คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
“...สถานการณ์ขณะนี้นายสมชายและรัฐบาลยังคงใช้ความพยายามจะอยู่ใน อำนาจต่อไป โดยการใช้วิธีการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมให้ตนเอง ทั้งๆ ที่นายกรัฐมนตรีหมดความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งไปแล้ว วิธีการดังกล่าวทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายมากขึ้น นอกจากการบิดเบือนข้อเท็จจริงแล้วยังโยนบาปตั้งข้อกล่าวหาให้กับผู้ชุมนุม วิธีการดังกล่าวนับเป็นเงื่อนไขนำไปสู่ความแตกแยกรุนแรงมากขึ้น พรรค ปชป. จึงเห็นว่าการอยู่ในตำแหน่งต่อไปของนายกรัฐมนตรีเป็นปัญหาต่อการแก้ไข สถานการณ์ของบ้านเมือง
พรรค ปชป.เห็นว่า นายกรัฐมนตรีไม่มีความชอบธรรมอยู่ในตำแหน่งต่อไป และไม่อาจแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้อีกแล้ว สอดคล้องกับความเห็นของอธิการบดี 30 สถาบัน นพ.ประเวศ วะสี และนักธุรกิจ รวมถึงนักวิชาการ ซึ่งต่างเรียกร้องตรงกันว่า นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง...”
จาก เนื้อความทั้งหมดเฉพาะปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 ว่าด้วยเรื่องการใช้วาทกรรม “ความชอบธรรมทาง ใน 2 กรณีหลัก คือ กรณีการใช้วาทกรรม “ความชอบธรรมทางการเมือง” เพื่ออธิบายต่อสังคมว่าตนมีความชอบธรรม และกรณีการใช้วาทกรรม “ความชอบธรรมทางการเมือง” เพื่ออธิบายต่อสังคมว่าบุคคลผู้นั้นหรือองค์กรนั้นขาดซึ่งความชอบธรรม โดยประมวลสรุปประเด็นได้ดังนี้
ปี พ.ศ. 2552
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาลว่า มีความชอบธรรมจากการดำเนินตามกติกาของรัฐธรรมนูญ กระบวนการรัฐสภา และกระบวนการยุติธรรม จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงปัญหาความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลว่า เกิดจากความล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง ที่มาของรัฐบาลที่มาจากการใช้กติกาและกลไกที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และการขาดความสามารถในการทำงานประยูร ผู้ซึ่งติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองไทย วิเคราะห์ว่า เกิดการแย่งชิงความชอบธรรมทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน เพื่อเป้าหมายในการดึงความเชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชนให้โน้มเอียงมาทาง ฝ่ายตน
ปี พ.ศ. 2551
พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคฝ่าย ค้านกล่าวว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ไม่มีความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่ง เพราะมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงและมีการโยนบาปตั้งข้อกล่าวหาให้กับผู้ชุมนุม ต่อกรณีเหตุการณ์ทางการเมืองวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551
สำหรับ “ตัวชี้วัดความชอบธรรมทางการเมือง” ตามข้อมูลข้างต้น พอวิเคราะห์ว่ามีดังนี้ คือ
1. การยอมรับต่อการปกครองนั้นของผู้ถูกปกครอง ซึ่งวัดได้จากระดับการให้การสนับสนุนจากสาธารณชน
2.การยอมรับในที่มาของการเข้าสู่อำนาจของผู้ปกครองด้วยการทำตามกฎเกณฑ์ที่มีอยู่
3.การยอมรับว่าผู้ปกครองใช้อำนาจบริหารประเทศอย่างเหมาะสมภายใต้กฎเกณฑ์ กระบวนการ และกฎหมาย
4.การให้การยอมรับว่าผู้ปกครองใช้อำนาจบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ในทางการเมือง พบว่า “ความชอบธรรมทางการเมือง” เป็นเพียงการใช้วาทกรรมเพื่อสร้าง “ความชอบธรรมทางการเมือง” อธิบายต่อสังคมว่าตนมีความชอบธรรม หรือใช้วาทกรรม “ความชอบธรรมทางการเมือง” เพื่ออธิบายต่อสังคมว่าบุคคลผู้นั้นหรือองค์กรนั้นขาดซึ่งความชอบธรรม ส่วนกรณีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านกำลังช่วงชิงความชอบธรรม ทางการเมืองเพื่อความได้เปรียบทางการเมืองนั้น ถือเป็นกรณีมุมมองเชิงวิพากษ์ที่มองเข้าไปหาฝ่ายการเมืองว่ากำลังทำอะไรกัน อยู่ หรือกำลังเล่นเกมอะไรกันอยู่เห็นได้ว่า “ความชอบธรรมทางการเมือง” เป็นคำที่ถูกนำไปใช้โดยคนหลายคน กลุ่มหลายกลุ่ม และองค์กรหลายองค์กร เท่านั้น ผ่านผู้มีอำนาจอิทธิพลทางการเมือง ซึ่งทุกครั้งเหมือนเอาประชาชนเป็นตัวประกันในการกล่าวอ้าง ในการสร้างความชอบธรรมทางการเมือง
ใน ระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ “ประชาชน” ถือได้ว่าตกเป็นเครื่องมือสำคัญในการใช้วาทกรรมนี้ เนื่องจากเป็นผู้ที่ถูกผูกโยงกำหนดให้แสดงบทตัดสินหรือพิพากษาว่าบุคคลผู้ นั้นหรือองค์กรนั้น “มีความชอบธรรม” หรือ “ไม่มีความชอบธรรม” แต่พบว่าประชาชนจำนวนมากไม่ได้ติดตามรับรู้ถึงข่าวสารความเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือติดตามบ้างแต่ไม่ลึกซึ้งและต่อเนื่อง อีกทั้งยังไม่มีความรู้ความเข้าใจโดยพื้นฐานว่าอะไรคือ “ความชอบธรรมทางการเมือง” เช่นนี้ประชาชนจึงเป็นเสมือนเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมของการใช้วาทกรรมดังกล่าว
บ่อยครั้งที่ความชอบธรรมทางการเมือง ถูกนำเพื่อค้ำยัน เพิ่มความมั่นคงแก่ผู้มีอำนาจในรัฐในเชิงของการบริหารจัดการองค์กร และกลุ่มคนที่สนับสนุน และไม่สนับสนุนให้หันกลับมายอมรับในสิ่งที่ตนหรือรัฐต้องการมากกว่าเหตุผลในด้านอื่น และทุกครั้งประชาชนก็จะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกล่าวอ้าง เพื่อสร้างความชอบธรรมของรัฐหรือกลุ่มคนของตน
ทำอย่างไร ความชอบธรรมทางการเมือง จึงจะเป็นผลในทางเกื้อหนุนระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คงหนีไม่พ้นเรื่องของการสร้างภูมิคุ้มกัน และภูมิรู้ในเรื่องของการเมืองการปกครอง ด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนแก่ประชาชนให้เข้าใจอย่างมีเหตุผล และรู้เท่าทันพัฒนาการของเหตุการณ์ทางการเมืองของแต่ละช่วงเหตุการณ์ และรู้จักความพอประมาณในการแสดงออก ในการยอมรับและปฏิเสธกระบวนการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของผู้ที่กล่าวอ้างอย่างสร้างสรรค์และมีคุณธรรม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน รู้จักแยกแยะเรื่องอารมณ์รัก ชอบ โกรธ หลง เกลียด และแค้นส่วนตัวออกจากเรื่องข้อเท็จจริงและเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งจะส่งผลให้ “ความชอบธรรมทางการเมือง” เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอย่างแท้จริง มากกว่าเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความมั่นคงของรัฐหรือกลุ่มคนของตนเท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
ปชป. ชี้รัฐบาลหมดความชอบธรรม. (2551). จาก http://www.ryt9.com/s/iq02/ 448200/
เสวนา “6 เดือน รัฐบาลอภิสิทธิ์ : ล้มเหลวจากที่มาและกติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย”. (2552). จาก http://www.pitakthai.com/article/politic/787.html
วีระ เลิศสมพร. รัฐบาลไทยกับความชอบธรรมทางการเมือง. จาก
http://www.kpi.ac.th/portal/knowledge/article_detail.php?id=68
อภิสิทธิ เวชชาชีวะ. (2552). ความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล : สัญญาณให้บริหารประเทศ
ต่อไป. จาก http://www.abhisit.org/visiondetail.php?cate_id=133
Alagappa, M. (Ed.). (1995). Political Legitimacy in Southeast Asia: The Quest for Moral Authority. California: Stanford.
Sternberger, D. (1968). Legitimacy. In D.L. Sills (Ed.). International Encyclopedia ofthe Social Sciences. (9), 244. New York: Macmillan.
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย บินหลาดง
สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
Credit : ความชอบธรรมทางการเมือง กับความมั่นคงของรัฐ/กลุ่ม บินหลาดง
https://www.gotoknow.org/posts/449380
เอาล่ะครับความชอบธรรมของพวกคุณคืออะไร? จะตอบหรือไม่ก็ได้ครับทุกคำตอบมีคุณค่าครับหากแสดงด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ความชอบใจ
การตอบโต้
การเลือกข้าง
การเชื่อตามที่บอกต่อๆกันมาโดยไม่คิดถึงความจริง
ความยุติธรรมที่เชื่อว่ายุติธรรมจริงเป็นที่สุดแล้ว
หรืออื่นๆตามแต่ที่จะคิดออกกัน
พรรค ปชป.เห็นว่า นายกรัฐมนตรีไม่มีความชอบธรรมอยู่ในตำแหน่งต่อไป และไม่อาจแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้อีกแล้ว สอดคล้องกับความเห็นของอธิการบดี 30 สถาบัน นพ.ประเวศ วะสี และนักธุรกิจ รวมถึงนักวิชาการ ซึ่งต่างเรียกร้องตรงกันว่า นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง...”
จาก เนื้อความทั้งหมดเฉพาะปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 ว่าด้วยเรื่องการใช้วาทกรรม “ความชอบธรรมทาง ใน 2 กรณีหลัก คือ กรณีการใช้วาทกรรม “ความชอบธรรมทางการเมือง” เพื่ออธิบายต่อสังคมว่าตนมีความชอบธรรม และกรณีการใช้วาทกรรม “ความชอบธรรมทางการเมือง” เพื่ออธิบายต่อสังคมว่าบุคคลผู้นั้นหรือองค์กรนั้นขาดซึ่งความชอบธรรม โดยประมวลสรุปประเด็นได้ดังนี้
ปี พ.ศ. 2552
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาลว่า มีความชอบธรรมจากการดำเนินตามกติกาของรัฐธรรมนูญ กระบวนการรัฐสภา และกระบวนการยุติธรรม จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงปัญหาความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลว่า เกิดจากความล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง ที่มาของรัฐบาลที่มาจากการใช้กติกาและกลไกที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และการขาดความสามารถในการทำงานประยูร ผู้ซึ่งติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองไทย วิเคราะห์ว่า เกิดการแย่งชิงความชอบธรรมทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน เพื่อเป้าหมายในการดึงความเชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชนให้โน้มเอียงมาทาง ฝ่ายตน
ปี พ.ศ. 2551
พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคฝ่าย ค้านกล่าวว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ไม่มีความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่ง เพราะมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงและมีการโยนบาปตั้งข้อกล่าวหาให้กับผู้ชุมนุม ต่อกรณีเหตุการณ์ทางการเมืองวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551
สำหรับ “ตัวชี้วัดความชอบธรรมทางการเมือง” ตามข้อมูลข้างต้น พอวิเคราะห์ว่ามีดังนี้ คือ
1. การยอมรับต่อการปกครองนั้นของผู้ถูกปกครอง ซึ่งวัดได้จากระดับการให้การสนับสนุนจากสาธารณชน
2.การยอมรับในที่มาของการเข้าสู่อำนาจของผู้ปกครองด้วยการทำตามกฎเกณฑ์ที่มีอยู่
3.การยอมรับว่าผู้ปกครองใช้อำนาจบริหารประเทศอย่างเหมาะสมภายใต้กฎเกณฑ์ กระบวนการ และกฎหมาย
4.การให้การยอมรับว่าผู้ปกครองใช้อำนาจบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ในทางการเมือง พบว่า “ความชอบธรรมทางการเมือง” เป็นเพียงการใช้วาทกรรมเพื่อสร้าง “ความชอบธรรมทางการเมือง” อธิบายต่อสังคมว่าตนมีความชอบธรรม หรือใช้วาทกรรม “ความชอบธรรมทางการเมือง” เพื่ออธิบายต่อสังคมว่าบุคคลผู้นั้นหรือองค์กรนั้นขาดซึ่งความชอบธรรม ส่วนกรณีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านกำลังช่วงชิงความชอบธรรม ทางการเมืองเพื่อความได้เปรียบทางการเมืองนั้น ถือเป็นกรณีมุมมองเชิงวิพากษ์ที่มองเข้าไปหาฝ่ายการเมืองว่ากำลังทำอะไรกัน อยู่ หรือกำลังเล่นเกมอะไรกันอยู่เห็นได้ว่า “ความชอบธรรมทางการเมือง” เป็นคำที่ถูกนำไปใช้โดยคนหลายคน กลุ่มหลายกลุ่ม และองค์กรหลายองค์กร เท่านั้น ผ่านผู้มีอำนาจอิทธิพลทางการเมือง ซึ่งทุกครั้งเหมือนเอาประชาชนเป็นตัวประกันในการกล่าวอ้าง ในการสร้างความชอบธรรมทางการเมือง
ใน ระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ “ประชาชน” ถือได้ว่าตกเป็นเครื่องมือสำคัญในการใช้วาทกรรมนี้ เนื่องจากเป็นผู้ที่ถูกผูกโยงกำหนดให้แสดงบทตัดสินหรือพิพากษาว่าบุคคลผู้ นั้นหรือองค์กรนั้น “มีความชอบธรรม” หรือ “ไม่มีความชอบธรรม” แต่พบว่าประชาชนจำนวนมากไม่ได้ติดตามรับรู้ถึงข่าวสารความเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือติดตามบ้างแต่ไม่ลึกซึ้งและต่อเนื่อง อีกทั้งยังไม่มีความรู้ความเข้าใจโดยพื้นฐานว่าอะไรคือ “ความชอบธรรมทางการเมือง” เช่นนี้ประชาชนจึงเป็นเสมือนเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมของการใช้วาทกรรมดังกล่าว
บ่อยครั้งที่ความชอบธรรมทางการเมือง ถูกนำเพื่อค้ำยัน เพิ่มความมั่นคงแก่ผู้มีอำนาจในรัฐในเชิงของการบริหารจัดการองค์กร และกลุ่มคนที่สนับสนุน และไม่สนับสนุนให้หันกลับมายอมรับในสิ่งที่ตนหรือรัฐต้องการมากกว่าเหตุผลในด้านอื่น และทุกครั้งประชาชนก็จะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกล่าวอ้าง เพื่อสร้างความชอบธรรมของรัฐหรือกลุ่มคนของตน
ทำอย่างไร ความชอบธรรมทางการเมือง จึงจะเป็นผลในทางเกื้อหนุนระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คงหนีไม่พ้นเรื่องของการสร้างภูมิคุ้มกัน และภูมิรู้ในเรื่องของการเมืองการปกครอง ด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนแก่ประชาชนให้เข้าใจอย่างมีเหตุผล และรู้เท่าทันพัฒนาการของเหตุการณ์ทางการเมืองของแต่ละช่วงเหตุการณ์ และรู้จักความพอประมาณในการแสดงออก ในการยอมรับและปฏิเสธกระบวนการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของผู้ที่กล่าวอ้างอย่างสร้างสรรค์และมีคุณธรรม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน รู้จักแยกแยะเรื่องอารมณ์รัก ชอบ โกรธ หลง เกลียด และแค้นส่วนตัวออกจากเรื่องข้อเท็จจริงและเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งจะส่งผลให้ “ความชอบธรรมทางการเมือง” เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอย่างแท้จริง มากกว่าเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความมั่นคงของรัฐหรือกลุ่มคนของตนเท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
ปชป. ชี้รัฐบาลหมดความชอบธรรม. (2551). จาก http://www.ryt9.com/s/iq02/ 448200/
เสวนา “6 เดือน รัฐบาลอภิสิทธิ์ : ล้มเหลวจากที่มาและกติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย”. (2552). จาก http://www.pitakthai.com/article/politic/787.html
วีระ เลิศสมพร. รัฐบาลไทยกับความชอบธรรมทางการเมือง. จาก
http://www.kpi.ac.th/portal/knowledge/article_detail.php?id=68
อภิสิทธิ เวชชาชีวะ. (2552). ความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล : สัญญาณให้บริหารประเทศ
ต่อไป. จาก http://www.abhisit.org/visiondetail.php?cate_id=133
Alagappa, M. (Ed.). (1995). Political Legitimacy in Southeast Asia: The Quest for Moral Authority. California: Stanford.
Sternberger, D. (1968). Legitimacy. In D.L. Sills (Ed.). International Encyclopedia ofthe Social Sciences. (9), 244. New York: Macmillan.
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย บินหลาดง
สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
Credit : ความชอบธรรมทางการเมือง กับความมั่นคงของรัฐ/กลุ่ม บินหลาดง
https://www.gotoknow.org/posts/449380
เอาล่ะครับความชอบธรรมของพวกคุณคืออะไร? จะตอบหรือไม่ก็ได้ครับทุกคำตอบมีคุณค่าครับหากแสดงด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ความชอบใจ
การตอบโต้
การเลือกข้าง
การเชื่อตามที่บอกต่อๆกันมาโดยไม่คิดถึงความจริง
ความยุติธรรมที่เชื่อว่ายุติธรรมจริงเป็นที่สุดแล้ว
หรืออื่นๆตามแต่ที่จะคิดออกกัน
แสดงความคิดเห็น
ความชอบธรรมทางการเมือง กับความมั่นคงของรัฐ/กลุ่ม บินหลาดง
ความชอบธรรมทางการเมือง กับความมั่นคงของรัฐ /กลุ่ม
รัฐ หมายถึง กลุ่มคนที่รวมกันอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน และมีรัฐบาลซึ่งมีอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการดำเนินกิจการของรัฐในประเทศและนอกประเทศโดยอิสระ ดังนั้นรัฐจึงเป็นสังคมที่มีการจัดองค์กรทางการเมืองแตกต่างจากการรวมตัวกันเป็นสังคมแบบธรรมดา ๆ ความหมายของรัฐเน้นในเรื่องการเมือง คือ มีการจัดองค์กรในรูปแบบที่ว่า มีคนจำนวนหนึ่งเป็นผู้ปกครองมีอำนาจเหนือกลุ่มคนทั้งหมด อำนาจของผู้ปกครองนี้อาจได้มาด้วยการใช้กำลัง หรือความยินยอมมอบให้ หรือการยอมรับของคนที่อยู่ในสังคมนั้นทางใดทางหนึ่งก็ได้ คำว่า รัฐ นี้อาจให้ความหมายโดยสมบูรณ์ว่า รัฐประชาชาติ ก็ได้
องค์ประกอบของรัฐ
การจัดว่าสังคมเป็นรัฐ หรือรัฐประชาชาติ ตามที่เรียกกันในปัจจุบันนั้น ต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ จะขาดประการใดประการหนึ่งไม่ได้ แต่ละองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. ประชากร
2. ดินแดน
3. รัฐบาล
4. อธิปไตย
รัฐบาล เป็นผู้ทำหน้าที่คุ้มครองรักษาความสงบภายใน ป้องกันการรุกรานจากภายนอก จัดการทางเศรษฐกิจ และการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชากรที่อาศัยอยู่ในรัฐ รวมทั้งการดำเนินกิจการของรัฐในทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย
รัฐบาลอาจเรียกรวมไปถึงคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคณะบุคคลฝ่ายบริหาร ที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีตำแหน่งต่างๆกันหลายคน มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ มีอำนาจเรียกประชุม กำหนดเรื่องที่จะประชุม เป็นประธานในที่ประชุม และขอมติจากที่ประชุม ตลอดจนบังคับบัญชา หรือสั่งการในเรื่องต่างๆ
องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญในอดีตกำหนดจำนวนรัฐมนตรีไว้แตกต่างกัน ซึ่งปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา171 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน รวมคณะรัฐมนตรีทั้งคณะไม่เกิน 36 คน
“ความชอบธรรมทางการเมือง” หมายถึงอะไร มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง
Sternberger (1968) ให้คำนิยามความชอบธรรมว่า “เป็นรากฐานแห่งอำนาจปกครองที่ถูกนำไปใช้ใน 2 นัย ได้แก่ ความตระหนักรู้ในส่วนของผู้ปกครองว่าตนเองมีสิทธิในการปกครอง และการให้การยอมรับต่อการปกครองนั้นของผู้ถูกปกครอง”
Alagappa (1995) อธิบายว่าความชอบธรรมทางการเมืองมีองค์ประกอบอยู่ 4 ประการ ดังนี้
1.การมีแบบแผนและค่านิยมร่วมกันของคนในสังคม (shared norms and values) การมีแบบแผนและค่านิยมร่วมกันของคนในสังคมที่ผ่านความสืบเนื่องกันมาในเชิง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นตัวกำหนดประเภทของระบบการเมือง การใช้อำนาจของรัฐ และการยอมรับของประชาชนต่อการใช้อำนาจนั้น องค์ประกอบข้อนี้มีตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับเรื่องความชอบธรรมทางการเมือง ได้แก่
1)ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ทางการเมือง (conflict over organizing ideology) หากมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใหม่เกิดขึ้นมาท้าทายอุดมการณ์ทางการเมืองแบบ เดิมที่มีอยู่และสามารถขยายแนวร่วมได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อแบบแผนและค่านิยมที่เป็นอยู่ ซึ่งความชอบธรรมของผู้ปกครองขณะนั้นย่อมถูกลดทอนลงและอาจถึงขั้นเกิดการ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามมา
2)การใช้กำลังบังคับให้ทำตามของรัฐหรือ ผู้ปกครองภายใต้ข้ออ้างเรื่อง ความสงบสุขของสังคม (the use of force in securing compliance) โดยแยกพิจารณาออกเป็น 2 สภาวะ คือ ผู้ใช้กำลังต้องมีความชอบธรรมในตนเอง และการใช้กำลังนั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอันมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม มีคำถามเกิดขึ้นว่า การใช้กำลังที่ว่านี้ถือว่ามีความชอบธรรมหรือไม่ เพียงใด คำตอบคือ “ไม่มีคำตอบที่แน่นอนตายตัว (no clear-cut answer is possible)” เพราะมีความแปรผันไปตามบริบท วัตถุประสงค์ และขอบเขตของการใช้กำลัง ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีการใช้กำลังเพื่อจัดระเบียบสังคมให้เกิดเสถียรภาพ ความชอบธรรมในการใช้อำนาจของผู้ปกครองอาจเป็นไปในเชิงบวกภายใต้สายตาของผู้ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่ถูกใช้กำลังเข้าจัดการ ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ปกครองมีลักษณะยัดเยียดอุดมการณ์ทางการเมืองให้กับ ประชาชนและใช้กำลังปราบปรามผู้ต่อต้านอย่างรุนแรงอันขัดกับเจตจำนงของ ประชาชน ก็อาจได้รับการมองว่าไม่มีความชอบธรรมในการใช้กำลังนั้น ดังเช่นกรณีรัฐบาลทหารพม่า(คล้ายบ้านเราเนอะ)
3)ระดับการให้การสนับสนุนจากสาธารณชน (degree of public support) หากสาธารณชนออกมามีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยการใช้สิทธิเลือกตั้ง การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง การให้การสนับสนุนยอมรับนโยบายของรัฐบาลและสิ่งที่รัฐบาลขอความร่วมมือในบาง กรณี และการให้ความเชื่อมั่นในความมีประสิทธิภาพของระบบยุติธรรม เช่นนี้ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อการมีแบบแผนและค่านิยมร่วมกันของคนในสังคมที่ ก่อให้เกิดมุมมองความชอบธรรมในตัวระบบการเมืองและรัฐบาล ในทางตรงกันข้ามถ้าหากระดับการสนับสนุนจากสาธารณชนมีน้อย ด้วยเพราะมีการขยายตัวของความไม่เชื่อมั่นในระบบยุติธรรม การหลีกเลี่ยงไม่ให้ความร่วมมือในคำสั่งหรือการจัดระเบียบของทางรัฐบาล การไม่ให้ความเคารพเชื่อฟังทางการเมือง ความเคลือบแคลงใจ และการมองสังคมในแง่ร้าย เช่นนี้ถือว่ามีผลกระทบต่อการมีแบบแผนและค่านิยมร่วมกันของคนในสังคมที่ก่อ ให้เกิดมุมมองความไม่ชอบธรรมในตัวระบบการเมืองและรัฐบาล
2.การเข้าสู่อำนาจด้วยการทำตามกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ (conformity with established rules for acquiring powers) ผู้ปกครองหรือรัฐบาลที่ก้าวเข้าสู่อำนาจภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ถือว่ามีความชอบธรรมในสายตาของคนส่วนใหญ่ในชาติของตน หากเข้าสู่อำนาจด้วยวิถีทางอื่นถือว่าขาดความชอบธรรม อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้อาจใช้อธิบายไม่ได้กับกรณีการเมืองในประเทศกำลังพัฒนา หลายประเทศ เพราะถึงแม้ว่าเกิดเหตุการณ์การได้มาซึ่งอำนาจของรัฐบาลชุดใหม่ที่มิได้มา ตามวิถีทางและกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ เช่น การก่อรัฐประหาร แต่ก็ได้รับการยอมรับจากคนในสังคมว่ามีความชอบธรรมในการได้มาซึ่งอำนาจนั้น โดยรัฐบาลดังกล่าวสามารถเริ่มต้นสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองได้ 2 ทาง คือ ทางแรก ด้วยการอาศัยกรณีเหตุการณ์ทางการเมืองที่เพิ่งผ่านพ้นไปในการสร้างแบบแผนและ ค่านิยมในหมู่ชนให้เกิดการยอมรับในรัฐบาลใหม่ และพยายามลดความชอบธรรมของระบอบเดิมหรือความชอบธรรมของรัฐบาลชุดที่แล้ว ทางที่สอง ด้วยการอาศัยบารมีของผู้นำคนใหม่ จากนั้นในระยะยาวค่อยเสริมสร้างความชอบธรรมให้เพิ่มมากขึ้น
3.การใช้อำนาจอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ (proper and effective use of power) มีความหมายอยู่ 2 นัย คือ นัยแรกเป็นการใช้อำนาจบริหารประเทศภายใต้กฎเกณฑ์ กระบวนการ และกฎหมาย และนัยที่สองเป็นการใช้อำนาจอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวม แก่คนในสังคม มิใช่ตกอยู่กับตนเองและพวกพ้อง
อย่างไรก็ตามเรื่องการทำงานของรัฐบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจมิได้หมายความ ถึงการขาดความชอบธรรมเสมอไป เนื่องด้วยหากรัฐบาลนั้นบริหารงานล้มเหลว กระบวนการการเลือกตั้งในครั้งต่อไปจะเป็นตัวตัดสิน (ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย) แต่เนื่องจากผู้คนมักคิดเชื่อมโยงเรื่องประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาล เข้ากับเรื่องความชอบธรรม จึงทำให้เรื่องประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาลกลายเป็นตัวชี้วัดที่เป็น รูปธรรมสำหรับใช้วัดระดับความชอบธรรมของรัฐบาล
4.การให้ความยอมรับในการปกครอง (consent of the governed) การให้ความยอมรับในการปกครองแตกต่างกันไปตามลักษณะของระบอบการปกครอง ยกตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตยการให้การยอมรับของประชาชนในการปกครองของผู้ปกครองขึ้น อยู่กับเรื่องของการเปิดกว้างให้ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ และส่วนร่วม ส่วนในระบอบอำนาจนิยมและระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จการให้การยอมรับในการ ปกครองมุ่งไปที่เรื่องการบริหารงานของรัฐบาลว่าบรรลุเป้าหมายและนโยบายที่ แถลงไว้มากน้อยเพียงใด มากกว่าดูที่รูปร่างหน้าตาองคาพยพของรัฐบาล
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (2552) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาลโดยมีใจความตอนหนึ่งว่า “...ในยามที่ประเทศชาติประสบวิกฤต พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามารับผิดชอบบริหารประเทศ เช่นเดียวกับช่วงเวลานี้ประเทศชาติเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองและ เศรษฐกิจ จากสาเหตุดังกล่าวทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยน แปลงการเมือง เพื่อให้ประเทศสามารถเดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ จึงเป็นเหตุให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามาบริหารประเทศในฐานะที่เป็นรัฐบาล ได้พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยความชอบธรรมจากการดำเนินตามกติกาของรัฐธรรมนูญ กระบวนการรัฐสภา และกระบวนการยุติธรรม สัญญาณที่บ่งบอกว่าประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินงานต่อไป คือ ผลการเลือกตั้งซ่อมในเดือนมกราคม และผลการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ...”
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้แถลงถึง 6 เดือนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่โรงแรมเรดิสัน ว่าด้วยเรื่อง “เสวนา 6 เดือน รัฐบาลอภิสิทธิ์ : ล้มเหลวจากที่มาและกติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย” (2552) ซึ่งทำให้เป็นปัญหาความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล โดยมีใจความตอนหนึ่งดังนี้
“...ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็นเรื่องการเมืองบ่อยนัก แต่ถึงตอนนี้เห็นว่า เป็นโอกาสครบ 6 เดือนของการบริหารรัฐบาลปัจจุบัน น่าจะได้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ผลงานรัฐบาลเสียบ้าง ซึ่งเมื่อก่อนก็เคยวิจารณ์การทำงานของ คมช. ในการติดตามผลงานการทำงานรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งพบว่าขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในภาวะที่ต้องประสบวิกฤตทั้งทางด้าน เศรษฐกิจและการเมือง เป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ทำให้ประเทศไทยประสบวิกฤตหนักหนาสาหัสมากกว่าครั้งใด ๆ ในรอบหลายสิบปี ในการที่จะต้องมารับกับวิกฤตอย่างนี้ และพบว่ารัฐบาลปัจจุบันประสบความล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง
รัฐบาลนี้ไม่ได้มาจากประชาชนในการเลือกตั้ง แต่มาจากการใช้กติกาและกลไกที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเข้ามาเปลี่ยนรัฐบาลที่มา จากการเลือกตั้งมาแทนที่ โดยอาศัยหลายฝ่ายที่ไม่ใช่ประชาชนมาสนับสนุน จึงเป็นรัฐบาลที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยผู้ตั้งตัวเองเป็นรัฐบาล มีความเกรงอกเกรงใจมากเป็นพิเศษ จนรัฐบาลนี้ไม่อาจจะเป็นตัวของตัวเองได้...
ที่สำคัญ รัฐบาลนี้ยังขาดความสามารถในการบริหาร กำหนดนโยบาย การสั่งการ การประสาน ปรึกษาหารือกับผู้รับผิดชอบงานในด้านต่าง ๆ จะเห็นผู้นำของรัฐบาลหรือคนสำคัญของรัฐบาลจะเน้นการพูด การชิงไหวชิงพริบ รวมถึงคนในรัฐบางส่วนเน้นการทำลายฝ่ายตรงข้ามมากกว่าที่จะหาทางแก้ปัญหาของ บ้านเมือง...”
หนึ่งปีก่อนหน้านั้น มีข่าวเรื่อง “ปชป. ชี้รัฐบาลหมดความชอบธรรม” (2551) ถูกนำเสนออกมาในช่วงความเป็นพรรคฝ่ายค้านของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้ออกแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชนต่อกรณีเหตุการณ์ทางการเมืองวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า....
เดี๋ยวมาลงต่อครับเนื้อที่ไม่พอว่างๆจะมาจัดรูปแบบให้อ่านได้ง่ายๆ