คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1.พระเทศน์ภาษาท้องถิ่น(ค่อนข้างจะเป็นภาษาโบราณฟังยาก) ถามว่าแนวของพระที่เทศน์ที่เทศน์เร็วๆ รัวๆ พยายามหาคำเชื่อมให้ไหลไปเรื่อย ทิ้งช่วงไม่น่าจะมีเกิน 1 วินาที เทศน์ประมาณ 2 ชม. ก็ไหลตลอด แบบนี้เขาเรียกเป็นแนวของการเทศน์ หรือจริงๆแล้วเป็นแนวของพระที่เทศน์มากกว่า
เหมือนเคสข้างล่างไหมครับ ไม่แน่ใจว่าเหมือนร้องเพลงไหม
[๒๐] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้าย
เพลงขับ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากย-
*บุตรเหล่านี้ สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ เหมือนพวกเราขับ ภิกษุ
ทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้สวดพระธรรม
ด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ... จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลง
ขับ มีโทษ ๕ ประการนี้ คือ:-
๑. ตนยินดีในเสียงนั้น
๒. คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น
๓. ชาวบ้านติเตียน
๔. สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป
๕. ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล ของภิกษุผู้สวดพระธรรมด้วย
ทำนองยาวคล้ายเพลงขับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ
รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
================================================
2.เทศน์โดยการยกเรื่องเล่าทางพระพุทธศาสนา(ไม่แน่ใจเรื่องอะไร) ...
พระไม่ควรพูดครับ พวกดิรัจฉานกถา ผิดศีล
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา
... เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังกล่าวเดรัจฉานกถาเห็น
ปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย ์
เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่อง
ผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่อง
ยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท
เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ
เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล
เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ.
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
-บาลี สี. ที. ๙/๘๗/๑๑๐.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จงอย่ากล่าว
เดรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ
พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร
เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่อง
ข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม
เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร
เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ
เพราะเหตุไรจึงไม่ควรกล่าว เพราะการกล่าวนั้นๆ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อม
เพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ
ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานเลย.
======================================
สรุป พระท่านว่าก่อนจะตายญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิดไม่ควรร้องไห้โดยให้น้ำตาหล่นไปยังตัวผู้ที่จะตาย และไม่ให้พูดถึงสัตว์เดรัชฉาน เดี๋ยวตายไปจะเกิดเป็นสัตว์เดรัชฉาน มันถูกต้องหรือไม่?
พอรับฟังได้ครับ แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน โดยเฉพาะพระอริยะบุคคล และ ผู้ที่กำลังสร้างเหตุให้ถึงความเป็นอริยบุคคลครับ
ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่ (เจเตติ)
ย่อมดำริถึงสิ่งใดอยู่ (ปกปฺเปติ)
และย่อมมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ (อนุเสติ)
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.
เมื่ออารมณ์ มีอยู่,
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี;
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว,
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี;
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี,
ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
====================================
และการทำบุญที่กล่าวข้างต้นช่วยให้หลุดพ้นจากการเป็นสัตว์เดรัชฉานถูกต้องหรือไม่
ถูกอยู่ครับ แต่รายละเอียดเยอะกว่านั้นมาก การที่มีสมณะเข้ามาในบ้านต้องมีอีกหลาย step กว่าจะบรรลุธรรมครับ ยากพอดู ธรรมะที่ฟังก็ต้องเป็นพุทธวจน พุทธพจน์ พุทธวจนัง คำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่คำแต่งใหม่ครับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาอีกพวกหนึ่งเป็นอันมาก เข้ามาหาเราแล้วได้
กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์
ทั้งหลายเมื่อยังเป็นมนุษย์ในกาลก่อน ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้ ให้
อาสนะ แบ่งปันสิ่งของให้ตามสามารถ ตามกำลัง เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม
เงี่ยโสตลงสดับธรรม ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำ
ไว้ และรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ข้าพระองค์เหล่านั้นมีการ
งานบริบูรณ์ ไม่มีความกินแหนงใจ ไม่มีความเดือดร้อนตามในภายหลัง เข้า
ถึงหมู่เทวดาชั้นประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลาย
จงเพ่ง อย่าประมาทเลย อย่ามีความเดือดร้อนใจในภายหลัง เหมือนเทวดาพวก
ต้นๆ เหล่านั้น ฯ
======================
และการที่ไม่ให้ทำกิจการงานในวันที่คนโบราณเขาทำๆ ต่อกันมา(น่าจะเป็นช่วงแถวๆวันสงกรานต์) ถูกต้องหรือไม่
ไม่ถูกครับ พระพุทธเจ้า ไม่ได้บัญญัติไว้
ฤกษ์ดี ยามดี ในแบบพุทธวจน
ภิกษุทั้งหลาย !
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ
ในเวลาเช้า
เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ
ในเวลาเที่ยง
เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ
ในเวลาเย็น
เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด
เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี
มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี
และบูชาดีในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย.
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๗๘/๕๙๕.
เหมือนเคสข้างล่างไหมครับ ไม่แน่ใจว่าเหมือนร้องเพลงไหม
[๒๐] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้าย
เพลงขับ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากย-
*บุตรเหล่านี้ สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ เหมือนพวกเราขับ ภิกษุ
ทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้สวดพระธรรม
ด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ... จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลง
ขับ มีโทษ ๕ ประการนี้ คือ:-
๑. ตนยินดีในเสียงนั้น
๒. คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น
๓. ชาวบ้านติเตียน
๔. สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป
๕. ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล ของภิกษุผู้สวดพระธรรมด้วย
ทำนองยาวคล้ายเพลงขับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ
รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
================================================
2.เทศน์โดยการยกเรื่องเล่าทางพระพุทธศาสนา(ไม่แน่ใจเรื่องอะไร) ...
พระไม่ควรพูดครับ พวกดิรัจฉานกถา ผิดศีล
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา
... เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังกล่าวเดรัจฉานกถาเห็น
ปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย ์
เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่อง
ผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่อง
ยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท
เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ
เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล
เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ.
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
-บาลี สี. ที. ๙/๘๗/๑๑๐.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จงอย่ากล่าว
เดรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ
พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร
เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่อง
ข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม
เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร
เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ
เพราะเหตุไรจึงไม่ควรกล่าว เพราะการกล่าวนั้นๆ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อม
เพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ
ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานเลย.
======================================
สรุป พระท่านว่าก่อนจะตายญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิดไม่ควรร้องไห้โดยให้น้ำตาหล่นไปยังตัวผู้ที่จะตาย และไม่ให้พูดถึงสัตว์เดรัชฉาน เดี๋ยวตายไปจะเกิดเป็นสัตว์เดรัชฉาน มันถูกต้องหรือไม่?
พอรับฟังได้ครับ แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน โดยเฉพาะพระอริยะบุคคล และ ผู้ที่กำลังสร้างเหตุให้ถึงความเป็นอริยบุคคลครับ
ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่ (เจเตติ)
ย่อมดำริถึงสิ่งใดอยู่ (ปกปฺเปติ)
และย่อมมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ (อนุเสติ)
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.
เมื่ออารมณ์ มีอยู่,
ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี;
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว,
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี;
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี,
ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
====================================
และการทำบุญที่กล่าวข้างต้นช่วยให้หลุดพ้นจากการเป็นสัตว์เดรัชฉานถูกต้องหรือไม่
ถูกอยู่ครับ แต่รายละเอียดเยอะกว่านั้นมาก การที่มีสมณะเข้ามาในบ้านต้องมีอีกหลาย step กว่าจะบรรลุธรรมครับ ยากพอดู ธรรมะที่ฟังก็ต้องเป็นพุทธวจน พุทธพจน์ พุทธวจนัง คำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่คำแต่งใหม่ครับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาอีกพวกหนึ่งเป็นอันมาก เข้ามาหาเราแล้วได้
กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์
ทั้งหลายเมื่อยังเป็นมนุษย์ในกาลก่อน ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้ ให้
อาสนะ แบ่งปันสิ่งของให้ตามสามารถ ตามกำลัง เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม
เงี่ยโสตลงสดับธรรม ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำ
ไว้ และรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ข้าพระองค์เหล่านั้นมีการ
งานบริบูรณ์ ไม่มีความกินแหนงใจ ไม่มีความเดือดร้อนตามในภายหลัง เข้า
ถึงหมู่เทวดาชั้นประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลาย
จงเพ่ง อย่าประมาทเลย อย่ามีความเดือดร้อนใจในภายหลัง เหมือนเทวดาพวก
ต้นๆ เหล่านั้น ฯ
======================
และการที่ไม่ให้ทำกิจการงานในวันที่คนโบราณเขาทำๆ ต่อกันมา(น่าจะเป็นช่วงแถวๆวันสงกรานต์) ถูกต้องหรือไม่
ไม่ถูกครับ พระพุทธเจ้า ไม่ได้บัญญัติไว้
ฤกษ์ดี ยามดี ในแบบพุทธวจน
ภิกษุทั้งหลาย !
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ
ในเวลาเช้า
เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ
ในเวลาเที่ยง
เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ
ในเวลาเย็น
เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด
เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี
มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี
และบูชาดีในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย.
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๗๘/๕๙๕.
แสดงความคิดเห็น
พระเทศน์ทำนองนี้ถูกต้องไหม?
1.พระเทศน์ภาษาท้องถิ่น(ค่อนข้างจะเป็นภาษาโบราณฟังยาก) ถามว่าแนวของพระที่เทศน์ที่เทศน์เร็วๆ รัวๆ พยายามหาคำเชื่อมให้ไหลไปเรื่อย ทิ้งช่วงไม่น่าจะมีเกิน 1 วินาที เทศน์ประมาณ 2 ชม. ก็ไหลตลอด แบบนี้เขาเรียกเป็นแนวของการเทศน์ หรือจริงๆแล้วเป็นแนวของพระที่เทศน์มากกว่า
2.เทศน์โดยการยกเรื่องเล่าทางพระพุทธศาสนา(ไม่แน่ใจเรื่องอะไร) ประมาณ มีมหาเศษฐีไปรักหญิงสาวซึ่งไร้พ่อแม่ญาติมิตร แล้วตกลงแต่งงานหน้าหลุมศพของพ่อแม่และญาติที่เสียไปในวันที่คนโบราณเขาถือไม่ให้จัดงาน(หรืองานแต่งอย่างเดียวหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ) แล้วก็อยู่ด้วยกัน และวันหนึ่งทั้งคู่พากันไปไร่นา และวันนี้คนโบราณเขาถือห้ามออกไร่ออกนา ในนามีดอกบัว หญิงเลยให้ชายไปเก็บมาให้ พอเก็บขึ้นมาชายบอกว่าแขนเจ็บอาจจะโดนหนามบัวหรืออะไรก็ไม่รู้ แต่สาวดูก็บอกว่าเป็นงูเห่ากัด ซึ่งปกติบอกว่ากัดบนบกพอมีทางรักษาได้ แต่กัดในน้ำไม่มีทางรักษาเลย ชายก็ล้มนอนบนตักหญิงพูดบอกว่าเจ็บปวดไล่ไปเรื่อย ระหว่างนั้นสาวก็ได้ร้องไห้น้ำตาหยดไหลบนตัวชายพร้อมพูดเกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบ มีนา น้ำ กบ เขียด อะไรทำนองนี้แหละ และชายก็สิ้นลม และพระท่านก็บอกว่าชายก็มาเกิดเป็นอึ่งอ่าง เพราะเหตุจากการสาวได้กระทำ(ร้องไห้)และพรรณาถึงสิ่งโดยรอบ ต่อมาอึ่งอ่างก็มาร้องหน้าบ้านสาวทุกวันจนกระทั่งเขาเอะใจว่านั่นคือสามีเขาที่มาเกิดเป็นอึ่งอ่าง ต่อมาก็ได้จัดการทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลและมีพระเทศน์ด้วย อึ่งอ่างตัวนี้จึงหายไป
สรุป พระท่านว่าก่อนจะตายญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิดไม่ควรร้องไห้โดยให้น้ำตาหล่นไปยังตัวผู้ที่จะตาย และไม่ให้พูดถึงสัตว์เดรัชฉาน เดี๋ยวตายไปจะเกิดเป็นสัตว์เดรัชฉาน มันถูกต้องหรือไม่? และการทำบุญที่กล่าวข้างต้นช่วยให้หลุดพ้นจากการเป็นสัตว์เดรัชฉานถูกต้องหรือไม่ และการที่ไม่ให้ทำกิจการงานในวันที่คนโบราณเขาทำๆ ต่อกันมา(น่าจะเป็นช่วงแถวๆวันสงกรานต์) ถูกต้องหรือไม่
รบกวนขอคำตอบด้วยขอรับ
กราบขอบพระคุณ
ปล.พิมพ์จากมือถือ