อุทิศส่วนบุญให้ผู้ตายให้ได้รับบุญอย่างแท้จริง
ถ้าญาติพี่น้องเราเสียชีวิต เราควรทำบุญอย่างไรให้เขาจึงจะได้บุญอย่างถูกต้อง เพราะบางครั้งเราทำบุญไปให้ ผู้ที่เสียชีวิตไม่สามารถรับบุญกุศลได้ เพราะบางครั้งเขาตายโหง อายุยังไม่ถึงวาระ มีกฎในธรรม ผิดในธรรม บางครั้งคนตายต้องอาญาธรรม ต้องอาญาแผ่นดิน ต้องแก้ไขให้ถูกต้องถึงจะได้รับบุญ เป็นต้น คนที่เสียชีวิตไม่สามารถรับบุญที่ญาติพี่น้องส่งไปให้ตามปกติได้ เพราะในธรรมมีกฎกติกาอยู่ ถ้าต้องอาญาธรรมก็จะได้รับวิบากกรรมนั้น ไม่สามารถรับบุญกุศลได้ ฉะนั้น การทำบุญอุทิศส่วนบุญให้กับคนที่ตายมีด้วยกัน ๓ ประเภท คือ
๑. ทำบุญตามปกติ คือ มีการนิมนต์พระมาสวดอภิธรรม เทศน์ ถวายจตุปัจจัย แล้วอุทิศบุญกุศลนี้ให้กับผู้ชีวิต กรณีที่ ๑ นี้ ถ้าคนที่เสียชีวิตจบชีวิตลงอย่างปกติ เป็นไปตามอายุขัยของคนตาย ก็ทำบุญกุศลส่งไปให้ตามปกติ คนที่ตายก็สามารถรับบุญกุศลนั้นได้
๒. ทำบุญแบบเฉพาะเจาะจง คือ มีการแก้ไขกรรม หมายถึง คนที่ตายนั้น ตายผิดธรรมชาติ หรือเรียกกันว่า ตายโหง ยังไม่สิ้นอายุขัย แต่มาเสียชีวิตก่อน ญาติพี่น้องจะทำบุญส่งบุญไปให้มีด้วยกัน ๒ อย่าง คือ
อย่างที่ ๑ นำของถวาย ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ผลไม้ น้ำ ฯลฯ บอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขออนุญาตต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์ ตี่จั่งอ๊วง พระแม่ธรณี เป็นต้น กล่าวขออนุญาตต่อท่านแล้วเราก็นำสิ่งที่ จะถวายนั้นไปถวายกับพระภิกษุสงฆ์ แล้วเราก็กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญนั้นไปหาคนที่ตาย คนที่ตายจึงจะได้รับอนุญาตให้มารับบุญได้
อย่างที่ ๒ เมื่อเรารู้ญาติพี่น้องเราตายโหง ตายเพราะสิ่งใด เขาติดอะไรไว้ เราก็ทำพิธีแก้ไขให้ อย่างเช่น มีกรณีหนึ่งที่คนตายติดคุกแล้วเสียชีวิตในคุก คนตายต้องอาญาอยู่ แม่ทำบุญไปให้ก็เห็นเงียบไม่ได้ข่าว คนที่ตายไม่มาเข้าฝัน หรือแสดงว่าตนได้รับบุญนั้นแล้ว จึงมาทำพิธีแก้วิบากกรรม ขอลดหย่อนผ่อนโทษ พอทำพิธีเสร็จ รุ่งเช้า คนที่ตายไปเข้าฝันหลายๆ คน มีน้องสะใภ้ ญาติ และเพื่อนๆ ว่าตนได้รับส่วนบุญนั้นแล้ว
๓. ญาติพี่น้องส่งบุญอย่างแรงไปให้ คือ การทำบุญใหญ่เพื่ออุทิศบุญให้กับคนตายโดยเฉพาะ เช่น สร้างวัด วิหาร อุโบสถ ห่มผ้าพระธาตุ หรืออื่นๆ ที่ทำได้ยาก ตั้งอกตั้งใจอย่างยิ่งยวด แล้วอุทิศส่วนบุญไปให้ คนที่ตายจึงจะได้รับบุญ และพร้อมรับกุศลเพื่อหลุดพ้นจากสภาวะภูมินั้นๆ เช่นตัวอย่าง
นายสมนึกได้ไปไถ่ชีวิตโคให้เป็นอิสระไม่ถูกเขาฆ่าตาย อย่างนี้ถือเป็นบุญกุศลแรง
มีชายคนหนึ่งหิวโหยจะตาย แล้วเราไปช่วย อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นบุญกุศลแรง
มีชายคนหนึ่งเขาไม่สบายจะตายแล้ว เรานำเขาไปส่งโรงพยาบาล ช่วยชีวิตเขาได้ อย่างเป็นถือเป็นบุญกุศลแรง
สรุปบุญกุศลที่แรง คือ ต้องมีความตั้งอกตั้งใจ ศรัทธา มุ่งมั่น จริงจังมากกว่าปกติ แล้วช่วยเขาที่ขาดแคลนอย่างมากได้ พ้นจากสภาวะนั้น ถือว่าเป็นกุศลแรง
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
อุทิศส่วนบุญให้ผู้ตายให้ได้รับบุญอย่างแท้จริง
ถ้าญาติพี่น้องเราเสียชีวิต เราควรทำบุญอย่างไรให้เขาจึงจะได้บุญอย่างถูกต้อง เพราะบางครั้งเราทำบุญไปให้ ผู้ที่เสียชีวิตไม่สามารถรับบุญกุศลได้ เพราะบางครั้งเขาตายโหง อายุยังไม่ถึงวาระ มีกฎในธรรม ผิดในธรรม บางครั้งคนตายต้องอาญาธรรม ต้องอาญาแผ่นดิน ต้องแก้ไขให้ถูกต้องถึงจะได้รับบุญ เป็นต้น คนที่เสียชีวิตไม่สามารถรับบุญที่ญาติพี่น้องส่งไปให้ตามปกติได้ เพราะในธรรมมีกฎกติกาอยู่ ถ้าต้องอาญาธรรมก็จะได้รับวิบากกรรมนั้น ไม่สามารถรับบุญกุศลได้ ฉะนั้น การทำบุญอุทิศส่วนบุญให้กับคนที่ตายมีด้วยกัน ๓ ประเภท คือ
๑. ทำบุญตามปกติ คือ มีการนิมนต์พระมาสวดอภิธรรม เทศน์ ถวายจตุปัจจัย แล้วอุทิศบุญกุศลนี้ให้กับผู้ชีวิต กรณีที่ ๑ นี้ ถ้าคนที่เสียชีวิตจบชีวิตลงอย่างปกติ เป็นไปตามอายุขัยของคนตาย ก็ทำบุญกุศลส่งไปให้ตามปกติ คนที่ตายก็สามารถรับบุญกุศลนั้นได้
๒. ทำบุญแบบเฉพาะเจาะจง คือ มีการแก้ไขกรรม หมายถึง คนที่ตายนั้น ตายผิดธรรมชาติ หรือเรียกกันว่า ตายโหง ยังไม่สิ้นอายุขัย แต่มาเสียชีวิตก่อน ญาติพี่น้องจะทำบุญส่งบุญไปให้มีด้วยกัน ๒ อย่าง คือ
อย่างที่ ๑ นำของถวาย ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ผลไม้ น้ำ ฯลฯ บอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขออนุญาตต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์ ตี่จั่งอ๊วง พระแม่ธรณี เป็นต้น กล่าวขออนุญาตต่อท่านแล้วเราก็นำสิ่งที่ จะถวายนั้นไปถวายกับพระภิกษุสงฆ์ แล้วเราก็กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญนั้นไปหาคนที่ตาย คนที่ตายจึงจะได้รับอนุญาตให้มารับบุญได้
อย่างที่ ๒ เมื่อเรารู้ญาติพี่น้องเราตายโหง ตายเพราะสิ่งใด เขาติดอะไรไว้ เราก็ทำพิธีแก้ไขให้ อย่างเช่น มีกรณีหนึ่งที่คนตายติดคุกแล้วเสียชีวิตในคุก คนตายต้องอาญาอยู่ แม่ทำบุญไปให้ก็เห็นเงียบไม่ได้ข่าว คนที่ตายไม่มาเข้าฝัน หรือแสดงว่าตนได้รับบุญนั้นแล้ว จึงมาทำพิธีแก้วิบากกรรม ขอลดหย่อนผ่อนโทษ พอทำพิธีเสร็จ รุ่งเช้า คนที่ตายไปเข้าฝันหลายๆ คน มีน้องสะใภ้ ญาติ และเพื่อนๆ ว่าตนได้รับส่วนบุญนั้นแล้ว
๓. ญาติพี่น้องส่งบุญอย่างแรงไปให้ คือ การทำบุญใหญ่เพื่ออุทิศบุญให้กับคนตายโดยเฉพาะ เช่น สร้างวัด วิหาร อุโบสถ ห่มผ้าพระธาตุ หรืออื่นๆ ที่ทำได้ยาก ตั้งอกตั้งใจอย่างยิ่งยวด แล้วอุทิศส่วนบุญไปให้ คนที่ตายจึงจะได้รับบุญ และพร้อมรับกุศลเพื่อหลุดพ้นจากสภาวะภูมินั้นๆ เช่นตัวอย่าง
นายสมนึกได้ไปไถ่ชีวิตโคให้เป็นอิสระไม่ถูกเขาฆ่าตาย อย่างนี้ถือเป็นบุญกุศลแรง
มีชายคนหนึ่งหิวโหยจะตาย แล้วเราไปช่วย อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นบุญกุศลแรง
มีชายคนหนึ่งเขาไม่สบายจะตายแล้ว เรานำเขาไปส่งโรงพยาบาล ช่วยชีวิตเขาได้ อย่างเป็นถือเป็นบุญกุศลแรง
สรุปบุญกุศลที่แรง คือ ต้องมีความตั้งอกตั้งใจ ศรัทธา มุ่งมั่น จริงจังมากกว่าปกติ แล้วช่วยเขาที่ขาดแคลนอย่างมากได้ พ้นจากสภาวะนั้น ถือว่าเป็นกุศลแรง
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต