แผนที่วิวาท..
ราสส์ กิโลหก
ผมเป็นข้าราชการกรมที่ดิน ทำหน้าที่ในฝ่ายรังวัด ตำแหน่งช่างรังวัด จัตวา ก็คือเพิ่งสอบบรรจุใหม่ได้ไม่นาน เมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากทดลองงาน ครบ 6 เดือน กรมที่ดินได้ส่งตัวไปประจำที่ จังหวัดแห่งหนึ่งทางภาคกลาง แต่ไปอยู่จังหวัดยังไม่ทันได้ทำอะไร เจ้านายในจังหวัดทำหนังสือส่งตัวไปช่วยงานอำเภอ
เพราะแต่เดิมได้รับรายงาน จากเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอว่าขาดแคลนไม่มีช่างรังวัด และมีปริมาณงานรังวัดมาก พวกที่ประจำอยู่ต่างไม่ใช่ช่างรังวัด วัดที่ดินกันไม่เก่ง จึงอยากได้ช่างรังวัดสัก 1 คนมาช่วยงาน ..
อำเภอนี้อยู่ห่างไกลไปจากตัวจังหวัดหลายสิบกิโล ความจริงผมอยากอยู่ประจำที่สำนักงานที่ดินจังหวัดมากกว่า เพราะเท่ห์กว่ากันแยะ แต่เจ้านายสั่งก็ขัดไม่ได้ จะเหลียวซ้ายแลขวา หาเส้นสายสักเส้นสองเส้นก็ไม่มี เพราะเพิ่งบรรจุใหม่ยังไม่รู้จักใคร รู้จักแต่ภารโรงตอนที่มารายตัววันแรก
ภารโรงเล่าให้ฟังว่า อำเภอนี้ขอช่างมานานแล้ว แต่ไม่มีใครอยากไปเพราะไกล เจ้านายก็อึกๆอักๆเพราะที่จังหวัดงานก็แยะ สมัยนั้นอัตรากำลังเจ้าหน้าที่มีน้อย จะส่งช่างไปก็กลัวเสียงานที่จังหวัด จึงยังทำอะไรไม่ได้ ขอให้รอไปก่อน พอดีมีเหยื่อตัวใหม่มารายงานตัว ความโชคดีจึงมาลงที่ผมโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้...
ไปก็ไปวะ กลัวอะไร ตัวคนเดียวไม่ต้องกังวลอะไร ไปไหนไปกัน ผมปลอบใจตัวเอง
ข้อแตกต่างระหว่างอำเภอกับจังหวัดคือ
สำนักงานที่ดินจังหวัดจะดำเนินการเกี่ยวกับหลักฐานโฉนดที่ดินในพื้นที่ทั้งจังหวัด แต่สำนักงานที่ดินอำเภอจะดำเนินการเฉพาะในพื้นที่อำเภอนั้นๆ เกี่ยวกับหลักฐาน น.ส.3 (ครุฑดำ) สมัยนั้นยังไม่มี น.ส.3ก(ครุฑเขียว) พวก น.ส.3 ก เพิ่งเริ่มจัดทำในปี พ.ศ. 2518 หรือ 2519 จำไม่ค่อยได้
ฉะนั้นเกรด โฉนดที่ดินกับ น.ส.3 มันต่างกัน เหมือนช่างซ่อมเครื่องบินกับช่างซ่อมรถสามล้อ ว่าไปนั่น...
อำเภอนี้อุดมไปด้วยป่าไม้ มีป่าดงดิบมากมาย ผู้คนเริ่มอพยพเข้ามาจับจองพื้นที่ทำไร่ ส่วนใหญ่จะทำไร่ ทำนาทำสวนมีน้อย ถนนหนทางมีแต่ลูกรัง เต็มไปด้วยหลุมบ่อเล็กๆ
ช่างรังวัดจะมีคนงานประจำตัว 2 คน แต่ช่างหัวดีบางคนไม่ใช้คนงานให้เปลืองเงินในกระเป๋า พี่แกใช้ให้เจ้าของที่ดินมาช่วยลากเส้นลากโซ่วัดระยะ แกบอกว่า คนในพื้นที่อดทนบึกบึนกว่าคนงานรังวัด ถากถางก็เก่ง สบายกว่ากันแยะ ก็ว่ากันไป ชาวบ้านสมัยนั้น ไม่มีปัญหาอะไร เขามีน้ำใจให้เจ้าหน้าที่เสมอ ขอให้บอกมา
คนงานของผมเป็นคนในพื้นที่ อายุมาก 1 คน แกอายุห้าสิบเศษๆเป็นคนธรรมะธรรมโม ตามตัวสักลายพร้อยเป็นนักเลงโบราณ แต่จริงๆแล้วเป็นคนไม่มีอะไร แกเล่าว่าเห็นเขาสักกันในสมัยหนุ่มๆนึกสนุกก็สักกับเขาบ้าง แต่ไม่เคยได้ไปลองของกับใครสักทีเพราะแกไม่ใช่มีนิสัยนักเลง แต่ชอบไปทางเข้าทรงองค์เจ้า เพราะเคยเป็นลูกศิษย์สำนักทรงเจ้าแห่งหนึ่งมาก่อน
ถ้าไม่มีงานรังวัดแกก็จะไปช่วยงานหลวงพ่อที่วัดใกล้บ้าน ส่วนอีกคนอายุน้อยกว่าผม อ้ายนี่กระล่อนพูดมาก แต่ทั้งสองสนิทกัน เพราะมาจากที่เดียวกัน ทั้งสองคนจะเรียกผมว่าลูกพี่ มันเป็นธรรมเนียม คนงานรังวัดจะเรียกช่างแบบนั้น ไม่ว่าอายุอานามจะมากหรือน้อยกว่ากัน เป็นการให้เกียรติกัน..
มีคำขอรังวัดตรวจสอบเขตที่ดิน น.ส.3 รายหนึ่ง ผู้ขอชื่อ นางเฉย ใจด่วน อายุ 60 กว่าปี ที่ดินตั้งอยู่ตำบลที่ห่างออกไปอีก หลายสิบกิโล ได้กำหนดนัดรังวัด ในอีก 1 เดือนข้างหน้า ผมบอกให้แก ช่วยหาไม้ลวกเอาไว้ทำธง ให้ทำไว้หลายๆอัน ที่สำคัญถากถางที่ดินให้ด้วยอย่าให้รกมากนัก เดี๋ยวรังวัดไม่ได้ ...ถามตำแหน่งที่ดินว่าอยู่ตรงไหน แกบอกว่าบอกไม่ถูกให้ไปเจอกันที่วัดแห่งหนึ่งซึ่งไม่ไกลจากที่ดิน..แกจะไปรอที่นั่น..
เมื่อถึงวันนัดรังวัด 8.00 น เราสามคน ผม ลุงแก้ว และ อ้ายหนุ่ย แต่งตัวอย่างรัดกุมเพื่อสะดวกแก่การทำงาน ฝุ่นแยะมาก ผมต้องใส่อ้ายโม่งพร้อมแว่นดำ และหมวกชนิดรัดหัวแน่นๆกันลมพัดเวลาขี่รถ ลืมบอกไปว่า รถของเราก็คือมอเตอร์ไซค์ สองล้อ ขนาด 100 ซีซี..
ลุงแก้วก็แว่นดำ อ้ายหนุ่ย ก็แว่นดำ มันดูแปลกๆเพราะนั่งกันสามคน สมัยนั้นไม่มีหมวกกันน๊อคเหมือนสมัยนี้ เอาสบายเข้าว่า ขี่ไปเรื่อยๆเพราะถนนไม่ค่อยดี ทุกครั้งที่มีรถสวนหรือแซงเราไป ฝุ่นที่อยู่บนถนนมันจะลอยตามหลังรถมากลุ่มใหญ่ ซัดเข้าหารถเราเต็มๆ
แต่ก็ไม่มีรถมากนักจึงไม่สร้างความลำบากอะไรมาก เกี่ยวกับเรื่องรถ ผมจำได้ติดตา ในสมัยนั้น เวลามีประชุมของอำเภอประจำเดือน พวกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ตามหมู่บ้านในตำบลต่างๆ จะมาประชุมกันที่อำเภอ สำนักงานที่ดินอำเภออยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ ผมจะเห็นรถหกล้อเก่าๆอาจเป็นของกำนันหรือคนในหมู่บ้าน ด้านหลังจะเป็นคอกเหล็กสูงๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการขนพืชไร่ บนรถด้านหลังจะแน่นไปด้วยผู้นำท้องถิ่น ก็คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ใส่ชุดสีกากี หัวหูแดงเถือกไปด้วยฝุ่น พอลงจากรถต่างปัดเอาฝุ่นออกจากตัว เสียงเอามือตบตามเสื้อกางเกงดัง ปับๆๆๆๆ...
เวลากลับก็จะต้องรอกลับพร้อมกัน เพราะรถประจำทางมีน้อย วิ่งวันละ 2 เที่ยวไปกลับ เช้าเย็น ใครกินเหล้าเมาตกรถก็ซวยไป เพราะจะหารถกลับบ้านไม่ได้ ต้องหาที่นอนตามบ้านคนที่รู้จักหรือไม่ก็นอนที่อำเภอเป็นเพื่อนกับพวกที่อยู่เวร
ผิดกับสมัยนี้ เวลามีประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน ที่อำเภอ ไม่ว่าอำเภอไหน พวกจะขับกันมาคนละคัน ที่จอดรถแน่นจนล้นพื้นที่ คนมาติดต่องานที่อำเภอ ต้องลำบากไม่น้อยที่เดียว..
เราใช้เวลาในการเดินทาง ชั่วโมงเศษๆ จึงไปถึงวัดที่นัดกันไว้ ป้าเฉยมารออยู่แล้ว แกขี่จักรยานมาคนเดียว พอเจอหน้าแกรีบบอกว่ามารอตั้งแต่ 7 โมง ถามว่าทำไมมารอตั้งแต่เช้า แกบอกว่ากลัวเจ้าหน้าที่มาแล้วไม่เจอ นี่คือความซื่อของชาวบ้าน เขาให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่มาก...
บ้านของป้าเฉย อยู่ห่างจากวัดไปประมาณ 2 กิโล แกขี่จักรยานตัวปลิวนำหน้า นำทางไป จนถึงบ้านที่จะทำการรังวัด เนื้อที่ทั้งแปลงประมาณ 10 ไร่ ตั้งอยู่ริมลำธาร มีบ้านไต้ถุนสูงด้านบนโล่งๆสร้างอยู่ข้างลำธาร ดูร่มเย็นตามธรรมชาติ บันใดที่พาดขึ้นบ้านชั้นบน มันสูงชัน ถ้าไม่ชำนาญอาจตกบันใดแข็งขาหัก ไม้ที่ทำบ้านเป็นไม้เนื้อแข็ง ซึ่งก็คงตัดเอาตามป่าแถวนั้น เพราะดินแดนนี้มีแต่ป่าไม้
ถามแกว่า ทำไมถึงตรวจสอบเขต เพราะ ที่ดิน น.ส.3 ส่วนมากจะใช้การครอบครองตามสภาพอยู่แล้ว ถึงตรวจสอบเขตก็ไม่มีหลักปักให้เหมือนโฉนดที่ดิน หรือจะสอบเพื่อขาย ผมถามแก
แต่พอแกพูดออกมา ผมเกิดความกังวลขึ้นมาทันที เพราะแกบอกว่ามีปัญหากับที่ดินแปลงข้างเคียงเกี่ยวกับการรุกล้ำพื้นที่ ..
ผมหันไปมอง ลุงแก้ว กับอ้ายหนุ่ย ซึ่งยืนอยู่ไม่ไกล และได้ยินที่ป้าเฉยพูดกับผมเมื่อครู่ เห็นทั้งสองทำหน้าไม่ค่อยดี
การรังวัดที่ดิน ถ้าเจ้าของที่ดินทั้งสองฝ่ายต่างมีปัญหากันเกี่ยวกับแนวเขตเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมาก เพราะพูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง ต่างฝ่ายต่างก็คิดว่าตัวเองถูกและอีกฝ่ายผิด ผู้ทำการรังวัดต้องตั้งหลักให้ดี บอกอีกฝ่ายถูกอีกฝ่ายก็พาลเกลียดเอา บางครั้งไปเจอสายโหดอาจถึงกลับออกมาไม่ได้ (ต่อด้านล่าง)
แผนที่วิวาท...
ราสส์ กิโลหก
ผมเป็นข้าราชการกรมที่ดิน ทำหน้าที่ในฝ่ายรังวัด ตำแหน่งช่างรังวัด จัตวา ก็คือเพิ่งสอบบรรจุใหม่ได้ไม่นาน เมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากทดลองงาน ครบ 6 เดือน กรมที่ดินได้ส่งตัวไปประจำที่ จังหวัดแห่งหนึ่งทางภาคกลาง แต่ไปอยู่จังหวัดยังไม่ทันได้ทำอะไร เจ้านายในจังหวัดทำหนังสือส่งตัวไปช่วยงานอำเภอ
เพราะแต่เดิมได้รับรายงาน จากเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอว่าขาดแคลนไม่มีช่างรังวัด และมีปริมาณงานรังวัดมาก พวกที่ประจำอยู่ต่างไม่ใช่ช่างรังวัด วัดที่ดินกันไม่เก่ง จึงอยากได้ช่างรังวัดสัก 1 คนมาช่วยงาน ..
อำเภอนี้อยู่ห่างไกลไปจากตัวจังหวัดหลายสิบกิโล ความจริงผมอยากอยู่ประจำที่สำนักงานที่ดินจังหวัดมากกว่า เพราะเท่ห์กว่ากันแยะ แต่เจ้านายสั่งก็ขัดไม่ได้ จะเหลียวซ้ายแลขวา หาเส้นสายสักเส้นสองเส้นก็ไม่มี เพราะเพิ่งบรรจุใหม่ยังไม่รู้จักใคร รู้จักแต่ภารโรงตอนที่มารายตัววันแรก
ภารโรงเล่าให้ฟังว่า อำเภอนี้ขอช่างมานานแล้ว แต่ไม่มีใครอยากไปเพราะไกล เจ้านายก็อึกๆอักๆเพราะที่จังหวัดงานก็แยะ สมัยนั้นอัตรากำลังเจ้าหน้าที่มีน้อย จะส่งช่างไปก็กลัวเสียงานที่จังหวัด จึงยังทำอะไรไม่ได้ ขอให้รอไปก่อน พอดีมีเหยื่อตัวใหม่มารายงานตัว ความโชคดีจึงมาลงที่ผมโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้...
ไปก็ไปวะ กลัวอะไร ตัวคนเดียวไม่ต้องกังวลอะไร ไปไหนไปกัน ผมปลอบใจตัวเอง
ข้อแตกต่างระหว่างอำเภอกับจังหวัดคือ
สำนักงานที่ดินจังหวัดจะดำเนินการเกี่ยวกับหลักฐานโฉนดที่ดินในพื้นที่ทั้งจังหวัด แต่สำนักงานที่ดินอำเภอจะดำเนินการเฉพาะในพื้นที่อำเภอนั้นๆ เกี่ยวกับหลักฐาน น.ส.3 (ครุฑดำ) สมัยนั้นยังไม่มี น.ส.3ก(ครุฑเขียว) พวก น.ส.3 ก เพิ่งเริ่มจัดทำในปี พ.ศ. 2518 หรือ 2519 จำไม่ค่อยได้
ฉะนั้นเกรด โฉนดที่ดินกับ น.ส.3 มันต่างกัน เหมือนช่างซ่อมเครื่องบินกับช่างซ่อมรถสามล้อ ว่าไปนั่น...
อำเภอนี้อุดมไปด้วยป่าไม้ มีป่าดงดิบมากมาย ผู้คนเริ่มอพยพเข้ามาจับจองพื้นที่ทำไร่ ส่วนใหญ่จะทำไร่ ทำนาทำสวนมีน้อย ถนนหนทางมีแต่ลูกรัง เต็มไปด้วยหลุมบ่อเล็กๆ
ช่างรังวัดจะมีคนงานประจำตัว 2 คน แต่ช่างหัวดีบางคนไม่ใช้คนงานให้เปลืองเงินในกระเป๋า พี่แกใช้ให้เจ้าของที่ดินมาช่วยลากเส้นลากโซ่วัดระยะ แกบอกว่า คนในพื้นที่อดทนบึกบึนกว่าคนงานรังวัด ถากถางก็เก่ง สบายกว่ากันแยะ ก็ว่ากันไป ชาวบ้านสมัยนั้น ไม่มีปัญหาอะไร เขามีน้ำใจให้เจ้าหน้าที่เสมอ ขอให้บอกมา
คนงานของผมเป็นคนในพื้นที่ อายุมาก 1 คน แกอายุห้าสิบเศษๆเป็นคนธรรมะธรรมโม ตามตัวสักลายพร้อยเป็นนักเลงโบราณ แต่จริงๆแล้วเป็นคนไม่มีอะไร แกเล่าว่าเห็นเขาสักกันในสมัยหนุ่มๆนึกสนุกก็สักกับเขาบ้าง แต่ไม่เคยได้ไปลองของกับใครสักทีเพราะแกไม่ใช่มีนิสัยนักเลง แต่ชอบไปทางเข้าทรงองค์เจ้า เพราะเคยเป็นลูกศิษย์สำนักทรงเจ้าแห่งหนึ่งมาก่อน
ถ้าไม่มีงานรังวัดแกก็จะไปช่วยงานหลวงพ่อที่วัดใกล้บ้าน ส่วนอีกคนอายุน้อยกว่าผม อ้ายนี่กระล่อนพูดมาก แต่ทั้งสองสนิทกัน เพราะมาจากที่เดียวกัน ทั้งสองคนจะเรียกผมว่าลูกพี่ มันเป็นธรรมเนียม คนงานรังวัดจะเรียกช่างแบบนั้น ไม่ว่าอายุอานามจะมากหรือน้อยกว่ากัน เป็นการให้เกียรติกัน..
มีคำขอรังวัดตรวจสอบเขตที่ดิน น.ส.3 รายหนึ่ง ผู้ขอชื่อ นางเฉย ใจด่วน อายุ 60 กว่าปี ที่ดินตั้งอยู่ตำบลที่ห่างออกไปอีก หลายสิบกิโล ได้กำหนดนัดรังวัด ในอีก 1 เดือนข้างหน้า ผมบอกให้แก ช่วยหาไม้ลวกเอาไว้ทำธง ให้ทำไว้หลายๆอัน ที่สำคัญถากถางที่ดินให้ด้วยอย่าให้รกมากนัก เดี๋ยวรังวัดไม่ได้ ...ถามตำแหน่งที่ดินว่าอยู่ตรงไหน แกบอกว่าบอกไม่ถูกให้ไปเจอกันที่วัดแห่งหนึ่งซึ่งไม่ไกลจากที่ดิน..แกจะไปรอที่นั่น..
เมื่อถึงวันนัดรังวัด 8.00 น เราสามคน ผม ลุงแก้ว และ อ้ายหนุ่ย แต่งตัวอย่างรัดกุมเพื่อสะดวกแก่การทำงาน ฝุ่นแยะมาก ผมต้องใส่อ้ายโม่งพร้อมแว่นดำ และหมวกชนิดรัดหัวแน่นๆกันลมพัดเวลาขี่รถ ลืมบอกไปว่า รถของเราก็คือมอเตอร์ไซค์ สองล้อ ขนาด 100 ซีซี..
ลุงแก้วก็แว่นดำ อ้ายหนุ่ย ก็แว่นดำ มันดูแปลกๆเพราะนั่งกันสามคน สมัยนั้นไม่มีหมวกกันน๊อคเหมือนสมัยนี้ เอาสบายเข้าว่า ขี่ไปเรื่อยๆเพราะถนนไม่ค่อยดี ทุกครั้งที่มีรถสวนหรือแซงเราไป ฝุ่นที่อยู่บนถนนมันจะลอยตามหลังรถมากลุ่มใหญ่ ซัดเข้าหารถเราเต็มๆ
แต่ก็ไม่มีรถมากนักจึงไม่สร้างความลำบากอะไรมาก เกี่ยวกับเรื่องรถ ผมจำได้ติดตา ในสมัยนั้น เวลามีประชุมของอำเภอประจำเดือน พวกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ตามหมู่บ้านในตำบลต่างๆ จะมาประชุมกันที่อำเภอ สำนักงานที่ดินอำเภออยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ ผมจะเห็นรถหกล้อเก่าๆอาจเป็นของกำนันหรือคนในหมู่บ้าน ด้านหลังจะเป็นคอกเหล็กสูงๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการขนพืชไร่ บนรถด้านหลังจะแน่นไปด้วยผู้นำท้องถิ่น ก็คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ใส่ชุดสีกากี หัวหูแดงเถือกไปด้วยฝุ่น พอลงจากรถต่างปัดเอาฝุ่นออกจากตัว เสียงเอามือตบตามเสื้อกางเกงดัง ปับๆๆๆๆ...
เวลากลับก็จะต้องรอกลับพร้อมกัน เพราะรถประจำทางมีน้อย วิ่งวันละ 2 เที่ยวไปกลับ เช้าเย็น ใครกินเหล้าเมาตกรถก็ซวยไป เพราะจะหารถกลับบ้านไม่ได้ ต้องหาที่นอนตามบ้านคนที่รู้จักหรือไม่ก็นอนที่อำเภอเป็นเพื่อนกับพวกที่อยู่เวร
ผิดกับสมัยนี้ เวลามีประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน ที่อำเภอ ไม่ว่าอำเภอไหน พวกจะขับกันมาคนละคัน ที่จอดรถแน่นจนล้นพื้นที่ คนมาติดต่องานที่อำเภอ ต้องลำบากไม่น้อยที่เดียว..
เราใช้เวลาในการเดินทาง ชั่วโมงเศษๆ จึงไปถึงวัดที่นัดกันไว้ ป้าเฉยมารออยู่แล้ว แกขี่จักรยานมาคนเดียว พอเจอหน้าแกรีบบอกว่ามารอตั้งแต่ 7 โมง ถามว่าทำไมมารอตั้งแต่เช้า แกบอกว่ากลัวเจ้าหน้าที่มาแล้วไม่เจอ นี่คือความซื่อของชาวบ้าน เขาให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่มาก...
บ้านของป้าเฉย อยู่ห่างจากวัดไปประมาณ 2 กิโล แกขี่จักรยานตัวปลิวนำหน้า นำทางไป จนถึงบ้านที่จะทำการรังวัด เนื้อที่ทั้งแปลงประมาณ 10 ไร่ ตั้งอยู่ริมลำธาร มีบ้านไต้ถุนสูงด้านบนโล่งๆสร้างอยู่ข้างลำธาร ดูร่มเย็นตามธรรมชาติ บันใดที่พาดขึ้นบ้านชั้นบน มันสูงชัน ถ้าไม่ชำนาญอาจตกบันใดแข็งขาหัก ไม้ที่ทำบ้านเป็นไม้เนื้อแข็ง ซึ่งก็คงตัดเอาตามป่าแถวนั้น เพราะดินแดนนี้มีแต่ป่าไม้
ถามแกว่า ทำไมถึงตรวจสอบเขต เพราะ ที่ดิน น.ส.3 ส่วนมากจะใช้การครอบครองตามสภาพอยู่แล้ว ถึงตรวจสอบเขตก็ไม่มีหลักปักให้เหมือนโฉนดที่ดิน หรือจะสอบเพื่อขาย ผมถามแก
แต่พอแกพูดออกมา ผมเกิดความกังวลขึ้นมาทันที เพราะแกบอกว่ามีปัญหากับที่ดินแปลงข้างเคียงเกี่ยวกับการรุกล้ำพื้นที่ ..
ผมหันไปมอง ลุงแก้ว กับอ้ายหนุ่ย ซึ่งยืนอยู่ไม่ไกล และได้ยินที่ป้าเฉยพูดกับผมเมื่อครู่ เห็นทั้งสองทำหน้าไม่ค่อยดี
การรังวัดที่ดิน ถ้าเจ้าของที่ดินทั้งสองฝ่ายต่างมีปัญหากันเกี่ยวกับแนวเขตเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมาก เพราะพูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง ต่างฝ่ายต่างก็คิดว่าตัวเองถูกและอีกฝ่ายผิด ผู้ทำการรังวัดต้องตั้งหลักให้ดี บอกอีกฝ่ายถูกอีกฝ่ายก็พาลเกลียดเอา บางครั้งไปเจอสายโหดอาจถึงกลับออกมาไม่ได้ (ต่อด้านล่าง)