การเปลี่ยนหน้าที่ของคำเพื่อใช้ในการแปล ถือเป็นเรื่องที่ฝ่าฝืนได้ไหมครับ

กระทู้คำถาม
เช่นเปลี่ยนคำนาม เป็นคำวิเศษณ์ / คุณศัพท์ / กริยาวิเศษณ์
คือผมคิดว่าทำได้นะครับ ถึงจะไม่ได้เรียนภาษาถึงขั้นเปรียบเทียบโครงสร้างความแตกต่างระหว่างรูปประโยคภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
แต่เอาตามความเป็นธรรมชาติในการสื่อสาร และความหมายคงเดิม

เพียงแต่บางครั้ง เราก็มักจะเกิดความรู้สึก "เอ๊ะ" ขึ้น เวลาแปล ว่าเรากำลังก้าวล่วง หรือปรับเปลี่ยนรูปประโยคมากไปไหม ขีดจำกัดในการแก้ไขรูปประโยคมันควรอยู่เท่าไรกันนะ

อย่างประโยคที่เจอ They would live on in blissful ignorance ถ้าแปลแบบ พวกเขาก็จะใช้ชีวิตอยู่กับความไม่รู้อันแสนผาสุก มันคงแปลก ๆ
อย่าว่าอย่างนั้นอย่างนี้เลย แก้เป็น พวกเขาจะใช้ชีวิตผาสุกโดยไม่ต้องรับรู้อะไร  อย่างนี้น่าจะดีกว่า (ignorance จากนามเป็นกริยาวิเศษณ์ไปเลย) หรือพวกเขาก็จะใช้ชีวิตปิดหูปิดตาต่อไปอย่างผาสุก

เวลาแปลอะไรอ่านเอง หรือแปลเพื่อเรียบเรียงข้อมูล เพื่อเขียนเป็นบทความ สกู๊ป มันง่ายมาก เพราะเราแค่จับใจความ แล้วเขียนใหม่เป็นโครงสร้างของเรา แต่เวลาต้องแปลเป็นงาน แปลถอดความต่อบรรทัด แปลตามที่ผู้เขียนกำหนด บางครั้งก็จะเกิดความรู้สึก "เอ๊ะ" นั้นแหละ เพราะเราชินกับการอ่าน แปล เรียบเรียง และถ่ายทอดใหม่ในแบบของเรา
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่