ย้อนหลังกลับไปเพียงสิบปีก่อน เรามองว่าโครงข่ายรถไฟฟ้าที่เหมาะสมกับ กทม คือ รถไฟฟ้าใต้ดิน เรามองว่าความสูญเสียจากการก่อสร้างรถไฟลอยฟ้าที่บดบังทัศนียภาพนั้นไม่เหมาะสมกับ มหานครใหม่อย่าง กทม อีกต่อไป
ผ่านมาเพียงไม่กี่ปี ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการปรับผังเมืองใหม่ของ กทม ที่เน้นการพัฒนาพื้นที่ชั้นใน แทนที่จะกระจายความเจริญออกไปตามแผนเดิมที่เคยวางแผนการพัฒนามาตลอด หรือการเร่งก่อสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้าในสายต่างๆ ตอนนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดแล้ว จากอดีตที่เราส่งเสริมการมีบ้านหลังแรกสำหรับประชาชนทุกครอบครัว เพื่อเป็นหลักในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของทุกครอบครัวต่อไป มาถึงตอนนี้เรากำลังสร้างเมืองที่ประชาชนคนชั้นกลาง(ที่มีเงินน้อย)ไม่สามารถจะถือครองที่ดินสำหรับอยู่อาศัยอีกต่อไป
ปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึง การสร้างที่อยู่อาศัยในเมืองสำหรับเช่าอยู่โดยชนชั้นกลาง(ที่มีเงินน้อย) คนไทยรุ่นใหม่เริ่มยินดีรับกับการอยู่อาศัยโดยไม่มีสิทธิ์ถือครองที่ดินของตนเองอีกต่อไป ชื่นชมหลงใหลกับความตื่นตาตื่นใจของความหรูหราของมหานครใหม่
ระบบขนส่งมวลชนใหม่จะเน้นไปในส่วนของระบบขนส่งมวลชนทางเลือก(รถไฟฟ้า) มากกว่าระบบขนส่งมวลชนพื้นฐาน(ซึ่งมีแนวโน้มจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นการเดินทางสายสั้นๆ) ค่าเดินทางที่สูงขึ้นจะเป็นตัวบังคับให้คนชั้นกลาง(ที่มีเงินน้อย)ต้องยอมละทิ้งการถือครองที่ดินของตน เพื่อแลกกับความสะดวกสบายในการย้ายเข้าไปอยู่ในเมืองแบบการเช่าอยู่ แทนการซื้อขาด เพราะไม่สามารถรับค่าใช้จ่ายจากค่าเดินทางที่สูงขึ้น
เรากำลังลืมไปหรือไม่ว่า หลักการพัฒนาชาติ คือ เริ่มต้นที่ครอบครัว การไม่มีที่ดินถือครองสำหรับแต่ละครอบครัวเหล่านั้นย่อมลดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัวเหล่านั้นไปโดยปริยาย การพัฒนาประเทศโดยไม่ส่งเสริมครอบครัวคนชั้นกลาง(ที่มีเงินน้อย) ซึ่งมีจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ จะเหมาะสมกับการพัฒนาประเทศเพียงใด จะดีกว่าหรือไม่ถ้าเราหันมาใส่ใจกับการพัฒนาส่งเสริมความแข็งแรงของครอบครัว โดยที่สำคัญอย่างยิ่ง ไม่ลืมเรื่องเศรษฐกิจของครอบครัวคนชั้นกลางรายได้น้อยซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ไม่จำเป็นต้องถึงกับร่ำรวยทุกคน ขอแต่เพียงมีหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจเอาไว้บ้าง ที่ดินสำหรับอยู่อาศัยสำหรับทุกครอบครัวสมควรจะต้องมี
ทิศทางการพัฒนาเมืองยุคใหม่ คนชั้นกลาง(ผู้มีเงินน้อย)กำลังไม่มีอำนาจถือครองที่ดินเป็นของตนเองอีกต่อไป
ผ่านมาเพียงไม่กี่ปี ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการปรับผังเมืองใหม่ของ กทม ที่เน้นการพัฒนาพื้นที่ชั้นใน แทนที่จะกระจายความเจริญออกไปตามแผนเดิมที่เคยวางแผนการพัฒนามาตลอด หรือการเร่งก่อสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้าในสายต่างๆ ตอนนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดแล้ว จากอดีตที่เราส่งเสริมการมีบ้านหลังแรกสำหรับประชาชนทุกครอบครัว เพื่อเป็นหลักในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของทุกครอบครัวต่อไป มาถึงตอนนี้เรากำลังสร้างเมืองที่ประชาชนคนชั้นกลาง(ที่มีเงินน้อย)ไม่สามารถจะถือครองที่ดินสำหรับอยู่อาศัยอีกต่อไป
ปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึง การสร้างที่อยู่อาศัยในเมืองสำหรับเช่าอยู่โดยชนชั้นกลาง(ที่มีเงินน้อย) คนไทยรุ่นใหม่เริ่มยินดีรับกับการอยู่อาศัยโดยไม่มีสิทธิ์ถือครองที่ดินของตนเองอีกต่อไป ชื่นชมหลงใหลกับความตื่นตาตื่นใจของความหรูหราของมหานครใหม่
ระบบขนส่งมวลชนใหม่จะเน้นไปในส่วนของระบบขนส่งมวลชนทางเลือก(รถไฟฟ้า) มากกว่าระบบขนส่งมวลชนพื้นฐาน(ซึ่งมีแนวโน้มจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นการเดินทางสายสั้นๆ) ค่าเดินทางที่สูงขึ้นจะเป็นตัวบังคับให้คนชั้นกลาง(ที่มีเงินน้อย)ต้องยอมละทิ้งการถือครองที่ดินของตน เพื่อแลกกับความสะดวกสบายในการย้ายเข้าไปอยู่ในเมืองแบบการเช่าอยู่ แทนการซื้อขาด เพราะไม่สามารถรับค่าใช้จ่ายจากค่าเดินทางที่สูงขึ้น
เรากำลังลืมไปหรือไม่ว่า หลักการพัฒนาชาติ คือ เริ่มต้นที่ครอบครัว การไม่มีที่ดินถือครองสำหรับแต่ละครอบครัวเหล่านั้นย่อมลดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัวเหล่านั้นไปโดยปริยาย การพัฒนาประเทศโดยไม่ส่งเสริมครอบครัวคนชั้นกลาง(ที่มีเงินน้อย) ซึ่งมีจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ จะเหมาะสมกับการพัฒนาประเทศเพียงใด จะดีกว่าหรือไม่ถ้าเราหันมาใส่ใจกับการพัฒนาส่งเสริมความแข็งแรงของครอบครัว โดยที่สำคัญอย่างยิ่ง ไม่ลืมเรื่องเศรษฐกิจของครอบครัวคนชั้นกลางรายได้น้อยซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ไม่จำเป็นต้องถึงกับร่ำรวยทุกคน ขอแต่เพียงมีหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจเอาไว้บ้าง ที่ดินสำหรับอยู่อาศัยสำหรับทุกครอบครัวสมควรจะต้องมี