เพิ่งหยิบหนังสือ "แก่นการลงทุนแบบเน้นคุณค่า" มาอ่าน
แล้วชอบหลายปรัชญาที่อยู่ในเล่ม เลยอยากแชร์ครับ
- คนจำนวนไม่มากที่มีคุณสมบัติของนักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จ
บางคนอาจฝึกฝนได้ แต่ไม่ใช่ว่ามันจะเรียนรู้กันได้ทุกคน
- คุณต้องอดทนและให้เวลากับตัวเองมากพอ คุณไม่ได้หวังรวยลัดแต่ต้องการผลตอบแทนอันมั่นคงในระยะยาว
- "ถ้าคุณชอบสินค้าของบริษัทนั้น คุณก็ซื้อเลย" การเป็นนักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยอะไรมากกว่านั้นเยอะ
- ผลตอบแทนชั้นเยี่ยมจะเกิดจากการคาดการณ์ที่แตกต่างจากความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ได้อย่างถูกต้องเท่านั้น
- ในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน การประเมินมูลค่าที่เหมาะสมให้ได้ถูกต้อง เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ
- การลงทุนแบบเน้นคุณค่าหลีกเลี่ยงการคาดเดาอนาคต และการลงทุนแบบเน้นการเติบโตเน้นเรื่องการคาดเดาอนาคตเพียงอย่างเดียว (หาสไตล์ของตัวเองให้เจอ)
- ถ้าคุณเลือกธุรกิจถูก เวลาจะช่วยลดความเสียหายจากการซื้อแพงได้
- แน่นอนว่า การมองเห็นอนาคตยากกว่าการมองดูปัจจุบันมาก ดังนั้นโอกาสประสบความสำเร็จของนักลงทุนหุ้นเติบโตควรจะต่ำกว่า แต่ผลตอบแทนของการประสบความสำเร็จอาจจะสูงกว่า
- โดยทั่วไปแล้ว ระยะเวลา 2-3 ปี จะเพียงพอสำหรับการปรับราคาให้ "ถูกต้อง" ของตลาด
- นักลงทุนควรคำนึงถึงความเสี่ยงเรื่องการล้าสมัยด้วย เนื่องจากมันสามารถทำให้หุ้นถูกกลายเป็นกับดักมูลค่า (Value trap)
- การรู้ว่าควรซื้อเมื่อไหร่ช่วยบรรเทาความผิดพลาดที่เกิดจากการขายเร็วเกินไปได้
- แค่เลือกซื้อหุ้นของบริษัทชั้นดีมันไม่พอ คุณต้องซื้อในระดับราคาที่สมเหตุผลด้วย (ราคาถูกได้ยิ่งดี)
- ต่อให้ข้อดีต่างๆ ของหุ้นเป็นความจริง คุณก็ยังสามารถขาดทุนได้ ถ้าคุณซื้อมันมาในราคาที่แพงเกินไป
- ซื้อในราคาที่ควรซื้อเป็นสิ่งที่ยาก แต่ถ้าทำได้อย่างถูกต้องแล้ว เวลาและผู้เล่นคนอื่นๆ ในตลาดจะจัดการกับส่วนที่เหลือเอง
- การตัดสินใจของคุณควรจะคิดถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ใช่คิดถึงแต่เรื่องผลตอบแทนอย่างเดียว
- นักลงทุนชั้นเซียนหลายๆ คน จะยึดมั่นกับแนวทางของตัวเอง และด้วยเหตุที่ไม่มีแนวทางไหนหรอกที่ใช้ได้ผลดีตลอดเวลา
- ความเสี่ยงของการขาดทุนไม่จำเป็นต้องเกิดจากปัจจัยพื้นฐานอ่อนแอ หุ้นบริษัทไม่ค่อยดี หุ้นกู้เกรดเก็งกำไร หรือ อาคารในทำเลที่ไม่ดี มันสามารถเป็นการลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากได้ ถ้าถูกซื้อมาในราคาที่ต่ำมากพอ
- ในภาวะตลาดกระทิง ผลตอบแทนที่ดีที่สุดมักจะตกอยู่กับคนที่เข้ารับความเสี่ยงสูงสุด ในระยะสั้นการแยกคนพวกนี้ออกจากนักลงทุนที่เก่งจริงๆ เป็นเรื่องยาก
- ผมเล่าให้พ่อฟังเกี่ยวกับเรื่องของนักพนันคนหนึ่งที่เล่นเสียเป็นประจำ วันหนึ่งเค้าได้ยินเกี่ยวกับการแข่งขันที่มีม้าเข้าแข่งขันเพียงตัวเดียว เขาเลยเอาเงินเก็บทั้งหมดมาเดิมพัน พอม้าวิ่งไปได้ครึ่งทาง ม้าก็กระโดดข้ามรั่วหนีไปเลย สิ่งต่างๆ สามารถออกมาเลวร้ายกว่าที่คนคิดได้เสมอ บางที “กรณีที่เลวร้ายที่สุด” หมายถึง “กรณีที่เลวร้ายที่สุดที่เราเคยเห็นในอดีต” แต่มันไม่ได้หมายความว่า ในอนาคตมันจะเลวร้ายไปกว่านั้นไม่ได้
- ราคาที่สูงจะทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้นและผลตอบแทนลดลง
- เมื่อไหร่ก็ตามที่นักลงทุนกลัวความเสี่ยงไม่มากพอ พวกเขาจะยอมจ่ายในราคาที่สูงเกินไป
- จริงๆ แล้ว สินทรัพย์ที่มีคุณภาพชั้นเยี่ยมก็ยังสามารถมีความเสี่ยงสูงได้ และสินทรัพย์คุณภาพต่ำก็สามารถเป็นการลงทุนอันปลอดภัยได้
- งานของนักลงทุนก็คือการเข้ารับความเสี่ยงเพื่อแสวงหากำไรอย่างชาญฉลาด การทำมันได้ดีคือสิ่งที่จะแยกนักลงทุนชั้นเซียนออกจากนักลงทุนที่เหลือ
- การควบคุมความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ คือคุณสมบัติของนักลงทุนชั้นเยี่ยม
- มีแนวคิดอยู่สองอย่างที่เราสามารถยึดถือได้อย่างมั่นใจ ข้อที่1 : สิ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นวัฏจักร ข้อที่2 : โอกาสการทำกำไรและโอกาสการขาดทุนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด บางครั้งเป็นผลมาจากการที่ผู้คนลืมกฎข้อที่หนึ่ง
- ในความเห็นของผม โดยปกติแล้ว เส้นทางไปสู่ความสำเร็จทางการลงทุนจะต้องอาศัยความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่อัตตา
- การซื้อในยามที่คนอื่นขายอย่างหมดหวัง และการขายในยามที่คนอื่นซื้ออย่างเคลิบเคลิ้ม ต้องใช้ความกล้าหาญมากที่สุด แต่มันก็จะให้ผลกำไรสูงสุด องค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาทักษะนี้ก็คือประสบการณ์ การสวนกระแสเป็นเรื่องที่สอนกันได้ยาก
- การเป็นส่วนหนึ่งของฝูงชนคงไมใช่เรื่องดีแน่ๆ อย่างไรก็ตามการหลีกเลี่ยงมักต้องอาศัยทักษะ, มุมมอง และวินัย ซึ่งน้อยคนนักจะมี
- การในลงทุนแนว Value investing คุณต้องมีความสามารถที่จะรู้ได้ว่าราคามันแตกต่างจากมูลค่าอันเหมาะสมอย่างมีนัยยะสำคัญแล้ว คุณต้องมีความกล้ามากพอที่จะท้าทายความคิดของคนส่วนใหญ่
- การสวนกระแสไม่ใช่แนวทางที่จะทำเงินให้คุณได้ตลอด ในเวลาส่วนใหญ่ตลาดไม่ได้อยู่ในภาวะสุดขั้วให้เราไปสวนกระแส
- ตลาดสามารถอยู่ในระดับแพงเกินไปหรือถูกเกินไป และอยู่แบบนั้นหรือมากกว่านั้นได้นานหลายปี
- การเดิมพันตรงข้ามฝูงชนมันไม่เพียงพอ ความคิดเห็นส่วนใหญ่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและการวิเคราะห์ คุณต้องไม่ทำเพียงเพราะมันเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่ฝูงชนกำลังทำ แต่ทำเพราะคุณรู้เหตุผลว่า ทำไมฝูงชนจึงคิดผิด
- การลงทุนที่ให้กำไรมหาศาลจะมีจุดเริ่มต้นมาจากความไม่สบายใจ
- การมาทำงานทุกวันแต่อยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร คือหนึ่งในสิ่งที่ทำได้ยากที่สุดสำหรับนักลงทุนมืออาชีพ
- หัวใจสำคัญระหว่างช่วงที่วิกฤติก็คือ 1. ไม่เป็นคนที่ถูกบังคับขาย 2. เตรียมตัวเป็นผู้ซื้อ
- สำหรับนักลงทุนเก่งๆ ถ้าระยะเวลาการลงทุนยืดออกไปจนทำให้ทักษะเข้ามามีบทบาท ความผันผวนของผลตอบแทนในระยะยาวจะแคบลง
- แทบไม่มีใครมีความสามารถปรับเปลี่ยนยุทธวิธีให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นนักลงทุนจึงควรยึดแนวทางใดแนวทางหนึ่ง
- การกระจุกตัวของพอร์ทและการใช้เงินกู้ยืม เป็นสองตัวอย่างของการลงทุนเชิงรุก พวกมันจะทำให้ผลตอบแทนสูงขึ้นเมื่อพวกมันใช้ได้ผล แต่จะทำให้ผลตอบแทนแย่ลงยามใช้ไม่ได้ผล
- ถ้าคุณหลีกเลี่ยงความพ่ายแพ้ได้ ชัยชนะจะเกิดขึ้นเอง
- การคาดหวังผลตอบแทนต้องมีความสมเหตุสมผล อะไรที่เกินไปกว่านี้จะทำให้คุณประสบปัญหา
- การลงทุนไม่อาจประสบความสำเร็จได้ หากเป้าหมายทางการลงทุนไม่ 1. ชัดเจน 2. มีความสมเหตุสมผล
สรุปปรัชญาดีๆ จากหนังสือ "แก่นการลงทุนแบบเน้นคุณค่า"
แล้วชอบหลายปรัชญาที่อยู่ในเล่ม เลยอยากแชร์ครับ
- คนจำนวนไม่มากที่มีคุณสมบัติของนักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จ
บางคนอาจฝึกฝนได้ แต่ไม่ใช่ว่ามันจะเรียนรู้กันได้ทุกคน
- คุณต้องอดทนและให้เวลากับตัวเองมากพอ คุณไม่ได้หวังรวยลัดแต่ต้องการผลตอบแทนอันมั่นคงในระยะยาว
- "ถ้าคุณชอบสินค้าของบริษัทนั้น คุณก็ซื้อเลย" การเป็นนักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยอะไรมากกว่านั้นเยอะ
- ผลตอบแทนชั้นเยี่ยมจะเกิดจากการคาดการณ์ที่แตกต่างจากความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ได้อย่างถูกต้องเท่านั้น
- ในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน การประเมินมูลค่าที่เหมาะสมให้ได้ถูกต้อง เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ
- การลงทุนแบบเน้นคุณค่าหลีกเลี่ยงการคาดเดาอนาคต และการลงทุนแบบเน้นการเติบโตเน้นเรื่องการคาดเดาอนาคตเพียงอย่างเดียว (หาสไตล์ของตัวเองให้เจอ)
- ถ้าคุณเลือกธุรกิจถูก เวลาจะช่วยลดความเสียหายจากการซื้อแพงได้
- แน่นอนว่า การมองเห็นอนาคตยากกว่าการมองดูปัจจุบันมาก ดังนั้นโอกาสประสบความสำเร็จของนักลงทุนหุ้นเติบโตควรจะต่ำกว่า แต่ผลตอบแทนของการประสบความสำเร็จอาจจะสูงกว่า
- โดยทั่วไปแล้ว ระยะเวลา 2-3 ปี จะเพียงพอสำหรับการปรับราคาให้ "ถูกต้อง" ของตลาด
- นักลงทุนควรคำนึงถึงความเสี่ยงเรื่องการล้าสมัยด้วย เนื่องจากมันสามารถทำให้หุ้นถูกกลายเป็นกับดักมูลค่า (Value trap)
- การรู้ว่าควรซื้อเมื่อไหร่ช่วยบรรเทาความผิดพลาดที่เกิดจากการขายเร็วเกินไปได้
- แค่เลือกซื้อหุ้นของบริษัทชั้นดีมันไม่พอ คุณต้องซื้อในระดับราคาที่สมเหตุผลด้วย (ราคาถูกได้ยิ่งดี)
- ต่อให้ข้อดีต่างๆ ของหุ้นเป็นความจริง คุณก็ยังสามารถขาดทุนได้ ถ้าคุณซื้อมันมาในราคาที่แพงเกินไป
- ซื้อในราคาที่ควรซื้อเป็นสิ่งที่ยาก แต่ถ้าทำได้อย่างถูกต้องแล้ว เวลาและผู้เล่นคนอื่นๆ ในตลาดจะจัดการกับส่วนที่เหลือเอง
- การตัดสินใจของคุณควรจะคิดถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ใช่คิดถึงแต่เรื่องผลตอบแทนอย่างเดียว
- นักลงทุนชั้นเซียนหลายๆ คน จะยึดมั่นกับแนวทางของตัวเอง และด้วยเหตุที่ไม่มีแนวทางไหนหรอกที่ใช้ได้ผลดีตลอดเวลา
- ความเสี่ยงของการขาดทุนไม่จำเป็นต้องเกิดจากปัจจัยพื้นฐานอ่อนแอ หุ้นบริษัทไม่ค่อยดี หุ้นกู้เกรดเก็งกำไร หรือ อาคารในทำเลที่ไม่ดี มันสามารถเป็นการลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากได้ ถ้าถูกซื้อมาในราคาที่ต่ำมากพอ
- ในภาวะตลาดกระทิง ผลตอบแทนที่ดีที่สุดมักจะตกอยู่กับคนที่เข้ารับความเสี่ยงสูงสุด ในระยะสั้นการแยกคนพวกนี้ออกจากนักลงทุนที่เก่งจริงๆ เป็นเรื่องยาก
- ผมเล่าให้พ่อฟังเกี่ยวกับเรื่องของนักพนันคนหนึ่งที่เล่นเสียเป็นประจำ วันหนึ่งเค้าได้ยินเกี่ยวกับการแข่งขันที่มีม้าเข้าแข่งขันเพียงตัวเดียว เขาเลยเอาเงินเก็บทั้งหมดมาเดิมพัน พอม้าวิ่งไปได้ครึ่งทาง ม้าก็กระโดดข้ามรั่วหนีไปเลย สิ่งต่างๆ สามารถออกมาเลวร้ายกว่าที่คนคิดได้เสมอ บางที “กรณีที่เลวร้ายที่สุด” หมายถึง “กรณีที่เลวร้ายที่สุดที่เราเคยเห็นในอดีต” แต่มันไม่ได้หมายความว่า ในอนาคตมันจะเลวร้ายไปกว่านั้นไม่ได้
- ราคาที่สูงจะทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้นและผลตอบแทนลดลง
- เมื่อไหร่ก็ตามที่นักลงทุนกลัวความเสี่ยงไม่มากพอ พวกเขาจะยอมจ่ายในราคาที่สูงเกินไป
- จริงๆ แล้ว สินทรัพย์ที่มีคุณภาพชั้นเยี่ยมก็ยังสามารถมีความเสี่ยงสูงได้ และสินทรัพย์คุณภาพต่ำก็สามารถเป็นการลงทุนอันปลอดภัยได้
- งานของนักลงทุนก็คือการเข้ารับความเสี่ยงเพื่อแสวงหากำไรอย่างชาญฉลาด การทำมันได้ดีคือสิ่งที่จะแยกนักลงทุนชั้นเซียนออกจากนักลงทุนที่เหลือ
- การควบคุมความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ คือคุณสมบัติของนักลงทุนชั้นเยี่ยม
- มีแนวคิดอยู่สองอย่างที่เราสามารถยึดถือได้อย่างมั่นใจ ข้อที่1 : สิ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นวัฏจักร ข้อที่2 : โอกาสการทำกำไรและโอกาสการขาดทุนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด บางครั้งเป็นผลมาจากการที่ผู้คนลืมกฎข้อที่หนึ่ง
- ในความเห็นของผม โดยปกติแล้ว เส้นทางไปสู่ความสำเร็จทางการลงทุนจะต้องอาศัยความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่อัตตา
- การซื้อในยามที่คนอื่นขายอย่างหมดหวัง และการขายในยามที่คนอื่นซื้ออย่างเคลิบเคลิ้ม ต้องใช้ความกล้าหาญมากที่สุด แต่มันก็จะให้ผลกำไรสูงสุด องค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาทักษะนี้ก็คือประสบการณ์ การสวนกระแสเป็นเรื่องที่สอนกันได้ยาก
- การเป็นส่วนหนึ่งของฝูงชนคงไมใช่เรื่องดีแน่ๆ อย่างไรก็ตามการหลีกเลี่ยงมักต้องอาศัยทักษะ, มุมมอง และวินัย ซึ่งน้อยคนนักจะมี
- การในลงทุนแนว Value investing คุณต้องมีความสามารถที่จะรู้ได้ว่าราคามันแตกต่างจากมูลค่าอันเหมาะสมอย่างมีนัยยะสำคัญแล้ว คุณต้องมีความกล้ามากพอที่จะท้าทายความคิดของคนส่วนใหญ่
- การสวนกระแสไม่ใช่แนวทางที่จะทำเงินให้คุณได้ตลอด ในเวลาส่วนใหญ่ตลาดไม่ได้อยู่ในภาวะสุดขั้วให้เราไปสวนกระแส
- ตลาดสามารถอยู่ในระดับแพงเกินไปหรือถูกเกินไป และอยู่แบบนั้นหรือมากกว่านั้นได้นานหลายปี
- การเดิมพันตรงข้ามฝูงชนมันไม่เพียงพอ ความคิดเห็นส่วนใหญ่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและการวิเคราะห์ คุณต้องไม่ทำเพียงเพราะมันเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่ฝูงชนกำลังทำ แต่ทำเพราะคุณรู้เหตุผลว่า ทำไมฝูงชนจึงคิดผิด
- การลงทุนที่ให้กำไรมหาศาลจะมีจุดเริ่มต้นมาจากความไม่สบายใจ
- การมาทำงานทุกวันแต่อยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร คือหนึ่งในสิ่งที่ทำได้ยากที่สุดสำหรับนักลงทุนมืออาชีพ
- หัวใจสำคัญระหว่างช่วงที่วิกฤติก็คือ 1. ไม่เป็นคนที่ถูกบังคับขาย 2. เตรียมตัวเป็นผู้ซื้อ
- สำหรับนักลงทุนเก่งๆ ถ้าระยะเวลาการลงทุนยืดออกไปจนทำให้ทักษะเข้ามามีบทบาท ความผันผวนของผลตอบแทนในระยะยาวจะแคบลง
- แทบไม่มีใครมีความสามารถปรับเปลี่ยนยุทธวิธีให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นนักลงทุนจึงควรยึดแนวทางใดแนวทางหนึ่ง
- การกระจุกตัวของพอร์ทและการใช้เงินกู้ยืม เป็นสองตัวอย่างของการลงทุนเชิงรุก พวกมันจะทำให้ผลตอบแทนสูงขึ้นเมื่อพวกมันใช้ได้ผล แต่จะทำให้ผลตอบแทนแย่ลงยามใช้ไม่ได้ผล
- ถ้าคุณหลีกเลี่ยงความพ่ายแพ้ได้ ชัยชนะจะเกิดขึ้นเอง
- การคาดหวังผลตอบแทนต้องมีความสมเหตุสมผล อะไรที่เกินไปกว่านี้จะทำให้คุณประสบปัญหา
- การลงทุนไม่อาจประสบความสำเร็จได้ หากเป้าหมายทางการลงทุนไม่ 1. ชัดเจน 2. มีความสมเหตุสมผล