เอาละฮะ .... เข้าสู่โหมดเดียวกับ "อย่าลืมฉัน" แล้วฮะ คุณผู้ชม ณ ตอนนี้
ทำให้ดิฉันกลับมาใช้รูปนี้อีกครั้ง
วันนี้เรามาดูกระบวนการเชือดนิ่ม ๆ ของคุณสโรชินี (สโรชา + ราชินี = สโรชินี หรือ ราชินีแห่งดอกบัว) อัพเลเวลจาก "อุบล" บัวน้อยลอยชูช่อรออรุณ จากชื่อใส ๆ ไร้มลพิษ สู่ราชินีแห่งดอกบัว แข็งแกร่ง และ แข็งกร้าว สมกับเป็น Last Boss โดยร่างนี้เป็นร่างที่เธอได้มาเพราะรับโอกาสจากท่านยมเทพที่ให้คำสัตย์แห่งเทวะโองการ ยอมให้เธอได้ทวงความยุติธรรม แต่เงื่อนไขคือเธอต้องทำให้ "เขา" และ "ใคร" ก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้องได้ "สำนึก" ด้วยใจที่แท้จริง สำนึกจนกระทั่งยอมศิโรราบในความจริงที่พบและเต็มใจจะรับหน้าที่นี้ในฐานะตัวตายตัวแทน แต่ถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้นก็ตัวเธออีกเช่นกันที่ต้องรับโทษทัณฑ์และทำหน้าที่ต่อไปตราบจนเพลิงจะแล่นล้างสี่หล้า แต่ก็ยอมแลกเพราะความทุกข์ความแค้นมันสุมอกจนท้าชนได้ทุกอย่าง
เมื่อได้ไฟเขียวผ่านตลอดจากท้าวเวสสุวรรณ คุณสโรชินีก็เริ่มปฏิบัติการรื้อฟื้นความหลังกว่า 200 ปีที่แล้ว ชนิดเก็บทุกเม็ดเน้นรายละเอียด ใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณอุบลเมื่อก่อน วันนี้ย่อมเกิดขึ้นกับเป้าหมายได้แก่ "อัคนี" และ "ทิพอาภา" เฉกเช่นกัน คนหนึ่งคือคนรักที่มอบใจกายและสุดท้ายไม่เพียงเสียชีวิตแต่เสียกระทั่งวิญญาณ อีกคนหนึ่งคือน้องสาวคนสนิททั้งสวยทั้งแสนดีดีจนไม่คิดว่าจะทำร้ายใครได้แต่ก็กลายเป็นว่าน้องเราช่วยกันเผาเรือนเสียแบบนั้น ที่สุดแล้ว สิ่งใดที่ทั้งสองเคยทำให้คุณอุบลทุกข์ สิ่งนั้นต้องบังเกิดแก่คนทำเช่นกัน ทำนองว่าดาบนั้นคืนสนอง โดยพาร์ทนี้ว่าด้วย "ความรู้สึก"
ยกที่ ๑ "เธอจะรู้แค่สิ่งที่ฉันอยากจะให้เธอรู้ "
อัคนีฝันซ้ำ ๆ มาตั้งแต่เล็กแต่น้อยตลอดหลายปีดีดัก ทั้งค้นหาและรอคอยคำตอบมาตลอด แต่ก็ไม่เคยได้เฉียดใกล้ จนวันที่คุณสโรชินีปรากฏตัว ผู้หญิงคนนี้เหมือนจะรู้ ... ไม่สิ "รู้" ในคำตอบที่เขาเที่ยวค้นเที่ยวตามหา คำตอบอยู่ข้างหน้าแต่ไขว่คว้าไม่ได้อย่างใจ โดยอัคนีไม่อยู่ในสถานะที่จะเค้นหรือทำอะไรได้ ต้องเก็บความสงสัยใคร่รู้ เก็บอารมณ์ที่ต้องการคำตอบเอาไว้ในใจเท่านั้น เพราะคุณสโรชินีจะให้ "ข้อมูล" หรือ "ตอบคำถาม" ตามอำเภอใจ อัคนีจะรู้ในสิ่งที่อยากจะให้รู้ บางเรื่องแม้อยากรู้แต่จะไม่บอกเพราะมันไม่ใช่สิทธิที่เขาพีงมี .... อำนาจนั้นอยู่ที่ "ฉัน" สโรชินี จำไว้ !!
มันคือภาพสะท้อนของคุณอุบล ที่ในใจมีแต่คำถาม ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของ "น้องทิพ" แต่ไม่ว่าจะเรื่อง "กรุงจะแตกหรือไม่ ?" "คุณพระทำการอันใดอยู่ ?" "คุณพระจะลงเรือนไปไหน ?" หรือ ที่ "อุบล" จะต้องไปตายเป็นเพราะเหตุใด ? สิ่งเหล่านี้คุณพระไม่เคยตอบ และ เรื่องบางเรื่องคุณอุบลไม่มีสิทธิแม้จะเอ่ยปากถาม ที่สำคัญที่สุดคือ "บางเรื่อง" เป็นต้นว่า "สิทธิในการมีชีวิต" ซึ่งน่าจะเป็นสิทธิที่สำคัญที่สุดของ "ตัวบุคคล" ไม่เพียงแต่ไม่มีสิทธิถาม แค่ "โอกาส" ที่จะถามยังไม่มีเพราะอำนาจนั้นอยู่ที่ .... คุณพระอรรคราชนรินทร์
นี่คือตาต่อตา .... เรื่องแรก ชาตินี้จำไม่ได้ ก็ย้อนให้ดูเสียเลยว่าเคยทำไว้อย่างไร
ยกที่ ๒ "รสชาติแห่งการรอคอย"
ชาติที่แล้วหลายครั้ง และ หลายคืนที่คุณอุบลต้องรอคอยสามี รอคอยอย่างร้อนใจ ด้วยความเป็นห่วง จะอยู่จะกินอย่างไร สะดวกสบายหรือไม่ หากแต่ในการรอคอยนั้นเธอกลับพบอะไรบางอย่าง ภาระการบูรณะวัดที่คุณพระสั่งนักสั่งหนาว่าไม่ให้ใครเข้ามา .... กลับมีผู้หญิงคนหนึ่งนั่งอยู่ตรงนั้น "น้องทิพ" น้องสาวคนสนิทที่เจ้าตัวไม่เคยคิดระแวงระวัง แล้วในคืนหนึ่งก็หญิงสาวผู้นั้นอีกนั่นแหละที่มาเยือนเรือนในยามวิกาล ฉุดไม้ฉุดมือหายกันไปกลางดึก และ เมื่อกลับมา ... ใครจะนึกเล่าว่า นั่นคือวาระสุดท้ายของเมียพระราชทานนาม "อุบล" เธอต้องคอยเธอต้องรอมากว่า 200 ว่าขวบปี ในสถานที่ที่ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน ดังนั้นชาตินี้จะมีตัวอย่างพอเป็นแซมเปิ้ลหน่อยเป็นไร
สโรชินีจัดแจงนัดพบอัคนีในวันครบรอบวันหมั้น และ ปล่อยให้เขารออยู่อย่างนั้น เหมือนที่เธอเคยรอ มันยังเบาะ ๆ ก็เพียงแค่เวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น นับประสาอะไรกับการที่เขาปล่อยให้เธอรอคอยกว่า 200 ปี นัยยะของการกระทำนี้ คือ การ "พราก" เช่นเดียวกัน "พราก" อัคนีจากทิพอาภา เหมือนที่น้องทิพเคยพรากคุณพระลงเรือนไปในคืนวันกรุงแตก น้ำตาของทิพหากเทียบกับหัวของ "คุณอุบล" ในคืนนั้นก็นับว่าเบาบาง ความเจ็บปวดแห่งการจากพรากก็เพียงแค่มดกัน แต่ก็อย่างที่บอกนี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ถึงแม้เธอจะสำทับย้ำแผลทิพอาภาเข้าไปอีกดอกว่า ที่ "รอ" ดิฉันจนเย็น คุณอัคนีมีธุระอะไร
นี่คือตาต่อตา .... เรื่องที่สอง ของจริงมันหลังจากนี้ต่างหาก
ยกที่ ๓ "แกงชักส้ม กับ ปลาตะเพียนทอดฟู"
ในห้องครัว ... หญิงสาวสวยสง่ากำลังจัดแจงทำกับข้าวอย่างคุ้นเคยงาน ทิพอาภาหอบข้างของมาทำแกงชักส้ม ก็ต้องเห็นภาพที่บาดตาเล็ก ๆ คู่หมั้นของเธอกำลังจ้องมอง และ พูดคุยกับผู้หญิงอีกคนอยู่อย่างออกรสออกชาติ เธอเคยภูมิใจว่าเขาไม่สนใจใครอื่นนอกจากเธอ แล้วตอนนี้เธอยังจะภูมิใจอย่างนั้นได้อีกหรือไม่ ทิพอาภาคงถามใจแต่ไม่ได้พูดออกมา คุณสโรชินีลงมือปรุงแกงชักส้ม และ ทำเครื่องเคียงอย่างปลาตะเพียนทอดฟู ทิพอาภายกแกงเข้ามา "เขา" เห็นแกงแล้วถามว่ามันควรต้องกินกับอะไรซักอย่าง ... แล้วรสชาติจะดี เมื่อปลาตะเพียนทอดฟูมาวางตรงหน้า อัคนี้ชี้ว่า "ใช่เลยต้องกินกับสิ่งนี้รสชาติจะดีขึ้น" และแล้วก็มีคนรู้เรื่องอัคนีดีกว่าตัวของทิพอาภา ความระแวง สงสัย วูบไหว กำลังก่อตัว
ในอดีตเรือนครัวข้างชานบ้าน .... สาวน้อยท่าทางอ่อนหวานกำลังจัดจานแกงชักส้มที่น้องทิพได้สอน โดยน้องทิพจัดจานเครื่องเคียงเป็นปลาตะเพียนทอดฟู กินอย่างเดียวไม่อร่อย ต้องมีเครื่องเคียงน้องทิพว่า จุดนี้มีนัยยะ ในกาลปัจจุบันสโรชินีคือผู้แนะนำให้ทิพทำแกงชักส้มของโปรดคุณพระ รู้ดีทีเดียวเขาชอบอะไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ทิพอาภาไม่รู้ และ เธอลงมือทำเครื่องเคียง (ไม่ใช่จานหลัก) มากินแนม ด้านหนึ่งคือการแสดงความเหนือ ... ชั้นรู้มากกว่า เธอสงสัยไหมล่ะว่ารู้ได้ยังไง ด้านต่อมาคือสัญลักษณ์ ถ้าเราเปรียบแกงชักส้มเป็นจานหลัก (เมียหลวง) ปลาตะเพียนทอดฟู (มือที่แทรกแซง)
นี่ตาต่อตา ..... เรื่องที่สาม ชาติที่แล้วฉันเป็นจานหลักเธอก็แทรกเข้ามาเนียน ชาตินี้ก็ลองมาดูกันบ้างว่าถ้าฉันแทรกเข้ามาเนียน ๆ บ้าง คนที่โดนจะรู้สึกอย่างไร
กระแทกยกเซ็ตเด็ดถึงใจ ... เป้าหมายตอนนี้หลัก ๆ แล้วคงเพื่อให้รู้สึกมากกว่าจะให้จำได้
ซึ่งก็ต้องยอมใจเธอนะ .... เพราะเป้าหมายเขาก็ "รู้สึก" ตามนั้นจริง ๆ
รอฉากเด็ดปีศาจแห่งการทำนายของขุ่นแม่ต่อไป
พิษสวาท (กึ่งสังเคราะห์) : เมื่อคุณสโรชินีเก็บทุกเม็ด 'An eye for an eye, and a tooth for a tooth.'
ทำให้ดิฉันกลับมาใช้รูปนี้อีกครั้ง
วันนี้เรามาดูกระบวนการเชือดนิ่ม ๆ ของคุณสโรชินี (สโรชา + ราชินี = สโรชินี หรือ ราชินีแห่งดอกบัว) อัพเลเวลจาก "อุบล" บัวน้อยลอยชูช่อรออรุณ จากชื่อใส ๆ ไร้มลพิษ สู่ราชินีแห่งดอกบัว แข็งแกร่ง และ แข็งกร้าว สมกับเป็น Last Boss โดยร่างนี้เป็นร่างที่เธอได้มาเพราะรับโอกาสจากท่านยมเทพที่ให้คำสัตย์แห่งเทวะโองการ ยอมให้เธอได้ทวงความยุติธรรม แต่เงื่อนไขคือเธอต้องทำให้ "เขา" และ "ใคร" ก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้องได้ "สำนึก" ด้วยใจที่แท้จริง สำนึกจนกระทั่งยอมศิโรราบในความจริงที่พบและเต็มใจจะรับหน้าที่นี้ในฐานะตัวตายตัวแทน แต่ถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้นก็ตัวเธออีกเช่นกันที่ต้องรับโทษทัณฑ์และทำหน้าที่ต่อไปตราบจนเพลิงจะแล่นล้างสี่หล้า แต่ก็ยอมแลกเพราะความทุกข์ความแค้นมันสุมอกจนท้าชนได้ทุกอย่าง
เมื่อได้ไฟเขียวผ่านตลอดจากท้าวเวสสุวรรณ คุณสโรชินีก็เริ่มปฏิบัติการรื้อฟื้นความหลังกว่า 200 ปีที่แล้ว ชนิดเก็บทุกเม็ดเน้นรายละเอียด ใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณอุบลเมื่อก่อน วันนี้ย่อมเกิดขึ้นกับเป้าหมายได้แก่ "อัคนี" และ "ทิพอาภา" เฉกเช่นกัน คนหนึ่งคือคนรักที่มอบใจกายและสุดท้ายไม่เพียงเสียชีวิตแต่เสียกระทั่งวิญญาณ อีกคนหนึ่งคือน้องสาวคนสนิททั้งสวยทั้งแสนดีดีจนไม่คิดว่าจะทำร้ายใครได้แต่ก็กลายเป็นว่าน้องเราช่วยกันเผาเรือนเสียแบบนั้น ที่สุดแล้ว สิ่งใดที่ทั้งสองเคยทำให้คุณอุบลทุกข์ สิ่งนั้นต้องบังเกิดแก่คนทำเช่นกัน ทำนองว่าดาบนั้นคืนสนอง โดยพาร์ทนี้ว่าด้วย "ความรู้สึก"
ยกที่ ๑ "เธอจะรู้แค่สิ่งที่ฉันอยากจะให้เธอรู้ "
อัคนีฝันซ้ำ ๆ มาตั้งแต่เล็กแต่น้อยตลอดหลายปีดีดัก ทั้งค้นหาและรอคอยคำตอบมาตลอด แต่ก็ไม่เคยได้เฉียดใกล้ จนวันที่คุณสโรชินีปรากฏตัว ผู้หญิงคนนี้เหมือนจะรู้ ... ไม่สิ "รู้" ในคำตอบที่เขาเที่ยวค้นเที่ยวตามหา คำตอบอยู่ข้างหน้าแต่ไขว่คว้าไม่ได้อย่างใจ โดยอัคนีไม่อยู่ในสถานะที่จะเค้นหรือทำอะไรได้ ต้องเก็บความสงสัยใคร่รู้ เก็บอารมณ์ที่ต้องการคำตอบเอาไว้ในใจเท่านั้น เพราะคุณสโรชินีจะให้ "ข้อมูล" หรือ "ตอบคำถาม" ตามอำเภอใจ อัคนีจะรู้ในสิ่งที่อยากจะให้รู้ บางเรื่องแม้อยากรู้แต่จะไม่บอกเพราะมันไม่ใช่สิทธิที่เขาพีงมี .... อำนาจนั้นอยู่ที่ "ฉัน" สโรชินี จำไว้ !!
มันคือภาพสะท้อนของคุณอุบล ที่ในใจมีแต่คำถาม ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของ "น้องทิพ" แต่ไม่ว่าจะเรื่อง "กรุงจะแตกหรือไม่ ?" "คุณพระทำการอันใดอยู่ ?" "คุณพระจะลงเรือนไปไหน ?" หรือ ที่ "อุบล" จะต้องไปตายเป็นเพราะเหตุใด ? สิ่งเหล่านี้คุณพระไม่เคยตอบ และ เรื่องบางเรื่องคุณอุบลไม่มีสิทธิแม้จะเอ่ยปากถาม ที่สำคัญที่สุดคือ "บางเรื่อง" เป็นต้นว่า "สิทธิในการมีชีวิต" ซึ่งน่าจะเป็นสิทธิที่สำคัญที่สุดของ "ตัวบุคคล" ไม่เพียงแต่ไม่มีสิทธิถาม แค่ "โอกาส" ที่จะถามยังไม่มีเพราะอำนาจนั้นอยู่ที่ .... คุณพระอรรคราชนรินทร์
นี่คือตาต่อตา .... เรื่องแรก ชาตินี้จำไม่ได้ ก็ย้อนให้ดูเสียเลยว่าเคยทำไว้อย่างไร
ยกที่ ๒ "รสชาติแห่งการรอคอย"
ชาติที่แล้วหลายครั้ง และ หลายคืนที่คุณอุบลต้องรอคอยสามี รอคอยอย่างร้อนใจ ด้วยความเป็นห่วง จะอยู่จะกินอย่างไร สะดวกสบายหรือไม่ หากแต่ในการรอคอยนั้นเธอกลับพบอะไรบางอย่าง ภาระการบูรณะวัดที่คุณพระสั่งนักสั่งหนาว่าไม่ให้ใครเข้ามา .... กลับมีผู้หญิงคนหนึ่งนั่งอยู่ตรงนั้น "น้องทิพ" น้องสาวคนสนิทที่เจ้าตัวไม่เคยคิดระแวงระวัง แล้วในคืนหนึ่งก็หญิงสาวผู้นั้นอีกนั่นแหละที่มาเยือนเรือนในยามวิกาล ฉุดไม้ฉุดมือหายกันไปกลางดึก และ เมื่อกลับมา ... ใครจะนึกเล่าว่า นั่นคือวาระสุดท้ายของเมียพระราชทานนาม "อุบล" เธอต้องคอยเธอต้องรอมากว่า 200 ว่าขวบปี ในสถานที่ที่ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน ดังนั้นชาตินี้จะมีตัวอย่างพอเป็นแซมเปิ้ลหน่อยเป็นไร
สโรชินีจัดแจงนัดพบอัคนีในวันครบรอบวันหมั้น และ ปล่อยให้เขารออยู่อย่างนั้น เหมือนที่เธอเคยรอ มันยังเบาะ ๆ ก็เพียงแค่เวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น นับประสาอะไรกับการที่เขาปล่อยให้เธอรอคอยกว่า 200 ปี นัยยะของการกระทำนี้ คือ การ "พราก" เช่นเดียวกัน "พราก" อัคนีจากทิพอาภา เหมือนที่น้องทิพเคยพรากคุณพระลงเรือนไปในคืนวันกรุงแตก น้ำตาของทิพหากเทียบกับหัวของ "คุณอุบล" ในคืนนั้นก็นับว่าเบาบาง ความเจ็บปวดแห่งการจากพรากก็เพียงแค่มดกัน แต่ก็อย่างที่บอกนี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ถึงแม้เธอจะสำทับย้ำแผลทิพอาภาเข้าไปอีกดอกว่า ที่ "รอ" ดิฉันจนเย็น คุณอัคนีมีธุระอะไร
นี่คือตาต่อตา .... เรื่องที่สอง ของจริงมันหลังจากนี้ต่างหาก
ยกที่ ๓ "แกงชักส้ม กับ ปลาตะเพียนทอดฟู"
ในห้องครัว ... หญิงสาวสวยสง่ากำลังจัดแจงทำกับข้าวอย่างคุ้นเคยงาน ทิพอาภาหอบข้างของมาทำแกงชักส้ม ก็ต้องเห็นภาพที่บาดตาเล็ก ๆ คู่หมั้นของเธอกำลังจ้องมอง และ พูดคุยกับผู้หญิงอีกคนอยู่อย่างออกรสออกชาติ เธอเคยภูมิใจว่าเขาไม่สนใจใครอื่นนอกจากเธอ แล้วตอนนี้เธอยังจะภูมิใจอย่างนั้นได้อีกหรือไม่ ทิพอาภาคงถามใจแต่ไม่ได้พูดออกมา คุณสโรชินีลงมือปรุงแกงชักส้ม และ ทำเครื่องเคียงอย่างปลาตะเพียนทอดฟู ทิพอาภายกแกงเข้ามา "เขา" เห็นแกงแล้วถามว่ามันควรต้องกินกับอะไรซักอย่าง ... แล้วรสชาติจะดี เมื่อปลาตะเพียนทอดฟูมาวางตรงหน้า อัคนี้ชี้ว่า "ใช่เลยต้องกินกับสิ่งนี้รสชาติจะดีขึ้น" และแล้วก็มีคนรู้เรื่องอัคนีดีกว่าตัวของทิพอาภา ความระแวง สงสัย วูบไหว กำลังก่อตัว
ในอดีตเรือนครัวข้างชานบ้าน .... สาวน้อยท่าทางอ่อนหวานกำลังจัดจานแกงชักส้มที่น้องทิพได้สอน โดยน้องทิพจัดจานเครื่องเคียงเป็นปลาตะเพียนทอดฟู กินอย่างเดียวไม่อร่อย ต้องมีเครื่องเคียงน้องทิพว่า จุดนี้มีนัยยะ ในกาลปัจจุบันสโรชินีคือผู้แนะนำให้ทิพทำแกงชักส้มของโปรดคุณพระ รู้ดีทีเดียวเขาชอบอะไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ทิพอาภาไม่รู้ และ เธอลงมือทำเครื่องเคียง (ไม่ใช่จานหลัก) มากินแนม ด้านหนึ่งคือการแสดงความเหนือ ... ชั้นรู้มากกว่า เธอสงสัยไหมล่ะว่ารู้ได้ยังไง ด้านต่อมาคือสัญลักษณ์ ถ้าเราเปรียบแกงชักส้มเป็นจานหลัก (เมียหลวง) ปลาตะเพียนทอดฟู (มือที่แทรกแซง)
นี่ตาต่อตา ..... เรื่องที่สาม ชาติที่แล้วฉันเป็นจานหลักเธอก็แทรกเข้ามาเนียน ชาตินี้ก็ลองมาดูกันบ้างว่าถ้าฉันแทรกเข้ามาเนียน ๆ บ้าง คนที่โดนจะรู้สึกอย่างไร
ซึ่งก็ต้องยอมใจเธอนะ .... เพราะเป้าหมายเขาก็ "รู้สึก" ตามนั้นจริง ๆ
รอฉากเด็ดปีศาจแห่งการทำนายของขุ่นแม่ต่อไป