นายฮ้อย : พ่อค้าท้องถิ่นอีสานกับบทบาทการค้าขายในอดีต ( พ.ศ. ๒๓๘๙ – ๒๕0๔ ) .
นายฮ้อย หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการค้าขาย เป็นผู้ที่มีบารมี มีอำนาจรู้จักเส้นทางการค้าขายเป็นอย่างดีเป็นที่เกรงขาม และชาวบ้านให้ความนับถือ สาเหตุที่เรียกนายฮ้อยเนื่องจากในสมัยก่อนนั้นรูปแบบของการค้ามีทั้งแบบแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของและการใช้เงินตรา การใช้ในสมัยก่อนนิยมใช้เงินเหรียญเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนการเก็บรักษาเงินของพ่อค้าในสมัยนั้นใช้ผ้าเย็บเป็นถุงขนาดกว้างพอเหมาะกับความกว้างของเงินเหรียญแล้วเอาเงินเหรียญบรรจุลง ชาวบ้านเรียกถุงเงินแบบนี้ว่า “ถุงไถ่” เวลาพ่อค้าเดินทางไปค้าขายก็มักจะเอาถุงไถ่ร้อยเป็นพวงสอดเข้าแขนบางทีก็พันไว้รอบเอว หรือไม่ก็เอาคล้องไว้ที่คอม้าพ่อค้าที่พกเงินถุงไถ่ไปค้าขายจึงถูกเรียกว่า “นายร้อย” ในเวลาต่อมาคนไทยอีสานออกเสียง “ร” เป็น “ฮ” จึงทำให้ออกเสียงจาก ร้อย เป็น ฮ้อย นี้คือลักษณะของนายฮ้อยและที่มาของคำว่านายฮ้อย
ในส่วนของสาเหตุที่มีนายฮ้อยเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและผลประโยชน์ของชาวอีสานที่ได้จากนายฮ้อยนั้นตลอดจนถึงการหมดบทบาทลงของนายฮ้อยซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายดังต่อไปนี้
นายฮ้อยเป็นอาชีพพ่อค้าที่ทำการเดินทางไปค้าขายยังตางแดนเส้นทางการค้าขายทั้งทางบกและทางน้ำ การค้าขายของนายฮ้อยนั้นจะเรียกชื่อนายฮ้อยตามสิ่งที่นายฮ้อยทำการค้าขาย เช่น ถ้าค้าขายกระบือก็จะเรียกว่านายฮ้อยกระบือ ถ้าค้าเกลือก็จะเรียกนายฮ้อยเกลือ ค้าหมูก็จะเรียกว่านายฮ้อยหมูเป็นต้น อาชีพค้าขายโดยพ่อค้าชาวอีสานที่ทำการไปค้าต่างหรืออาชีพนายฮ้อยนั้นเริ่มมีมาตั้งแต่หลังจาก ปี พ.ศ. 2398 กล่าวคือตังแต่ช่วงที่รัฐบาลได้ทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศอังกฤษหรือที่เรียกกันว่าสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง หลังจากที่ได้ทำสนธิสัญญาทำให้เศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนจากระบบแบบเลี้ยงตัวเองกลายมาเป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า กล่าวคือระบบแบบเลี้ยงตัวเองนั้นระบบการค้าภายในประเทศจะอยู่ในขอบเขตที่แคบส่วนใหญ่จะเป็นการแลกสิ่งของต่อสิ่งของและการใช้แรงงานก็ยังไม่มีแพร่หลาย แต่หลังจากที่ได้สนธิสัญญาแล้วก็ทำให้รูปแบบการผลิตเปลี่ยนไปทำให้การผลิตเพื่อการค้าในประเทศเพิ่มขึ้น ระบบการผลิตเพิ่มขึ้นก็ทำให้ต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้นสภาพเศรษฐกิจในส่วนกลางขยายตัวอย่างกว้างขวางและมีการลงทุนมากขึ้นจึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคด้วย โดยเฉพาะในภาคอีสานนั้นสภาพเศรษฐกิจยังเป็นแบบเลี้ยงตัวเองการผลิตมีปริมาณไม่มากและลู่ทางในการหาเงินก็มีน้อย จึงทำให้ชาวอีสานลงมาทำนารับจ้างในแถบภาคกลางปีละหลายพันคน ในการเดินทางเพื่อที่จะไปรับจ้างทำนาก็จะมีผู้ที่นำทางลงไปยังภาคกลาง ก็คือนายฮ้อย ในช่วงที่การคมนาคมยังไม่ดีเท่าที่ควรนั้นกล่าวคือในช่วงที่ยังไม่มีเส้นทางรถไฟนายฮ้อยจะพาแรงงานรับจ้างนี้ลงไปพร้อมกับฝูงวัวควายที่ตนต้อนลงไปขาย โดยนายฮ้อยคนหนึ่งจะคมคนตั้งแต่ ๑๗ ถึง๑๒0 คนโดยนายฮ้อยจะได้รับค่าตอบแทน ต่อรายหัวตังแต่ประมาณ ๒ ถึง ๑0 บาท อาชีพนายฮ้อยจึงเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดี
การค้าขายโดยทั่วไปในภาคอีสานนั้น การค้าขายถือเป็นอาชีพที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสานที่ควบคูไปกับการการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ เมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยวแล้วชาวนาจะมีเวลาว่างถึงหกเดือนในช่วงนี้เป็นโอกาสให้ชาวนาแสวงหารายได้เพื่อมาจุนเจือครอบครัว และเสียภาษี ด้วยเวลาที่ว่างเว้นจากการทำนานี้เองจึงทำให้นายฮ้อย ทำการรวบรวมทุนออกหาซื้อสินค้าตามหมู่บ้านต่างๆสินค้าที่ซื้อดังเช่น ผลเร่ว ครั่ง เขาสัตว์หมู วัว ควาย เป็นต้น นายฮ้อยคนเดียวจะค้าขายสินค้าเฉพาะอย่างเท่านั้น
ความคิดและความเชื่อของนายฮ้อยอีสานในเรื่องของความคิดของนายฮ้อยเกี่ยวกับการค้านั้นไม่มีการพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นเท่าที่ควร เนื่องจากนายฮ้อยที่เดินทางไปค้าขายต่างแดนนั้นจะไม่นิยมซื้อสินค้ากลับมาขายยังถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ แต่จะซื้อเพียงของฝากติดมือมาเท่านั้น เนื่องจากนายฮ้อยอีสานไม่นิยมการค้าขายเพื่อมุ่งสร้างกำไรและมุ่งเร่งสร้างทุน แต่ส่วนใหญ่แล้วนายฮ้อยจะเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทเป็นผู้ได้นำเอาวัฒนธรรมจากต่างถิ่นเข้ามาเห็นได้จากการที่นายฮ้อยได้นำเอาวัฒนธรรมต่างๆจากภาคกลางเข้ามา เช่น ภาษาพูด ค่านิยม หรือแนวคิดใหม่ๆ ทำให้วัฒนธรรมเหล่านี้ได้แพร่ขยายเข้าสู่ภาคอีสานและการที่นายฮ้อยได้ต้อนวัวควายไปค้าขายที่ภาคกลาง และการที่ชาวอีสานได้มีโอกาสทำการติดต่อค้าขายหรือไปรับจ้างทำนาในภาคกลางโดยการที่นายฮ้อยได้นำพาไปนั้น จึงเป็นการแลกเปลี่ยนทั้งทางสังคมและวัฒนธรรมในเวลาต่อมาได้เด่นชัดมากขึ้น
ส่วนในเรื่องของความเชื่อของนายฮ้อย นายฮ้อยจะมีความเชื่อทางไสยศาสตร์ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามความเชื่อของแต่ละบุคคล ความเชื่อส่วนใหญ่จะออกมาในรูปของเครื่องรางของขลัง ฤกษ์ยาม ผีสางเทวดา เห็นได้จากการที่จะเคลื่อนขบวนคาราวานในแต่ละครั้งนายฮ้อยจะประกอบพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อเป็นศิริมงคลทุกครั้งเช่น มีการทำพิธิบายศรีสูตรขวัญให้แก่นายฮ้อยและผู้ที่ติดตามตลอดจนฝูงควาย
การสิ้นสุดของบทบาทของนายฮ้อย บทบาทของนายฮ้อยเริ่มเสื่อมลงเนื่องมาจากการคมนาคมมีความสะดวกสบายขึ้น กล่าวคือมีเส้นทางรถไฟผ่าน การคมนาคมถางบกเริ่มมีความทันสมัยขึ้นคนเริ่มนิยมทำการค้าขายโดยใช้รถไฟเป็นหลักเพราะมีความสะดวกสบาย ประยัดเวลาในการขนส่งแทนที่จะเดินเป็นคาราวานต้อนวัวควายไปขาย ก็เปลี่ยนมาเป็นต้อนขึ้นรถไฟไปขายก็จะสะดวกมากกว่า และในช่วงหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลได้ทำการสนับสนุนให้มีการคมนาคมทางบกอย่างเต็มที่ นี่เป็นสาเหตุที่ต้องทำให้นายฮ้อยเริ่มสูญหายไป
สรุป ภาคอีสานในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือในช่วงก่อนการคมนาคมจะมีความสะดวกมากขึ้นมีทางรถไฟ ทางรถยนต์ อาชีพการค้าขายการเป็นนายฮ้อยถือว่ามีความสำคัญต่อช่าวอีสานเป็นอย่างมากเพราะเป็นอาชีพที่หาเงินได้งายซึ่งจะเห็นได้ว่าครอบครัวใดที่มีสมาชิคในครอบครัวเป็นนายฮ้อยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นครอบครัวที่มีฐานะค่อนข้างดีอาจกล่าวได้ว่าเป็นอาชีพที่เป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคอีสานเลยก็ว่าได้และนายฮ้อยแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าของชาวอีสานได้เป็นอย่างดีถึง แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียด้ายเนื่องจากระบบการค้าแบบนี้ไม่มีให้เห็นอีกแล้ว
นอกจากบทบาทของนายฮ้อยที่สะท้อนถึงเรื่องเศรษฐกิจของอีสานแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของคนอีสานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ผีสางเทวดา ฤกษ์ยาม อะไรอีกมากมาย ซึ่งความเชื่อในเรื่องแบบนี้ก็มีมาจนถึงปัจจุบัน
เรื่องของนายฮ้อย... ที่มา เพจ เกรียนประวัติศาสตร์
นายฮ้อย หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการค้าขาย เป็นผู้ที่มีบารมี มีอำนาจรู้จักเส้นทางการค้าขายเป็นอย่างดีเป็นที่เกรงขาม และชาวบ้านให้ความนับถือ สาเหตุที่เรียกนายฮ้อยเนื่องจากในสมัยก่อนนั้นรูปแบบของการค้ามีทั้งแบบแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของและการใช้เงินตรา การใช้ในสมัยก่อนนิยมใช้เงินเหรียญเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนการเก็บรักษาเงินของพ่อค้าในสมัยนั้นใช้ผ้าเย็บเป็นถุงขนาดกว้างพอเหมาะกับความกว้างของเงินเหรียญแล้วเอาเงินเหรียญบรรจุลง ชาวบ้านเรียกถุงเงินแบบนี้ว่า “ถุงไถ่” เวลาพ่อค้าเดินทางไปค้าขายก็มักจะเอาถุงไถ่ร้อยเป็นพวงสอดเข้าแขนบางทีก็พันไว้รอบเอว หรือไม่ก็เอาคล้องไว้ที่คอม้าพ่อค้าที่พกเงินถุงไถ่ไปค้าขายจึงถูกเรียกว่า “นายร้อย” ในเวลาต่อมาคนไทยอีสานออกเสียง “ร” เป็น “ฮ” จึงทำให้ออกเสียงจาก ร้อย เป็น ฮ้อย นี้คือลักษณะของนายฮ้อยและที่มาของคำว่านายฮ้อย
ในส่วนของสาเหตุที่มีนายฮ้อยเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและผลประโยชน์ของชาวอีสานที่ได้จากนายฮ้อยนั้นตลอดจนถึงการหมดบทบาทลงของนายฮ้อยซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายดังต่อไปนี้
นายฮ้อยเป็นอาชีพพ่อค้าที่ทำการเดินทางไปค้าขายยังตางแดนเส้นทางการค้าขายทั้งทางบกและทางน้ำ การค้าขายของนายฮ้อยนั้นจะเรียกชื่อนายฮ้อยตามสิ่งที่นายฮ้อยทำการค้าขาย เช่น ถ้าค้าขายกระบือก็จะเรียกว่านายฮ้อยกระบือ ถ้าค้าเกลือก็จะเรียกนายฮ้อยเกลือ ค้าหมูก็จะเรียกว่านายฮ้อยหมูเป็นต้น อาชีพค้าขายโดยพ่อค้าชาวอีสานที่ทำการไปค้าต่างหรืออาชีพนายฮ้อยนั้นเริ่มมีมาตั้งแต่หลังจาก ปี พ.ศ. 2398 กล่าวคือตังแต่ช่วงที่รัฐบาลได้ทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศอังกฤษหรือที่เรียกกันว่าสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง หลังจากที่ได้ทำสนธิสัญญาทำให้เศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนจากระบบแบบเลี้ยงตัวเองกลายมาเป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า กล่าวคือระบบแบบเลี้ยงตัวเองนั้นระบบการค้าภายในประเทศจะอยู่ในขอบเขตที่แคบส่วนใหญ่จะเป็นการแลกสิ่งของต่อสิ่งของและการใช้แรงงานก็ยังไม่มีแพร่หลาย แต่หลังจากที่ได้สนธิสัญญาแล้วก็ทำให้รูปแบบการผลิตเปลี่ยนไปทำให้การผลิตเพื่อการค้าในประเทศเพิ่มขึ้น ระบบการผลิตเพิ่มขึ้นก็ทำให้ต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้นสภาพเศรษฐกิจในส่วนกลางขยายตัวอย่างกว้างขวางและมีการลงทุนมากขึ้นจึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคด้วย โดยเฉพาะในภาคอีสานนั้นสภาพเศรษฐกิจยังเป็นแบบเลี้ยงตัวเองการผลิตมีปริมาณไม่มากและลู่ทางในการหาเงินก็มีน้อย จึงทำให้ชาวอีสานลงมาทำนารับจ้างในแถบภาคกลางปีละหลายพันคน ในการเดินทางเพื่อที่จะไปรับจ้างทำนาก็จะมีผู้ที่นำทางลงไปยังภาคกลาง ก็คือนายฮ้อย ในช่วงที่การคมนาคมยังไม่ดีเท่าที่ควรนั้นกล่าวคือในช่วงที่ยังไม่มีเส้นทางรถไฟนายฮ้อยจะพาแรงงานรับจ้างนี้ลงไปพร้อมกับฝูงวัวควายที่ตนต้อนลงไปขาย โดยนายฮ้อยคนหนึ่งจะคมคนตั้งแต่ ๑๗ ถึง๑๒0 คนโดยนายฮ้อยจะได้รับค่าตอบแทน ต่อรายหัวตังแต่ประมาณ ๒ ถึง ๑0 บาท อาชีพนายฮ้อยจึงเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดี
การค้าขายโดยทั่วไปในภาคอีสานนั้น การค้าขายถือเป็นอาชีพที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสานที่ควบคูไปกับการการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ เมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยวแล้วชาวนาจะมีเวลาว่างถึงหกเดือนในช่วงนี้เป็นโอกาสให้ชาวนาแสวงหารายได้เพื่อมาจุนเจือครอบครัว และเสียภาษี ด้วยเวลาที่ว่างเว้นจากการทำนานี้เองจึงทำให้นายฮ้อย ทำการรวบรวมทุนออกหาซื้อสินค้าตามหมู่บ้านต่างๆสินค้าที่ซื้อดังเช่น ผลเร่ว ครั่ง เขาสัตว์หมู วัว ควาย เป็นต้น นายฮ้อยคนเดียวจะค้าขายสินค้าเฉพาะอย่างเท่านั้น
ความคิดและความเชื่อของนายฮ้อยอีสานในเรื่องของความคิดของนายฮ้อยเกี่ยวกับการค้านั้นไม่มีการพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นเท่าที่ควร เนื่องจากนายฮ้อยที่เดินทางไปค้าขายต่างแดนนั้นจะไม่นิยมซื้อสินค้ากลับมาขายยังถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ แต่จะซื้อเพียงของฝากติดมือมาเท่านั้น เนื่องจากนายฮ้อยอีสานไม่นิยมการค้าขายเพื่อมุ่งสร้างกำไรและมุ่งเร่งสร้างทุน แต่ส่วนใหญ่แล้วนายฮ้อยจะเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทเป็นผู้ได้นำเอาวัฒนธรรมจากต่างถิ่นเข้ามาเห็นได้จากการที่นายฮ้อยได้นำเอาวัฒนธรรมต่างๆจากภาคกลางเข้ามา เช่น ภาษาพูด ค่านิยม หรือแนวคิดใหม่ๆ ทำให้วัฒนธรรมเหล่านี้ได้แพร่ขยายเข้าสู่ภาคอีสานและการที่นายฮ้อยได้ต้อนวัวควายไปค้าขายที่ภาคกลาง และการที่ชาวอีสานได้มีโอกาสทำการติดต่อค้าขายหรือไปรับจ้างทำนาในภาคกลางโดยการที่นายฮ้อยได้นำพาไปนั้น จึงเป็นการแลกเปลี่ยนทั้งทางสังคมและวัฒนธรรมในเวลาต่อมาได้เด่นชัดมากขึ้น
ส่วนในเรื่องของความเชื่อของนายฮ้อย นายฮ้อยจะมีความเชื่อทางไสยศาสตร์ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามความเชื่อของแต่ละบุคคล ความเชื่อส่วนใหญ่จะออกมาในรูปของเครื่องรางของขลัง ฤกษ์ยาม ผีสางเทวดา เห็นได้จากการที่จะเคลื่อนขบวนคาราวานในแต่ละครั้งนายฮ้อยจะประกอบพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อเป็นศิริมงคลทุกครั้งเช่น มีการทำพิธิบายศรีสูตรขวัญให้แก่นายฮ้อยและผู้ที่ติดตามตลอดจนฝูงควาย
การสิ้นสุดของบทบาทของนายฮ้อย บทบาทของนายฮ้อยเริ่มเสื่อมลงเนื่องมาจากการคมนาคมมีความสะดวกสบายขึ้น กล่าวคือมีเส้นทางรถไฟผ่าน การคมนาคมถางบกเริ่มมีความทันสมัยขึ้นคนเริ่มนิยมทำการค้าขายโดยใช้รถไฟเป็นหลักเพราะมีความสะดวกสบาย ประยัดเวลาในการขนส่งแทนที่จะเดินเป็นคาราวานต้อนวัวควายไปขาย ก็เปลี่ยนมาเป็นต้อนขึ้นรถไฟไปขายก็จะสะดวกมากกว่า และในช่วงหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลได้ทำการสนับสนุนให้มีการคมนาคมทางบกอย่างเต็มที่ นี่เป็นสาเหตุที่ต้องทำให้นายฮ้อยเริ่มสูญหายไป
สรุป ภาคอีสานในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือในช่วงก่อนการคมนาคมจะมีความสะดวกมากขึ้นมีทางรถไฟ ทางรถยนต์ อาชีพการค้าขายการเป็นนายฮ้อยถือว่ามีความสำคัญต่อช่าวอีสานเป็นอย่างมากเพราะเป็นอาชีพที่หาเงินได้งายซึ่งจะเห็นได้ว่าครอบครัวใดที่มีสมาชิคในครอบครัวเป็นนายฮ้อยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นครอบครัวที่มีฐานะค่อนข้างดีอาจกล่าวได้ว่าเป็นอาชีพที่เป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคอีสานเลยก็ว่าได้และนายฮ้อยแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าของชาวอีสานได้เป็นอย่างดีถึง แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียด้ายเนื่องจากระบบการค้าแบบนี้ไม่มีให้เห็นอีกแล้ว
นอกจากบทบาทของนายฮ้อยที่สะท้อนถึงเรื่องเศรษฐกิจของอีสานแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของคนอีสานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ผีสางเทวดา ฤกษ์ยาม อะไรอีกมากมาย ซึ่งความเชื่อในเรื่องแบบนี้ก็มีมาจนถึงปัจจุบัน