คุณหมออมรา มลิลา ลูกศิษย์หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร เล่าว่ามีหนุ่มคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุ นอกจากบาดเจ็บทางสมองแล้ว ไตยังวายเฉียบพลันต้องฟอกเลือด อยู่ในภาวะโคม่า หมอบอกว่ามีโอกาสรอดน้อยมาก
ระหว่างที่นอนหมดสติอยู่ในห้องไอซียูนานเป็นอาทิตย์ เขาเล่าว่ารู้สึกเหมือนลอยเคว้งคว้าง แต่บางช่วงจะรู้สึกว่ามีมือมาแตะที่ตัวเขา พร้อมกับมีพลังส่งเข้ามา ทำให้ใจที่เคว้งคว้างเหมือนจะขาดหลุดไปนั้น กลับมารวมตัวกัน เกิดความรู้ตัวขึ้นมา สักพักความรู้ตัวนั้นก็เลือนรางไปอีก เป็นอย่างนี้ทุกวัน
เขามารู้ภายหลังว่ามีพยาบาลคนหนึ่งทุกเช้าที่ขึ้นเวร จะเดินเยี่ยมคนไข้ทุกคน ทักทายให้กำลังใจ แต่ถ้าคนไข้ยังโคม่าอยู่ เธอก็จะจับมือแล้วแผ่เมตตาให้กำลังใจ ขอให้มีกำลังและรู้สึกตัว ตอนบ่ายพอถึงเวลาลงเวร ก็บอกคนไข้ว่าดิฉันจะลงเวร ขอให้คุณสบายทั้งคืน พรุ่งนี้พบกันใหม่
คนไข้คนนี้เล่าว่า ตอนหลังรู้ตัวดีขึ้น แต่บางคืนรู้สึกเจ็บปวดมาก หายใจก็ยากลำบากมาก ตอนนั้นมีความรู้สึกว่าอยากจะหยุดหายใจไปเลย จะได้หมดทุกข์เสียที ในช่วงนั้นรู้สึกว่าการตายนั้นง่ายกว่าการมีชีวิตอยู่ แต่ใจหนึ่งก็นึกถึงพยาบาลผู้นั้นว่าหากเธอมาพบว่าเตียงเขาว่างเปล่า จะรู้สึกเสียใจแค่ไหน จะโทษว่าตัวเองบกพร่องหรือไม่ ก็เลยคิดว่าขอให้ได้ร่ำลาพยาบาลคนนั้นเสียก่อน จะบอกเธอว่าหากผมตายไป ก็ไม่ใช่ความผิดของคุณ คุณทำดีที่สุดแล้ว คิดได้เช่นนี้ก็พยายามอดทนหายใจต่อไป ครั้นถึงเช้าอาการดีขึ้น พอพยาบาลคนนั้นมา เขาก็ลืมร่ำลาเธอ พอกลางคืนอาการของเขาก็ทรุดลงอีก ก็พยายามอยู่จนถึงเช้าเพื่อลาพยาบาล แล้วก็ลืมทุกที เป็นอย่างนี้อยู่อาทิตย์หนึ่ง จนอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติ ชนิดที่เกือบเรียกได้ว่าปาฏิหาริย์
ผู้ป่วยคนนี้พ้นจากความตายมาได้ ใจนับว่ามีส่วนสำคัญมาก เริ่มจากใจของพยาบาลที่เปี่ยมด้วยเมตตา เมตตานั้นมีพลังที่แม้แต่คนไข้ซึ่งหมดสติไปแล้วก็สามารถรับรู้ได้ เรื่องนี้เป็นข้อคิดแก่หมอและพยาบาลว่าคนไข้โคม่านั้น เขาโคม่าแต่กาย ส่วนจิตยังสามารถรับรู้ได้แม้จะลาง ๆ คำพูดและสภาวะจิตใจของหมอกับพยาบาลไม่ว่าทางบวกหรือลบ สามารถมีอิทธิพลต่อผู้ป่วยได้ ถ้าพูดหรือคิดในทางร้าย อาการของผู้ป่วยก็อาจจะทรุดลงได้ แม้จะให้ยาเต็มที่แล้วก็ตาม
นอกจากเมตตาจิตของพยาบาลผู้นั้นแล้ว เมตตาจิตของผู้ป่วยก็สำคัญไม่น้อย ตอนที่เขามีอาการหนัก เขาไม่ได้คิดถึงตัวเองเลย หากคิดถึงพยาบาลผู้นั้น ไม่อยากให้เธอเศร้าเพราะการจากไปของเขา จึงพยายามมีชีวิตต่อไปเพื่อจะได้ลาและปลอบใจพยาบาลผู้นั้น นี้คือความปรารถนาดีที่เรียกว่าเมตตาจิต ซึ่งมีพลังหนุนส่งให้เขายืนหยัดต่อสู้กับความทุกข์ในร่างกาย เมตตาหรือพลังจิตอย่างนี้ไม่มียาอะไรจะสร้างขึ้นได้ มีแต่เมตตาจิตของผู้อยู่รอบข้างเท่านั้นที่จะช่วยบันดาลให้เกิดขึ้นได้
ใจนั้นจะดีขึ้นหรือเลวลงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับคนรอบข้างมิใช่น้อย ไม่ใช่แค่หมอและพยาบาลเท่านั้น หากยังรวมถึงญาติพี่น้องและเพื่อน ๆ ที่มาเยี่ยมด้วย ความสัมพันธ์นี้จัดว่าเป็นมิติทางสังคม และถือเป็นองค์ประกอบอีกประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพของผู้ป่วย
ที่มา :
https://sites.google.com/site/pnkpalliative/khaw-prachasamphanth-laea-bthkhwam/rxd-di-dwy-metta-cit
รอดได้เพราะอานิสงส์ของเมตตาจิต
ระหว่างที่นอนหมดสติอยู่ในห้องไอซียูนานเป็นอาทิตย์ เขาเล่าว่ารู้สึกเหมือนลอยเคว้งคว้าง แต่บางช่วงจะรู้สึกว่ามีมือมาแตะที่ตัวเขา พร้อมกับมีพลังส่งเข้ามา ทำให้ใจที่เคว้งคว้างเหมือนจะขาดหลุดไปนั้น กลับมารวมตัวกัน เกิดความรู้ตัวขึ้นมา สักพักความรู้ตัวนั้นก็เลือนรางไปอีก เป็นอย่างนี้ทุกวัน
เขามารู้ภายหลังว่ามีพยาบาลคนหนึ่งทุกเช้าที่ขึ้นเวร จะเดินเยี่ยมคนไข้ทุกคน ทักทายให้กำลังใจ แต่ถ้าคนไข้ยังโคม่าอยู่ เธอก็จะจับมือแล้วแผ่เมตตาให้กำลังใจ ขอให้มีกำลังและรู้สึกตัว ตอนบ่ายพอถึงเวลาลงเวร ก็บอกคนไข้ว่าดิฉันจะลงเวร ขอให้คุณสบายทั้งคืน พรุ่งนี้พบกันใหม่
คนไข้คนนี้เล่าว่า ตอนหลังรู้ตัวดีขึ้น แต่บางคืนรู้สึกเจ็บปวดมาก หายใจก็ยากลำบากมาก ตอนนั้นมีความรู้สึกว่าอยากจะหยุดหายใจไปเลย จะได้หมดทุกข์เสียที ในช่วงนั้นรู้สึกว่าการตายนั้นง่ายกว่าการมีชีวิตอยู่ แต่ใจหนึ่งก็นึกถึงพยาบาลผู้นั้นว่าหากเธอมาพบว่าเตียงเขาว่างเปล่า จะรู้สึกเสียใจแค่ไหน จะโทษว่าตัวเองบกพร่องหรือไม่ ก็เลยคิดว่าขอให้ได้ร่ำลาพยาบาลคนนั้นเสียก่อน จะบอกเธอว่าหากผมตายไป ก็ไม่ใช่ความผิดของคุณ คุณทำดีที่สุดแล้ว คิดได้เช่นนี้ก็พยายามอดทนหายใจต่อไป ครั้นถึงเช้าอาการดีขึ้น พอพยาบาลคนนั้นมา เขาก็ลืมร่ำลาเธอ พอกลางคืนอาการของเขาก็ทรุดลงอีก ก็พยายามอยู่จนถึงเช้าเพื่อลาพยาบาล แล้วก็ลืมทุกที เป็นอย่างนี้อยู่อาทิตย์หนึ่ง จนอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติ ชนิดที่เกือบเรียกได้ว่าปาฏิหาริย์
ผู้ป่วยคนนี้พ้นจากความตายมาได้ ใจนับว่ามีส่วนสำคัญมาก เริ่มจากใจของพยาบาลที่เปี่ยมด้วยเมตตา เมตตานั้นมีพลังที่แม้แต่คนไข้ซึ่งหมดสติไปแล้วก็สามารถรับรู้ได้ เรื่องนี้เป็นข้อคิดแก่หมอและพยาบาลว่าคนไข้โคม่านั้น เขาโคม่าแต่กาย ส่วนจิตยังสามารถรับรู้ได้แม้จะลาง ๆ คำพูดและสภาวะจิตใจของหมอกับพยาบาลไม่ว่าทางบวกหรือลบ สามารถมีอิทธิพลต่อผู้ป่วยได้ ถ้าพูดหรือคิดในทางร้าย อาการของผู้ป่วยก็อาจจะทรุดลงได้ แม้จะให้ยาเต็มที่แล้วก็ตาม
นอกจากเมตตาจิตของพยาบาลผู้นั้นแล้ว เมตตาจิตของผู้ป่วยก็สำคัญไม่น้อย ตอนที่เขามีอาการหนัก เขาไม่ได้คิดถึงตัวเองเลย หากคิดถึงพยาบาลผู้นั้น ไม่อยากให้เธอเศร้าเพราะการจากไปของเขา จึงพยายามมีชีวิตต่อไปเพื่อจะได้ลาและปลอบใจพยาบาลผู้นั้น นี้คือความปรารถนาดีที่เรียกว่าเมตตาจิต ซึ่งมีพลังหนุนส่งให้เขายืนหยัดต่อสู้กับความทุกข์ในร่างกาย เมตตาหรือพลังจิตอย่างนี้ไม่มียาอะไรจะสร้างขึ้นได้ มีแต่เมตตาจิตของผู้อยู่รอบข้างเท่านั้นที่จะช่วยบันดาลให้เกิดขึ้นได้
ใจนั้นจะดีขึ้นหรือเลวลงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับคนรอบข้างมิใช่น้อย ไม่ใช่แค่หมอและพยาบาลเท่านั้น หากยังรวมถึงญาติพี่น้องและเพื่อน ๆ ที่มาเยี่ยมด้วย ความสัมพันธ์นี้จัดว่าเป็นมิติทางสังคม และถือเป็นองค์ประกอบอีกประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพของผู้ป่วย
ที่มา : https://sites.google.com/site/pnkpalliative/khaw-prachasamphanth-laea-bthkhwam/rxd-di-dwy-metta-cit