หนึ่งในหนังดีที่มีคนบอกให้ดูมาหลายปีดีดัก เพิ่งจะสบโอกาสได้ดูเรื่องเต็มจนจบ เพราะเป็นหนังเก่าตั้งแต่ปี 1993 หาดูยากพอสมควรเลย แต่เนื้อหาร่วมสมัยมากเพราะเน้นที่ความสัมพันธ์เป็นหลัก เป็นหนังที่ทำให้เสียน้ำตามากที่สุดอีกเรื่องในชีวิต บอกเล่าความสัมพันธ์ของแม่ลูกได้ดีที่สุดเรื่องนึงที่เคยดูมา
ความละเมียดละไมในการร้อยเรียงทักถอเรื่องราวความสัมพันธ์ของแม่ลูก 4 ครอบครัวจีนที่อพยพมาตั้งรกรากในอเมริกา ต้องยกความดีให้ผู้สร้าง นักแสดง และทีมงานทั้งหมด สำหรับหนังความยาว 2 ชม. 18 นาที ที่สามารถกระจายบทและน้ำหนักให้ตัวละครทั้ง 4 ครอบครัวได้ใกล้เคียงกันตามบทประพันธ์ต้นฉบับ ชื่นชมคนเขียนบทภาพยนตร์ ซึ่งก็มี Amy Tan เจ้าของบทประพันธ์ในหนังสือร่วมเขียนบทหนังด้วย มันต่อกันลงตัว ราบรื่น งดงาม
หลังจากนี้จะมีสปอยล์บางส่วนนะคะ เผื่อใครยังไม่ได้ดู และอยากหามาดูก่อน แต่ถ้าไม่ซีเรียสก็อ่านก่อนดูได้ค่ะ หนังครอบครัวหนังชีวิต ไม่ใช่ทริลเลอร์เขย่าขวัญ พล็อตไม่ได้หักมุมอะไรขนาดน้านนน ถือว่าอ่านเรื่องเล่าแม่ลูกครอบครัวจีนในวันแม่ก็ได้ค่ะ^^
.
.
.
.
.
.
.
.
.
เรื่องราวมีความเกี่ยวพันกันในแต่ละแง่มุมของตัวละคร โดยตั้งต้นจากเหตุการณ์ปัจจุบัน คือ งานฉลองวันเกิดจูน ตัวเอกของเรื่อง แล้วเล่าถึงที่มาของ The Joy Luck Club ที่ซื่อหยวนแม่ของจูนเป็นคนตั้งขึ้นมาจากการเจอกับเพื่อนอีก 3 คนในโบสถ์ และการเล่าเรื่องของ Lindo ผ่านซื่อหยวนแม่ของจูนที่ Lindo รำพึงถึงการที่ซื่อหยวนทิ้งลูกแฝดไว้ที่เมืองจีน ว่าแม่คนนึงทำไมถึงตัดสินใจทิ้งลูกได้ นั่นก็เป็นจุดเริ่มการเล่าถึงชีวิตในวัยเด็กของ Lindo ที่แม่ยกเธอให้เป็นสะใภ้ตระกูลคหบดีตั้งแต่ 4 ขวบ เชื่อมโยงมาที่ Ying Ying รำพึงถึงสิ่งที่เลวร้ายกว่าการทิ้งลูก นั่นก็คือความเป็นมาแต่หนหลังของเธอกับความเลวร้ายในชีวิตสมรสครั้งแรกที่เมืองจีนจนทำให้เธอพลั้งมือปล่อยให้ลูกตาย และกลายเป็นปมในใจเรื่อยมาจนเธอมีภาวะซึมเศร้า ส่งผลต่อลูกสาวอย่าง Lena ที่โตมากับแม่ที่ป่วย ทำให้ Lena ซึ่งเป็นคนเล่าเรื่องลำดับถัดมามีลักษณะบุคลิกแบบสมยอม วนไปจนถึงโรสกับแม่ คือ Anmei ซึ่งมีภูมิหลังชีวิตที่เป็นโศกนาฏกรรม (ให้อารมณ์มงกุฎดอกส้มมาก มีคุณนายที่หนึ่งสองสามสี่ ประมาณนั้นเลย) ตัดกลับมายังเหตุการณ์ปัจจุบันของเรื่องที่จูน โดยโรสพูดกับจูนว่าแม่จูนไม่อยู่ขาดคนทำปูไปยังไงก็ไม่เหมือนเดิม เรื่องก็กลับมาเป็นจูนเล่าย้อนไปถึงเหตุการณ์วันตรุษจีนที่แม่ทำปูเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งถือเป็นจุดไคลแมกซ์ของหนัง ที่แม่ลูกทะเลาะกันและได้ปรับความเข้าใจกันในที่สุด แล้วตัดกลับมาที่เหตุการณ์ปัจจุบันอีกครั้ง
กลวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้สำหรับหนังที่สร้างในปี 1993 หรือเมื่อ 23 ปีที่แล้วถือว่าทันสมัยมากนะ จนกระทั่งตอนท้ายที่ Lindo สารภาพกับจูนว่าเขียนจดหมายไปในนามซื่อหยวน แล้วจูนมาจัดของที่ห้องกับพ่อ พ่อจึงได้เล่าให้จูนฟังว่าซื่อหยวนทิ้งลูกด้วยเหตุผลอะไร ทำให้จูนซึ่งเข้าใจแม่ผิดมาตลอด ได้รู้ความจริงในที่สุด รวมถึงได้บอกรักพ่อด้วย ก่อนจะออกเดินทางไปพบพี่สาวฝาแฝดที่เมืองจีนเพื่อบอกความจริงว่าแม่ตายไปแล้วเมื่อสี่เดือนก่อน ถือเป็นการจบเรื่องที่งดงาม ตอบคำถามและสางปมที่เริ่มต้นไว้ตั้งแต่ซีนแรกๆของหนังได้อย่างลงตัวและสมบูรณ์
สำหรับเรา หนังเรื่องนี้จึงกระทบใจไปเกือบทุกมิติ เพราะเราก็โตมาในครอบครัวจีน ต่างกันแค่บรรพบุรุษของตัวละครในเรื่องเลือกอพยพไปอเมริกา ส่วนบรรพบุรุษเราเลือกมาเมืองไทย เราเลยค่อนข้างเข้าใจบริบทความสัมพันธ์ของแม่ลูกในหนังเรื่องนี้ เพราะคนจีน วัฒนธรรมจีน อยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ก็ไม่ต่างกัน ^^”
เราซึ้งเลยว่าหม่าม้าเลี้ยงเรามาเหมือนบรรดาแม่ๆในเรื่องนี้นั่นแหละ หวังให้ลูกได้ดีที่สุด ไปไกลที่สุด แบบที่พวกเค้าไม่มีโอกาสได้เป็น หลายๆครั้งมันก็ทำให้บรรดาลูกๆอย่างเรา take it for granted (แบบประมาณว่าไม่สำนึกในคุณค่า) แน่น๊อนนน!!! รวมถึงเราด้วย
หม่าม้าถูกเลี้ยงมาแบบลูกสาวคนจีนสมัยก่อน ไม่มีปากไม่มีเสียง พอมีเราหม่าม้าเลยให้โอกาสทั้งหมดนั้นแก่เรา
ภาพแม่ลูก 4 คู่หลักในเรื่องทำให้เราสะเทือนใจกับทุกคู่ความสัมพันธ์ แต่คู่ที่ทำให้เราคิดถึงเรากับหม่าม้า ก็ต้องคู่นี้ Lindo-Waverly ชอบที่ Waverly พูดว่า แม่น่ะมี perfect countermove สำหรับจัดการกับเธอเสมอ คิดถึงหม่าม้าขึ้นมาจับใจ หม่าม้าเราก็แบบนี้เลย มี perfect countermove สำหรับเราเสมอ ไม่ว่าเราจะแสบยังไง ร้ายกาจขนาดไหน 55
ชีวิต Waverly เองก็มีส่วนคล้ายเรา ยกเว้นส่วนที่นางได้แต่งงานถึง 2 รอบและมีลูก 555 คือ นางแสบมาตั้งแต่เล็ก แต่ Lindo ก็สามารถปราบนางอยู่ทุกช็อต เพราะเมื่อเล่าย้อนไปถึงอดีตในวัยเด็ก Lindo ก็เป็นเด็กที่ฉลาด นางก็แสบมากจนเอาตัวรอดจากการเป็นสะใภ้ตระกูลใหญ่ ได้มาตั้งต้นชีวิตใหม่ที่อเมริกา
เข้าใจ Waverly กับแม่ของนางมากเลยนะ เคยมีช่วงเวลาที่เราจองหองและคิดว่าตัวเองรู้ดีกว่าหม่าม้า ซึ่งหม่าม้าเรา นางก็มีวิธีปราบเด็กร้ายกาจอย่างเรา เอาอยู่มาตลอด มาคิดๆดู เราว่าเค้าเก่งมากนะ เหมือน Lindo แม่ของ Waverly ถ้าเค้ามีโอกาสได้เรียนสูงๆ เค้าคงเป็นอะไรก็ได้ที่เค้าอยากเป็น
จะเห็นว่าผู้ชายมีบทในหนังเรื่องนี้น้อยมาก ซึ่งต่างจากบริบทครอบครัวจีนดั้งเดิม ที่ให้ความสำคัญกับลูกชายมาก
แต่ดันเหมือนบ้านเรามาก เราเลยอินกับหนังเรื่องนี้เป็นพิเศษ หม่าม้าเราต่างจากบ้านจีนทั่วไป อยากได้ลูกสาวมากกว่าลูกชาย 55 หม่าม้าเล่าว่าอากงอยากได้ลูกชายมาก จนกระทั่งตอนคลอดมาแล้วได้หม่าม้าเป็นลูกสาวคนที่ 4 อากงถึงกับพูดเลยว่าไม่เอาไม่เลี้ยง จะยกให้คนอื่นไป ชีวิตตอนเล็กๆของหม่าม้าลำบากมากอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ได้เรียนหนังสือ ต้องออกมาช่วยอากงอาม่าทำงานตั้งแต่ป.4 ส่วนเราน่ะเหรอ ตอนนั้นยังเล่นหมากเก็บชิลๆอยู่เลย ในขณะที่หม่าม้าเราต้องขายของต้องแบกหาม เพื่อให้อากู๋เราได้เรียน โชคดีที่อากู๋เราเป็นคนดีทั้ง 3 คน
เรื่องนึงที่เป็นจริงมากสำหรับเรา ลูกๆจะประสบความสำเร็จได้ การสนับสนุนจากพ่อแม่เป็นเรื่องสำคัญ การสนับสนุนที่ว่านี้ หมายถึง การเอาใจช่วยและอวยพรให้ลูกโชคดี แม้บางทีอาจจะไม่เห็นด้วยในสิ่งที่ลูกเลือกก็ตาม และนั่นเป็นสิ่งที่หม่าม้าบอกเสมอ ว่าพรของพ่อแม่ศักดิ์สิทธ์ อยากให้ชีวิตลูกเราดี เรามีหน้าที่ต้องให้พรเค้า และนางก็ทำแบบนั้นกับเรามาตลอด ถึงแม้เราจะตัดสินใจอะไรบ้าบิ่นหรือบ้าบอขนาดไหน (-/\-)
อย่างตอนที่ Waverly ดื้อกับแม่ จะเอาชนะด้วยการไม่เล่นหมากรุกอีกเพื่อให้แม่ไม่มีเรื่องไปอวดคนอื่น คิดว่าแม่คงต้องอ้อนวอนให้เล่น แต่ผิดคาด แม่ไม่สนใจ สุดท้ายนางก็ต้องขอกลับมาเล่นหมากรุกเอง แล้ว Lindo ก็บอกว่ามันไม่ง่ายอย่างนั้นหรอกนะ สุดท้ายพอแม่ไม่สนับสนุน นางก็เล่นแพ้ราบคาบจนต้องเลิกเล่นไปเอง (ในหนังสือบรรยายเรื่องหมากรุกของ Waverly กับแม่ไว้สนุกมาก จะมีรายละเอียดมากกว่าในหนัง แต่หนังก็ขมวดเรื่องได้กระชับดีในเวลาจำกัด)
เข้าใจเลยว่าทำไมป๊าม้าชอบเอาเรากับน้องไปอวดตามงานกินเลี้ยงกับญาติพี่น้องเพื่อนฝูงว่าลูกสาวนางสอบเข้าที่ไหนได้ จบแล้วได้ทำงานนู่นนั่นนี่ เราก็เคยมีโมเม้นต์ที่รำคาญเวลาพวกนางเอาเราไปโม้แบบ Waverly หมั่นไส้ Lindo แม่ของนางนะ แต่ตอนนี้เราเข้าใจละ บางทีเราก็ต้องให้พ่อแม่ใช้เราเป็นความฝันของเค้าบ้างนะ เมื่อเรารู้ว่าชีวิตเค้าต้องเสียสละอะไรมาบ้างเพื่อให้เราได้มีทุกอย่างในวันนี้
เคยอ่านเจอว่าลูกไม่ใช่การใช้ชีวิตครั้งที่สองของพ่อแม่ แต่ก็มีคนเคยพูดไว้ว่า ความฝันของเรา...บางครั้งฝากคนที่เรารักทำแทนบ้างก็ได้ (ถ้าคนๆนั้นเค้าเต็มใจที่จะทำ) ในวงเล็บนี่เติมเอง เพราะเอาเข้าจริงจะมีใครที่เลี้ยงลูกมาโดยไม่ต้องการให้ลูกสืบทอด legacy ของตนเอง ซึ่งในที่นี้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องอาชีพ กิจการ แต่อย่างน้อยก็คงอยากให้ลูกได้รับทัศนคติ ค่านิยม บรรทัดฐานที่เรายึดถือไปไม่มากก็น้อย
...ความคาดหวังจึงเป็นของที่พ่อแม่ต้องวางสมดุลให้ดี-ดี...
ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด แค่
“ดีพอ” ก็พอแล้ว เพราะพอพ่อแม่คาดหวัง best quality แบบที่จูนเข้าใจ บางครั้งความรักขนาดนั้นมันก็ทำร้ายทั้งลูกและคนเป็นพ่อแม่เอง (Best Quality เป็นชื่อตอนในหนังสือเล่มนี้ด้วย ซึ่งเล่าถึงเรื่องจูนกับแม่ เหตุการณ์บนโต๊ะอาหารในวันตรุษจีน เป็นตอนที่อ่านแล้วรู้สึกหน่วงในหัวใจ -.-") จูนก็เลยประท้วงแม่มาตลอด ด้วยการทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่แม่อยากให้ทำ ตั้งแต่เล่นเปียโนแบบขอไปที และโตมาด้วยความรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ แม้กระทั่งโรสที่แม่ คือ Anmei เลี้ยงมาแบบตรงข้ามกับที่ตัวเองถูกเลี้ยงมาในวัฒนธรรมจีนดั้งเดิม พอเจอฤทธิ์แม่สามีเข้าก็ยังรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าเท่าสามี จนเก็บกดความรู้สึกและความต้องการของตัวเอง ยึดว่าความต้องการของสามีสำคัญกว่า นำไปสู่ปัญหาในชีวิตสมรส หรือลีน่าที่ยอมให้สามีเอาเปรียบตัวเองตลอดมาเพราะสับสนว่าตัวเองต้องการอะไรและตัวตนที่แท้เป็นใครกันแน่ (ส่วนนี้ในหนังสือจะละเอียดกว่าตัวหนัง ตามหนังสือลีน่าเป็นคนที่เก่งและมีหัวคิดสร้างสรรค์มาก เป็นคนออกความคิดในกิจการและแนะนำให้สามีลาออกจากที่ทำงานเดิมมาตั้งบริษัทของตัวเองจนประสบความสำเร็จ แต่สามีเอาเปรียบเธอทุกอย่าง ไม่ใช่แค่เรื่องซื้อของในบ้านที่หนังตัดตอนมาเล่าแค่นั้น สามีไม่แม้กระทั่งจะให้ลีน่าเป็นหุ้นส่วนบริษัท ลีน่ามีฐานะเป็นแค่เพียงลูกจ้างคนนึงเท่านั้น และได้เงินเดือนน้อยมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่เธอลงแรงไป หรือตอนเลิกกัน สามีก็ยังจะเอาเศษเงินฟาดหัวเธอให้ไปตัวเปล่า ชอบมากตอนที่ลีน่าฮึดสู้ในที่สุด ^^b)
สำหรับหนังสือ ตอนที่อ่านแล้วชอบที่สุดก็คือตอน Waverly เล่นหมากรุกนี่แหละ ชอบแม่ลูกคู่นี้ที่สุดละ ไฝว้กันมันดี 55
สุดท้ายนี้ ทุกครอบครัวมีเรื่องราวของตัวเองทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเราจะนำมันมาเรียนรู้เพื่อเติบโตและก้าวผ่าน หรือเอามาตอกย้ำความเจ็บปวดแล้วก้าวย่ำซ้ำๆอยู่ที่เดิม อันนี้คงขึ้นกับเราเลือกแล้ว
เพราะโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ พ่อแม่เราก็เช่นกัน แต่ความรักที่มีให้เรานั้นก็ของจริง
#แม่ก็คือแม่
กราบหม่าม้าวันแม่ค่ะ ขอบคุณที่ให้ลูกเกิดมาและรักลูกเสมอ
ด้วยรัก
ลูกแก้วของหม่าม้า
ขอบคุณรูปประกอบจากอากู๋ค่ะ (-/\-)
The Joy Luck Club: ด้วยรัก แด่...แม่และลูกสาว (ชาวจีน) ทุกคนบนโลกใบนี้
ความละเมียดละไมในการร้อยเรียงทักถอเรื่องราวความสัมพันธ์ของแม่ลูก 4 ครอบครัวจีนที่อพยพมาตั้งรกรากในอเมริกา ต้องยกความดีให้ผู้สร้าง นักแสดง และทีมงานทั้งหมด สำหรับหนังความยาว 2 ชม. 18 นาที ที่สามารถกระจายบทและน้ำหนักให้ตัวละครทั้ง 4 ครอบครัวได้ใกล้เคียงกันตามบทประพันธ์ต้นฉบับ ชื่นชมคนเขียนบทภาพยนตร์ ซึ่งก็มี Amy Tan เจ้าของบทประพันธ์ในหนังสือร่วมเขียนบทหนังด้วย มันต่อกันลงตัว ราบรื่น งดงาม
หลังจากนี้จะมีสปอยล์บางส่วนนะคะ เผื่อใครยังไม่ได้ดู และอยากหามาดูก่อน แต่ถ้าไม่ซีเรียสก็อ่านก่อนดูได้ค่ะ หนังครอบครัวหนังชีวิต ไม่ใช่ทริลเลอร์เขย่าขวัญ พล็อตไม่ได้หักมุมอะไรขนาดน้านนน ถือว่าอ่านเรื่องเล่าแม่ลูกครอบครัวจีนในวันแม่ก็ได้ค่ะ^^
.
.
.
.
.
.
.
.
.
เรื่องราวมีความเกี่ยวพันกันในแต่ละแง่มุมของตัวละคร โดยตั้งต้นจากเหตุการณ์ปัจจุบัน คือ งานฉลองวันเกิดจูน ตัวเอกของเรื่อง แล้วเล่าถึงที่มาของ The Joy Luck Club ที่ซื่อหยวนแม่ของจูนเป็นคนตั้งขึ้นมาจากการเจอกับเพื่อนอีก 3 คนในโบสถ์ และการเล่าเรื่องของ Lindo ผ่านซื่อหยวนแม่ของจูนที่ Lindo รำพึงถึงการที่ซื่อหยวนทิ้งลูกแฝดไว้ที่เมืองจีน ว่าแม่คนนึงทำไมถึงตัดสินใจทิ้งลูกได้ นั่นก็เป็นจุดเริ่มการเล่าถึงชีวิตในวัยเด็กของ Lindo ที่แม่ยกเธอให้เป็นสะใภ้ตระกูลคหบดีตั้งแต่ 4 ขวบ เชื่อมโยงมาที่ Ying Ying รำพึงถึงสิ่งที่เลวร้ายกว่าการทิ้งลูก นั่นก็คือความเป็นมาแต่หนหลังของเธอกับความเลวร้ายในชีวิตสมรสครั้งแรกที่เมืองจีนจนทำให้เธอพลั้งมือปล่อยให้ลูกตาย และกลายเป็นปมในใจเรื่อยมาจนเธอมีภาวะซึมเศร้า ส่งผลต่อลูกสาวอย่าง Lena ที่โตมากับแม่ที่ป่วย ทำให้ Lena ซึ่งเป็นคนเล่าเรื่องลำดับถัดมามีลักษณะบุคลิกแบบสมยอม วนไปจนถึงโรสกับแม่ คือ Anmei ซึ่งมีภูมิหลังชีวิตที่เป็นโศกนาฏกรรม (ให้อารมณ์มงกุฎดอกส้มมาก มีคุณนายที่หนึ่งสองสามสี่ ประมาณนั้นเลย) ตัดกลับมายังเหตุการณ์ปัจจุบันของเรื่องที่จูน โดยโรสพูดกับจูนว่าแม่จูนไม่อยู่ขาดคนทำปูไปยังไงก็ไม่เหมือนเดิม เรื่องก็กลับมาเป็นจูนเล่าย้อนไปถึงเหตุการณ์วันตรุษจีนที่แม่ทำปูเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งถือเป็นจุดไคลแมกซ์ของหนัง ที่แม่ลูกทะเลาะกันและได้ปรับความเข้าใจกันในที่สุด แล้วตัดกลับมาที่เหตุการณ์ปัจจุบันอีกครั้ง
กลวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้สำหรับหนังที่สร้างในปี 1993 หรือเมื่อ 23 ปีที่แล้วถือว่าทันสมัยมากนะ จนกระทั่งตอนท้ายที่ Lindo สารภาพกับจูนว่าเขียนจดหมายไปในนามซื่อหยวน แล้วจูนมาจัดของที่ห้องกับพ่อ พ่อจึงได้เล่าให้จูนฟังว่าซื่อหยวนทิ้งลูกด้วยเหตุผลอะไร ทำให้จูนซึ่งเข้าใจแม่ผิดมาตลอด ได้รู้ความจริงในที่สุด รวมถึงได้บอกรักพ่อด้วย ก่อนจะออกเดินทางไปพบพี่สาวฝาแฝดที่เมืองจีนเพื่อบอกความจริงว่าแม่ตายไปแล้วเมื่อสี่เดือนก่อน ถือเป็นการจบเรื่องที่งดงาม ตอบคำถามและสางปมที่เริ่มต้นไว้ตั้งแต่ซีนแรกๆของหนังได้อย่างลงตัวและสมบูรณ์
สำหรับเรา หนังเรื่องนี้จึงกระทบใจไปเกือบทุกมิติ เพราะเราก็โตมาในครอบครัวจีน ต่างกันแค่บรรพบุรุษของตัวละครในเรื่องเลือกอพยพไปอเมริกา ส่วนบรรพบุรุษเราเลือกมาเมืองไทย เราเลยค่อนข้างเข้าใจบริบทความสัมพันธ์ของแม่ลูกในหนังเรื่องนี้ เพราะคนจีน วัฒนธรรมจีน อยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ก็ไม่ต่างกัน ^^”
เราซึ้งเลยว่าหม่าม้าเลี้ยงเรามาเหมือนบรรดาแม่ๆในเรื่องนี้นั่นแหละ หวังให้ลูกได้ดีที่สุด ไปไกลที่สุด แบบที่พวกเค้าไม่มีโอกาสได้เป็น หลายๆครั้งมันก็ทำให้บรรดาลูกๆอย่างเรา take it for granted (แบบประมาณว่าไม่สำนึกในคุณค่า) แน่น๊อนนน!!! รวมถึงเราด้วย
หม่าม้าถูกเลี้ยงมาแบบลูกสาวคนจีนสมัยก่อน ไม่มีปากไม่มีเสียง พอมีเราหม่าม้าเลยให้โอกาสทั้งหมดนั้นแก่เรา
ภาพแม่ลูก 4 คู่หลักในเรื่องทำให้เราสะเทือนใจกับทุกคู่ความสัมพันธ์ แต่คู่ที่ทำให้เราคิดถึงเรากับหม่าม้า ก็ต้องคู่นี้ Lindo-Waverly ชอบที่ Waverly พูดว่า แม่น่ะมี perfect countermove สำหรับจัดการกับเธอเสมอ คิดถึงหม่าม้าขึ้นมาจับใจ หม่าม้าเราก็แบบนี้เลย มี perfect countermove สำหรับเราเสมอ ไม่ว่าเราจะแสบยังไง ร้ายกาจขนาดไหน 55
ชีวิต Waverly เองก็มีส่วนคล้ายเรา ยกเว้นส่วนที่นางได้แต่งงานถึง 2 รอบและมีลูก 555 คือ นางแสบมาตั้งแต่เล็ก แต่ Lindo ก็สามารถปราบนางอยู่ทุกช็อต เพราะเมื่อเล่าย้อนไปถึงอดีตในวัยเด็ก Lindo ก็เป็นเด็กที่ฉลาด นางก็แสบมากจนเอาตัวรอดจากการเป็นสะใภ้ตระกูลใหญ่ ได้มาตั้งต้นชีวิตใหม่ที่อเมริกา
เข้าใจ Waverly กับแม่ของนางมากเลยนะ เคยมีช่วงเวลาที่เราจองหองและคิดว่าตัวเองรู้ดีกว่าหม่าม้า ซึ่งหม่าม้าเรา นางก็มีวิธีปราบเด็กร้ายกาจอย่างเรา เอาอยู่มาตลอด มาคิดๆดู เราว่าเค้าเก่งมากนะ เหมือน Lindo แม่ของ Waverly ถ้าเค้ามีโอกาสได้เรียนสูงๆ เค้าคงเป็นอะไรก็ได้ที่เค้าอยากเป็น
จะเห็นว่าผู้ชายมีบทในหนังเรื่องนี้น้อยมาก ซึ่งต่างจากบริบทครอบครัวจีนดั้งเดิม ที่ให้ความสำคัญกับลูกชายมาก
แต่ดันเหมือนบ้านเรามาก เราเลยอินกับหนังเรื่องนี้เป็นพิเศษ หม่าม้าเราต่างจากบ้านจีนทั่วไป อยากได้ลูกสาวมากกว่าลูกชาย 55 หม่าม้าเล่าว่าอากงอยากได้ลูกชายมาก จนกระทั่งตอนคลอดมาแล้วได้หม่าม้าเป็นลูกสาวคนที่ 4 อากงถึงกับพูดเลยว่าไม่เอาไม่เลี้ยง จะยกให้คนอื่นไป ชีวิตตอนเล็กๆของหม่าม้าลำบากมากอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ได้เรียนหนังสือ ต้องออกมาช่วยอากงอาม่าทำงานตั้งแต่ป.4 ส่วนเราน่ะเหรอ ตอนนั้นยังเล่นหมากเก็บชิลๆอยู่เลย ในขณะที่หม่าม้าเราต้องขายของต้องแบกหาม เพื่อให้อากู๋เราได้เรียน โชคดีที่อากู๋เราเป็นคนดีทั้ง 3 คน
เรื่องนึงที่เป็นจริงมากสำหรับเรา ลูกๆจะประสบความสำเร็จได้ การสนับสนุนจากพ่อแม่เป็นเรื่องสำคัญ การสนับสนุนที่ว่านี้ หมายถึง การเอาใจช่วยและอวยพรให้ลูกโชคดี แม้บางทีอาจจะไม่เห็นด้วยในสิ่งที่ลูกเลือกก็ตาม และนั่นเป็นสิ่งที่หม่าม้าบอกเสมอ ว่าพรของพ่อแม่ศักดิ์สิทธ์ อยากให้ชีวิตลูกเราดี เรามีหน้าที่ต้องให้พรเค้า และนางก็ทำแบบนั้นกับเรามาตลอด ถึงแม้เราจะตัดสินใจอะไรบ้าบิ่นหรือบ้าบอขนาดไหน (-/\-)
อย่างตอนที่ Waverly ดื้อกับแม่ จะเอาชนะด้วยการไม่เล่นหมากรุกอีกเพื่อให้แม่ไม่มีเรื่องไปอวดคนอื่น คิดว่าแม่คงต้องอ้อนวอนให้เล่น แต่ผิดคาด แม่ไม่สนใจ สุดท้ายนางก็ต้องขอกลับมาเล่นหมากรุกเอง แล้ว Lindo ก็บอกว่ามันไม่ง่ายอย่างนั้นหรอกนะ สุดท้ายพอแม่ไม่สนับสนุน นางก็เล่นแพ้ราบคาบจนต้องเลิกเล่นไปเอง (ในหนังสือบรรยายเรื่องหมากรุกของ Waverly กับแม่ไว้สนุกมาก จะมีรายละเอียดมากกว่าในหนัง แต่หนังก็ขมวดเรื่องได้กระชับดีในเวลาจำกัด)
เข้าใจเลยว่าทำไมป๊าม้าชอบเอาเรากับน้องไปอวดตามงานกินเลี้ยงกับญาติพี่น้องเพื่อนฝูงว่าลูกสาวนางสอบเข้าที่ไหนได้ จบแล้วได้ทำงานนู่นนั่นนี่ เราก็เคยมีโมเม้นต์ที่รำคาญเวลาพวกนางเอาเราไปโม้แบบ Waverly หมั่นไส้ Lindo แม่ของนางนะ แต่ตอนนี้เราเข้าใจละ บางทีเราก็ต้องให้พ่อแม่ใช้เราเป็นความฝันของเค้าบ้างนะ เมื่อเรารู้ว่าชีวิตเค้าต้องเสียสละอะไรมาบ้างเพื่อให้เราได้มีทุกอย่างในวันนี้
เคยอ่านเจอว่าลูกไม่ใช่การใช้ชีวิตครั้งที่สองของพ่อแม่ แต่ก็มีคนเคยพูดไว้ว่า ความฝันของเรา...บางครั้งฝากคนที่เรารักทำแทนบ้างก็ได้ (ถ้าคนๆนั้นเค้าเต็มใจที่จะทำ) ในวงเล็บนี่เติมเอง เพราะเอาเข้าจริงจะมีใครที่เลี้ยงลูกมาโดยไม่ต้องการให้ลูกสืบทอด legacy ของตนเอง ซึ่งในที่นี้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องอาชีพ กิจการ แต่อย่างน้อยก็คงอยากให้ลูกได้รับทัศนคติ ค่านิยม บรรทัดฐานที่เรายึดถือไปไม่มากก็น้อย
...ความคาดหวังจึงเป็นของที่พ่อแม่ต้องวางสมดุลให้ดี-ดี...
ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด แค่ “ดีพอ” ก็พอแล้ว เพราะพอพ่อแม่คาดหวัง best quality แบบที่จูนเข้าใจ บางครั้งความรักขนาดนั้นมันก็ทำร้ายทั้งลูกและคนเป็นพ่อแม่เอง (Best Quality เป็นชื่อตอนในหนังสือเล่มนี้ด้วย ซึ่งเล่าถึงเรื่องจูนกับแม่ เหตุการณ์บนโต๊ะอาหารในวันตรุษจีน เป็นตอนที่อ่านแล้วรู้สึกหน่วงในหัวใจ -.-") จูนก็เลยประท้วงแม่มาตลอด ด้วยการทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่แม่อยากให้ทำ ตั้งแต่เล่นเปียโนแบบขอไปที และโตมาด้วยความรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ แม้กระทั่งโรสที่แม่ คือ Anmei เลี้ยงมาแบบตรงข้ามกับที่ตัวเองถูกเลี้ยงมาในวัฒนธรรมจีนดั้งเดิม พอเจอฤทธิ์แม่สามีเข้าก็ยังรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าเท่าสามี จนเก็บกดความรู้สึกและความต้องการของตัวเอง ยึดว่าความต้องการของสามีสำคัญกว่า นำไปสู่ปัญหาในชีวิตสมรส หรือลีน่าที่ยอมให้สามีเอาเปรียบตัวเองตลอดมาเพราะสับสนว่าตัวเองต้องการอะไรและตัวตนที่แท้เป็นใครกันแน่ (ส่วนนี้ในหนังสือจะละเอียดกว่าตัวหนัง ตามหนังสือลีน่าเป็นคนที่เก่งและมีหัวคิดสร้างสรรค์มาก เป็นคนออกความคิดในกิจการและแนะนำให้สามีลาออกจากที่ทำงานเดิมมาตั้งบริษัทของตัวเองจนประสบความสำเร็จ แต่สามีเอาเปรียบเธอทุกอย่าง ไม่ใช่แค่เรื่องซื้อของในบ้านที่หนังตัดตอนมาเล่าแค่นั้น สามีไม่แม้กระทั่งจะให้ลีน่าเป็นหุ้นส่วนบริษัท ลีน่ามีฐานะเป็นแค่เพียงลูกจ้างคนนึงเท่านั้น และได้เงินเดือนน้อยมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่เธอลงแรงไป หรือตอนเลิกกัน สามีก็ยังจะเอาเศษเงินฟาดหัวเธอให้ไปตัวเปล่า ชอบมากตอนที่ลีน่าฮึดสู้ในที่สุด ^^b)
สำหรับหนังสือ ตอนที่อ่านแล้วชอบที่สุดก็คือตอน Waverly เล่นหมากรุกนี่แหละ ชอบแม่ลูกคู่นี้ที่สุดละ ไฝว้กันมันดี 55
สุดท้ายนี้ ทุกครอบครัวมีเรื่องราวของตัวเองทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเราจะนำมันมาเรียนรู้เพื่อเติบโตและก้าวผ่าน หรือเอามาตอกย้ำความเจ็บปวดแล้วก้าวย่ำซ้ำๆอยู่ที่เดิม อันนี้คงขึ้นกับเราเลือกแล้ว
เพราะโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ พ่อแม่เราก็เช่นกัน แต่ความรักที่มีให้เรานั้นก็ของจริง #แม่ก็คือแม่
กราบหม่าม้าวันแม่ค่ะ ขอบคุณที่ให้ลูกเกิดมาและรักลูกเสมอ
ด้วยรัก
ลูกแก้วของหม่าม้า
ขอบคุณรูปประกอบจากอากู๋ค่ะ (-/\-)