ผมเดินทางมาโรงพยาบาลสิรินธร ย่านลาดกระบัง ด้วยการเตรียมพร้อมมาอย่างดีกับการรอคอยการรับบริการที่แสนยาวนาน จาก รพ รัฐ ผมขับรถเลี้ยวเข้าลานจอดบริเวณหน้า รพ คิดมาก่อนแล้วว่าวันนี้ไม่น่าจะหาที่จอดรถได้ยากนัก และก็เป็นอย่างที่คาด มีที่จอดรถเหลืออยู่พอดีให้ผมจอดรถทันทีที่ผมขับผ่าน
ผมเป็นคนไข้เก่า เลื่อนนัดมาแล้วสองครั้ง หมอที่ผมมาพบชื่อ พญ.อัมพา เป็นจิตแพทย์ บำบัดอาการนอนยาก หากปราศจากสุรา การมา รพ รัฐ แตกต่างจาก รพ เอกชน ตรงที่ว่า รพ รัฐจะมีลำดับการรับคิวที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน และยาวนาน แม้ว่าจะมีความพยามนำระบบเทคโนโลยีรูปแบบใดมาใช้ มันก็ยังซับซ้อนและยาวนานอยู่นั่นแหละ บางทีอาจเป็นเพราะจำนวนผู้ป่วยที่มีมากกว่า รพเอกชน หลายเท่าตัว (เนื่องด้วยค่ารักษาพยาบาลที่ถูกกว่า หลายเท่าตัวเช่นเดียวกัน) 2292 คือด่านแรก แผนกเวชระเบียน ผมรอเรียกตามคิวจำนวน 5 คิวเพื่อยื่นใบนัดแพทย์ ระบุตัวตนเริ่มต้นไปยังระบบว่าผมได้มาถึงที่นี่ตามวันและเวลานัดเรียบร้อยแล้ว ด่านแรกผ่านไปด้วยดีด้วยเวลาไม่เกิน 15 นาที
ลำดับต่อมาคือ จุดซักประวัติ แผนกอายุรกรรม รอเรียกชื่อ ไม่มีเลขคิว ผมทราบดีว่าด่านนี้เป็นด่านหิน เนื่องจากต้องรอฟังชื่อตัวเองอย่างล่องลอย ไร้กำหนด ไม่มีลำดับคิวใดๆให้คาดคะเนความสั้นยาวของระยะเวลา แถมจะต้องเงี่ยหูฟังชื่อของตัวเองอย่างตั้งใจ ถ้าแอบเดินออกไปจากห้อง อาจจะพลาดการเรียกชื่อ ต้องรอไปอีกโดยไร้จุดหมาย ผู้คนส่วนใหญ่ที่มาใช้บริการเป็นผู้สูงอายุ ในเวลาที่สังคมไทยตอนนี้มีจำนวนผู้สูงอายุมากเป็นพิเศษ จำนวนผู้สูงอายุในโรงพยาบาลรัฐก็มากเป็นพิเศษด้วยเช่นกัน ผู้ใช้บริการที่เป็นวัยรุ่นมีสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ค่าเวลา เฟสบุคและไลน์ เป็นกิจกรรมหลัก มีบ้างที่ดูละคร ฟังเพลง มีบ้างที่เดินจับโปเกมอนบริเวณหน้าห้องตรวจ ส่วนผู้สูงอายุ นั่งรอ เฉยๆ ผมซึ่งไม่ใช่ทั้งวัยรุ่นและผู้สูงอายุ มานั่งด่านนี้ไปพร้อมกับ "แกะรอย แกะดาว" นิยายลำดับที่สาม ปัจฉิมบท "ไตรภาคแห่งมุสิก" ของฮารุกิ มูราคามิ เรื่องราวว่าด้วยการที่ตัวเอกถูกสั่งให้ออกไปตามหาแกะที่มีสัญลักษณ์รูปดาวอยู่กลางแผ่นหลัง โดยผู้ออกคำสั่งเป็นเลขานุการใหญ่ขององค์กรลับผู้มีอิทธิพลมืดในญี่ปุ่น
ผมถูกเรียกชื่อเร็วกว่าที่คิด 0324 คือคิวที่ได้ หน้าห้องตรวจหมายเลข 3 ปรากฎหมายเลข 0307 อีก 17 คิว ผมคะเนในใจโดยใช้ประสบการในอดีตเป็นเครื่องมือการคำนวณ น่าจะต้องรอคิวราวๆ 3 ชั่วโมง ผมเดินออกจากแผนกอายุรกรรม ไปสั่งอเมริกาโนเย็นจากร้านกาแฟเอกชนในโรงบาลรัฐ ที่ร้านกาแฟ ไม่มีบัตรคิว คนมาซื้อกาแฟส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ที่ราคาสินค้าในสมองยังไม่ได้ลอยตัวตามค่าเงิน ดังนั้นราคากาแฟในโรงบาลรัฐต้องเป็นไปตามกลไกราคาของผู้สูงอายุ อเมริกาโนเย็นที่ผมสั่งราคาแก้วละ 35 บาท คุณป้าข้างๆ สั่งเอสเพรสโซ่เย็น (คล้ายๆลาเต้เย็นแต่ใส่นมข้นเป็นสูตรและความเข้าใจเฉพาะของบาริสต้าไทย) ราคา 40 บาท ราคาเทียบเท่าอาหารตามสั่งหรือก๋วยเตี๋ยวธรรมดาซักชามในปัจจุบัน แพงอยู่ดี ในสายตาผู้สูงอายุ ที่เคยกินก๋วยเตี๋ยวชามละไม่ถึง 2 บาท ในวันที่เขาเหล่านั้นเป็นวัยรุ่น
ผมมีเวลาเหลือเฟือเพียงพอที่จะพาแก้วอเมริกาโนออกไปสูบบุหรี่หน้า รพ ก่อนที่จะกลับมาออกไปตามหาแกะและมุสิกที่ ฮอกไกโดกับตัวละครเอกของมุราคามิต่อ เพลง "สุขกันเถอะเรา" ของสุนทราพรณ์ ถูกขับร้องโดยอาสาสมัครผู้สูงอายุที่นั่งรอการเรียกชื่อ คอมพิวเตอร์บรรจุเพลงนับหมื่น ให้เสียงทำนองเปล่า เรียบง่าย เพลงจบลงพร้อมกับเสียงปรบมือให้กำลังใจ ผมรู้สึกได้ถึงความเศร้าของเสียงปรบมือ
แกะรอยแกะดาวผ่านไป 57 หน้า การเรียกคิวผ่านไปแล้ว 12 คิว ด้วยเวลาราว 120 นาที หรือ 2 ชั่วโมงตามคาด เหลืออีก 5 คิว ผมหยุดอ่านเพื่อเดินไปเข้าห้องน้ำและหาอะไรกินรองท้อง เวลาหน้าห้องตรวจบอกเวลา 12.35 เร็วกว่าเวลาที่ข้อมือผม 5 นาที นี่หมอไม่หิวบ้างหรือไงนะ
บ่ายโมงตรง ผมได้คุยกับหมอ ประเด็นหลักเป็นเรื่องวิธีใช้ยานอนหลับและสุรา
"ยานอนหลับที่หมอจ่ายและสุรามีอนุพันธ์เดียวกัน ทำให้หลับได้เหมือนกัน และทำให้ติดได้เหมือนกัน ทุกวันนี้ถ้าไม่กินยา ไม่กินเหล้านอนหลับได้มั้ย"
"ในวันที่ผมตื่นเช้า เช่นตื่น 6 โมงเช้า จะนอนได้ครับ แต่ปกติแล้วผมจะตื่นประมาณ 8 โมง หรือมีบางครั้งที่ตื่นสายประมาณ 10 โมง วันไหนตื่นสายผมจะหลับยาก"
"ก็แปลว่านอนหลับได้"
"ได้ครับ แต่ในสถานการณ์ที่วันรุ่งขึ้นมีงาน ต้องตื่นเช้า แล้ววันนั้นไม่ได้ตื่นเช้า ไม่ได้กินเหล้า ไม่มียานอนหลับ ก็จะนอนไม่หลับ"
หมออธิบายให้ผมฟังถึงแนวทาง "Sleep hygiene" เหมือนครั้งก่อน ผมจำได้ แต่ก็ตั้งใจฟังหมอเล่าอีกรอบ
"ตื่นทันทีหลังจากที่รู้สึกตัว อย่านอนแช่ ตอนกลางวันงีบหลับได้เป็นสิ่งที่ดี อย่ากินกาแฟหลังบ่ายสอง อย่าออกกำลังกายหนักหลัง 6 โมงเย็น อย่าทานอาหารเย็นมากเกินไป เวลาเข้านอน ห้องนอนควรจะมีความมืดและห้องนอนควรใช้เป็นห้องนอนเพียงอย่างเดียว อย่าทำงานในห้องนอน อย่าดูหนัง เล่นเกม และอย่ามีนาฬิกาในห้องนอน"
"ครับ" ผมทำตรงกันข้ามกับที่หมอบอกแทบจะทุกประเด็น
"เวลาที่นอนไม่หลับ อย่านอนแช่ ให้ลุกออกจากห้องนอน อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เล่นเกม ทำอะไรก็ได้จนกว่าจะง่วง ค่อยกลับไปนอนใหม่"
"ครับ" อันนี้ผมทำตามอยู่บ้าง
"ยาที่ให้กินไม่ควรกินๆ หยุดๆ ควรจะกินเพื่อให้ร่างกายจดจำเวลานอนของเราที่เหมาะสม จากนั้นให้หยุดยาไปเลย แต่อย่าเปลี่ยนเวลานอน"
"ครับ" ผมยังอยากกินแบบตามใจมากกว่า แต่ไม่ได้พูดอะไร
"ยังไงวันนี้หมอจ่ายยาไปอีกและนัดครั้งต่อไปอีก 2 เดือนนะคะ"
"ครับ" ผมใช้เวลาคุยกับหมอ ไม่ถึง 5 นาที เดินออกมาจากห้องตรวจ ยื่นเอกสารให้พยาบาล เพื่อนำไปยื่นให้แผนกการเงิน
กดปุ่มคิวทันทีที่หน้าแผนกการเงิน (คราวที่แล้วที่มาผมไม่ทราบขั้นตอนนี้ทำให้ต้องนั่งรออย่างเลื่อนลอยไปอีกเกือบชั่วโมง) บัตรคิวปรากฎคิวที่ 1501 ผมต้องรออีกประมาณ 50 คิวถึงจะได้ชำระเงิน แต่คิวชำระเงินไม่นานอย่างที่คิด ครึ่งชั่วโมงถัดมาผมชำระเงินค่ายาที่จ่ายล่วงหน้า 2 เดือนเป็นเงิน 30 บาท กับค่าบริการตรวจรักษาของแพทย์ 5 นาที เป็นเงิน 50 บาท รวม 80 บาท
ใบเสร็จรับเงินแนบมากับคิวรับยาที่ B321 แต่อีกไม่กี่อึดใจ เภสัชกร ขานเรียกชื่อผม (ทั้งๆที่คิวบนจอภาพไม่ได้ขยับ ยังคงอยู่ที่ B307) ผมรับยานอนหลับสำหรับ 2 เดือน จำนวน 60 เม็ด กล่าวขอบคุณ และเดินทางออกจากโรงพยาบาล
ผมแวะเอารถไปล้าง ระหว่างรอ เดินไปตลาดเพื่อทานอาหารมื้อบ่าย ในตลาดมีซุปหางวัว (ซึ่งเคยทำให้ผมอาหารไม่ย่อยเมื่อคราวก่อน) ก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ ก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก ต้มยำ เย็นตาโฟ และกหรี่พับ คนขายทุกร้านเป็นคุณป้า ยกเว้นร้านขายกหรี่พับเป็นวัยรุ่นยืนเล่นโทรศัพท์
ผมสั่งเกาเหลาเย็นตาโฟ กินเหมือนๆกับมื้อบ่ายของทุกๆวัน รสชาติของเย็นตาโฟดูจะออกไปทางเกาเหลาหมูน้ำตกมากกว่า ค่าเกาเหลาเย็นตาโฟ 35 บาท ราคาเท่าอเมริกาโนเย็นในโรงพยาบาล และถูกกว่าค่ารักษาพยาบาลเล็กน้อย ผมดูนาฬิกาข้อมือบอกเวลา 14.20 พึ่งจะผ่านบ่ายสองโมงมา 20 นาที
กินกาแฟอีกซักแก้วจะเป็นไรไป
โรงพยาบาลรัฐ
ผมเป็นคนไข้เก่า เลื่อนนัดมาแล้วสองครั้ง หมอที่ผมมาพบชื่อ พญ.อัมพา เป็นจิตแพทย์ บำบัดอาการนอนยาก หากปราศจากสุรา การมา รพ รัฐ แตกต่างจาก รพ เอกชน ตรงที่ว่า รพ รัฐจะมีลำดับการรับคิวที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน และยาวนาน แม้ว่าจะมีความพยามนำระบบเทคโนโลยีรูปแบบใดมาใช้ มันก็ยังซับซ้อนและยาวนานอยู่นั่นแหละ บางทีอาจเป็นเพราะจำนวนผู้ป่วยที่มีมากกว่า รพเอกชน หลายเท่าตัว (เนื่องด้วยค่ารักษาพยาบาลที่ถูกกว่า หลายเท่าตัวเช่นเดียวกัน) 2292 คือด่านแรก แผนกเวชระเบียน ผมรอเรียกตามคิวจำนวน 5 คิวเพื่อยื่นใบนัดแพทย์ ระบุตัวตนเริ่มต้นไปยังระบบว่าผมได้มาถึงที่นี่ตามวันและเวลานัดเรียบร้อยแล้ว ด่านแรกผ่านไปด้วยดีด้วยเวลาไม่เกิน 15 นาที
ลำดับต่อมาคือ จุดซักประวัติ แผนกอายุรกรรม รอเรียกชื่อ ไม่มีเลขคิว ผมทราบดีว่าด่านนี้เป็นด่านหิน เนื่องจากต้องรอฟังชื่อตัวเองอย่างล่องลอย ไร้กำหนด ไม่มีลำดับคิวใดๆให้คาดคะเนความสั้นยาวของระยะเวลา แถมจะต้องเงี่ยหูฟังชื่อของตัวเองอย่างตั้งใจ ถ้าแอบเดินออกไปจากห้อง อาจจะพลาดการเรียกชื่อ ต้องรอไปอีกโดยไร้จุดหมาย ผู้คนส่วนใหญ่ที่มาใช้บริการเป็นผู้สูงอายุ ในเวลาที่สังคมไทยตอนนี้มีจำนวนผู้สูงอายุมากเป็นพิเศษ จำนวนผู้สูงอายุในโรงพยาบาลรัฐก็มากเป็นพิเศษด้วยเช่นกัน ผู้ใช้บริการที่เป็นวัยรุ่นมีสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ค่าเวลา เฟสบุคและไลน์ เป็นกิจกรรมหลัก มีบ้างที่ดูละคร ฟังเพลง มีบ้างที่เดินจับโปเกมอนบริเวณหน้าห้องตรวจ ส่วนผู้สูงอายุ นั่งรอ เฉยๆ ผมซึ่งไม่ใช่ทั้งวัยรุ่นและผู้สูงอายุ มานั่งด่านนี้ไปพร้อมกับ "แกะรอย แกะดาว" นิยายลำดับที่สาม ปัจฉิมบท "ไตรภาคแห่งมุสิก" ของฮารุกิ มูราคามิ เรื่องราวว่าด้วยการที่ตัวเอกถูกสั่งให้ออกไปตามหาแกะที่มีสัญลักษณ์รูปดาวอยู่กลางแผ่นหลัง โดยผู้ออกคำสั่งเป็นเลขานุการใหญ่ขององค์กรลับผู้มีอิทธิพลมืดในญี่ปุ่น
ผมถูกเรียกชื่อเร็วกว่าที่คิด 0324 คือคิวที่ได้ หน้าห้องตรวจหมายเลข 3 ปรากฎหมายเลข 0307 อีก 17 คิว ผมคะเนในใจโดยใช้ประสบการในอดีตเป็นเครื่องมือการคำนวณ น่าจะต้องรอคิวราวๆ 3 ชั่วโมง ผมเดินออกจากแผนกอายุรกรรม ไปสั่งอเมริกาโนเย็นจากร้านกาแฟเอกชนในโรงบาลรัฐ ที่ร้านกาแฟ ไม่มีบัตรคิว คนมาซื้อกาแฟส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ที่ราคาสินค้าในสมองยังไม่ได้ลอยตัวตามค่าเงิน ดังนั้นราคากาแฟในโรงบาลรัฐต้องเป็นไปตามกลไกราคาของผู้สูงอายุ อเมริกาโนเย็นที่ผมสั่งราคาแก้วละ 35 บาท คุณป้าข้างๆ สั่งเอสเพรสโซ่เย็น (คล้ายๆลาเต้เย็นแต่ใส่นมข้นเป็นสูตรและความเข้าใจเฉพาะของบาริสต้าไทย) ราคา 40 บาท ราคาเทียบเท่าอาหารตามสั่งหรือก๋วยเตี๋ยวธรรมดาซักชามในปัจจุบัน แพงอยู่ดี ในสายตาผู้สูงอายุ ที่เคยกินก๋วยเตี๋ยวชามละไม่ถึง 2 บาท ในวันที่เขาเหล่านั้นเป็นวัยรุ่น
ผมมีเวลาเหลือเฟือเพียงพอที่จะพาแก้วอเมริกาโนออกไปสูบบุหรี่หน้า รพ ก่อนที่จะกลับมาออกไปตามหาแกะและมุสิกที่ ฮอกไกโดกับตัวละครเอกของมุราคามิต่อ เพลง "สุขกันเถอะเรา" ของสุนทราพรณ์ ถูกขับร้องโดยอาสาสมัครผู้สูงอายุที่นั่งรอการเรียกชื่อ คอมพิวเตอร์บรรจุเพลงนับหมื่น ให้เสียงทำนองเปล่า เรียบง่าย เพลงจบลงพร้อมกับเสียงปรบมือให้กำลังใจ ผมรู้สึกได้ถึงความเศร้าของเสียงปรบมือ
แกะรอยแกะดาวผ่านไป 57 หน้า การเรียกคิวผ่านไปแล้ว 12 คิว ด้วยเวลาราว 120 นาที หรือ 2 ชั่วโมงตามคาด เหลืออีก 5 คิว ผมหยุดอ่านเพื่อเดินไปเข้าห้องน้ำและหาอะไรกินรองท้อง เวลาหน้าห้องตรวจบอกเวลา 12.35 เร็วกว่าเวลาที่ข้อมือผม 5 นาที นี่หมอไม่หิวบ้างหรือไงนะ
บ่ายโมงตรง ผมได้คุยกับหมอ ประเด็นหลักเป็นเรื่องวิธีใช้ยานอนหลับและสุรา
"ยานอนหลับที่หมอจ่ายและสุรามีอนุพันธ์เดียวกัน ทำให้หลับได้เหมือนกัน และทำให้ติดได้เหมือนกัน ทุกวันนี้ถ้าไม่กินยา ไม่กินเหล้านอนหลับได้มั้ย"
"ในวันที่ผมตื่นเช้า เช่นตื่น 6 โมงเช้า จะนอนได้ครับ แต่ปกติแล้วผมจะตื่นประมาณ 8 โมง หรือมีบางครั้งที่ตื่นสายประมาณ 10 โมง วันไหนตื่นสายผมจะหลับยาก"
"ก็แปลว่านอนหลับได้"
"ได้ครับ แต่ในสถานการณ์ที่วันรุ่งขึ้นมีงาน ต้องตื่นเช้า แล้ววันนั้นไม่ได้ตื่นเช้า ไม่ได้กินเหล้า ไม่มียานอนหลับ ก็จะนอนไม่หลับ"
หมออธิบายให้ผมฟังถึงแนวทาง "Sleep hygiene" เหมือนครั้งก่อน ผมจำได้ แต่ก็ตั้งใจฟังหมอเล่าอีกรอบ
"ตื่นทันทีหลังจากที่รู้สึกตัว อย่านอนแช่ ตอนกลางวันงีบหลับได้เป็นสิ่งที่ดี อย่ากินกาแฟหลังบ่ายสอง อย่าออกกำลังกายหนักหลัง 6 โมงเย็น อย่าทานอาหารเย็นมากเกินไป เวลาเข้านอน ห้องนอนควรจะมีความมืดและห้องนอนควรใช้เป็นห้องนอนเพียงอย่างเดียว อย่าทำงานในห้องนอน อย่าดูหนัง เล่นเกม และอย่ามีนาฬิกาในห้องนอน"
"ครับ" ผมทำตรงกันข้ามกับที่หมอบอกแทบจะทุกประเด็น
"เวลาที่นอนไม่หลับ อย่านอนแช่ ให้ลุกออกจากห้องนอน อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เล่นเกม ทำอะไรก็ได้จนกว่าจะง่วง ค่อยกลับไปนอนใหม่"
"ครับ" อันนี้ผมทำตามอยู่บ้าง
"ยาที่ให้กินไม่ควรกินๆ หยุดๆ ควรจะกินเพื่อให้ร่างกายจดจำเวลานอนของเราที่เหมาะสม จากนั้นให้หยุดยาไปเลย แต่อย่าเปลี่ยนเวลานอน"
"ครับ" ผมยังอยากกินแบบตามใจมากกว่า แต่ไม่ได้พูดอะไร
"ยังไงวันนี้หมอจ่ายยาไปอีกและนัดครั้งต่อไปอีก 2 เดือนนะคะ"
"ครับ" ผมใช้เวลาคุยกับหมอ ไม่ถึง 5 นาที เดินออกมาจากห้องตรวจ ยื่นเอกสารให้พยาบาล เพื่อนำไปยื่นให้แผนกการเงิน
กดปุ่มคิวทันทีที่หน้าแผนกการเงิน (คราวที่แล้วที่มาผมไม่ทราบขั้นตอนนี้ทำให้ต้องนั่งรออย่างเลื่อนลอยไปอีกเกือบชั่วโมง) บัตรคิวปรากฎคิวที่ 1501 ผมต้องรออีกประมาณ 50 คิวถึงจะได้ชำระเงิน แต่คิวชำระเงินไม่นานอย่างที่คิด ครึ่งชั่วโมงถัดมาผมชำระเงินค่ายาที่จ่ายล่วงหน้า 2 เดือนเป็นเงิน 30 บาท กับค่าบริการตรวจรักษาของแพทย์ 5 นาที เป็นเงิน 50 บาท รวม 80 บาท
ใบเสร็จรับเงินแนบมากับคิวรับยาที่ B321 แต่อีกไม่กี่อึดใจ เภสัชกร ขานเรียกชื่อผม (ทั้งๆที่คิวบนจอภาพไม่ได้ขยับ ยังคงอยู่ที่ B307) ผมรับยานอนหลับสำหรับ 2 เดือน จำนวน 60 เม็ด กล่าวขอบคุณ และเดินทางออกจากโรงพยาบาล
ผมแวะเอารถไปล้าง ระหว่างรอ เดินไปตลาดเพื่อทานอาหารมื้อบ่าย ในตลาดมีซุปหางวัว (ซึ่งเคยทำให้ผมอาหารไม่ย่อยเมื่อคราวก่อน) ก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ ก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก ต้มยำ เย็นตาโฟ และกหรี่พับ คนขายทุกร้านเป็นคุณป้า ยกเว้นร้านขายกหรี่พับเป็นวัยรุ่นยืนเล่นโทรศัพท์
ผมสั่งเกาเหลาเย็นตาโฟ กินเหมือนๆกับมื้อบ่ายของทุกๆวัน รสชาติของเย็นตาโฟดูจะออกไปทางเกาเหลาหมูน้ำตกมากกว่า ค่าเกาเหลาเย็นตาโฟ 35 บาท ราคาเท่าอเมริกาโนเย็นในโรงพยาบาล และถูกกว่าค่ารักษาพยาบาลเล็กน้อย ผมดูนาฬิกาข้อมือบอกเวลา 14.20 พึ่งจะผ่านบ่ายสองโมงมา 20 นาที
กินกาแฟอีกซักแก้วจะเป็นไรไป