สรุปคดีวัดธรรมกาย?จริงหรือไม่....

แถลงการณ์คดีพิเศษ
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559
คำวินิจฉัยศาลปกครองสะเทือนถึงคดีวัดพระธรรมกาย
หลายวันก่อน ศาลปกครองสั่งให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ จ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ในมูลฐานความผิดที่ไม่ตักเตือนคณะกรรมการบริหารสหกรณ์ ปล่อยเงินกู้ให้แก่สมาชิกจนเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง



ที่มา http://www.manager.co.th

จากคำวินิจฉัยของศาลปกครองนี้ ยืนยันชัดเจนว่า
1. คดีนี้ผู้เสียหายคือสมาชิกสหกรณ์ ไม่ใช่แผ่นดินเป็นผู้เสียหาย คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน
2. คดีสหกรณ์เป็นปัญหาที่เกิดจากการบริหารภายในสหกรณ์ ไม่ใช่ปัญหาจากภายนอกสหกรณ์
3. เมื่อเป็นปัญหาการบริหารสหกรณ์ สมาชิกต้องร้องเรียนปัญหาสหกรณ์กับศาลปกครอง ไม่ใช่ไปร้องเรียนกับ ปปง. หรือดีเอสไอ
4. ปัญหาการขาดสภาพคล่องของสหกรณ์นั้น วัดพระธรรมกายไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว
เพราะวัดพระธรรมกายมิใช่ผู้บริหารสหกรณ์ ไม่มีอำนาจในการอนุมัติเงินกู้ของสหกรณ์ ให้แก่สมาชิกรายใดแม้แต่คนเดียว
5. การบริจาคของคุณศุภชัยนั้น เป็นการบริจาคโดยส่วนตัว และวัดพระธรรมกายก็ไม่ทราบความเป็นมาของเงิน เพราะถือว่าเป็นสิทธิของผู้บริจาคที่ไม่จำเป็นต้อง บอกเส้นทางการเงินของตัวเองให้ผู้อื่นทราบ

6. คุณศุภชัยได้บริจาคเงินไปหลายที่ ส่วนที่บริจาคมายังวัดพระธรรมกายนั้น เป็นเงินไม่ถึง 10 % ของวงเงินทั้งหมด และระหว่างลูกศิษย์วัดกับสหกรณ์ ก็ได้มีการตั้งกองทุนช่วยเหลือกันไปแล้ว ตามยอดการบริจาคเข้ามาของคุณศุภชัย
7. การตั้งกองทุนช่วยเหลือกันครั้งนี้ ศิษย์วัดพระธรรมกายกับสหกรณ์ ได้ทำสัญญาช่วยเหลือกัน จนครบตามจำนวนเงินที่มีการบริจาคมา ซึ่งการช่วยเหลือนี้ เพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่สมาชิก และประคับประคองมิให้สหกรณ์ต้องล้มละลาย
8. วัดพระธรรมกายกับสหกรณ์ไม่ได้ อยู่ในฐานะลูกหนี้กับเจ้าหนี้ที่ต้องชดใช้หนี้สินกัน ไม่ได้อยู่ในฐานะผู้ก่อความเสียหายกับผู้เสียหาย ที่ต้องจ่ายค่าเสียหายต่อกัน เพราะวัดพระธรรมกายไม่เคยกู้เงินจากสหกรณ์ และสหกรณ์ก็ไม่เคยปล่อยกู้ให้วัดพระธรรมกาย ดังนั้น ปัญหาที่สหกรณ์ขาดสภาพคล่อง จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวัดพระธรรมกาย



9. การที่ประเทศชาติจะเกิดความเสียหายได้ ก็ต่อเมื่อสหกรณ์ล้มละลาย เมื่อนั้นถึงจะเป็นคดีอาญาแผ่นดิน แต่ถึงกระนั้นถ้าหากสหกรณ์ล้มละลายจริงๆ สาเหตุการล้มละลายก็มิได้เกิดจากวัดพระธรรมกาย แต่เกิดจากปัญหาการบริหารสหกรณ์อยู่ดี ไม่ว่าคิดจากมุมไหน ความเสียหายของสหกรณ์ จึงไม่ได้เกิดจากวัดพระธรรมกาย
10. ตลอด 2 ปี มานี้ เมื่อสหกรณ์ มีปัญหาขาดสภาพคล่องเกิดขึ้น ศิษย์วัดพระธรรมกายเป็นเพียงคนกลุ่มเดียว ที่ตั้งกองทุนช่วยเหลือสหกรณ์ไม่ให้ล้มละลาย ขณะที่บุคคลอื่นซึ่งรับเงินสหกรณ์ไปกว่า 90 % ของวงเงินทั้งหมด ไม่เคยยื่นมือมาช่วยเหลือสหกรณ์แม้แต่บาทเดียว
11. ตลอด 2 ปีมานี้ ที่สหกรณ์ไม่ล้มละลายนั้น ก็เพราะวัดพระธรรมกายให้การช่วยเหลือมาโดยตลอด
วัดพระธรรมกายจึงอยู่ในฐานะผู้ช่วยเหลือสหกรณ์ ไม่ได้อยู่ในฐานะผู้ก่อความเสียหายให้สหกรณ์ เมื่อประมวลลำดับขั้นตอนอย่างนี้แล้ว
บวกกับคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ก็เท่ากับเป็นการยืนยันว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา เพราะเป็นปัญหาการบริหารสหกรณ์ และวัดพระธรรมกายไม่ใช่ผู้สร้างความเสียหายให้สหกรณ์



คำถาม
1. ทำไมดีเอสไอจึงตีความว่า คดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน และกลับมาตั้งข้อหา ผู้ที่ช่วยเหลือสหกรณ์ไม่ให้ล้มละลาย ว่าเป็นผู้สร้างความเสียหายให้สหกรณ์
2. ทำไมดีเอสไอถึงไม่แนะนำนายธรรมนูญ ผู้มาร้องทุกข์ ให้ดำเนินการร้องทุกข์กับศาลปกครอง เหมือนอย่างกับที่สมาชิกรายอื่นทำ แต่กลับอาศัยเหตุนี้ เป็นข้ออ้างมาดำเนินคดีกับหลวงพ่อวัดพระธรรมกาย
3. การกระทำของดีเอสไอที่ผ่านมานั้นขัดแย้ง กับคำวินิจฉัยของศาลปกครองหรือไม่ ในกรณีที่ไปตีความคดีแพ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ทั้งที่ประเทศยังไม่ได้ตกอยู่ในฐานะผู้เสียหาย เพราะสหกรณ์ยังมิได้ล้มละลาย
4. กรณีที่เช็ค 878 ฉบับนั้น มีผู้รับเช็คไป 30 กว่ากลุ่ม มีเช็คเพียง 20 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย และได้หาทางออกร่วมกับสหกรณ์ จนช่วยเหลือสหกรณ์พ้นภาวะล้มละลายได้แล้ว ทำไมดีเอสไอไม่ไปตามไล่บี้เช็คอีก 858 ฉบับ แต่กลับเจาะจงไล่บี้เฉพาะวัดพระธรรมกาย เหตุใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้มีความเสมอภาคต่อกัน
5. วัดพระธรรมกายเป็นเพียงคนกลุ่มเดียว ที่ช่วยเหลือสหกรณ์ไม่ให้ล้มละลาย การมาไล่บี้ผู้ที่ไม่ได้ก่อความเสียหายให้สหกรณ์เช่นนี้ ถือว่าเป็นการจงใจกลั่นแกล้งประชาชนที่ไม่มีความผิด ให้กลายเป็นผู้มีความผิดหรือไม่ ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ ?
6. หากการทำงานของดีเอสไอ ขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่วัดพระธรรมกายตลอด 7 เดือนนี้
ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
1) ดีเอสไอ
2) รมว.ยุติธรรม หรือว่าใคร
.................
http://specialcasestudy.blogspot.com/2016/08/blog-post_26.html?m=1
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่