ลิงค์บทที่ 5
http://ppantip.com/topic/35436920
นวนิยาย “ใจเจ๊ก”
โดย เดชา เวชชพิพัฒน์
บทที่ 6
“บอกอากงกับอาม่าว่ากินยาบำรุงหลังอาหารวันละครั้งนะ จะได้แข็งแรง”
พรเพ็ญนึกถึงคำของมารดาหลังถวายภัตตาหารแล้วขับรถออกจากวัด มุ่งหน้าเข้าอำเภอเมืองเพื่อเยี่ยมตากับยาย รวมทั้งมอบไวตามินสำหรับผู้สูงอายุจำนวนหลายขวดที่มารดากำชับนักหนา จากนั้นจึงขับรถกลับบ้านในกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมตัวทำงานในวันรุ่งขึ้น
ขณะขับรถผ่านสองข้างทางที่เป็นผืนนาแตกระแหง เธออดนึกถึงเหตุการณ์เมื่อครู่ไม่ได้ ขับรถเข้าไปในวัดแล้วตั้งใจจะจอดตรงที่ว่างใกล้สุด ปรากฏว่าคนรู้จักที่เธอเกลียดหน้านั่งอยู่ใกล้ๆ ขืนจอดรถตรงนั้นก็หนีไม่พ้นต้องทักทายกัน จึงเร่งเครื่องแล้วเลยเข้าไปจอดด้านในสุด กังวลเล็กน้อยว่าคนที่เธอเกลียดหน้าจะผิดสังเกต
ปรากฏว่าที่เธอกังวลเป็นจริง เขาผิดสังเกตยังไม่พอ เดินเข้ามาดูหน้าเธออีกด้วย
พรเพ็ญเม้มปากเมื่อนึกถึงกิริยาท่าทางของภูมิชัย แน่นอนว่าเวลาผ่านไปหลายปี คนวัยยี่สิบปลายๆเช่นเดียวกับเธอต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาไม่มากก็น้อย แต่หมอนั่นดูเหมือนจะมีน้อยถึงน้อยที่สุด เพราะยังดูยียวนกวนบาทาเหมือนสมัยเป็นเด็กนักเรียน แถมยังเรียกเธอเหมือนเดิม ... อืม ไม่เหมือนเดิมสิ ตอนเป็นเด็กนายเรียกฉันว่าอีหมวย ตอนนี้ดีขึ้นมาหน่อย เรียกว่า หมวย อย่างเดียว ไม่จิกเรียกว่าอี
พรเพ็ญนึกอย่างขุ่นมัวและหงุดหงิด ภาพสองภาพจึงปรากฏขึ้นพร้อมกัน ภาพในตาคือถนนลาดยางสีดำตัดกับสีท้องฟ้าที่เข้มจัด มีต้นคูนบ้าง ทองกวาวบ้าง ต้นไม้อื่นๆบ้าง เรียงรายอยู่ตลอดทาง ภาพในใจคือเหตุการณ์สมัยเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา
“อีหมวยกับไอ้ตี๋ กลับบ้านไปกินข้าวอีกแล้ว พวกเจ๊กจอมงก”
เด็กชายภูมิชัยหยอกเพื่อนร่วมชั้นเรียนเสียงดังลั่น ขณะเดินสวนทางกันที่ท้ายโรงอาหารตอนพักเที่ยง ทำให้พรชัย น้องชายของเธอที่ถูกเรียกว่าไอ้ตี๋ออกอาการฮึดฮัด ทำท่าจะเอาเรื่องทั้งๆที่ตัวเล็กกว่า พี่สาวอย่างเธอทำได้เพียงคว้าข้อมือเขาแล้วพยายามพาเดินออกไปอย่างเร็วที่สุด
แต่เด็กชายภูมิชัยกลับเดินเข้าไปผลักไหล่น้องชายเธอ “จะสู้กูเหรอ”
น้องชายเธอกำหมัดแต่ยังไม่ทันยกขึ้นเพราะพรเพ็ญไวกว่า เธอดึงเขาสุดแรงที่มีอยู่จึงสามารถลากให้ห่างออกมาได้ แถมกล่าวเตือนสติ “อยากถูกป๊าตีใช่ไหม มันคุ้มไหมล่ะ ป๊าตีทีเจ็บกว่ามีเรื่องกับไอ้หมอนี่ตั้งหลายเท่า”
เด็กชายภูมิชัยเห็นเช่นนั้นจึงหัวเราะชอบใจ “โธ่เอ๊ย นึกว่าแน่แค่ไหน ที่แท้ก็ไอ้เจ๊กตาขาว”
นึกได้แค่นี้พรเพ็ญก็กำพวงมาลัยรถแน่นขึ้น เธอสมเพชตัวเองที่เคยอยู่ในสังคมเช่นนั้น สังคมที่เต็มไปด้วยการเหยียดเชื้อชาติ ซึ่งแสดงออกแตกต่างกันไปตามวัย
แน่นอนว่าเด็กๆอย่างภูมิชัยสามารถแสดงออกอย่างเต็มที่ ไม่มีมารยาทมารยาใดๆปิดกั้น ในขณะที่ผู้ใหญ่รุ่นพ่อรุ่นแม่เธอแสดงออกอีกแบบ
แม่ไปซื้อผักในตลาดก็ถูกโก่งราคาสูงกว่าปกติ
พ่อเธอไปติดต่อราชการก็ถูกแกล้งให้รอเป็นวัน
รวมทั้งเรื่องหยุมหยิมอีกสารพัดที่บั่นทอนจิตใจไม่น้อย แย่ที่สุดคือครูของเธอเอง ความเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้ช่วยให้รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร เขาแสดงความเกลียดชังคนไทยเชื้อสายจีนออกมาอย่างนอกหน้า เมื่อเธอทำคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้สูงที่สุดในชั้นเรียน
“อีหมวยนี่มันคิดเลขเก่งเพราะที่บ้านมันมีลูกคิด”
ครูสอนคณิตศาสตร์พูดกับครูประจำชั้นต่อหน้าเธออย่างไม่สนใจว่าเด็กจะรู้สึกอย่างไร ด้วยความที่ถูกพ่อแม่อบรมสั่งสอนให้เคารพและเชื่อฟังผู้ใหญ่มาตั้งแต่รู้ความ เธอจึงได้แต่เถียงในใจ ... หนูดีดลูกคิดเป็น แต่มันคนละวิธีกับที่ใช้ทำข้อสอบค่ะคุณครู
ในขณะที่น้องชายเธอก็โดนเหมือนกัน ปีที่เขาขึ้นชั้นประถมหกได้ไม่ถึงสัปดาห์ เขาก็กลับมาเล่าให้ที่บ้านฟังอย่างภาคภูมิใจ ครูประจำชั้นบอกจะให้เขาร่วมวงบรรเลงเพลงชาติทุกเช้าตอนเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา โดยให้เป็นผู้ตีกลอง เพราะเห็นว่าเขาตีกลองถูกจังหวะและดังกังวานที่สุดในชั้นเรียน แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ ปรากฏว่าลูกครูใหญ่เป็นผู้ได้ตำแหน่งนี้ แถมยังแอบรู้มาอีกว่า ครูใหญ่พูดกับครูประจำชั้นด้วยน้ำเสียงติเตียน
“จะให้ลูกเจ๊กมาร่วมบรรเลงเพลงชาติไทยได้อย่างไร”
พรเพ็ญถอนใจเบาๆ ก่อนลดแรงที่กำพวงมาลัยรถ เมื่อนึกถึงตอนที่พ่อแม่บอกว่าจะย้ายเข้าไปอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งคู่คุยกันบนโต๊ะอาหารมื้อค่ำ
“อยู่ไม่ไหวแล้วจังหวัดนี้ เกลียดคนจีนอย่างกับอะไรดี” พ่อเธอกล่าวเสียงหนัก
พรเพ็ญเห็นแม่เธอพยักหน้าช้าๆ “จริงๆแล้วก็อยู่ได้นะ ทำหูหนวกตาบอดเสียก็สิ้นเรื่อง แต่ถ้ามีที่ดีกว่าก็อย่าทนเลย”
“ถ้าญาติไม่ชวนไปอยู่กรุงเทพฯเฮียก็คิดเหมือนลื้อแหละ เรื่องเล็กแค่นี้ทนได้อยู่แล้ว แต่พอรู้ว่ามีที่ไปเฮียก็หมดความอดทนทันที ขอให้เชื่อมือเฮีย ย้ายไปต้องดีกว่าอยู่ที่นี่อย่างแน่นอน แต่ช่วงแรกต้องทนลำบากหน่อย อยู่ห้องเช่าแคบๆกันทั้งสี่คนนี่แหละ เฮียรับปากว่าไม่เกินสิบปีจะต้องซื้อตึกแถวใหญ่กว่าห้องนี้ให้ได้ จากนั้นค่อยมารับป๊ากับม้าไปอยู่ด้วย”
พรเพ็ญจึงตระหนักว่าพ่อแม่ผู้เป็นคนไทยเชื้อสายจีนด้วยกันทั้งคู่ รู้สึกอึดอัดกับสังคมที่เหยียดเชื้อชาติ แม้เป็นแบบคลื่นใต้น้ำก็ตาม เมื่อญาติฝ่ายพ่อเสนอให้ไปช่วยบริหารงานโรงงานเย็บเสื้อโหลในกรุงเทพฯ เขาจึงตัดสินใจอย่างไม่ลังเล ผ่านไปเพียงห้าปีบิดาเธอก็สามารถทำได้ดีกว่าที่รับปากมารดาไว้ สามารถเป็นเจ้าของโรงงานเย็บเสื้อโหล โดยซื้อตึกแถวสูงสี่ชั้น ทำเป็นที่อยู่และที่เย็บผ้า ต่อมาอีกห้าปีก็มีเงินสร้างโรงงาน แถมยังรับปู่กับย่าของเธอมาอยู่ด้วย ส่วนตากับยายของเธอไม่ยอมมา เธอจึงต้องขับรถพาแม่มาเยี่ยมเยียนปีละครั้งหรือสองครั้ง มีครั้งนี้ที่มาเพียงลำพังเพราะมารดาไม่ค่อยสบาย
ตอนนั้นพรเพ็ญและน้องชายเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมฯที่โรงเรียนรัฐบาล เป็นโรงเรียนที่ปราศจากการเหยียดเชื้อชาติอย่างสิ้นเชิง ไม่มีใครเรียกเธอว่าอีหมวย หรือเรียกน้องชายเธอว่าไอ้ตี๋ มีแต่การเรียกชื่อเล่นกัน อย่างมากก็แค่ตั้งฉายาตามรูปร่างหน้าตา เช่น อีอ้วน ไอ้ผอม หรือล้อชื่อพ่อชื่อแม่ นอกจากนี้ก็มีแค่การหยอกล้อตามประสาวัยรุ่น รุนแรงบ้าง ไร้สาระบ้าง เทียบกับโรงเรียนประถมศึกษาที่เธอและน้องชายอยู่มาตั้งแต่เด็กแล้ว ราวสวรรค์กับนรก
จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว เธอและน้องชายเรียนต่อจนจบปริญญาตรี แน่นอนว่าน้องชายในฐานะลูกชายคนเดียวถูกกำหนดให้รับกิจการของที่บ้านไปบริหารต่อ โดยมีบิดาช่วยคิดและตัดสินใจในบางเรื่อง ซึ่งเขาเองก็เต็มใจ เพราะตรงกับสาขาที่เรียนมา นั่นคือบริหารธุรกิจ ส่วนตัวเธอเรียนจบสาขาสื่อสารมวลชน จึงอยากทำงานตรงกับที่เรียนมา แม้พ่อแม่จะขอให้ช่วยน้องชายบริหารธุรกิจที่บ้าน แต่เธอบอกว่าขอเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษา
พรเพ็ญนึกถึงตอนทำงานช่วงแรกๆ เธอเลือกเป็นนักข่าวการเมืองด้วยเห็นว่ามีเรื่องใหม่ให้ทำข่าวเกือบทุกชั่วโมง เมื่อได้ทำอย่างที่ปรารถนา พรเพ็ญจึงสนุกกับงานอย่างเต็มที่ มีความตระหนักในคุณค่าอย่างเต็มเปี่ยม รักงานจนไม่ยอมมีคนรัก เกรงว่าการมีครอบครัวจะเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
ด้วยเหตุนี้ การเจออริเก่าอย่างภูมิชัยโดยบังเอิญทำให้เธอรู้สึกหงุดหงิดไม่น้อย เพราะทำให้ต้องนึกถึงเรื่องที่ไม่น่านึกถึง เป็นเรื่องแย่ๆที่ควรลืมได้ตั้งนานแล้ว
เธอเห็นว่าการเหยียดเชื้อชาติเป็นเรื่องที่เชยแสนเชย คร่ำครึ มีแต่คนหัวโบราณเท่านั้นที่คิดเรื่องแบบนี้อยู่ เพราะค่านิยมปัจจุบันให้ความสำคัญกับคุณค่าในตัวคน ได้แก่ ความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล ไม่ใช่เชื้อชาติ
แต่ขณะบอกตัวเองว่าเป็นความซวยอย่างยิ่งยวดนั้น ความเป็นผู้มองอะไรครบสองด้านทำให้เธอบอกตัวเองให้คิดอีกแบบ พรเพ็ญคิดว่าอาจเป็นความต้องการของวิญญาณน้องชายเธอก็ได้ ต้องการให้ภูมิชัยรับรู้ว่าเขาจากโลกนี้ไปแล้ว จากไปอย่างผู้เสียสละ ร่วมเดินขบวนประท้วงรัฐบาลที่เป็นหุ่นเชิดของอดีตนายกฯผู้อื้อฉาว แม้ไม่ได้จากไปขณะร่วมเดินขบวน แต่ก็จากไปเพราะความเจ็บช้ำน้ำใจที่เห็นเพื่อนร่วมประท้วงถูกทำร้ายถึงตายและบาดเจ็บ กล่าวได้ว่าเป็นการจากไปอย่างกล้าหาญ ไม่ใช่เป็นพวก “เจ๊กตาขาว” อย่างที่ภูมิชัยเคยว่าเธอและน้องชาย
คิดได้เช่นนี้ พรเพ็ญจึงขับรถถึงอำเภอเมืองอย่างอารมณ์ดีขึ้น ถึงขนาดเปิดเพลงและร้องตาม แต่เมื่อขับผ่านตลาด เธอไม่วายบอกตนเองไม่ให้หันมองร้านขายข้าวราดแกงที่รู้ดีว่าพ่อแม่ของภูมิชัยเป็นเจ้าของ พร้อมนึกตำหนิพ่อแม่ของภูมิชัยว่าเลี้ยงลูกอย่างไร จึงไม่รู้จักให้เกียรติผู้อื่น
ด้วยเหตุนี้ เมื่อขับรถเข้าไปในซอยใกล้ศาลากลาง จอดรถที่หน้าตึกแถวรุ่นเก่ามีเพียงสองชั้น เธอจึงก้าวเข้าไปพบยายด้วยใบหน้าที่หงิกงอ ถึงขนาดทำให้ยายทัก
“อาหมวยลื้อเป็นอะไร ไปทำบุญมาแทนที่จะหน้าตาผ่องใสกลับบูดบึ้ง” ยายของพรเพ็ญ กล่าวเสียงใสมีพลังกว่าคนวัยเดียวกัน เป็นเพราะสุขภาพกายที่ดีเยี่ยม เธอตื่นเช้าไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะเกือบทุกวัน ที่สำคัญคือเลือกกิน เธอกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ตามใจปากอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้ แม้เธออยู่ในชุดเสื้อผ้าราคาถูก แต่ก็ดูสดใสสง่างามกว่าเพื่อนบ้านวัยเดียวกัน
“อากงไม่อยู่เหรอ” พรเพ็ญพยายามเปลี่ยนเรื่อง
“อีไปกินน้ำชากับเพื่อนที่ร้านตรงปากซอย ลื้อขับรถเข้ามาไม่เห็นเหรอ”
หลานสาวส่ายหน้า “ไม่ทันมองหรอก คนนั่งกันเยอะแยะ มีอะไรเหรอ หรือว่าเปียวแชร์”
ผู้อาวุโสหัวเราะเบาๆ “บ้าเหรอ เปียวแชร์อะไรตอนนี้ จะมีอะไรเสียอีก ไปนั่งคุยกันเรื่องการเมืองนั่นแหละ ดูข่าวไปคุยไป ตอนนี้ในกรุงเทพฯเริ่มจะยุ่งแล้วไม่ใช่หรือ”
พรเพ็ญพยักหน้า เธอเป็นนักข่าวสายการเมืองจึงรู้ดีว่าสถานการณ์จะแย่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่อยากพูดให้ผู้อาวุโสไม่สบายใจจึงกล่าว “ก็งั้นๆแหละ ประท้วงบ่อยจนชินแล้ว”
“ว่าแต่อั๊วถามว่าลื้อเป็นอะไร หน้าหงิกหน้างอ” ผู้อาวุโสติดใจ ไม่ยอมให้หลานสาวเปลี่ยนเรื่องง่ายๆ
พรเพ็ญรีบยิ้มก่อนกล่าว “ไม่มีอะไรหรอกอาม่า ขับรถมาเหนื่อยน่ะ”
“หน็อยแน่ คิดจะหลอกอั๊วได้หรือ หน้าเหนื่อยกับหน้าโมโหน่ะ มันเหมือนกันเสียเมื่อไร”
พรเพ็ญสูดลมหายใจเต็มปอด บอกตัวเองว่ากำลังคุยกับคนที่เธอสนิทรองจากมารดา จึงไม่จำเป็นต้องระวังปาก อีกทั้งยังอยากระบายความหงุดหงิด จึงตัดสินใจกล่าวอย่างตรงไปตรง มา
“อั๊วไปเจอเพื่อนสมัยเรียน ซวยจริงๆเลย เกลียดหน้ามันจะตาย จนป่านนี้แล้วยังเรียกอั๊วว่า หมวยอีก”
ผู้อาวุโสขมวดคิ้วก่อนกล่าว “เรียกหมวยไม่เห็นเสียหายอะไรนี่ อั๊วก็เรียกลื้อว่าหมวย ทำไมลื้อไม่เกลียดอั๊วล่ะ”
พรเพ็ญเบะปาก “มันเหมือนกันเสียเมื่อไรล่ะ ไอ้นั่นมันตั้งใจเรียกแบบจิก เพราะมันไม่ชอบคนจีน มันชอบพูดว่าเจ๊กอย่างโน้น เจ๊กอย่างนี้”
คำกล่าวของพรเพ็ญทำให้ยายของเธอเม้มปาก ตัวเธอเองก็ไม่ชอบถูกเรียกว่าเจ๊ก ญาติและคนรู้จักที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนก็เช่นกัน จึงกล่าวเสียงเบื่อๆ “คนแถวนี้เป็นแบบนี้เยอะแยะ ไม่รู้ว่าพวกเราไปทำอะไรให้เขาเดือดร้อน”
“เขาคงเห็นว่าพวกเราเป็นชนกลุ่มน้อยมั้ง ไม่ต้องเกรงกลัวหรือเกรงใจอะไร” พรเพ็ญพูดเชิงบ่น
ผู้อาวุโสมองหลานสาวอย่างเอ็นดู “ว่าแต่ไอ้คนไหนเหรอ บอกให้อั๊วรู้หน่อยสิ เลี่ยงได้ก็จะเลี่ยง”
ยายของพรเพ็ญถามเพื่อรู้ว่าคนไหนบ้านไหนที่ไม่ชอบคนไทยเชื้อสายจีน เธอจะได้หลีกเลี่ยงทุกรูปแบบ เพราะเธอก็เหมือนคนทั่วไปไม่ว่าเชื้อชาติใด สัญชาติใด นั่นคือรักศักดิ์ศรีของตนพอๆกับรักสงบ
พรเพ็ญเม้มปากก่อนกล่าว “พ่อแม่เขาเปิดร้านขายข้าวแกงในตลาดน่ะ เปิดมาตั้งแต่อั๊วยังเป็นเด็ก”
ผู้อาวุโสทำท่านึกก่อนกล่าว “ที่มีลูกชายคนเดียวน่ะเหรอ”
พรเพ็ญพยักหน้า
“พ่อแม่ตัวดำทั้งคู่แต่ลูกชายผิวขาวจั๊วะใช่ไหม”
พรเพ็ญพยักหน้าอีก
ยายของพรเพ็ญไตร่ตรองว่าสมควรพูดต่อดีหรือไม่ เมื่อเห็นหลานสาวยังไม่หายหงุดหงิดก็รู้สึกไม่พอใจตัวต้นเหตุ บอกตัวเองว่าในเมื่อพวกเธอที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนไม่เคยระรานใครก่อน แต่กลับถูกเหยียดหยามและหาเรื่อง เพียงเพราะไม่ถูกชะตาหรือด้วยเหตุผลใดก็สุดจะเดาได้ เธอจึงตัดสินใจบอกข้อมูลเด็ดแก่หลานสาว
“ไอ้นั่นน่ะเหรอ มันเป็นเด็กเก็บมาเลี้ยง”
พรเพ็ญตาโต ถามเสียงดัง “อะไรนะอาม่า”
“อีเป็นเด็กเก็บมาเลี้ยง ไอ้หนุ่มคนนั้นน่ะ”
พรเพ็ญขมวดคิ้วราวกับท้องผูกเจ็ดวัน “อาม่าไปเอามาจากไหน”
“เขาพูดกันตั้งแต่ตอนเอาเด็กคนนั้นมาเลี้ยงใหม่ๆ พอเด็กมันโตก็หยุดพูด”
“ทำไมพูดกันแบบนั้นล่ะอาม่า”
“อ้าว อยู่ดีๆบ้านนี้ก็มีเด็กอ่อนขึ้นมาโดยแม่เขาไม่เคยตั้งท้องให้เห็น
ใจเจ๊ก บทที่ 6
นวนิยาย “ใจเจ๊ก”
โดย เดชา เวชชพิพัฒน์
บทที่ 6
“บอกอากงกับอาม่าว่ากินยาบำรุงหลังอาหารวันละครั้งนะ จะได้แข็งแรง”
พรเพ็ญนึกถึงคำของมารดาหลังถวายภัตตาหารแล้วขับรถออกจากวัด มุ่งหน้าเข้าอำเภอเมืองเพื่อเยี่ยมตากับยาย รวมทั้งมอบไวตามินสำหรับผู้สูงอายุจำนวนหลายขวดที่มารดากำชับนักหนา จากนั้นจึงขับรถกลับบ้านในกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมตัวทำงานในวันรุ่งขึ้น
ขณะขับรถผ่านสองข้างทางที่เป็นผืนนาแตกระแหง เธออดนึกถึงเหตุการณ์เมื่อครู่ไม่ได้ ขับรถเข้าไปในวัดแล้วตั้งใจจะจอดตรงที่ว่างใกล้สุด ปรากฏว่าคนรู้จักที่เธอเกลียดหน้านั่งอยู่ใกล้ๆ ขืนจอดรถตรงนั้นก็หนีไม่พ้นต้องทักทายกัน จึงเร่งเครื่องแล้วเลยเข้าไปจอดด้านในสุด กังวลเล็กน้อยว่าคนที่เธอเกลียดหน้าจะผิดสังเกต
ปรากฏว่าที่เธอกังวลเป็นจริง เขาผิดสังเกตยังไม่พอ เดินเข้ามาดูหน้าเธออีกด้วย
พรเพ็ญเม้มปากเมื่อนึกถึงกิริยาท่าทางของภูมิชัย แน่นอนว่าเวลาผ่านไปหลายปี คนวัยยี่สิบปลายๆเช่นเดียวกับเธอต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาไม่มากก็น้อย แต่หมอนั่นดูเหมือนจะมีน้อยถึงน้อยที่สุด เพราะยังดูยียวนกวนบาทาเหมือนสมัยเป็นเด็กนักเรียน แถมยังเรียกเธอเหมือนเดิม ... อืม ไม่เหมือนเดิมสิ ตอนเป็นเด็กนายเรียกฉันว่าอีหมวย ตอนนี้ดีขึ้นมาหน่อย เรียกว่า หมวย อย่างเดียว ไม่จิกเรียกว่าอี
พรเพ็ญนึกอย่างขุ่นมัวและหงุดหงิด ภาพสองภาพจึงปรากฏขึ้นพร้อมกัน ภาพในตาคือถนนลาดยางสีดำตัดกับสีท้องฟ้าที่เข้มจัด มีต้นคูนบ้าง ทองกวาวบ้าง ต้นไม้อื่นๆบ้าง เรียงรายอยู่ตลอดทาง ภาพในใจคือเหตุการณ์สมัยเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา
“อีหมวยกับไอ้ตี๋ กลับบ้านไปกินข้าวอีกแล้ว พวกเจ๊กจอมงก”
เด็กชายภูมิชัยหยอกเพื่อนร่วมชั้นเรียนเสียงดังลั่น ขณะเดินสวนทางกันที่ท้ายโรงอาหารตอนพักเที่ยง ทำให้พรชัย น้องชายของเธอที่ถูกเรียกว่าไอ้ตี๋ออกอาการฮึดฮัด ทำท่าจะเอาเรื่องทั้งๆที่ตัวเล็กกว่า พี่สาวอย่างเธอทำได้เพียงคว้าข้อมือเขาแล้วพยายามพาเดินออกไปอย่างเร็วที่สุด
แต่เด็กชายภูมิชัยกลับเดินเข้าไปผลักไหล่น้องชายเธอ “จะสู้กูเหรอ”
น้องชายเธอกำหมัดแต่ยังไม่ทันยกขึ้นเพราะพรเพ็ญไวกว่า เธอดึงเขาสุดแรงที่มีอยู่จึงสามารถลากให้ห่างออกมาได้ แถมกล่าวเตือนสติ “อยากถูกป๊าตีใช่ไหม มันคุ้มไหมล่ะ ป๊าตีทีเจ็บกว่ามีเรื่องกับไอ้หมอนี่ตั้งหลายเท่า”
เด็กชายภูมิชัยเห็นเช่นนั้นจึงหัวเราะชอบใจ “โธ่เอ๊ย นึกว่าแน่แค่ไหน ที่แท้ก็ไอ้เจ๊กตาขาว”
นึกได้แค่นี้พรเพ็ญก็กำพวงมาลัยรถแน่นขึ้น เธอสมเพชตัวเองที่เคยอยู่ในสังคมเช่นนั้น สังคมที่เต็มไปด้วยการเหยียดเชื้อชาติ ซึ่งแสดงออกแตกต่างกันไปตามวัย
แน่นอนว่าเด็กๆอย่างภูมิชัยสามารถแสดงออกอย่างเต็มที่ ไม่มีมารยาทมารยาใดๆปิดกั้น ในขณะที่ผู้ใหญ่รุ่นพ่อรุ่นแม่เธอแสดงออกอีกแบบ
แม่ไปซื้อผักในตลาดก็ถูกโก่งราคาสูงกว่าปกติ
พ่อเธอไปติดต่อราชการก็ถูกแกล้งให้รอเป็นวัน
รวมทั้งเรื่องหยุมหยิมอีกสารพัดที่บั่นทอนจิตใจไม่น้อย แย่ที่สุดคือครูของเธอเอง ความเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้ช่วยให้รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร เขาแสดงความเกลียดชังคนไทยเชื้อสายจีนออกมาอย่างนอกหน้า เมื่อเธอทำคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้สูงที่สุดในชั้นเรียน
“อีหมวยนี่มันคิดเลขเก่งเพราะที่บ้านมันมีลูกคิด”
ครูสอนคณิตศาสตร์พูดกับครูประจำชั้นต่อหน้าเธออย่างไม่สนใจว่าเด็กจะรู้สึกอย่างไร ด้วยความที่ถูกพ่อแม่อบรมสั่งสอนให้เคารพและเชื่อฟังผู้ใหญ่มาตั้งแต่รู้ความ เธอจึงได้แต่เถียงในใจ ... หนูดีดลูกคิดเป็น แต่มันคนละวิธีกับที่ใช้ทำข้อสอบค่ะคุณครู
ในขณะที่น้องชายเธอก็โดนเหมือนกัน ปีที่เขาขึ้นชั้นประถมหกได้ไม่ถึงสัปดาห์ เขาก็กลับมาเล่าให้ที่บ้านฟังอย่างภาคภูมิใจ ครูประจำชั้นบอกจะให้เขาร่วมวงบรรเลงเพลงชาติทุกเช้าตอนเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา โดยให้เป็นผู้ตีกลอง เพราะเห็นว่าเขาตีกลองถูกจังหวะและดังกังวานที่สุดในชั้นเรียน แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ ปรากฏว่าลูกครูใหญ่เป็นผู้ได้ตำแหน่งนี้ แถมยังแอบรู้มาอีกว่า ครูใหญ่พูดกับครูประจำชั้นด้วยน้ำเสียงติเตียน
“จะให้ลูกเจ๊กมาร่วมบรรเลงเพลงชาติไทยได้อย่างไร”
พรเพ็ญถอนใจเบาๆ ก่อนลดแรงที่กำพวงมาลัยรถ เมื่อนึกถึงตอนที่พ่อแม่บอกว่าจะย้ายเข้าไปอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งคู่คุยกันบนโต๊ะอาหารมื้อค่ำ
“อยู่ไม่ไหวแล้วจังหวัดนี้ เกลียดคนจีนอย่างกับอะไรดี” พ่อเธอกล่าวเสียงหนัก
พรเพ็ญเห็นแม่เธอพยักหน้าช้าๆ “จริงๆแล้วก็อยู่ได้นะ ทำหูหนวกตาบอดเสียก็สิ้นเรื่อง แต่ถ้ามีที่ดีกว่าก็อย่าทนเลย”
“ถ้าญาติไม่ชวนไปอยู่กรุงเทพฯเฮียก็คิดเหมือนลื้อแหละ เรื่องเล็กแค่นี้ทนได้อยู่แล้ว แต่พอรู้ว่ามีที่ไปเฮียก็หมดความอดทนทันที ขอให้เชื่อมือเฮีย ย้ายไปต้องดีกว่าอยู่ที่นี่อย่างแน่นอน แต่ช่วงแรกต้องทนลำบากหน่อย อยู่ห้องเช่าแคบๆกันทั้งสี่คนนี่แหละ เฮียรับปากว่าไม่เกินสิบปีจะต้องซื้อตึกแถวใหญ่กว่าห้องนี้ให้ได้ จากนั้นค่อยมารับป๊ากับม้าไปอยู่ด้วย”
พรเพ็ญจึงตระหนักว่าพ่อแม่ผู้เป็นคนไทยเชื้อสายจีนด้วยกันทั้งคู่ รู้สึกอึดอัดกับสังคมที่เหยียดเชื้อชาติ แม้เป็นแบบคลื่นใต้น้ำก็ตาม เมื่อญาติฝ่ายพ่อเสนอให้ไปช่วยบริหารงานโรงงานเย็บเสื้อโหลในกรุงเทพฯ เขาจึงตัดสินใจอย่างไม่ลังเล ผ่านไปเพียงห้าปีบิดาเธอก็สามารถทำได้ดีกว่าที่รับปากมารดาไว้ สามารถเป็นเจ้าของโรงงานเย็บเสื้อโหล โดยซื้อตึกแถวสูงสี่ชั้น ทำเป็นที่อยู่และที่เย็บผ้า ต่อมาอีกห้าปีก็มีเงินสร้างโรงงาน แถมยังรับปู่กับย่าของเธอมาอยู่ด้วย ส่วนตากับยายของเธอไม่ยอมมา เธอจึงต้องขับรถพาแม่มาเยี่ยมเยียนปีละครั้งหรือสองครั้ง มีครั้งนี้ที่มาเพียงลำพังเพราะมารดาไม่ค่อยสบาย
ตอนนั้นพรเพ็ญและน้องชายเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมฯที่โรงเรียนรัฐบาล เป็นโรงเรียนที่ปราศจากการเหยียดเชื้อชาติอย่างสิ้นเชิง ไม่มีใครเรียกเธอว่าอีหมวย หรือเรียกน้องชายเธอว่าไอ้ตี๋ มีแต่การเรียกชื่อเล่นกัน อย่างมากก็แค่ตั้งฉายาตามรูปร่างหน้าตา เช่น อีอ้วน ไอ้ผอม หรือล้อชื่อพ่อชื่อแม่ นอกจากนี้ก็มีแค่การหยอกล้อตามประสาวัยรุ่น รุนแรงบ้าง ไร้สาระบ้าง เทียบกับโรงเรียนประถมศึกษาที่เธอและน้องชายอยู่มาตั้งแต่เด็กแล้ว ราวสวรรค์กับนรก
จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว เธอและน้องชายเรียนต่อจนจบปริญญาตรี แน่นอนว่าน้องชายในฐานะลูกชายคนเดียวถูกกำหนดให้รับกิจการของที่บ้านไปบริหารต่อ โดยมีบิดาช่วยคิดและตัดสินใจในบางเรื่อง ซึ่งเขาเองก็เต็มใจ เพราะตรงกับสาขาที่เรียนมา นั่นคือบริหารธุรกิจ ส่วนตัวเธอเรียนจบสาขาสื่อสารมวลชน จึงอยากทำงานตรงกับที่เรียนมา แม้พ่อแม่จะขอให้ช่วยน้องชายบริหารธุรกิจที่บ้าน แต่เธอบอกว่าขอเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษา
พรเพ็ญนึกถึงตอนทำงานช่วงแรกๆ เธอเลือกเป็นนักข่าวการเมืองด้วยเห็นว่ามีเรื่องใหม่ให้ทำข่าวเกือบทุกชั่วโมง เมื่อได้ทำอย่างที่ปรารถนา พรเพ็ญจึงสนุกกับงานอย่างเต็มที่ มีความตระหนักในคุณค่าอย่างเต็มเปี่ยม รักงานจนไม่ยอมมีคนรัก เกรงว่าการมีครอบครัวจะเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
ด้วยเหตุนี้ การเจออริเก่าอย่างภูมิชัยโดยบังเอิญทำให้เธอรู้สึกหงุดหงิดไม่น้อย เพราะทำให้ต้องนึกถึงเรื่องที่ไม่น่านึกถึง เป็นเรื่องแย่ๆที่ควรลืมได้ตั้งนานแล้ว
เธอเห็นว่าการเหยียดเชื้อชาติเป็นเรื่องที่เชยแสนเชย คร่ำครึ มีแต่คนหัวโบราณเท่านั้นที่คิดเรื่องแบบนี้อยู่ เพราะค่านิยมปัจจุบันให้ความสำคัญกับคุณค่าในตัวคน ได้แก่ ความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล ไม่ใช่เชื้อชาติ
แต่ขณะบอกตัวเองว่าเป็นความซวยอย่างยิ่งยวดนั้น ความเป็นผู้มองอะไรครบสองด้านทำให้เธอบอกตัวเองให้คิดอีกแบบ พรเพ็ญคิดว่าอาจเป็นความต้องการของวิญญาณน้องชายเธอก็ได้ ต้องการให้ภูมิชัยรับรู้ว่าเขาจากโลกนี้ไปแล้ว จากไปอย่างผู้เสียสละ ร่วมเดินขบวนประท้วงรัฐบาลที่เป็นหุ่นเชิดของอดีตนายกฯผู้อื้อฉาว แม้ไม่ได้จากไปขณะร่วมเดินขบวน แต่ก็จากไปเพราะความเจ็บช้ำน้ำใจที่เห็นเพื่อนร่วมประท้วงถูกทำร้ายถึงตายและบาดเจ็บ กล่าวได้ว่าเป็นการจากไปอย่างกล้าหาญ ไม่ใช่เป็นพวก “เจ๊กตาขาว” อย่างที่ภูมิชัยเคยว่าเธอและน้องชาย
คิดได้เช่นนี้ พรเพ็ญจึงขับรถถึงอำเภอเมืองอย่างอารมณ์ดีขึ้น ถึงขนาดเปิดเพลงและร้องตาม แต่เมื่อขับผ่านตลาด เธอไม่วายบอกตนเองไม่ให้หันมองร้านขายข้าวราดแกงที่รู้ดีว่าพ่อแม่ของภูมิชัยเป็นเจ้าของ พร้อมนึกตำหนิพ่อแม่ของภูมิชัยว่าเลี้ยงลูกอย่างไร จึงไม่รู้จักให้เกียรติผู้อื่น
ด้วยเหตุนี้ เมื่อขับรถเข้าไปในซอยใกล้ศาลากลาง จอดรถที่หน้าตึกแถวรุ่นเก่ามีเพียงสองชั้น เธอจึงก้าวเข้าไปพบยายด้วยใบหน้าที่หงิกงอ ถึงขนาดทำให้ยายทัก
“อาหมวยลื้อเป็นอะไร ไปทำบุญมาแทนที่จะหน้าตาผ่องใสกลับบูดบึ้ง” ยายของพรเพ็ญ กล่าวเสียงใสมีพลังกว่าคนวัยเดียวกัน เป็นเพราะสุขภาพกายที่ดีเยี่ยม เธอตื่นเช้าไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะเกือบทุกวัน ที่สำคัญคือเลือกกิน เธอกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ตามใจปากอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้ แม้เธออยู่ในชุดเสื้อผ้าราคาถูก แต่ก็ดูสดใสสง่างามกว่าเพื่อนบ้านวัยเดียวกัน
“อากงไม่อยู่เหรอ” พรเพ็ญพยายามเปลี่ยนเรื่อง
“อีไปกินน้ำชากับเพื่อนที่ร้านตรงปากซอย ลื้อขับรถเข้ามาไม่เห็นเหรอ”
หลานสาวส่ายหน้า “ไม่ทันมองหรอก คนนั่งกันเยอะแยะ มีอะไรเหรอ หรือว่าเปียวแชร์”
ผู้อาวุโสหัวเราะเบาๆ “บ้าเหรอ เปียวแชร์อะไรตอนนี้ จะมีอะไรเสียอีก ไปนั่งคุยกันเรื่องการเมืองนั่นแหละ ดูข่าวไปคุยไป ตอนนี้ในกรุงเทพฯเริ่มจะยุ่งแล้วไม่ใช่หรือ”
พรเพ็ญพยักหน้า เธอเป็นนักข่าวสายการเมืองจึงรู้ดีว่าสถานการณ์จะแย่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่อยากพูดให้ผู้อาวุโสไม่สบายใจจึงกล่าว “ก็งั้นๆแหละ ประท้วงบ่อยจนชินแล้ว”
“ว่าแต่อั๊วถามว่าลื้อเป็นอะไร หน้าหงิกหน้างอ” ผู้อาวุโสติดใจ ไม่ยอมให้หลานสาวเปลี่ยนเรื่องง่ายๆ
พรเพ็ญรีบยิ้มก่อนกล่าว “ไม่มีอะไรหรอกอาม่า ขับรถมาเหนื่อยน่ะ”
“หน็อยแน่ คิดจะหลอกอั๊วได้หรือ หน้าเหนื่อยกับหน้าโมโหน่ะ มันเหมือนกันเสียเมื่อไร”
พรเพ็ญสูดลมหายใจเต็มปอด บอกตัวเองว่ากำลังคุยกับคนที่เธอสนิทรองจากมารดา จึงไม่จำเป็นต้องระวังปาก อีกทั้งยังอยากระบายความหงุดหงิด จึงตัดสินใจกล่าวอย่างตรงไปตรง มา
“อั๊วไปเจอเพื่อนสมัยเรียน ซวยจริงๆเลย เกลียดหน้ามันจะตาย จนป่านนี้แล้วยังเรียกอั๊วว่า หมวยอีก”
ผู้อาวุโสขมวดคิ้วก่อนกล่าว “เรียกหมวยไม่เห็นเสียหายอะไรนี่ อั๊วก็เรียกลื้อว่าหมวย ทำไมลื้อไม่เกลียดอั๊วล่ะ”
พรเพ็ญเบะปาก “มันเหมือนกันเสียเมื่อไรล่ะ ไอ้นั่นมันตั้งใจเรียกแบบจิก เพราะมันไม่ชอบคนจีน มันชอบพูดว่าเจ๊กอย่างโน้น เจ๊กอย่างนี้”
คำกล่าวของพรเพ็ญทำให้ยายของเธอเม้มปาก ตัวเธอเองก็ไม่ชอบถูกเรียกว่าเจ๊ก ญาติและคนรู้จักที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนก็เช่นกัน จึงกล่าวเสียงเบื่อๆ “คนแถวนี้เป็นแบบนี้เยอะแยะ ไม่รู้ว่าพวกเราไปทำอะไรให้เขาเดือดร้อน”
“เขาคงเห็นว่าพวกเราเป็นชนกลุ่มน้อยมั้ง ไม่ต้องเกรงกลัวหรือเกรงใจอะไร” พรเพ็ญพูดเชิงบ่น
ผู้อาวุโสมองหลานสาวอย่างเอ็นดู “ว่าแต่ไอ้คนไหนเหรอ บอกให้อั๊วรู้หน่อยสิ เลี่ยงได้ก็จะเลี่ยง”
ยายของพรเพ็ญถามเพื่อรู้ว่าคนไหนบ้านไหนที่ไม่ชอบคนไทยเชื้อสายจีน เธอจะได้หลีกเลี่ยงทุกรูปแบบ เพราะเธอก็เหมือนคนทั่วไปไม่ว่าเชื้อชาติใด สัญชาติใด นั่นคือรักศักดิ์ศรีของตนพอๆกับรักสงบ
พรเพ็ญเม้มปากก่อนกล่าว “พ่อแม่เขาเปิดร้านขายข้าวแกงในตลาดน่ะ เปิดมาตั้งแต่อั๊วยังเป็นเด็ก”
ผู้อาวุโสทำท่านึกก่อนกล่าว “ที่มีลูกชายคนเดียวน่ะเหรอ”
พรเพ็ญพยักหน้า
“พ่อแม่ตัวดำทั้งคู่แต่ลูกชายผิวขาวจั๊วะใช่ไหม”
พรเพ็ญพยักหน้าอีก
ยายของพรเพ็ญไตร่ตรองว่าสมควรพูดต่อดีหรือไม่ เมื่อเห็นหลานสาวยังไม่หายหงุดหงิดก็รู้สึกไม่พอใจตัวต้นเหตุ บอกตัวเองว่าในเมื่อพวกเธอที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนไม่เคยระรานใครก่อน แต่กลับถูกเหยียดหยามและหาเรื่อง เพียงเพราะไม่ถูกชะตาหรือด้วยเหตุผลใดก็สุดจะเดาได้ เธอจึงตัดสินใจบอกข้อมูลเด็ดแก่หลานสาว
“ไอ้นั่นน่ะเหรอ มันเป็นเด็กเก็บมาเลี้ยง”
พรเพ็ญตาโต ถามเสียงดัง “อะไรนะอาม่า”
“อีเป็นเด็กเก็บมาเลี้ยง ไอ้หนุ่มคนนั้นน่ะ”
พรเพ็ญขมวดคิ้วราวกับท้องผูกเจ็ดวัน “อาม่าไปเอามาจากไหน”
“เขาพูดกันตั้งแต่ตอนเอาเด็กคนนั้นมาเลี้ยงใหม่ๆ พอเด็กมันโตก็หยุดพูด”
“ทำไมพูดกันแบบนั้นล่ะอาม่า”
“อ้าว อยู่ดีๆบ้านนี้ก็มีเด็กอ่อนขึ้นมาโดยแม่เขาไม่เคยตั้งท้องให้เห็น