สวัสดีเพื่อนๆทุกคนค่ะ วันนี้เราจะมาชวนเพื่อนๆไปบริจาคเลือดกันค่ะ เราจะแนะนำค่อนข้างละเอียดนะคะสำหรับคนที่อยากไปบริจาคแต่ไม่มีโอกาสสักที ไม่ว่าเหตุผลใดๆ เชื่อว่าทุกคนที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้ต้องเป็นคนหน้าตาดี และจิตใจดีแน่นอนค่ะ จะรอช้าอยู่ใยออกเดินทางกันเลยค่า 😊
เริ่มต้นการเดินทางสำหรับคนที่มีรถส่วนตัวสภากาชาดไทยตั้งอยู่บนถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวันนะคะ ส่วนใครไม่มีรถส่วนตัวแนะนำใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสเลยค่ะ เลือกลงได้ทั้งสถานีศาลาแดงและสยามค่ะ เสร็จแล้วก็ต่อวินมอเตอร์ไซด์ข้างล่างสถานีบอกไปสภากาชาดไทยค่าวิน 20 บาทส่งถึงหน้าตึกเลยค่า
ตึกที่เราจะมาบริจาคเลือดจะมีรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูแบบนี้นะคะ
ส่วนอันนี้เป็นเวลาทำการเปิดรับบริจาคโลหิตค่า
เสร็จแล้วเดินเข้ามาด้านในจะเจอป้ายนี้ค่ะ ป้ายแสดงขั้นตอนการบริจาคโลหิต
มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรกเลยนะคะ เดินตรงเข้าไปจะเจอจุดกรอกแบบฟอร์มบริจาคโลหิต มีปากกาให้ใช้นะคะ แบบไม่มีเชือกผูกด้วย555 แต่ใช้แล้วอย่าลืมคืนที่เดิมกันนะคะ
อันนี้หน้าตาใบสมัครผู้บริจาคโลหิตนะคะ มี 2 ด้านกรอกให้ครบด้านหลังอย่าติ๊กผิดน้า ดูดีๆของบุรุษหรือสตรี
เสร็จแล้วเราจะไปวัดความดันกันค่ะ
เครื่องวัดความดันเป็นแบบอัตโนมัตินะคะ เพียงสอดแขนขวาเข้าไปให้สุดและอยู่นิ่งๆสักพักเครื่องจะออกแรงบีบเมื่อวัดเสร็จแล้ว เครื่องจะมีสลิปผลความดันออกมาให้นะคะ ว่าด้วยเรื่องค่าความดันปกติแล้วจะอยู่ที่ 120/80 ถ้าความดัน140/90 ถือว่าความดันสูง ถ้าระดับ 90/50 ถือว่าความดันต่ำนะคะ ถ้าความดันผิดปกติไม่แนะนำให้บริจาคเลือดนะคะ อันตรายค่ะ เราต้องดูแลตัวเองให้ดีก่อนเนอะ จะได้ดูแลคนอื่นได้ค่ะ
สำหรับขั้นตอนต่อไป เมื่อได้สลิปค่าความดันแล้ว ให้เราเดินกลับมาข้างหน้าตรงประตูทางเข้าจะพบกับจุดลงทะเบียน (เราไปวันอาทิตย์เจ้าหน้าที่ไม่ว่างเลย ยืนงงๆต้องไปตรงไหนต่อหว่า555) ให้นำใบสมัครและสลิปค่าความดันให้เจ้าหน้าที่นะคะ เจ้าหน้าที่จะจัดเอกสารให้เราจุดนี้จะได้บัตรประจำตัวชั่วคราวผู้บริจาคโลหิตด้วยนะคะ
หลังจากนั้นเดินมากดบัตรคิวข้างๆเพื่อรอตรวจความเข้มข้นของโลหิต ตรวจกรุ๊ปเลือดและพบแพทย์ค่ะ ณ จุดๆนี้เราจะโดนเจาะนิ้วเพื่อตรวจเลือดก่อนนะคะ ไม่เจ็บเลยยย จริงๆนะ555 เมื่อตรวจเลือดเสร็จเจ้าหน้าที่จะให้ยาบำรุงเลือดมาหนึ่งถุงก่อนเเข้าไปพบแพทย์ คุณหมอจะถามเราคร่าวๆเช่นเคยบริจาคมั้ย มีโรคประจำตัวมั้ย ทานข้าวมาหรือยัง ทานอะไรมาคะ (จะมาบริจาคเลือดต้องทานข้าวมาก่อนนะคะ ส่วนรายละเอียดอาหารที่ไม่ควรทานก่อนมาบริจาคเลือดเราจะลงให้ตอนท้ายน้า)
เมื่อตรวจเสร็จเราก็จะได้รับอนุญาตให้ไปบริจาคเลือดกันแล้วค่า จุดบริจาคมีสองจุดน้าา โดยปกติแล้วจะอยู่ที่ชั้น 2 (พาไปดู 2 จุดเลยละกัน) เดินขึ้นบันไดเลื่อนมาค่ะ ไปกดคิวก่อนแล้วนั่งรอ
เราไปวันอาทิตย์ดูๆแล้วเป็นลมไม่ใช่กลัวเข็มนะเพราะรอตั้ง 121 คิว555 ถามว่ารอมั้ย ตอบเลยว่าไม่! แวะมาถ่ายรูปเฉยๆ เดินกลับลงมาข้างล่างค่ะ ไปดูอีกจุดกันดีกว่าค่ะ
เดินไปทางไปห้องน้ำจะอยู่ด้านหลังนะคะ เราจะเจอกลุ่มคนจำนวนน้อยนั่งอยู่ สังเกตที่ด้านซ้ายประตูทางออกไปข้างหลัง จะเห็นโต๊ะและเจ้าหน้าที่นั่งอยู่เดินไปขอบัตรคิวเค้าได้ค่ะตรงนี้รอไม่นานประมาณ 30 คิวแต่จะได้ไปบริจาคบนหน่วยรถเคลื่อนที่นะคะ สำหรับเราเลือกรอตรงนี้ค่ะ คนน้อยกว่าได้บริจาคเหมือนกัน อีกทั้งได้แบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ด้านบนด้วย นั่งตรงนี้ตั้งใจฟังเจ้าหน้าที่เรียกนิดนึงนะคะ ส่วนมากเค้าจะเรียกไปทีละ 3 คิวแล้วแต่ว่าบนรถมีที่ว่างเท่าไหร่
อันนี้บรรยากาศบนรถค่ะ พอดีวันนั้นไปมีแข่งวอลเลย์บอลไทย-จีน วันสั่งลาของโค้ชอ๊อตพอดีก็นั่งดูกันไปค่ะ
บนรถแอร์เย็นดีค่ะ คนน้อยไม่วุ่นวาย
เมื่อขึ้นมานั่งรอสักพักพี่พยาบาลก็จะนำถุงใส่เลือดของเรามาให้ และเมื่อมีที่ว่างแล้วพี่พยาบาลก็จะมาเรียกเราไปขึ้นเขียง เอ้ยย ขึ้นเตียงค่ะ บนรถแบ่งการเจาะเลือดเป็นแขนซ้ายกับแขนขวานะคะเราเลือกได้นะ จะให้เจาะแขนไหน เพราะเตียงจะอยู่คนละฝั่งกัน
เมื่อได้เตียงแล้วก็ห่มผ้าแล้ววางแขนรอเลยค่ะ555 ได้เตียงหน้าสุดพอดี เชียร์วอลเลย์บอลต่อเลือดสูบฉีดดี๊ดี เอ..หรือเพราะผู้ชายเตียงฝั่งนู้นหล่อ555
สักพักนึงพี่พยาบาลจะเอาเข็มที่ระลึกมาให้พร้อมกับเซ็นบัตรประจำตัวชั่วคราวให้ว่าได้บริจาคแล้วน้าาา
ระหว่างรอเลือดเต็มถุงก็ขยันบีบลูกเหล็กหน่อยนะคะ เลือดจะได้ไหลดีๆ
เมื่อได้เลือดตามปริมาณที่ต้องการแล้วพี่พยาบาลจะเดินมาหาเราอีกครั้ง เพื่อเอาเข็มออกและเก็บถุงเลือดเรา หลังจากนี้ก็เสร็จเรียบร้อยแต่อย่าเพิ่งรีบลุกไปไหนนะคะ ให้นั่งรออยู่กับที่สักพักก่อน เดี๋ยวจะมึนหัวเอาได้ค่ะ นั่งพักสัก 5 นาทีแล้วค่อยลุกมานั่งพักต่อหลังรถค่ะ
นี่เรียกมุมโปรดดด จะมีคุณลุงคอยบริการขนม น้ำผลไม้และน้ำแดงอร๊อยอร่อย เติมได้ด้วยแหละคุณลุงใจดี555
แถมมีการบอกว่าข้างบนมีโอวัลตินนะ ขึ้นไปกินได้ ว่าแล้วเราก็เลยจะพาไปดูข้างบนด้วย สำหรับผู้ที่บริจาคข้างบน จะมีห้องพักหลังบริจาคโลหิตนะคะ มีโอวัลตินและขนมไว้บริการเหมือนกัน ห้องพักหลังบริจาคโลหิตจะอยู่หน้าห้องบริจาคโลหิตเลยนะคะ
ไปเอามาถ่ายรูปให้ดู เสร็จแล้วเอาขนมไปคืน555 จานน่ารักมากเลย
เสร็จแล้วเดินออกมาจะมีคุณยายน่ารักๆ 2 คนหน้าประตูคอยแจกบัตรนัดสำหรับครั้งต่อไปให้ คือคนเยอะเราเลยไม่ได้ถ่ายรูปคุณยายมาให้ดู สำหรับใครที่จะไปบริจาคเลือดต้องเตรียมตัวยังไงไปดูกันเลยจ้า
การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ในเวลานอนปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต
-สุขภาพสมบูรณ์ทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใดๆ
-รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่างๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
-ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณ โลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
-งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
-งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
และหลังบริจาคโลหิตนะคะ
-ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1 วัน
-หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
-ไม่ควรรีบร้อนกลับ ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที
-ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
-ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และรับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก อันนี้สำคัญนะคะ ต้องทานยาธาตุเหล็กนะคะ ครั้งหน้าจะได้มาบริจาคใหม่ได้ 😄
[CR] "บริจาคเลือด" สภากาชาดไทย สำหรับคนไปครั้งแรก
เริ่มต้นการเดินทางสำหรับคนที่มีรถส่วนตัวสภากาชาดไทยตั้งอยู่บนถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวันนะคะ ส่วนใครไม่มีรถส่วนตัวแนะนำใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสเลยค่ะ เลือกลงได้ทั้งสถานีศาลาแดงและสยามค่ะ เสร็จแล้วก็ต่อวินมอเตอร์ไซด์ข้างล่างสถานีบอกไปสภากาชาดไทยค่าวิน 20 บาทส่งถึงหน้าตึกเลยค่า
ตึกที่เราจะมาบริจาคเลือดจะมีรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูแบบนี้นะคะ
ส่วนอันนี้เป็นเวลาทำการเปิดรับบริจาคโลหิตค่า
เสร็จแล้วเดินเข้ามาด้านในจะเจอป้ายนี้ค่ะ ป้ายแสดงขั้นตอนการบริจาคโลหิต
มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรกเลยนะคะ เดินตรงเข้าไปจะเจอจุดกรอกแบบฟอร์มบริจาคโลหิต มีปากกาให้ใช้นะคะ แบบไม่มีเชือกผูกด้วย555 แต่ใช้แล้วอย่าลืมคืนที่เดิมกันนะคะ
อันนี้หน้าตาใบสมัครผู้บริจาคโลหิตนะคะ มี 2 ด้านกรอกให้ครบด้านหลังอย่าติ๊กผิดน้า ดูดีๆของบุรุษหรือสตรี
เสร็จแล้วเราจะไปวัดความดันกันค่ะ
เครื่องวัดความดันเป็นแบบอัตโนมัตินะคะ เพียงสอดแขนขวาเข้าไปให้สุดและอยู่นิ่งๆสักพักเครื่องจะออกแรงบีบเมื่อวัดเสร็จแล้ว เครื่องจะมีสลิปผลความดันออกมาให้นะคะ ว่าด้วยเรื่องค่าความดันปกติแล้วจะอยู่ที่ 120/80 ถ้าความดัน140/90 ถือว่าความดันสูง ถ้าระดับ 90/50 ถือว่าความดันต่ำนะคะ ถ้าความดันผิดปกติไม่แนะนำให้บริจาคเลือดนะคะ อันตรายค่ะ เราต้องดูแลตัวเองให้ดีก่อนเนอะ จะได้ดูแลคนอื่นได้ค่ะ
สำหรับขั้นตอนต่อไป เมื่อได้สลิปค่าความดันแล้ว ให้เราเดินกลับมาข้างหน้าตรงประตูทางเข้าจะพบกับจุดลงทะเบียน (เราไปวันอาทิตย์เจ้าหน้าที่ไม่ว่างเลย ยืนงงๆต้องไปตรงไหนต่อหว่า555) ให้นำใบสมัครและสลิปค่าความดันให้เจ้าหน้าที่นะคะ เจ้าหน้าที่จะจัดเอกสารให้เราจุดนี้จะได้บัตรประจำตัวชั่วคราวผู้บริจาคโลหิตด้วยนะคะ
หลังจากนั้นเดินมากดบัตรคิวข้างๆเพื่อรอตรวจความเข้มข้นของโลหิต ตรวจกรุ๊ปเลือดและพบแพทย์ค่ะ ณ จุดๆนี้เราจะโดนเจาะนิ้วเพื่อตรวจเลือดก่อนนะคะ ไม่เจ็บเลยยย จริงๆนะ555 เมื่อตรวจเลือดเสร็จเจ้าหน้าที่จะให้ยาบำรุงเลือดมาหนึ่งถุงก่อนเเข้าไปพบแพทย์ คุณหมอจะถามเราคร่าวๆเช่นเคยบริจาคมั้ย มีโรคประจำตัวมั้ย ทานข้าวมาหรือยัง ทานอะไรมาคะ (จะมาบริจาคเลือดต้องทานข้าวมาก่อนนะคะ ส่วนรายละเอียดอาหารที่ไม่ควรทานก่อนมาบริจาคเลือดเราจะลงให้ตอนท้ายน้า)
เมื่อตรวจเสร็จเราก็จะได้รับอนุญาตให้ไปบริจาคเลือดกันแล้วค่า จุดบริจาคมีสองจุดน้าา โดยปกติแล้วจะอยู่ที่ชั้น 2 (พาไปดู 2 จุดเลยละกัน) เดินขึ้นบันไดเลื่อนมาค่ะ ไปกดคิวก่อนแล้วนั่งรอ
เราไปวันอาทิตย์ดูๆแล้วเป็นลมไม่ใช่กลัวเข็มนะเพราะรอตั้ง 121 คิว555 ถามว่ารอมั้ย ตอบเลยว่าไม่! แวะมาถ่ายรูปเฉยๆ เดินกลับลงมาข้างล่างค่ะ ไปดูอีกจุดกันดีกว่าค่ะ
เดินไปทางไปห้องน้ำจะอยู่ด้านหลังนะคะ เราจะเจอกลุ่มคนจำนวนน้อยนั่งอยู่ สังเกตที่ด้านซ้ายประตูทางออกไปข้างหลัง จะเห็นโต๊ะและเจ้าหน้าที่นั่งอยู่เดินไปขอบัตรคิวเค้าได้ค่ะตรงนี้รอไม่นานประมาณ 30 คิวแต่จะได้ไปบริจาคบนหน่วยรถเคลื่อนที่นะคะ สำหรับเราเลือกรอตรงนี้ค่ะ คนน้อยกว่าได้บริจาคเหมือนกัน อีกทั้งได้แบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ด้านบนด้วย นั่งตรงนี้ตั้งใจฟังเจ้าหน้าที่เรียกนิดนึงนะคะ ส่วนมากเค้าจะเรียกไปทีละ 3 คิวแล้วแต่ว่าบนรถมีที่ว่างเท่าไหร่
อันนี้บรรยากาศบนรถค่ะ พอดีวันนั้นไปมีแข่งวอลเลย์บอลไทย-จีน วันสั่งลาของโค้ชอ๊อตพอดีก็นั่งดูกันไปค่ะ
บนรถแอร์เย็นดีค่ะ คนน้อยไม่วุ่นวาย
เมื่อขึ้นมานั่งรอสักพักพี่พยาบาลก็จะนำถุงใส่เลือดของเรามาให้ และเมื่อมีที่ว่างแล้วพี่พยาบาลก็จะมาเรียกเราไปขึ้นเขียง เอ้ยย ขึ้นเตียงค่ะ บนรถแบ่งการเจาะเลือดเป็นแขนซ้ายกับแขนขวานะคะเราเลือกได้นะ จะให้เจาะแขนไหน เพราะเตียงจะอยู่คนละฝั่งกัน
เมื่อได้เตียงแล้วก็ห่มผ้าแล้ววางแขนรอเลยค่ะ555 ได้เตียงหน้าสุดพอดี เชียร์วอลเลย์บอลต่อเลือดสูบฉีดดี๊ดี เอ..หรือเพราะผู้ชายเตียงฝั่งนู้นหล่อ555
สักพักนึงพี่พยาบาลจะเอาเข็มที่ระลึกมาให้พร้อมกับเซ็นบัตรประจำตัวชั่วคราวให้ว่าได้บริจาคแล้วน้าาา
ระหว่างรอเลือดเต็มถุงก็ขยันบีบลูกเหล็กหน่อยนะคะ เลือดจะได้ไหลดีๆ
เมื่อได้เลือดตามปริมาณที่ต้องการแล้วพี่พยาบาลจะเดินมาหาเราอีกครั้ง เพื่อเอาเข็มออกและเก็บถุงเลือดเรา หลังจากนี้ก็เสร็จเรียบร้อยแต่อย่าเพิ่งรีบลุกไปไหนนะคะ ให้นั่งรออยู่กับที่สักพักก่อน เดี๋ยวจะมึนหัวเอาได้ค่ะ นั่งพักสัก 5 นาทีแล้วค่อยลุกมานั่งพักต่อหลังรถค่ะ
นี่เรียกมุมโปรดดด จะมีคุณลุงคอยบริการขนม น้ำผลไม้และน้ำแดงอร๊อยอร่อย เติมได้ด้วยแหละคุณลุงใจดี555
แถมมีการบอกว่าข้างบนมีโอวัลตินนะ ขึ้นไปกินได้ ว่าแล้วเราก็เลยจะพาไปดูข้างบนด้วย สำหรับผู้ที่บริจาคข้างบน จะมีห้องพักหลังบริจาคโลหิตนะคะ มีโอวัลตินและขนมไว้บริการเหมือนกัน ห้องพักหลังบริจาคโลหิตจะอยู่หน้าห้องบริจาคโลหิตเลยนะคะ
ไปเอามาถ่ายรูปให้ดู เสร็จแล้วเอาขนมไปคืน555 จานน่ารักมากเลย
เสร็จแล้วเดินออกมาจะมีคุณยายน่ารักๆ 2 คนหน้าประตูคอยแจกบัตรนัดสำหรับครั้งต่อไปให้ คือคนเยอะเราเลยไม่ได้ถ่ายรูปคุณยายมาให้ดู สำหรับใครที่จะไปบริจาคเลือดต้องเตรียมตัวยังไงไปดูกันเลยจ้า
การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ในเวลานอนปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต
-สุขภาพสมบูรณ์ทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใดๆ
-รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่างๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
-ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณ โลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
-งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
-งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
และหลังบริจาคโลหิตนะคะ
-ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1 วัน
-หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
-ไม่ควรรีบร้อนกลับ ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที
-ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
-ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และรับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก อันนี้สำคัญนะคะ ต้องทานยาธาตุเหล็กนะคะ ครั้งหน้าจะได้มาบริจาคใหม่ได้ 😄
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น