ในช่วงเวลาที่เริ่มมีเสียงวิพากษ์ว่าละครไทยวนเวียนกับพล็อตเดิม รีเมคซ้ำแล้วซ้ำเล่า ที่สำคัญผีในชาติภพที่แล้วยังวนเวียนตามมาหลอกหลอนไม่เลิกรา ซ้ำร้ายแต่ละช่องยังเอาหนังชาติภพมาปะทะหน้าจอกันอีก
เฉพาะพิษสวาท ถือว่าเป็นการรีเมคครั้งที่สาม แถมด้วยเสียงวิพากษ์อื้ออึง ก็เลยต้องกลับไปอ่านนวนิยายเพื่อจะได้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ
ก่อนจะเป็นละคร
เพื่อจะดูว่าพอจะมี ‘อะไร’ ใน ‘ความไม่มีอะไร’ และ ‘อย่างไร’
เราจะอ่านพิษสวาทผ่านอะไรก็ได้ แต่ต้องทำความเข้าใจด้วยว่าการอ่านผ่านกรอบที่ต่างกัน จะได้คำตอบที่ต่างกันไปด้วย
หรือแม้ว่าจะอ่านผ่านกรอบเดียวกัน แต่อยู่บนละแนวความคิด คำตอบก็จะแตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน เช่น อ่านเพื่อความบันเทิง
อ่านผ่านกรอบรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ กรอบประวัติศาสตร์ หรือชุดความคิดของวรรณกรรม ล้วนได้คำตอบแตกต่างกัน
แรกเริ่มนั้น ขอยืมพิษสวาทของเพื่อนมาอ่าน เพื่อความบันเทิงเป็นหลัก แต่อ่านไปๆ เอ๊ะ ในนวนิยายเล่มนี้ดูแปลกๆ ก็เลยลองใช้ชุดความคิดสตรีศึกษา
ว่าด้วยเพศ เพศสถานะ สถานภาพและแนวคิดสตรีนิยมมาลองถอดความดู
เท่านั้นแหละ ได้เรื่อง
ต้องเข้าใจก่อนว่า สตรีนิยม สตรีศึกษา ไม่ได้หมายความต้องการยกให้ผู้หญิงเป็นใหญ่ แต่เป็นการศึกษาแขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นทำความเข้าใจผู้หญิง
ในสภาพสังคมแวดล้อม ที่ส่วนใหญ่แล้วถูกกดทับปิดบังเอาไว้ แนวคิดนี้จึงเปิดให้เราได้เข้าไปศึกษาความคิด พฤติกรรม ผลจากการกระทำต่างๆ
และเปิดเผยให้รู้เข้าใจโลกของผู้หญิงว่า “ความหมายแห่งตัวตน” ของเธอเป็นอย่างไร รวมทั้งหนทางที่ ‘เธอผู้นั้น’ หยัดยืนสู้กับโลกของ ‘ผู้ชายอย่างไร’ เพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิ์ เสียงและความเสมอภาค เท่าเทียมผู้ชาย
ลองย้อนรอยกลับไปดูสังคมช่วงที่ทมยันตีกำลังเขียนนวนิยายพิษสวาทกันว่าในห้วงเวลานั้นมีเหตุการณ์อะไรบ้าง คนไทยเค้าคุยอะไรกัน
และเรื่องไหนบ้างที่มีอิทธิพลที่ทำให้เกิดพิษสวาทกันบ้าง
------- อ่านพิษสวาทผ่าน ‘มุมมองสตรีนิยม’ : ก่อนจะเป็นพิษสวาท เมื่ออุบลต่อรองพญายมและสโรชินีวิพากษ์สังคม --------
เฉพาะพิษสวาท ถือว่าเป็นการรีเมคครั้งที่สาม แถมด้วยเสียงวิพากษ์อื้ออึง ก็เลยต้องกลับไปอ่านนวนิยายเพื่อจะได้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ
ก่อนจะเป็นละคร
เพื่อจะดูว่าพอจะมี ‘อะไร’ ใน ‘ความไม่มีอะไร’ และ ‘อย่างไร’
เราจะอ่านพิษสวาทผ่านอะไรก็ได้ แต่ต้องทำความเข้าใจด้วยว่าการอ่านผ่านกรอบที่ต่างกัน จะได้คำตอบที่ต่างกันไปด้วย
หรือแม้ว่าจะอ่านผ่านกรอบเดียวกัน แต่อยู่บนละแนวความคิด คำตอบก็จะแตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน เช่น อ่านเพื่อความบันเทิง
อ่านผ่านกรอบรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ กรอบประวัติศาสตร์ หรือชุดความคิดของวรรณกรรม ล้วนได้คำตอบแตกต่างกัน
แรกเริ่มนั้น ขอยืมพิษสวาทของเพื่อนมาอ่าน เพื่อความบันเทิงเป็นหลัก แต่อ่านไปๆ เอ๊ะ ในนวนิยายเล่มนี้ดูแปลกๆ ก็เลยลองใช้ชุดความคิดสตรีศึกษา
ว่าด้วยเพศ เพศสถานะ สถานภาพและแนวคิดสตรีนิยมมาลองถอดความดู
เท่านั้นแหละ ได้เรื่อง
ต้องเข้าใจก่อนว่า สตรีนิยม สตรีศึกษา ไม่ได้หมายความต้องการยกให้ผู้หญิงเป็นใหญ่ แต่เป็นการศึกษาแขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นทำความเข้าใจผู้หญิง
ในสภาพสังคมแวดล้อม ที่ส่วนใหญ่แล้วถูกกดทับปิดบังเอาไว้ แนวคิดนี้จึงเปิดให้เราได้เข้าไปศึกษาความคิด พฤติกรรม ผลจากการกระทำต่างๆ
และเปิดเผยให้รู้เข้าใจโลกของผู้หญิงว่า “ความหมายแห่งตัวตน” ของเธอเป็นอย่างไร รวมทั้งหนทางที่ ‘เธอผู้นั้น’ หยัดยืนสู้กับโลกของ ‘ผู้ชายอย่างไร’ เพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิ์ เสียงและความเสมอภาค เท่าเทียมผู้ชาย
ลองย้อนรอยกลับไปดูสังคมช่วงที่ทมยันตีกำลังเขียนนวนิยายพิษสวาทกันว่าในห้วงเวลานั้นมีเหตุการณ์อะไรบ้าง คนไทยเค้าคุยอะไรกัน
และเรื่องไหนบ้างที่มีอิทธิพลที่ทำให้เกิดพิษสวาทกันบ้าง