คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ต้องมีเงินออมสำรองฉุกเฉิน = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอย่างน้อยๆ 6 เดือน ดีที่สุดคือ 12 เดือนครับ
(ค่าใช้จ่าย ไม่ได้หมายถึงหนี้บ้านอย่างเดียวนะครับ แต่ทั้งหนี้รวม+ค่าใช้จ่ายครัวเรือน+ค่าใช้จ่ายส่วนตัว)
มีแล้วถึงค่อยโปะบ้าน
เหตุผลเพราะอะไร?
เพราะถ้าคุณไม่มีเงินสำรอง เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินชีวิตเราจะขาดส่งบ้านครับ
แล้วนั่นละ นรกมาเยือน เพราะสัญญาสินเชื่อทุกฉบับจะระบุประโยคฆ่าตัวตายไว้เลย
"ผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมด"
ประโยคนี้ให้อำนาจแบงก์คิดดอกเบี้ยปรับผิดนัดคุณได้ย้อนหลังถึงวันแรกที่กู้ ยันไปถึงวันสุดท้ายที่ปิดหนี้ได้เลยครับ!
ฉะนั้น อย่าไปคิดเรื่องดอกกู้สูงกว่าดอกฝาก เพราะมันไม่ใช่ประเด็นครับ
ประเด็นสำคัญกว่าคือ หนี้เป็นเรื่องแน่นอน ชีวิตเป็นเรื่องไม่แน่นอน ครับ
(ค่าใช้จ่าย ไม่ได้หมายถึงหนี้บ้านอย่างเดียวนะครับ แต่ทั้งหนี้รวม+ค่าใช้จ่ายครัวเรือน+ค่าใช้จ่ายส่วนตัว)
มีแล้วถึงค่อยโปะบ้าน
เหตุผลเพราะอะไร?
เพราะถ้าคุณไม่มีเงินสำรอง เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินชีวิตเราจะขาดส่งบ้านครับ
แล้วนั่นละ นรกมาเยือน เพราะสัญญาสินเชื่อทุกฉบับจะระบุประโยคฆ่าตัวตายไว้เลย
"ผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมด"
ประโยคนี้ให้อำนาจแบงก์คิดดอกเบี้ยปรับผิดนัดคุณได้ย้อนหลังถึงวันแรกที่กู้ ยันไปถึงวันสุดท้ายที่ปิดหนี้ได้เลยครับ!
ฉะนั้น อย่าไปคิดเรื่องดอกกู้สูงกว่าดอกฝาก เพราะมันไม่ใช่ประเด็นครับ
ประเด็นสำคัญกว่าคือ หนี้เป็นเรื่องแน่นอน ชีวิตเป็นเรื่องไม่แน่นอน ครับ
แสดงความคิดเห็น
ควรเก็บเงินฉุกเฉินให้ได้ก่อน แล้วค่อยเริ่มโป๊ะบ้าน คอนโด ตัวที่ดอกเบี้ยสูงๆ คิดแบบนี้ถูกไหม
เช่น หนี้ต่อ เดือน ๕๐,๐๐๐ เลย อยากเก็บสัก ๓๐๐,๐๐๐ บาท
ได้เงินฉุกเฉินครบ แล้วค่อยเริ่มโปะหนี้ บ้านหรือคอนโด ตัวที่ดอกเบี้ยสูงๆ ครับ
วิธีนี้ พอใช้ได้ไหมครับ
------------------------------------------
หรือ จะใช้วิธี ค่อยฝากในเงินฉุกเฉินครึ่งหนึ่ง แล้วเอามาโปะบ้านครึ่งหนึ่งครับ ในแต่ละเดือนครับ
เช่น ถ้ามีส่วนเกิน ๑๐๐๐๐ บาท ต่อ เดือน ฝากเข้าเงินฉุกเฉิน ๕๐๐๐ บาท จนครบตามเป้า อีก ๕๐๐๐ บาท ก็โปะ ค่างวด บ้านครับ
คิดเห็นอย่างไร กับ ๒ วิธีการ นี้ครับ