ไม่เคยตั้งกระทู้ละครมากขนาดนี้เลยนะเนี่ย ภายใน 24 ชั่วโมง ตั้งไปแล้วสองกระทู้ กระทู้นี้กระทู้ที่สาม อาจารย์แม่คงถามนะว่า
อ่ะ เรามาว่าเรื่องของเราค่ะ ประเด็นที่เราอยากเสนอให้ทุกท่านได้เข้าใจและลองคิดกันดูก่อนที่จะเข้าสู่การพิพากษาเต็มตัวในคืนนี้
ถ้าเทียบลานพิพากษากับศาล เชษฐาก็คือทนาย โจทย์คืออุบล จำเลยคืออัคนี แต่คนตัดสินก็คืออุบลอีกค่ะ ไม่ใช่พระยายม ท่านเป็นเพียงผู้เปิดเวทีให้ไต่สวน ให้ได้ซักค้านข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาก็คืออุบลค่ะ ที่พิพากษาตัวเองและอัคนี โดยมีเงื่อนไขว่าอัคนีต้องรับผิด ยอมชดใช้จึงจะตัดสินโทษได้ ซึ่งอัคนีก็ยอมรับผิดแต่โดยดี เหลือแค่อุบลจะเลือก ดังนั้นคนที่มีสิทธิเลือกที่จะให้รับโทษหรือพ้นผิดก็คืออุบล กรณีนี้เธอเลือกที่จะไม่เอาผิด เท่ากับฝ่ายโจทก์ยอมความ คดีจึงจบ คนที่เลือกให้อุบลรับหน้าที่ต่อไป คือ ตัวอุบลเอง ไม่ใช่พระยายม ดังนั้นไม่มีใครผลักให้อุบลรับกรรมต่อ อุบลเป็นคนเลือกเองค่ะ อันนี้คือ เรื่องของอุบลกับอัคนี เชษฐามาตั้งตัวเป็นทนาย มาช่วยฝ่ายจำเลย โดยพยายามเอาเหตุต่างๆมาอ้างเพื่อให้จำเลยไม่ผิด ก็ทำได้แค่โน้มน้าวใจ อุบลจะไม่เชื่อ จะเลือกอัคนีต่อ หรือจะเลือกทิพอาภา ก็เป็นสิทธิของเธอ
ดังนั้นกรณีนี้มันก็เทียบกับศาลไม่ได้ทั้งหมดค่ะ เพราะมันเป็นกรณีที่ไม่เหมือนกันตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ผู้พิพากษากับโจทก์เป็นคนเดียวกัน อุบลเป็นคนเลือกค่ะ ไม่ว่าเชษฐาจะพูดอย่างไร หือทิพอาภาจะให้การอย่างไร ก็ไม่มีสิทธิตัดสินใจแทนอุบล การที่อุบลไม่เลือกใครเลย ก็เพราะเธอตัดสินใจแบบนั้นเอง
เชษจะพูดอย่างไรก็ตาม จะพูดจากล่าวหาอุบล เอาความดีเข้าตัว โยนความชั่วให้คนอื่นอย่างไรก็ตาม มันก็คือคำพูดค่ะ เชษไม่ได้ทำอะไรอุบล ไม่ได้ปราบอุบลอย่างที่เคยคิดไว้ คำพูดของเชษมีไม่มีผลอะไร และอันที่จริงแล้วก็ยิ่งทำให้อุบลแค้นมากขึ้นอีก ซึ่งมันผิดจุดประสงค์ของเชษในการที่จะให้อุบลคลายแค้นแล้วยอมเฝ้าสมบัติต่อไป
สำหรับทิพอาภา การที่เธอถูกเชษเบิกตัวขึ้นมาเป็นพยานเปรียบเทียบความรักของเธอต่ออัคนี เพื่อให้อุบลเห็นว่ารักของตัวเองบริสุทธิ์สู้ทิพอาภาไม่ได้ การกระทำนี้ก็ให้ผลคล้ายกัน คือ ทำให้อุบลยิ่งโกรธมากขึ้น อุบลก็คิดเหมือนที่คนดูจะคิดแหละค่ะ ว่าใช่ซิ เธอไม่ลองมาเป็นชั้นดู เธอไม่เคยถูกเขาฆ่าตายและจองจำให้ทำหน้าที่อันโหดร้ายนี้มาถึง 249 ชาตินี่ เธอก็พูดได้ คำพูดของทิพอาภามีแต่จะทำให้อุบลโกรธมากขึ้น
คำพูดของอัคนีที่กลายเป็นพระอรรคไปแล้วโดยสมบูรณ์เมื่อได้จับดาบขึ้นมาต่างหากที่ทำให้อุบลยอมแพ้ทุกอย่าง เมื่ออุบลได้รู้ความจริงแล้วว่าพระอรรคไม่ได้ทรยศต่อเธอ ไม่ได้หนีไปกับทิพ มาตัดสินใจเอานาทีสุดท้ายเพราะเหตุสุดวิสัยจริงๆ และการกระทำนั้นเจตนาเพื่อชาติโดยไม่มีเจตนาร้ายมาเจือปนเลย เมื่อนั้นแหละอุบลจึงยอมฟัง และอภัยให้อัคนี อุบลยอมเพราะรักอย่างเดียวเลยค่ะ ถึงจะได้ยอมที่จะเป็นคนเฝ้าดูอยู่ที่แห่งเดิมต่อไป เพื่อจะได้ไม่เป็นคนที่ต้องพลัดพราก ไม่ได้เห็นอัคนีอีกต่อไป แม้จะต้องแลกกับการไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน และต้องทนกับการเห็นอัคนีล่องลอยไปในวัฏสงสาร ไปรักกับคนอื่นก็ตาม
ไม่ว่าจะเป็นคำขู่ของอัคนีที่บอกว่าหากเลือกทิพ เกิดกี่ชาติ ถ้าหากเจอ ก็จะไม่รักอุบล ขอให้เลือกตัวเอง คำพูดนี้ก็ไม่ได้ส่งอะไรต่ออุบลมากเท่ากับความจริงที่ได้รับรู้จากอัคนีว่าพระอรรครักเธอไม่เคยเปลี่ยนแปลง หรือต่อให้เป็นการเสียสละของทิพที่นิยายและละครหวังจะทำให้อุบลเห็นว่า รักเพื่อเสียสละนั้นมันเป็นอย่างไร มันก็ไม่ได้มีผลอะไรมากไปกว่าความจริงว่าพระอรรครักเธอ ถ้าหากความจริงไม่ปรากฏ หรือพระอรรคทรยศอุบล หนีไปกับทิพจริง ต่อให้ใครหว่านล้อมยังไง ว่ารักคือการเสียสละ อุบลก็ไม่มีทางเสียสละวิญญาณให้อัคนีหรอกค่ะ สำหรับอุบล ความแค้นจะหายไปได้ด้วยความรักเท่านั้น อุบลจะไม่รักและให้อภัยอัคนีถ้าหากไม่ได้รับความรักตอบ ว่ากันที่จริงในชาติอดีต อุบลไม่มีทางรักคุณพระได้ขนาดนี้ ถ้าหากคุณพระไม่ได้ให้ความรักมากมายกับเธอจนจดจำมาได้ข้ามภพข้ามชาติ ดังนั้นสำหรับอุบล ความรักของเธอต้องได้ความรักตอบแทนเท่านั้นค่ะ เธออภัยให้ได้เฉพาะคนที่รักเธอตอบเท่านั้น เรื่องมันจบได้เพราะอุบลกับพระอรรคสองคนเท่านั้น คนอื่นเป็นแค่ส่วนประกอบค่ะ
ก่อนจะดูคืนนี้ ลองเปิดใจคิดถึงเงื่อนไขเรื่องศาล และข้อเท็จจริงเรื่องอุบลนี้ด้วยนะคะ จะได้ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายได้ค่ะ
คำพูดของเชษฐาและทิพอาภาไม่มีผลอะไรกับการพิพากษาคดีของอุบล (Spoil)
อ่ะ เรามาว่าเรื่องของเราค่ะ ประเด็นที่เราอยากเสนอให้ทุกท่านได้เข้าใจและลองคิดกันดูก่อนที่จะเข้าสู่การพิพากษาเต็มตัวในคืนนี้
ถ้าเทียบลานพิพากษากับศาล เชษฐาก็คือทนาย โจทย์คืออุบล จำเลยคืออัคนี แต่คนตัดสินก็คืออุบลอีกค่ะ ไม่ใช่พระยายม ท่านเป็นเพียงผู้เปิดเวทีให้ไต่สวน ให้ได้ซักค้านข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาก็คืออุบลค่ะ ที่พิพากษาตัวเองและอัคนี โดยมีเงื่อนไขว่าอัคนีต้องรับผิด ยอมชดใช้จึงจะตัดสินโทษได้ ซึ่งอัคนีก็ยอมรับผิดแต่โดยดี เหลือแค่อุบลจะเลือก ดังนั้นคนที่มีสิทธิเลือกที่จะให้รับโทษหรือพ้นผิดก็คืออุบล กรณีนี้เธอเลือกที่จะไม่เอาผิด เท่ากับฝ่ายโจทก์ยอมความ คดีจึงจบ คนที่เลือกให้อุบลรับหน้าที่ต่อไป คือ ตัวอุบลเอง ไม่ใช่พระยายม ดังนั้นไม่มีใครผลักให้อุบลรับกรรมต่อ อุบลเป็นคนเลือกเองค่ะ อันนี้คือ เรื่องของอุบลกับอัคนี เชษฐามาตั้งตัวเป็นทนาย มาช่วยฝ่ายจำเลย โดยพยายามเอาเหตุต่างๆมาอ้างเพื่อให้จำเลยไม่ผิด ก็ทำได้แค่โน้มน้าวใจ อุบลจะไม่เชื่อ จะเลือกอัคนีต่อ หรือจะเลือกทิพอาภา ก็เป็นสิทธิของเธอ
ดังนั้นกรณีนี้มันก็เทียบกับศาลไม่ได้ทั้งหมดค่ะ เพราะมันเป็นกรณีที่ไม่เหมือนกันตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ผู้พิพากษากับโจทก์เป็นคนเดียวกัน อุบลเป็นคนเลือกค่ะ ไม่ว่าเชษฐาจะพูดอย่างไร หือทิพอาภาจะให้การอย่างไร ก็ไม่มีสิทธิตัดสินใจแทนอุบล การที่อุบลไม่เลือกใครเลย ก็เพราะเธอตัดสินใจแบบนั้นเอง
เชษจะพูดอย่างไรก็ตาม จะพูดจากล่าวหาอุบล เอาความดีเข้าตัว โยนความชั่วให้คนอื่นอย่างไรก็ตาม มันก็คือคำพูดค่ะ เชษไม่ได้ทำอะไรอุบล ไม่ได้ปราบอุบลอย่างที่เคยคิดไว้ คำพูดของเชษมีไม่มีผลอะไร และอันที่จริงแล้วก็ยิ่งทำให้อุบลแค้นมากขึ้นอีก ซึ่งมันผิดจุดประสงค์ของเชษในการที่จะให้อุบลคลายแค้นแล้วยอมเฝ้าสมบัติต่อไป
สำหรับทิพอาภา การที่เธอถูกเชษเบิกตัวขึ้นมาเป็นพยานเปรียบเทียบความรักของเธอต่ออัคนี เพื่อให้อุบลเห็นว่ารักของตัวเองบริสุทธิ์สู้ทิพอาภาไม่ได้ การกระทำนี้ก็ให้ผลคล้ายกัน คือ ทำให้อุบลยิ่งโกรธมากขึ้น อุบลก็คิดเหมือนที่คนดูจะคิดแหละค่ะ ว่าใช่ซิ เธอไม่ลองมาเป็นชั้นดู เธอไม่เคยถูกเขาฆ่าตายและจองจำให้ทำหน้าที่อันโหดร้ายนี้มาถึง 249 ชาตินี่ เธอก็พูดได้ คำพูดของทิพอาภามีแต่จะทำให้อุบลโกรธมากขึ้น
คำพูดของอัคนีที่กลายเป็นพระอรรคไปแล้วโดยสมบูรณ์เมื่อได้จับดาบขึ้นมาต่างหากที่ทำให้อุบลยอมแพ้ทุกอย่าง เมื่ออุบลได้รู้ความจริงแล้วว่าพระอรรคไม่ได้ทรยศต่อเธอ ไม่ได้หนีไปกับทิพ มาตัดสินใจเอานาทีสุดท้ายเพราะเหตุสุดวิสัยจริงๆ และการกระทำนั้นเจตนาเพื่อชาติโดยไม่มีเจตนาร้ายมาเจือปนเลย เมื่อนั้นแหละอุบลจึงยอมฟัง และอภัยให้อัคนี อุบลยอมเพราะรักอย่างเดียวเลยค่ะ ถึงจะได้ยอมที่จะเป็นคนเฝ้าดูอยู่ที่แห่งเดิมต่อไป เพื่อจะได้ไม่เป็นคนที่ต้องพลัดพราก ไม่ได้เห็นอัคนีอีกต่อไป แม้จะต้องแลกกับการไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน และต้องทนกับการเห็นอัคนีล่องลอยไปในวัฏสงสาร ไปรักกับคนอื่นก็ตาม
ไม่ว่าจะเป็นคำขู่ของอัคนีที่บอกว่าหากเลือกทิพ เกิดกี่ชาติ ถ้าหากเจอ ก็จะไม่รักอุบล ขอให้เลือกตัวเอง คำพูดนี้ก็ไม่ได้ส่งอะไรต่ออุบลมากเท่ากับความจริงที่ได้รับรู้จากอัคนีว่าพระอรรครักเธอไม่เคยเปลี่ยนแปลง หรือต่อให้เป็นการเสียสละของทิพที่นิยายและละครหวังจะทำให้อุบลเห็นว่า รักเพื่อเสียสละนั้นมันเป็นอย่างไร มันก็ไม่ได้มีผลอะไรมากไปกว่าความจริงว่าพระอรรครักเธอ ถ้าหากความจริงไม่ปรากฏ หรือพระอรรคทรยศอุบล หนีไปกับทิพจริง ต่อให้ใครหว่านล้อมยังไง ว่ารักคือการเสียสละ อุบลก็ไม่มีทางเสียสละวิญญาณให้อัคนีหรอกค่ะ สำหรับอุบล ความแค้นจะหายไปได้ด้วยความรักเท่านั้น อุบลจะไม่รักและให้อภัยอัคนีถ้าหากไม่ได้รับความรักตอบ ว่ากันที่จริงในชาติอดีต อุบลไม่มีทางรักคุณพระได้ขนาดนี้ ถ้าหากคุณพระไม่ได้ให้ความรักมากมายกับเธอจนจดจำมาได้ข้ามภพข้ามชาติ ดังนั้นสำหรับอุบล ความรักของเธอต้องได้ความรักตอบแทนเท่านั้นค่ะ เธออภัยให้ได้เฉพาะคนที่รักเธอตอบเท่านั้น เรื่องมันจบได้เพราะอุบลกับพระอรรคสองคนเท่านั้น คนอื่นเป็นแค่ส่วนประกอบค่ะ
ก่อนจะดูคืนนี้ ลองเปิดใจคิดถึงเงื่อนไขเรื่องศาล และข้อเท็จจริงเรื่องอุบลนี้ด้วยนะคะ จะได้ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายได้ค่ะ