เห่เอย....พระจันทร์เพ็ง เด่นลอยฟ้าเวหาหาว ทอแสงสุกสกาว เป็นเจ้าแห่งโพยมบน
ทรงกลดงามกระจ่าง แลสว่างทั่วเวหน เทียบกับพักตร์อุบล เจ้างามกว่าจันทราเอย
ลำนำ อุบล
ผู้ประพันธ์ ทมยันตี
.................................................................
มุดอยู่ในถ้ำปล้ำกับงานกับปัญหาสารพัดไม่ได้สนใจโลกเลย วันนี้ได้มีโอกาสเข้ากรุงเทพ เห็นป้ายประชาสัมพันธ์ละครพิษสวาท
อุแม่เจ้า ตกข่าวไปหรือไร ไฉนไม่ได้ข่าวคราว musical เรื่องนี้ ไม่ได้ไปดูแน่ๆ แต่ว่าขอร่วมระลึกถึงละครหลังข่าวพิษสวาท ด้วยการขุดกระทู้เก่าๆ มาร่วมด้วย
เป็นกระทู้เก่าที่เขียนไว้ในช่วงที่ละครออกอากาศทางช่องวัน ก่อนหน้านั้นเคยอ่านนวนิยายไว้ พอละครออกอากาศเลยได้เขียนกระทู้ถึงละครเรื่องนี้ไว้สองสามกระทู้ เลยแปะลิ้งค์ไว้เผื่อท่านที่สนใจไปดูละคร จะได้มีพื้นเพื่ออรรถรสในการเสพย์มากขึ้น
ตอนอ่านนวนิยายพิษสวาทของทมยันตีสมัยเด็ก ๆ ก็อ่านเอาเพลินๆ นะ แต่เมื่อกลับมาอ่านอีกครั้ง แล้วอ่านระหว่างบรรทัดแล้วรู้สึกว่ามีแนวคิดเฟมินิสต์ สตรีนิยมแฝงฝังไว้อยู่ เจือด้วยกลิ่นอายของบุรุษศึกษา สองกระทู้นี้จึงเขียนขึ้นในขนบของสตรีศึกษา
นั่งทวนกระทู้เก่า โอ้ว ตอนนั้นเขียนไปได้ยังไง ยากจัง แต่ก็ขอไม่แก้ไขปรับปรุงนะครับ ลิ้งค์ตามนี้เลย
ทมยันตีน่าจะเขียนนวนิยายพิษสวาทประมาณช่วง ปีพ.ศ. ๒๕๑๐ – พ.ศ.๒๕๑๒ และเริ่มทยอยตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ กระทู้แรกจึงเกี่ยวกับบริบทแวดล้อมด้านต่างๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ทมยันตีเขียนนวนิยายพิษสวาท เป็นบริบทแวดล้อมทั้งด้านสังคม รสนิยมในการเสพย์ละครหรือซีรีย์สในสมัยนี้ เรื่องของรัฐชาติ กระแสเฟมินิสต์ ที่สำคัญคือการขุดค้นและนำเสนอรายงานการค้นพบต่างๆ ในเขตพื้นที่ประวัติศาสตร์อยุธยา และมุขปาฐะเกี่ยวกับสมบัติ การลักลอบขุด รวมทั้งสิ้งลี้ลับ แต่ทมยันตีเลือกที่จะไม่เขียนถึงการค้นพบในกระแสหลัก กลับเพ่งกสิณไปที่กระแสรอง มองไปที่ “ตัวกาก” แล้วสร้างโครงเรื่องขึ้นมาในเงาของอุบล โดยมีบริบทแวดล้อมเป็นฉากขับเคลื่อน
------- อ่านพิษสวาทผ่าน ‘มุมมองสตรีนิยม’ : ก่อนจะเป็นพิษสวาท เมื่ออุบลต่อรองพญายมและสโรชินีวิพากษ์สังคม --------
https://ppantip.com/topic/35562977
กระทู้ที่สอง นำเสนอภาพรายละเอียดของอุบลในฐานะนางรำหลวง จุดจบ การลุกขึ้นสู้และการปลดปล่อยตนเอง ก่อนอื่นต้องเข้าใจขนบของ “นางรำหลวง” ก่อน นาฎยะท่าร่ายรำต่างๆ เป็นเหมือนศิลปะบันเทิง แต่เบื้องหลังนั้น คือเครือข่ายอำนาจในการปกครองระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง ขุนนางจะถวายลูกสาวเพื่อเข้าไปเป็นนางรำหลวง ซึ่งก็คือการแสดงความสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์นั่นเอง สมัยปลายอยุธยาสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงปฏิรูประบบนางรำหลวงครั้งใหญ่ กล่าวได้ว่านางรำหลวงดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์เขิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันทางเพศสถานะ หรืออีกนัยหนึ่งนางรำหลวงถูก “อำนาจ” กดทับชีวิตไว้ตลอดเวลา หะแรกนั้นอุบลไม่สำเหนียกถึงเรื่องนี้ แต่อุบลตระหนักในยามที่พระยาอรรคฯ ชายที่อุบลรักและเทิดทูน เงื้อดาบตวัดลงบนลำคอที่เรียวงามของอุบล และกลายเป็นความแค้นอาฆาต ที่อุบลต้องลุกขึ้นสู้เพื่อปลดปล่อยความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมที่ฝังอยู่ในมโนสำนึกของอุบล
--------------------------- อุบล Up-rising! : เมื่อ ‘ตัวกาก’ ร่ายรำนอกขนบ ‘นางรำหลวง’ -------------------------
https://ppantip.com/topic/35599129
ทั้งสองกระทู้ มาจากการตั้งคำถามว่า
เฟมินิสต์ ผีมีภาวะเฟมินิสต์ได้หรือไม่ ? กระทู้ทั้งสองกระทู้ จึงมีบทวิเคราะห์ คำสำคัญ ผมเอามาประมวลไว้ตรงนี้ ถ้าจะอ่านละเอียดก็ลองคลิ้กกระทู้ทั้งสองดูครับ
ถึงคราวสิ้นกรุงศรีฯ ไม่มีทางรอด แต่พอมีทางเลือก
ระหว่างอุบลถูกย่ำยี แม้จะไม่ตายแต่ก็ยิ่งกว่าตายทั้งเป็น กับ นางรำหลวงที่ทำหน้าที่โสมเฝ้าทรัพย์ ดูแลสมบัติแผ่นดินและเครื่องราชกุกุธภัณฑ์
ถ้าคุณเป็นพระยาอรรคฯ จะเลือกทางไหน ?
ประกายของโลหะวาววับ
ครั้นแล้วศีรษะงาม ก็ขาดสะบั้นลง
พร้อมกับโลหิตไหลพุ่ง !!!
“เธอสัญญาแล้วว่าวิญญาณเธอจะปกป้องทรัพย์แผ่นดินนั้นไว้ ขอให้วิญญาณเธอกระทำตาม
สัญญานั้นเถิด วิญญาณเธอจะสถิตอยู่ ณ ที่นี้ตลอดกาล”
หมายเหตุ
“รฦกกระลาแถง จยรจาก เจบมา”
กำสรวลสมุทร
ระลึกถวิลหาถึงท่วงท่าสง่าศรีของนางอันเป็นที่รัก แต่ว่าต้องตัดใจจำจากมาด้วยความเจ็บปวดใจ
------------------------------- ระลึกถึงกระทู้เก่าพิษสวาท พลัน “รฦกกระลาแถง จยรจาก เจบมา” ------------------------
ทรงกลดงามกระจ่าง แลสว่างทั่วเวหน เทียบกับพักตร์อุบล เจ้างามกว่าจันทราเอย
ลำนำ อุบล
ผู้ประพันธ์ ทมยันตี
.................................................................
มุดอยู่ในถ้ำปล้ำกับงานกับปัญหาสารพัดไม่ได้สนใจโลกเลย วันนี้ได้มีโอกาสเข้ากรุงเทพ เห็นป้ายประชาสัมพันธ์ละครพิษสวาท
อุแม่เจ้า ตกข่าวไปหรือไร ไฉนไม่ได้ข่าวคราว musical เรื่องนี้ ไม่ได้ไปดูแน่ๆ แต่ว่าขอร่วมระลึกถึงละครหลังข่าวพิษสวาท ด้วยการขุดกระทู้เก่าๆ มาร่วมด้วย
เป็นกระทู้เก่าที่เขียนไว้ในช่วงที่ละครออกอากาศทางช่องวัน ก่อนหน้านั้นเคยอ่านนวนิยายไว้ พอละครออกอากาศเลยได้เขียนกระทู้ถึงละครเรื่องนี้ไว้สองสามกระทู้ เลยแปะลิ้งค์ไว้เผื่อท่านที่สนใจไปดูละคร จะได้มีพื้นเพื่ออรรถรสในการเสพย์มากขึ้น
ตอนอ่านนวนิยายพิษสวาทของทมยันตีสมัยเด็ก ๆ ก็อ่านเอาเพลินๆ นะ แต่เมื่อกลับมาอ่านอีกครั้ง แล้วอ่านระหว่างบรรทัดแล้วรู้สึกว่ามีแนวคิดเฟมินิสต์ สตรีนิยมแฝงฝังไว้อยู่ เจือด้วยกลิ่นอายของบุรุษศึกษา สองกระทู้นี้จึงเขียนขึ้นในขนบของสตรีศึกษา
นั่งทวนกระทู้เก่า โอ้ว ตอนนั้นเขียนไปได้ยังไง ยากจัง แต่ก็ขอไม่แก้ไขปรับปรุงนะครับ ลิ้งค์ตามนี้เลย
ทมยันตีน่าจะเขียนนวนิยายพิษสวาทประมาณช่วง ปีพ.ศ. ๒๕๑๐ – พ.ศ.๒๕๑๒ และเริ่มทยอยตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ กระทู้แรกจึงเกี่ยวกับบริบทแวดล้อมด้านต่างๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ทมยันตีเขียนนวนิยายพิษสวาท เป็นบริบทแวดล้อมทั้งด้านสังคม รสนิยมในการเสพย์ละครหรือซีรีย์สในสมัยนี้ เรื่องของรัฐชาติ กระแสเฟมินิสต์ ที่สำคัญคือการขุดค้นและนำเสนอรายงานการค้นพบต่างๆ ในเขตพื้นที่ประวัติศาสตร์อยุธยา และมุขปาฐะเกี่ยวกับสมบัติ การลักลอบขุด รวมทั้งสิ้งลี้ลับ แต่ทมยันตีเลือกที่จะไม่เขียนถึงการค้นพบในกระแสหลัก กลับเพ่งกสิณไปที่กระแสรอง มองไปที่ “ตัวกาก” แล้วสร้างโครงเรื่องขึ้นมาในเงาของอุบล โดยมีบริบทแวดล้อมเป็นฉากขับเคลื่อน
------- อ่านพิษสวาทผ่าน ‘มุมมองสตรีนิยม’ : ก่อนจะเป็นพิษสวาท เมื่ออุบลต่อรองพญายมและสโรชินีวิพากษ์สังคม --------
https://ppantip.com/topic/35562977
กระทู้ที่สอง นำเสนอภาพรายละเอียดของอุบลในฐานะนางรำหลวง จุดจบ การลุกขึ้นสู้และการปลดปล่อยตนเอง ก่อนอื่นต้องเข้าใจขนบของ “นางรำหลวง” ก่อน นาฎยะท่าร่ายรำต่างๆ เป็นเหมือนศิลปะบันเทิง แต่เบื้องหลังนั้น คือเครือข่ายอำนาจในการปกครองระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง ขุนนางจะถวายลูกสาวเพื่อเข้าไปเป็นนางรำหลวง ซึ่งก็คือการแสดงความสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์นั่นเอง สมัยปลายอยุธยาสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงปฏิรูประบบนางรำหลวงครั้งใหญ่ กล่าวได้ว่านางรำหลวงดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์เขิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันทางเพศสถานะ หรืออีกนัยหนึ่งนางรำหลวงถูก “อำนาจ” กดทับชีวิตไว้ตลอดเวลา หะแรกนั้นอุบลไม่สำเหนียกถึงเรื่องนี้ แต่อุบลตระหนักในยามที่พระยาอรรคฯ ชายที่อุบลรักและเทิดทูน เงื้อดาบตวัดลงบนลำคอที่เรียวงามของอุบล และกลายเป็นความแค้นอาฆาต ที่อุบลต้องลุกขึ้นสู้เพื่อปลดปล่อยความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมที่ฝังอยู่ในมโนสำนึกของอุบล
--------------------------- อุบล Up-rising! : เมื่อ ‘ตัวกาก’ ร่ายรำนอกขนบ ‘นางรำหลวง’ -------------------------
https://ppantip.com/topic/35599129
ทั้งสองกระทู้ มาจากการตั้งคำถามว่า เฟมินิสต์ ผีมีภาวะเฟมินิสต์ได้หรือไม่ ? กระทู้ทั้งสองกระทู้ จึงมีบทวิเคราะห์ คำสำคัญ ผมเอามาประมวลไว้ตรงนี้ ถ้าจะอ่านละเอียดก็ลองคลิ้กกระทู้ทั้งสองดูครับ
ถึงคราวสิ้นกรุงศรีฯ ไม่มีทางรอด แต่พอมีทางเลือก
ระหว่างอุบลถูกย่ำยี แม้จะไม่ตายแต่ก็ยิ่งกว่าตายทั้งเป็น กับ นางรำหลวงที่ทำหน้าที่โสมเฝ้าทรัพย์ ดูแลสมบัติแผ่นดินและเครื่องราชกุกุธภัณฑ์
ถ้าคุณเป็นพระยาอรรคฯ จะเลือกทางไหน ?
ประกายของโลหะวาววับ
ครั้นแล้วศีรษะงาม ก็ขาดสะบั้นลง
พร้อมกับโลหิตไหลพุ่ง !!!
“เธอสัญญาแล้วว่าวิญญาณเธอจะปกป้องทรัพย์แผ่นดินนั้นไว้ ขอให้วิญญาณเธอกระทำตาม
สัญญานั้นเถิด วิญญาณเธอจะสถิตอยู่ ณ ที่นี้ตลอดกาล”
หมายเหตุ
“รฦกกระลาแถง จยรจาก เจบมา”
กำสรวลสมุทร
ระลึกถวิลหาถึงท่วงท่าสง่าศรีของนางอันเป็นที่รัก แต่ว่าต้องตัดใจจำจากมาด้วยความเจ็บปวดใจ