อันที่จริงปัญหาวัดพระธรรมกาย ไม่ได้เกิดจากความอิจฉาริษยา หรือความจงเกลียดจงชังจากกลุ่มบุคคลใด กลุ่มบุคคลหนึ่ง ดังที่วัดพระธรรมกายมักยกมากล่าวอ้างเสมอว่ามีขบวนการล้มพุทธ ทำกันเป็นระบบ เป็นขบวนการและรับเงินสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศเข้ามาเพื่อทำลายพระพุทธศาสนา
หากแต่ปัญหาของวัดพระธรรมกาย ถ้าพินิจพิจารณาโดยปราศจากภยาคติ ก็จะเห็นว่า เกิดจากมิจฉาทิฐิของพระและฆราวาส ที่เกาะกลุ่มกันเป็นแก๊งอยู่ในวัด จนเป็นเหตุให้ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย และทำพระธรรมวินัยให้วิปริต ตลอดจนถึงการระดมทุนในรูปแบบต่างๆ และทำธุรกิจอีกหลายด้าน ทั้ง ๆ ที่ผ่านมามีผู้ปราถนาดีหลายท่าน เขียนหนังสือ และบทความ ออกมาทักท้วงตักเตือนอย่างต่อเนื่อง อาทิ หนังสือ “สวนโมกข์– ธรรมกาย–สันติอโศก” น.๕๕ ของนายแพทย์ประเวศ วะสี เขียนเตือนไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ว่า
“ธรรมกาย” ในส่วนที่เป็นองค์กรจัดตั้งนั้น ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ มีพลังรุกได้รวดเร็ว ข้อเสียคือ ๑.) ต้องใช้เงินมาก ๒.) หลักธรรมแคบ ๓.) มีอำนาจ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้ง และคอรัปชั่นในอนาคต”
นอกจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ หลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาวกรณีที่ดินกับชาวนารอบวัด มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ คอลัมน์ซอยสวนพลู ฉบับวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๑ หน้า ๙ ว่า
“สำหรับผมเอง เห็นว่า วัดธรรมกายมีสภาพห่างไกลจากวัดที่เรารู้จักออกไปมาก เพราะมีแผนการค้าอย่างทันสมัย เช่นเดียวกับองค์การค้าร้านค้าอื่นๆ กล่าวคือ มีสินค้าที่จะขาย ได้แก่ การทำสมาธิ แล้วก็มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ให้คนมาซื้อสินค้านั้น ซึ่งก็ได้ผลดีมาก การขายสินค้านั้นก็ทำด้วยวิธีการที่ชาญฉลาด เพราะมิได้เก็บเงินค่าทำสมาธิจากผู้ที่ไปเข้าวัดอย่างตรงไปตรงมา แต่ทำในรูปทอดผ้าป่า…”
ถ้านับถอยหลังไปตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวัดพระธรรมกายเป็นต้นมา(ปี ๒๕๒๐) พฤติกรรมตามที่นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวไว้ มีความเข้มข้นขึ้นตามลำดับ ทั้งในแง่ของการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อระดมทุน และความขัดแย้งภายในวัด นับแต่ตั้งชื่อวัด(ปี พ.ศ. ๒๕๒๔)ตามชื่อผู้บริจาคที่ดินจำนวน ๑๙๖ ไร่ ว่า “วัดวรณีย์ธรรมกายาราม” และเปลี่ยนมาเป็น “วัดพระธรรมกาย” ในปีเดียวกัน อันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงด้านความคิด เกี่ยวกับการสร้างวัด ซึ่งอาจารย์วรณีย์ ต้องการให้สร้างวัดตามประเพณีนิยมแบบไทยๆ แต่พระธัมมชโยไม่เห็นด้วย และขัดขวางกลั่นแกล้งทุกวิถีทาง อาจารย์วรณีไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินยกให้เป็นของวัดเรียบร้อยแล้ว แต่มาถึงขั้นมีการทะเลาะแตกหักกับพระธัมมชโย และพระธัมมชโยได้สั่งตัดคำ “วรณีย์” ออกจากชื่อของวัด ซึ่งสอดคล้องกับคำให้สัม-ภาษณ์ของนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ว่า
“พ่อของนางสาววรณีย์เป็นลุงตน ได้รับมรดกมาจากป้า เมื่อจบการศึกษาจากต่างประเทศก็มาสอนที่วัดชนะสงคราม ได้เงินเดือนๆละ ๓,๐๐๐ บาท เมื่อคุณป้าคือ คุณหญิงหยด และคุณหญิงย้อย บอกให้นำเงินเดือนไปถวายพระ และด้วยความเลื่อมใสหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เมื่อลูกศิษย์ต้องการขยายวัดก็ได้มาชวน จึงได้บริจาคที่ดิน ๑๙๓ ไร่ให้ไป ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดในปัจจุบัน โดยใช้ชื่อในตอนแรกว่าวัดวรณีย์ธรรมกายารามจากนั้นไม่นาน มีข่าวว่านางสาววรณีย์จะนำเงิน ๕ ล้านบาทไปถวายหลวงพ่อลิงดำ ทำให้ลูกศิษย์หลวงพ่อสด ๒ องค์นี้ไม่พอใจ เมื่อวันเปิดตัววัดใหม่ ก็ไม่ได้เชิญนางสาววรณีย์ สุดท้ายญาติผู้พี่ของตนจึงได้นำเงินไปบริจาคให้วัดปากน้ำ สร้างศาลาหินอ่อนเพื่อนั่งสมาธิ ตั้งแต่นั้น วัดพระธรรมกายและคุณพี่วรณีย์ก็ขาดกัน และขอให้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ มีการใช้ชื่อธรรมกายมาจนถึงทุกวันนี้..”
อ่านต่อได้ที่:
http://thaidhammakaya.wordpress.com/2015/03/03/start-dhammakaya/
อันที่จริงปัญหาวัดพระธรรมกาย ไม่ได้เกิดจากความอิจฉาริษยา หรือความจงเกลียดจงชังจากกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังที่กล่าวอ้าง
หากแต่ปัญหาของวัดพระธรรมกาย ถ้าพินิจพิจารณาโดยปราศจากภยาคติ ก็จะเห็นว่า เกิดจากมิจฉาทิฐิของพระและฆราวาส ที่เกาะกลุ่มกันเป็นแก๊งอยู่ในวัด จนเป็นเหตุให้ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย และทำพระธรรมวินัยให้วิปริต ตลอดจนถึงการระดมทุนในรูปแบบต่างๆ และทำธุรกิจอีกหลายด้าน ทั้ง ๆ ที่ผ่านมามีผู้ปราถนาดีหลายท่าน เขียนหนังสือ และบทความ ออกมาทักท้วงตักเตือนอย่างต่อเนื่อง อาทิ หนังสือ “สวนโมกข์– ธรรมกาย–สันติอโศก” น.๕๕ ของนายแพทย์ประเวศ วะสี เขียนเตือนไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ว่า
“ธรรมกาย” ในส่วนที่เป็นองค์กรจัดตั้งนั้น ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ มีพลังรุกได้รวดเร็ว ข้อเสียคือ ๑.) ต้องใช้เงินมาก ๒.) หลักธรรมแคบ ๓.) มีอำนาจ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้ง และคอรัปชั่นในอนาคต”
นอกจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ หลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาวกรณีที่ดินกับชาวนารอบวัด มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ คอลัมน์ซอยสวนพลู ฉบับวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๑ หน้า ๙ ว่า
“สำหรับผมเอง เห็นว่า วัดธรรมกายมีสภาพห่างไกลจากวัดที่เรารู้จักออกไปมาก เพราะมีแผนการค้าอย่างทันสมัย เช่นเดียวกับองค์การค้าร้านค้าอื่นๆ กล่าวคือ มีสินค้าที่จะขาย ได้แก่ การทำสมาธิ แล้วก็มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ให้คนมาซื้อสินค้านั้น ซึ่งก็ได้ผลดีมาก การขายสินค้านั้นก็ทำด้วยวิธีการที่ชาญฉลาด เพราะมิได้เก็บเงินค่าทำสมาธิจากผู้ที่ไปเข้าวัดอย่างตรงไปตรงมา แต่ทำในรูปทอดผ้าป่า…”
ถ้านับถอยหลังไปตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวัดพระธรรมกายเป็นต้นมา(ปี ๒๕๒๐) พฤติกรรมตามที่นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวไว้ มีความเข้มข้นขึ้นตามลำดับ ทั้งในแง่ของการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อระดมทุน และความขัดแย้งภายในวัด นับแต่ตั้งชื่อวัด(ปี พ.ศ. ๒๕๒๔)ตามชื่อผู้บริจาคที่ดินจำนวน ๑๙๖ ไร่ ว่า “วัดวรณีย์ธรรมกายาราม” และเปลี่ยนมาเป็น “วัดพระธรรมกาย” ในปีเดียวกัน อันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงด้านความคิด เกี่ยวกับการสร้างวัด ซึ่งอาจารย์วรณีย์ ต้องการให้สร้างวัดตามประเพณีนิยมแบบไทยๆ แต่พระธัมมชโยไม่เห็นด้วย และขัดขวางกลั่นแกล้งทุกวิถีทาง อาจารย์วรณีไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินยกให้เป็นของวัดเรียบร้อยแล้ว แต่มาถึงขั้นมีการทะเลาะแตกหักกับพระธัมมชโย และพระธัมมชโยได้สั่งตัดคำ “วรณีย์” ออกจากชื่อของวัด ซึ่งสอดคล้องกับคำให้สัม-ภาษณ์ของนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ว่า
“พ่อของนางสาววรณีย์เป็นลุงตน ได้รับมรดกมาจากป้า เมื่อจบการศึกษาจากต่างประเทศก็มาสอนที่วัดชนะสงคราม ได้เงินเดือนๆละ ๓,๐๐๐ บาท เมื่อคุณป้าคือ คุณหญิงหยด และคุณหญิงย้อย บอกให้นำเงินเดือนไปถวายพระ และด้วยความเลื่อมใสหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เมื่อลูกศิษย์ต้องการขยายวัดก็ได้มาชวน จึงได้บริจาคที่ดิน ๑๙๓ ไร่ให้ไป ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดในปัจจุบัน โดยใช้ชื่อในตอนแรกว่าวัดวรณีย์ธรรมกายารามจากนั้นไม่นาน มีข่าวว่านางสาววรณีย์จะนำเงิน ๕ ล้านบาทไปถวายหลวงพ่อลิงดำ ทำให้ลูกศิษย์หลวงพ่อสด ๒ องค์นี้ไม่พอใจ เมื่อวันเปิดตัววัดใหม่ ก็ไม่ได้เชิญนางสาววรณีย์ สุดท้ายญาติผู้พี่ของตนจึงได้นำเงินไปบริจาคให้วัดปากน้ำ สร้างศาลาหินอ่อนเพื่อนั่งสมาธิ ตั้งแต่นั้น วัดพระธรรมกายและคุณพี่วรณีย์ก็ขาดกัน และขอให้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ มีการใช้ชื่อธรรมกายมาจนถึงทุกวันนี้..”
อ่านต่อได้ที่: http://thaidhammakaya.wordpress.com/2015/03/03/start-dhammakaya/