ที่มา:
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1472900155
ไทยเบฟฯโดดร่วมประมูลซื้อหุ้น "ไซ่ง่อนเบียร์" ของรัฐบาลเวียดนาม มูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แข่งกับเจ้าตลาดเบียร์ใหญ่ 2 ราย "อาซาฮี-ไฮเนเก้น" ผู้บริหารไทยเบฟฯโชว์ศักยภาพแหล่งเงิน พร้อมรองรับซื้อกิจการใหม่ เผยมีทั้ง "เงินกู้-บอนด์-กระแสเงินสด" ล่าสุดเพิ่มฟิทช์ฯจัดเครดิตทั้งในและต่างประเทศ "AA+(tha)" และ "BBB" สะท้อนความมั่นคงทางการเงิน
บลูมเบิร์กรายงานว่า รัฐบาลเวียดนามเตรียมขายบริษัทเบียร์ชั้นนำของประเทศ 2 บริษัท ประกอบด้วย ไซ่ง่อนเบียร์ และฮานอยเบียร์ โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามประกาศทางเว็บไซต์ว่า เตรียมประมูลขายหุ้นทั้งหมด 89.59% ของไซ่ง่อนเบียร์ มูลค่าราว 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหุ้น 82% ซึ่งถือครองในฮานอยเบียร์ มูลค่า 404 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไซ่ง่อนเบียร์จะเปิดประมูลขาย 2 รอบ โดยรอบแรกในปี 2016 จำนวน 53.59% และส่วนที่เหลือในปี 2017 ในขณะที่ฮานอยเบียร์ รัฐบาลจะขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดในปีนี้
สาเหตุของการขายเนื่องจากรัฐบาลต้องการเงินกว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สร้างทางหลวงเชื่อมไปยังสนามบิน หลังจากที่รายได้ในปีนี้ตกลงเนื่องจากราคาที่ดิ่งฮวบของน้ำมัน และภัยแล้งที่ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร
ปัจจุบันมีบริษัทที่สนใจร่วมประมูลเบียร์ไซ่ง่อนทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัทอาซาฮี กรุ๊ป โฮลดิ้ง และบริษัทไฮเนเก้น โฮลดิ้ง เอ็นวี โดย Nguyen Van Viet ประธานสมาคมเบียร์เวียดนามเผยว่า บริษัทไฮเนเก้น โฮลดิ้ง เอ็นวี มีส่วนแบ่งตลาดเบียร์เวียดนาม 20% ใกล้เคียงกับส่วนแบ่งการตลาดเบียร์ฮานอย ขณะที่เบียร์ไซ่ง่อนและเบียร์ 333 ซึ่งเป็นบริษัทเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ถือครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดถึง 40%
นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปัจจุบันบริษัทมีศักยภาพพร้อมในการใช้เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เพื่อรองรับการซื้อกิจการใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกหุ้นกู้ (บอนด์) เงินกู้ยืมสถาบันการเงินและกระแสเงินสด ซึ่งบริษัทจะเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีต้นทุนต่ำกว่า และมีความเหมาะสมในแต่ละเครื่องมือ ขณะที่สถานะทางการเงินของไทยเบฟเวอเรจมีความมั่นคง โดย ณ สิ้น มิ.ย.ปี 2559 มีสัดส่วนหนี้สิน (เฉพาะเงินกู้) ต่อทุนอยู่ที่ 0.32 เท่า ทำให้ยังมีความสามารถในการกู้ระดับสูงอยู่ ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทมีหนี้สินประมาณ 42,000 ล้านบาท ต้นทุนดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 2.6% ด้านกระแสเงินสดของบริษัทอยู่ที่ 13.000 ล้านบาท
"การที่เราให้ฟิทช์ฯจัดทำเรตติ้งเพิ่มอีกแห่ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางการเงิน หากในระยะข้างหน้าจะมีการซื้อกิจการ ซึ่งจะรองรับออกบอนด์สกุลไหนก็ได้ ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นการออกบอนด์สกุลดอลลาร์สหรัฐ ดูจากบอนด์ที่มีเครดิตเรตติ้งเดียวกับไทยเบฟฯ ประเภทอายุ 5 ปี ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 3% แต่อย่างไรก็ตาม ภายในปีนี้คงไม่น่าจะเห็นการออกบอนด์เสนอขาย เพราะเวลาจะซื้อกิจการจะเกิดขึ้นไว เงินที่ใช้ในครั้งแรกก็จะมาจากการกู้ก่อน แล้วค่อยมาออกบอนด์ชำระคืนหนี้กู้ ส่วนปีนี้จะมีการซื้อกิจการหรือไม่ ขึ้นกับคุณฐาปน (สิริวัฒนภักดี)" นายสิทธิชัยกล่าว
ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (เครดิตเรตติ้ง) จากฟิทช์ เรทติ้งส์เป็นครั้งแรก โดยจัดอันดับเครดิตสากลระยะยาวที่ BBB แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตระยะยาวภายในประเทศ ที่ระดับ AA+(tha) แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ ซึ่งจะทำให้ไทยเบฟเวอเรจได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น ในด้านฐานะทางการเงินที่มั่นคง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้รับการจัดเครดิตเรตติ้งจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดีส์ฯ และบริษัททริสเรทติ้ง อยู่ในระดับ Investment Grade
สำหรับหุ้นไทยเบฟเวอเรจ ล่าสุดราคาหุ้นอยู่ที่ประมาณ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ จำนวนหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดหุ้นสิงคโปร์มีประมาณ 35% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วที่มีจำนวน 25,000 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 1 บาท (เวลาเทรดในสิงคโปร์จะแปลงเป็นสกุลดอลลาร์สิงคโปร์) ส่วนผู้ถือใหญ่ คือ กลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี สัดส่วนประมาณ 65% ขณะที่อัตราผลตอบแทนเงินปันผลอยู่ที่ 3%
"ไทยเบฟ" ลั่นเงินพร้อมซื้อ"ไซ่ง่อนเบียร์" แข่งประมูล2เจ้าตลาดโลก"อาซาฮี-ไฮเนเก้น"
ไทยเบฟฯโดดร่วมประมูลซื้อหุ้น "ไซ่ง่อนเบียร์" ของรัฐบาลเวียดนาม มูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แข่งกับเจ้าตลาดเบียร์ใหญ่ 2 ราย "อาซาฮี-ไฮเนเก้น" ผู้บริหารไทยเบฟฯโชว์ศักยภาพแหล่งเงิน พร้อมรองรับซื้อกิจการใหม่ เผยมีทั้ง "เงินกู้-บอนด์-กระแสเงินสด" ล่าสุดเพิ่มฟิทช์ฯจัดเครดิตทั้งในและต่างประเทศ "AA+(tha)" และ "BBB" สะท้อนความมั่นคงทางการเงิน
บลูมเบิร์กรายงานว่า รัฐบาลเวียดนามเตรียมขายบริษัทเบียร์ชั้นนำของประเทศ 2 บริษัท ประกอบด้วย ไซ่ง่อนเบียร์ และฮานอยเบียร์ โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามประกาศทางเว็บไซต์ว่า เตรียมประมูลขายหุ้นทั้งหมด 89.59% ของไซ่ง่อนเบียร์ มูลค่าราว 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหุ้น 82% ซึ่งถือครองในฮานอยเบียร์ มูลค่า 404 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไซ่ง่อนเบียร์จะเปิดประมูลขาย 2 รอบ โดยรอบแรกในปี 2016 จำนวน 53.59% และส่วนที่เหลือในปี 2017 ในขณะที่ฮานอยเบียร์ รัฐบาลจะขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดในปีนี้
สาเหตุของการขายเนื่องจากรัฐบาลต้องการเงินกว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สร้างทางหลวงเชื่อมไปยังสนามบิน หลังจากที่รายได้ในปีนี้ตกลงเนื่องจากราคาที่ดิ่งฮวบของน้ำมัน และภัยแล้งที่ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร
ปัจจุบันมีบริษัทที่สนใจร่วมประมูลเบียร์ไซ่ง่อนทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัทอาซาฮี กรุ๊ป โฮลดิ้ง และบริษัทไฮเนเก้น โฮลดิ้ง เอ็นวี โดย Nguyen Van Viet ประธานสมาคมเบียร์เวียดนามเผยว่า บริษัทไฮเนเก้น โฮลดิ้ง เอ็นวี มีส่วนแบ่งตลาดเบียร์เวียดนาม 20% ใกล้เคียงกับส่วนแบ่งการตลาดเบียร์ฮานอย ขณะที่เบียร์ไซ่ง่อนและเบียร์ 333 ซึ่งเป็นบริษัทเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ถือครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดถึง 40%
นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปัจจุบันบริษัทมีศักยภาพพร้อมในการใช้เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เพื่อรองรับการซื้อกิจการใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกหุ้นกู้ (บอนด์) เงินกู้ยืมสถาบันการเงินและกระแสเงินสด ซึ่งบริษัทจะเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีต้นทุนต่ำกว่า และมีความเหมาะสมในแต่ละเครื่องมือ ขณะที่สถานะทางการเงินของไทยเบฟเวอเรจมีความมั่นคง โดย ณ สิ้น มิ.ย.ปี 2559 มีสัดส่วนหนี้สิน (เฉพาะเงินกู้) ต่อทุนอยู่ที่ 0.32 เท่า ทำให้ยังมีความสามารถในการกู้ระดับสูงอยู่ ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทมีหนี้สินประมาณ 42,000 ล้านบาท ต้นทุนดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 2.6% ด้านกระแสเงินสดของบริษัทอยู่ที่ 13.000 ล้านบาท
"การที่เราให้ฟิทช์ฯจัดทำเรตติ้งเพิ่มอีกแห่ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางการเงิน หากในระยะข้างหน้าจะมีการซื้อกิจการ ซึ่งจะรองรับออกบอนด์สกุลไหนก็ได้ ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นการออกบอนด์สกุลดอลลาร์สหรัฐ ดูจากบอนด์ที่มีเครดิตเรตติ้งเดียวกับไทยเบฟฯ ประเภทอายุ 5 ปี ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 3% แต่อย่างไรก็ตาม ภายในปีนี้คงไม่น่าจะเห็นการออกบอนด์เสนอขาย เพราะเวลาจะซื้อกิจการจะเกิดขึ้นไว เงินที่ใช้ในครั้งแรกก็จะมาจากการกู้ก่อน แล้วค่อยมาออกบอนด์ชำระคืนหนี้กู้ ส่วนปีนี้จะมีการซื้อกิจการหรือไม่ ขึ้นกับคุณฐาปน (สิริวัฒนภักดี)" นายสิทธิชัยกล่าว
ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (เครดิตเรตติ้ง) จากฟิทช์ เรทติ้งส์เป็นครั้งแรก โดยจัดอันดับเครดิตสากลระยะยาวที่ BBB แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตระยะยาวภายในประเทศ ที่ระดับ AA+(tha) แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ ซึ่งจะทำให้ไทยเบฟเวอเรจได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น ในด้านฐานะทางการเงินที่มั่นคง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้รับการจัดเครดิตเรตติ้งจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดีส์ฯ และบริษัททริสเรทติ้ง อยู่ในระดับ Investment Grade
สำหรับหุ้นไทยเบฟเวอเรจ ล่าสุดราคาหุ้นอยู่ที่ประมาณ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ จำนวนหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดหุ้นสิงคโปร์มีประมาณ 35% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วที่มีจำนวน 25,000 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 1 บาท (เวลาเทรดในสิงคโปร์จะแปลงเป็นสกุลดอลลาร์สิงคโปร์) ส่วนผู้ถือใหญ่ คือ กลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี สัดส่วนประมาณ 65% ขณะที่อัตราผลตอบแทนเงินปันผลอยู่ที่ 3%