเรา เยาวชนฝันว่าจะได้เป็นนักฟุตบอล
และไปแข่งขันกับต่างประเทศ เป็นการสร้างแรงบรรดาลใจให้กับเยาวชน
และสร้างการร่วมมือจากประชาชน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับฟุตบอลญี่ปุ่น
ทาง JFA จะสร้างกลยุทธ์เพื่อพัฒนาและยกระดับทีมชาติและสนับสนุนการแข่งขันระดับประเทศ
ซึ่งจะทำให้แฟนบอลและผู้สนับสนุนรู้สึกสนุกสนาน

สถานการณ์ในปัจจุบัน
- จะไม่มีรายการแข่งขันที่น่าสนใจหลังจากจบ FIFA World cup
- ข้อจำกัดในการปรับปรุงสนามที่ใช้ในปัจจุบัน
- การประมูลขอเป็นเจ้าภาพกับทาง FIFA เพื่อให้มั่นใจถึงรายได้ที่จะได้รับ
- วิธีการที่จะสร้างสนามกีฬาแห่งชาติสนามใหม่

8. Marketing
ฟุตบอลญี่ปุ่นมีแฟนบอลที่เข้มแข็งอยู่ 5 ล้านคน ทาง JFA จะเพิ่มมูลค่าให้กับฟุตบอลญี่ปุ่น
นั่นเป็นเหตุผลที่ต้องพัฒนาฟุตบอลภายในประเทศร่วมกับเหล่าแฟนบอลและผู้สนับสนุน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สถานการณ์ในปัจจุบัน
- ปัญหาการประยุกต์ใช้ตราหรือเครื่องหมายร่วมกับกิจกรรมอื่นๆ ที่หลากหลายมากขึ้น
- ความไม่มีอิสระในการนำตราหรือเครื่องหมายของทีมชาติไปใช้งาน

9. Coordination with the Top League
ทางสมาคมฟุตบอลจะพัฒนาฟุตบอลและ League จากแก่นแท้ของประเทศ
มีการแบ่งปันและกำหนดหน้าที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการทำงานร่วมกัน
การแข่งขันของ League จะเพิ่มความสนใจให้กับเด็กที่ฝันอยากจะเป็นผู้เล่นและสร้างแฟนบอลเพิ่มขึ้น
ในอนาคตจะพัฒนา League ให้ได้มาตรฐานระดับโลก ซึ่งจะช่วยพัฒนาผู้เล่นที่อยู่ในประเทศ

สถานการณ์ในปัจจุบัน
- ปัญหาความร่วมมือในการตรวจสอบระหว่าง JFA และ J.League รวมถึงระหว่าง FA และสโมสร
- การเติบโตที่ช้าลงจากจำนวนผู้เข้าชม J.League และการรับชมการถ่ายทอดสด
- การปรับปรุงมูลค่าของผู้เล่นในประเทศกับการซื้อขายให้สโมสรต่างประเทศ

10. Coordination with Regional/Prefectural Football Associations
JFA สนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยการลงทุนและการจัดการฝึกอบรมบุคลากร
ให้ความสนใจในระดับรากหญ้า วางแผนความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในท้องถิ่นชุมชน

สถานการณ์ในปัจจุบัน
- การสนับสนุนทางด้านการเงิน การจัดการ และ ด้านบุคลากรของภูมิภาค
- การสนับสนุนของแต่ละเขตและสร้างความร่วมมือระหว่างสมาคม
- การสนับสนุนในแง่ประสิทธิภาพของระบบ (รวมถึงขั้นตอนการทำงานและระเบียบการต่างๆ)

11. Foundation
JFA จะทำงานร่วมกับผู้สนับสนุนเป็นอย่างดีและมีความรับผิดชอบ

สถานการณ์ในปัจจุบัน
- อนาคตจะยกระดับการสื่อสารระหว่างประเทศ
- เพิ่มกิจกรรมร่วมกับสังคม
- ปรับปรุงคุณภาพของ CSR
- ปรับปรุงโครงสร้างการจัดการองค์กร
- ทำให้ระบบมีความต่อเนื่อง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่