พระอารมณ์ของล้นเกล้ารัชการที่ 1 ขณะทรงชำระพงศาวดาร ฉบับพันจันทมาศ (เจิม) เป็นอย่างไร

ล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 ทรงชำระพงศาวดารฉบับนี้ด้วยพระองค์เองในปี พศ 2338 หรือ 13 ปีหลังจากมีการผลัดแผ่นดิน หรืออีก 2 ปี ก็จะครบวันที่พระเจ้าตากครองราชย์ในวันนั้น
ปีนี้เป็นปีพิเศษคือเป็นปีที่มีสงครามเก้าทัพ อันเป็นศึกครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับพม่า ใหญ่กว่าศึกอะแซหวุ่นกี้ในแผ่นดินพระเจ้าตากสินหลายเท่านัก

มีคำกล่าวว่า ตัวหนังสือเป็นเงาสะท้อนความคิดของผู้แต่ง นักประวัติศาสตร์หลายท่าน ตีความว่าพระองค์ท่านชำระประวัติศาสตร์แบบการเมือง คือ ดิสเครดิตพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่ชาติกำเนิด ตั้งแต่ฝังพระองค์ท่านไปกลับความวิปลาสที่ท่านทรงปกครองบ้านเมือง

แต่สิ่งที่ผมเห็นกลับเป็นอีกอย่าง ในความเป็นมนุษย์ของพระองค์ผมเห็นว่าโกรธกันอย่างไรก็ตาม แต่ทั้งพระเจ้าตากสินกับรัชกาลที่ 1 นั้นนับได้ว่าเป็นสหายร่วมรบกันอย่างเต็มที่ ดูจากศึกอะแซหวุ่นกี้ที่พิษณุโลก คนที่ร่วมรบกันมา 15 ปี คงต้องมีใจให้แก่กันบ้าง หลายคนรักเพื่อนร่วมรบนี้มากกว่าพี่น้องลูกเมียเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นผมเชื่อว่าความโกรธหรือความขุ่นเคืองใดๆคงไม่มีแล้ว เพราะเพื่อนร่วมรบนี้ก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว คงจะมีแต่ความระลึกถึง

อย่างไรก็ตามในฐานะพระองค์ทรงเป็นหัวหน้ารัฐบาลใหม่ ขณะที่จะเขียนพงศาวดารลงไปก็จำเป็นที่จะต้องย้ำย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ในขณะที่จะผลัดแผ่นดินเพื่อยืนยันว่าการผลัดแผ่นดินนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอันมิอาจเหลี่ยงเหลี่ยงได้ และจำกัดสิ่งที่เขียนออกไป ไม่ให้ทำร้ายทำลายสหายพระองค์ท่านที่ล่วงลับไปแล้ว

ผมเห็นว่าทุกคนมีมุมมองของแต่ละคน ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร  เราจะเข้าใจคนอื่นได้ก็ต่อเมื่อเราได้ไปยืนอยู่ในจุดที่เขายืน มองโลกด้วยมุมที่เขามอง ในขณะที่จะชำระพงศาวดารนั้น พระองค์ได้รับภาระของชนชาวสยามเข้ามา
*ทรงต้องเผชิญกับข้าวยากหมากแพง ที่ต้องแจกข้าวเหมือนที่พระเจ้าตากเผชิญ (เถ้าแก่ไม่เถ้าแก่ไม่รู้ ก็ต้องแจกเหมือนกัน)
*ทรงต้องเผชิญกับขนมธรรมเนียมลัทธิ์พราหมณ์ เช่นคราวอุปสมบทลูกพระองค์ท่านกับลูกพี่สาว
*ทรงต้องเผชิญกับปัญหาว่าจะบำเหน็จผูกใจพระยากาวิละ เจ้าเมืองลำปางอย่างไร
*ทรงเผชิญกับทัพใหญ่ในศึกเก้าทัพ ผมเชื่อว่าลึกแล้วท่านอาจทรงคิดถึงพระเจ้าตากสินเป็นอันมากก็เป็นได้ในขณะที่ทรงจะเขียนฯ
*ทรงเผชิญกับกระแสความไม่พอใจ ของขุนศึกที่เชื่อว่าตนมีความชอบมากกว่าวังหลวง (ท่านไม่ใช่คนโง่เชื่อว่าท่านไวต่อความรู้สึกมากทีเดียว) ฯลฯ

เหตุที่ผมเชื่อดังนี้ก็เพราะดูจากพระอุปนิสัยที่ท่านดำรัสในงานบวชที่ให้ลูกพี่สาวขึ้น หรือความเมตตาที่พระองค์ไม่ได้โหดร้ายซ้ำเติมใดกับเชื้อพระเจ้าตาก

ดังนั้นผมเห็นตรงกันข้ามว่าล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 ไม่ได้ทรงชำระพงศาวดารเพื่อการดิสเครดิตพระเจ้าตาก ทรงชำระพงศาวดารนั้นเพียงเพื่อการยืนยันจุดยืนของเหตุผลในวันที่ทรงผลัดแผ่นดินเท่านั้น โดยผมเชื่อว่าพระองค์ท่านลำบากพระทัยมากที่จะเขียนถึงเหตุผลในคราวนั้น เพราะคราวที่เขียนนี้พระองค์เข้าพระทัยอย่างท่องแท้แล้ว่าอะไรเป็นอะไรในทุกเหตุผลในคราวนั้น

การที่ทรงเขียนถึงชาติกำเนิดพระเจ้าตากซึ่งเป็นมิตรร่วมรบ 15 ปี เพียงประโยคเดียวว่า "เดิมมีพ่อค้าเกวียนชื่อจีนแจ้ง ทำความชอบได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองตาก" เป็นเพียงการสนับสนุนเหตุผลอื่นที่ทรงกล่าวต่อไปว่า เป็นความจำเป็นที่ทำให้มีการผลัดแผ่นดิน และพยายามไม่กล่าวถึงชาติกำเนิดที่พระเจ้าตากต้องการปกปิดไว้ให้ปกปิดต่อไปชั่วกาลนาน

เกล้ากระหม่อมขอกราบพระราชทานอภัยที่บังอาจก้าวล่วงถึงเหตุการณ์ในครั้งกระนั้นด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่