สวัสดีครับต่อจากตอนที่ 3 ที่พูดเรื่องระบบราชการญี่ปุ่น วันนี้จะต่อด้วยระบบการศาลของญี่ปุ่นครับว่า ระบบการศาลของญี่ปุ่นก็ไม่รอดพ้นจากการควบคุมของรัฐบาลไปได้ และเป็นเรื่องยากมากที่จะฟ้องร้องชนะรัฐบาล และสิ่งนี้ทำให้การทุจริตอย่างการจำนำข้าวในบ้านเรา เมื่อเทียบกับการทุจริตในญี่ปุ่นแล้ว มันกลายเป็นเรื่องเล็กๆไปเลย
กลับไปอ่านตอนอื่นๆได้ครับ ชุด เบื้องหลังย่านจิโยดะ
ตอนที่ 1 ญี่ปุ่นเป็นหรือไม่เป็นประชาธิปไตย
http://ppantip.com/topic/35431845
ตอนที่ 2 ระบบสามเหลี่ยมเหล็ก
http://ppantip.com/topic/35437440
ตอนที่ 3 ระบบข้าราชการ
http://ppantip.com/topic/35452740
ระบบศาลญี่ปุ่น และที่มาของคณะผู้พิพากษา
ศาลญี่ปุ่นก็เหมือนกับเราโดยแบ่งเป็น
1. ศาลจังหวัด 50 แห่ง เทียบได้กับศาลชั้นต้น
2. ศาลประจำภูมิภาค 8 แห่ง เทียบได้กับ ศาลอุทธรณ์
3. ศาลสูงที่ ย่านจิโยดะ โตเกียว ซึ่งก็คือศาลฎีกาของญี่ปุ่น
ในรัฐธรรมนูญของแมคอาเธอร์ 1947 ได้กำหนดที่มาของผู้พิพากษาว่า "สมเด็จพระจักรพรรดิทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้พิพากษาศาลสูง 1 คน และ ผู้พิพากษาศาลสูงอีก 14 คน โดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี" และมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ศาลสูงไว้หลายประการคือ
1. กำหนดเขตพื้นที่เลือกตั้ง
2. ตัดสินคดีที่เกี่ยวกับการใช้รัฐธรรมนูญ
3. ตัดสินคดีที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐบาล
ซึ่งหน้าที่เหล่านี้ และข้อความที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแมคอาเธอร์กลายเป็นช่องทางที่รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงอำนาจของศาลครับ
การแทรกแซงของ LDP
อย่างที่เราต้องได้อ่านข้อความของรัฐธรรมฉบับแมคอาเธอร์ที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว เราจะเห็นได้ว่าช่องทางหนึ่งที่ LDP พายามจะมีอำนาจเหนือศาลได้ คือ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แนะนำจักรพรรดิให้แต่งตั้งใครเป็นผู้พิพากษา ซึ่งเราต้องทราบว่าตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา จักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นหุ่นเชิดของผู้มีอำนาจต่างๆเรื่อยมา ซึ่งจักรพรรดิอากิฮิโตะก็ไม่ต่างกันครับ ดังนั้นแน่นอนว่า นายกรัฐมนตรี (ซึ่งแทบจะเชื่อขนมกินได้ว่ามาจากพรรค LDP แน่ๆ)ย่อมต้องเสนอบุคคลที่เป็นพวกเดียวกับตนมาเป็นผู้พิพากษาแน่ๆ ซึ่งทำให้พรรค LDP คุมผู้พิพากษาได้ทั้งหมด เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาทุกศาลในญี่ปุ่นโดยอ้างพระบรมราชโองการของจักรพรรดิ ซึ่งมีผลให้
1. ผู้พิพากษาของญี่ปุ่นแทบทุกคนจงรักภักดีกับพรรค LDP
2. ทำให้ได้ผู้พิพากษาทั้งหมดเป็นพวกอนุรักษ์นิยม เพราะพรรค LDP เป็นพรรคฝ่ายขวา
3. คดีใดๆที่เกี่ยวข้องพรรค LDP หรือรัฐบาล ผู้ฟ้องร้องจะไม่มีวันชนะ
4. ทำให้พรรค LDP สามารถชนะการเลือกตั้งได้เกือบทุกครั้ง เพราะศาลสูงกำหนดเขตเลือกตั้ง ทำให้พรรค LDP สามารถกำหนดเขตเลือกตั้งได้ตามใจชอบ
ซึ่งแน่นอนว่า ศาลญี่ปุ่นเอียงกะเท่เร่แน่นอน ไม่ดำรงอยู่ในความเป็นกลาง และต้องมีคำถามแน่นอนว่า ทำไมฝ่ายบริหารจึงมีอำนาจมากกว่าฝ่ายตุลาการอย่างนั้นในญี่ปุ่น
1. ฝ่ายตุลาการถือว่าตนควรอยู่ห่างๆจากการเมือง
2. ประเพณีชาวญี่ปุ่นถือว่า การตัดสินของศาลไม่เป็นอันสิ้นสุด ดังนั้นบางครั้งที่รัฐบาลแพ้คดี รัฐบาลก็จะดื้อแพ่ง ไม่ทำตามคำตัดสินของศาลครับ
3. ศาลสูงจงรักภักดีต่อ LDP
4. ตามประเพณีของญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นไม่ชอบขึ้นโรงขึ้นศาล เพราะถือว่าการขึ้นศาลจะว่าจะเป็นโจทก์ พยาน หรือ จำเลย จะนำความโชคร้ายมาให้
5. ตามประเพณีของญี่ปุ่น ศาลจะไม่ยอมพิจารณาคดีใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าผู้ต้องหาจะเป็นแพะหรือไม่ ซึ่งมีที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับเมจินั่นเอง
จากทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นเหตุผลให้ศาลยุติธรรมญี่ปุ่นตกอยู่ใต้อำนาจรัฐบาลตลอดเวลา และทำคามความต้องการของรัฐบาลกับกลุ่มธุรกิจมากกว่าประชาชนเสมอ ซึ่งประชาชนไม่สามารถโวยวายได้มากนัก เพราะ LDP คุมอำนาจเบ็ดเสร็จในประเทศ และ ค่านิยมของชาวญี่ปุ่นที่เกลียดการไปศาลนั่นเอง
ระบบการสืบสวนสอบสวน
อย่างที่ทราบกัน แม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่เจริญแล้ว แต่ระบบยุติธรรมโดยเฉพาะการสืบสวนสอบสวนนั้น ญี่ปุ่นยังอยู่ในขั้น “ป่าเถื่อน” อย่างมาก โดยเฉพาะ การซ้อมผู้ต้องหา การจับแพะ การบีบบังคับผู้ต้องหาให้สารภาพ ในญี่ปุ่นเกิดขึ้นเป็นประจำครับ รวมไปถึงการยัดข้อหาเพื่อให้กลุ่มธุรกิจได้ประโยชน์ ก็เกิดขึ้นเป็นประจำครับ ซึ่งเราต้องทราบว่า ประเพณีญี่ปุ่นไม่ให้โอกาสที่ 2 กับนักโทษที่ถูกปล่อยออกมาแล้ว เขาจะต้องกลายเป็นคนจรจัดได้โดยง่ายครับ ซึ่งการสอบสวนละสงคมญี่ปุ่นทำให้คนที่พ้นคุกออกมาแล้ว กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ มกจบลงด้วยการก่ออาชญากรรม หรือ การฆ่าตัวตายครับ เพราะมันไม่มีงานใดๆที่ให้คนพ้นโทษไปทำงาน ซึ่งมันเกิดขึ้นกับนักศึกษาที่ออกจากคุกหลังจากที่เขาตกเป็นผู้ต้องหาในการประท้วงใหญ่ในปี 1960 พวกเขาถูกปฏิเสธจากที่ทำงานทุกที่ สุดท้ายนักศึกษาเหล่านี้ก็ฆ่าตัวตายไปหลายสิบคน ซึ่งน่าเสียดายความรู้ความสามารถของพวกเขาเป็นอย่างมาก
สรุป
ศาลญี่ปุ่นไม่ค่อยมีความยุติธรรมมากนัก เพราะพวกเขายังตกอยู่ในอำนาจของ LDP ในฐานะ รัฐบาลญี่ปุ่น ทำให้การตัดสินคดีต่างๆในญี่ปุ่นยังตกอยู่ในคำสั่งของรัฐบาลและกลุ่มทุนต่างๆมากกว่าเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาจากประเพณีเก่าๆของญี่ปุ่นมากกว่าเรื่องอื่นๆ
เบื้องหลังย่านจิโยดะ (4) : ศาลญี่ปุ่น ยุติธรรมหรือมิใช่ ?
กลับไปอ่านตอนอื่นๆได้ครับ ชุด เบื้องหลังย่านจิโยดะ
ตอนที่ 1 ญี่ปุ่นเป็นหรือไม่เป็นประชาธิปไตย http://ppantip.com/topic/35431845
ตอนที่ 2 ระบบสามเหลี่ยมเหล็ก http://ppantip.com/topic/35437440
ตอนที่ 3 ระบบข้าราชการ http://ppantip.com/topic/35452740
ระบบศาลญี่ปุ่น และที่มาของคณะผู้พิพากษา
ศาลญี่ปุ่นก็เหมือนกับเราโดยแบ่งเป็น
1. ศาลจังหวัด 50 แห่ง เทียบได้กับศาลชั้นต้น
2. ศาลประจำภูมิภาค 8 แห่ง เทียบได้กับ ศาลอุทธรณ์
3. ศาลสูงที่ ย่านจิโยดะ โตเกียว ซึ่งก็คือศาลฎีกาของญี่ปุ่น
ในรัฐธรรมนูญของแมคอาเธอร์ 1947 ได้กำหนดที่มาของผู้พิพากษาว่า "สมเด็จพระจักรพรรดิทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้พิพากษาศาลสูง 1 คน และ ผู้พิพากษาศาลสูงอีก 14 คน โดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี" และมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ศาลสูงไว้หลายประการคือ
1. กำหนดเขตพื้นที่เลือกตั้ง
2. ตัดสินคดีที่เกี่ยวกับการใช้รัฐธรรมนูญ
3. ตัดสินคดีที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐบาล
ซึ่งหน้าที่เหล่านี้ และข้อความที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแมคอาเธอร์กลายเป็นช่องทางที่รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงอำนาจของศาลครับ
การแทรกแซงของ LDP
อย่างที่เราต้องได้อ่านข้อความของรัฐธรรมฉบับแมคอาเธอร์ที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว เราจะเห็นได้ว่าช่องทางหนึ่งที่ LDP พายามจะมีอำนาจเหนือศาลได้ คือ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แนะนำจักรพรรดิให้แต่งตั้งใครเป็นผู้พิพากษา ซึ่งเราต้องทราบว่าตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา จักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นหุ่นเชิดของผู้มีอำนาจต่างๆเรื่อยมา ซึ่งจักรพรรดิอากิฮิโตะก็ไม่ต่างกันครับ ดังนั้นแน่นอนว่า นายกรัฐมนตรี (ซึ่งแทบจะเชื่อขนมกินได้ว่ามาจากพรรค LDP แน่ๆ)ย่อมต้องเสนอบุคคลที่เป็นพวกเดียวกับตนมาเป็นผู้พิพากษาแน่ๆ ซึ่งทำให้พรรค LDP คุมผู้พิพากษาได้ทั้งหมด เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาทุกศาลในญี่ปุ่นโดยอ้างพระบรมราชโองการของจักรพรรดิ ซึ่งมีผลให้
1. ผู้พิพากษาของญี่ปุ่นแทบทุกคนจงรักภักดีกับพรรค LDP
2. ทำให้ได้ผู้พิพากษาทั้งหมดเป็นพวกอนุรักษ์นิยม เพราะพรรค LDP เป็นพรรคฝ่ายขวา
3. คดีใดๆที่เกี่ยวข้องพรรค LDP หรือรัฐบาล ผู้ฟ้องร้องจะไม่มีวันชนะ
4. ทำให้พรรค LDP สามารถชนะการเลือกตั้งได้เกือบทุกครั้ง เพราะศาลสูงกำหนดเขตเลือกตั้ง ทำให้พรรค LDP สามารถกำหนดเขตเลือกตั้งได้ตามใจชอบ
ซึ่งแน่นอนว่า ศาลญี่ปุ่นเอียงกะเท่เร่แน่นอน ไม่ดำรงอยู่ในความเป็นกลาง และต้องมีคำถามแน่นอนว่า ทำไมฝ่ายบริหารจึงมีอำนาจมากกว่าฝ่ายตุลาการอย่างนั้นในญี่ปุ่น
1. ฝ่ายตุลาการถือว่าตนควรอยู่ห่างๆจากการเมือง
2. ประเพณีชาวญี่ปุ่นถือว่า การตัดสินของศาลไม่เป็นอันสิ้นสุด ดังนั้นบางครั้งที่รัฐบาลแพ้คดี รัฐบาลก็จะดื้อแพ่ง ไม่ทำตามคำตัดสินของศาลครับ
3. ศาลสูงจงรักภักดีต่อ LDP
4. ตามประเพณีของญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นไม่ชอบขึ้นโรงขึ้นศาล เพราะถือว่าการขึ้นศาลจะว่าจะเป็นโจทก์ พยาน หรือ จำเลย จะนำความโชคร้ายมาให้
5. ตามประเพณีของญี่ปุ่น ศาลจะไม่ยอมพิจารณาคดีใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าผู้ต้องหาจะเป็นแพะหรือไม่ ซึ่งมีที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับเมจินั่นเอง
จากทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นเหตุผลให้ศาลยุติธรรมญี่ปุ่นตกอยู่ใต้อำนาจรัฐบาลตลอดเวลา และทำคามความต้องการของรัฐบาลกับกลุ่มธุรกิจมากกว่าประชาชนเสมอ ซึ่งประชาชนไม่สามารถโวยวายได้มากนัก เพราะ LDP คุมอำนาจเบ็ดเสร็จในประเทศ และ ค่านิยมของชาวญี่ปุ่นที่เกลียดการไปศาลนั่นเอง
ระบบการสืบสวนสอบสวน
อย่างที่ทราบกัน แม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่เจริญแล้ว แต่ระบบยุติธรรมโดยเฉพาะการสืบสวนสอบสวนนั้น ญี่ปุ่นยังอยู่ในขั้น “ป่าเถื่อน” อย่างมาก โดยเฉพาะ การซ้อมผู้ต้องหา การจับแพะ การบีบบังคับผู้ต้องหาให้สารภาพ ในญี่ปุ่นเกิดขึ้นเป็นประจำครับ รวมไปถึงการยัดข้อหาเพื่อให้กลุ่มธุรกิจได้ประโยชน์ ก็เกิดขึ้นเป็นประจำครับ ซึ่งเราต้องทราบว่า ประเพณีญี่ปุ่นไม่ให้โอกาสที่ 2 กับนักโทษที่ถูกปล่อยออกมาแล้ว เขาจะต้องกลายเป็นคนจรจัดได้โดยง่ายครับ ซึ่งการสอบสวนละสงคมญี่ปุ่นทำให้คนที่พ้นคุกออกมาแล้ว กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ มกจบลงด้วยการก่ออาชญากรรม หรือ การฆ่าตัวตายครับ เพราะมันไม่มีงานใดๆที่ให้คนพ้นโทษไปทำงาน ซึ่งมันเกิดขึ้นกับนักศึกษาที่ออกจากคุกหลังจากที่เขาตกเป็นผู้ต้องหาในการประท้วงใหญ่ในปี 1960 พวกเขาถูกปฏิเสธจากที่ทำงานทุกที่ สุดท้ายนักศึกษาเหล่านี้ก็ฆ่าตัวตายไปหลายสิบคน ซึ่งน่าเสียดายความรู้ความสามารถของพวกเขาเป็นอย่างมาก
สรุป
ศาลญี่ปุ่นไม่ค่อยมีความยุติธรรมมากนัก เพราะพวกเขายังตกอยู่ในอำนาจของ LDP ในฐานะ รัฐบาลญี่ปุ่น ทำให้การตัดสินคดีต่างๆในญี่ปุ่นยังตกอยู่ในคำสั่งของรัฐบาลและกลุ่มทุนต่างๆมากกว่าเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาจากประเพณีเก่าๆของญี่ปุ่นมากกว่าเรื่องอื่นๆ