“พี่เคี้ยวหมากเจ้าอยากพี่ยังคาย” เป็นส่วนหนึ่งของกลอนเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน จุได้ยินครั้งแรก ตอน ม.4
ครูภาษาไทยคนหนึ่งเล่าให้ฟัง ถึงความรักของขุนแผนที่มีให้กับวันทอง ขนาดว่า หมากที่เคี้ยวอยู่ ก็ยังคายให้กินได้
ตอนนั้น นั่งฟังแบบงงๆ ....เพราะไม่เข้าใจ จนต่อมา เมื่อเรียนประวัติศาสตร์ ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมดั้งเดิม
และความรู้สึกนึกคิดของคนในแต่ละยุค ซึ่งจะเอาตัวเราเข้าไปตัดสินไม่ได้ ต้องพยายามคิด อย่างที่คนในยุคนั้นคิด
อย่างในละครพิษสวาท เราจะระวังไม่ใช้คำพูด ขอบคุณ ขอบใจ สวัสดี ในฉากที่ย้อนอดีต
เพราะในสมัยอยุธยา การที่ผู้ใหญ่มอบของให้ ถือเป็นพระคุณของผู้ที่ได้รับ จึงใช้ เป็นพระมหากรุณาธิคุณ หรือถือเป็นพระคุณ
หรืออื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าคนมอบมีน้ำใจต่อคนรับ แต่ถ้าผู้น้อยมอบของให้ผู้ที่อยู่สูงกว่า
ผู้ใหญ่จะอวยพรให้ว่า ขอให้เจริญ ขอให้จำเริญ ประมาณนี้ค่ะ
สำหรับ การเคี้ยวหมากที่หลายคนอยากรู้ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีมานานมาก และเป็นที่นิยมในสุวรรณภูมิ
สันนิษฐานว่าเรารับมาจากอินเดีย แม่ของวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ ลาว เขมร เวียดนาม ก็ล้วนแต่กินหมากกันนะ
ถ้าในความคิดจุ น่าจะเหมือนกับกัญชา เพราะหมากมันเป็นเป็นยาเสพติดอ่อนๆ กินแล้วก็ติด ไม่กินก็จะหาว หงุดหงิด กินแล้วบางคนอารมณ์ดี
ต้นหมากปลูกมานานแล้ว เราพบในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง
ด้านหนึ่ง ระบุว่า “ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง
ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้”
จากจารึก ทำให้เรารู้ว่า เวลานั้นเรามีต้นหมากแล้ว ซึ่งแสดงว่าชาวสุโขทัยก็เคี้ยวหมากกันเป็นปกติ
การเคี้ยวหมาก แต่แตกต่างกันแต่ละภูมิภาค ประเทศอื่นอาจจะเคี้ยวแค่ หมากอ่อน หรือ เนื้อหมากที่อยู่ด้านใน
แต่ของไทยเรา กรรมวิธีเยอะ ต้องถือกันเป็นเชี่ยนหมากเลย
ไทยเรากินหมากกันยังไง เริ่มจาก เชี่ยนหมาก ที่จะใส่ ใบพลู หมาก (หมากอ่อน หรือหมากแก่)
เต้าใส่ปูนแดง ไม้สีเสียด ตลับใส่ยาเส้น ตลับสีผึ้ง และกระโถนบ้วนน้ำหมาก คนกินหมากจะเริ่มการกิน
ด้วยการ ทาปูนแดง (บางบ้านใช้ปูนขาว) ลงที่ใบพลู ม้วนๆ แล้วค่อยๆ กัด หมากสดจะผ่าซีก
ถ้าอ่อนมากก็กินทั้งเปลือก ถ้ากำลังพอดี บางคนเอาแต่เนื้อข้างใน เปลือกจะเก็บไว้ถูฟัน แต่ถ้าช่วงนี้หมากขาดแคลน
เขาจะมีหมากแก่ตากแห้ง กินแทนหมากอ่อน (หมากแห้งจะทำจากผลหมากสดฝานบางๆ แล้วตากแดด เก็บไว้ในยามที่หมากขาดแคลน หรือหมากแพงก็จะหันมากินหมากแห้งแทน)
ไม้สีเสียดบางคนฝานบางๆ แล้วเคี้ยวไปด้วย บางคนไม่เอา เหมือนกับยาเส้นบางคนก็จะเหน็บไว้ที่เหงือก บางคนไม่ใช้ เคี้ยวๆไป ปากแห้งก็ทาสีผึ้ง
กรรมวิธีในการกินหมากแบบนี้ จุเห็นมาตั้งแต่เด็กๆ จากยาย จากหมู่บ้านตามชนบท
และเคยลองเคี้ยวมาแล้ว ก็สนุกดี ยิ่งตอนจ้างคนมาขึ้นต้นหมาก เป็นอะไรที่ตื่นตาตื่นใจ เพราะคนขึ้นต้นหมากได้
ต้องใช้ทักษะพิเศษเฉพาะตัว ไม่มีสลิง ไม่มีเบาะรอง ร่วงก็ไม่ต้องส่งโรงพยาบาล ส่งวัดอย่างเดียว
ตอนหมากเยอะๆ ยายจะให้เฉาะผลหมาก แล้วฝานผลแดงๆ ข้างในเป็นแว่นบางๆ ตากแดด พอแห้งเป็นสีน้ำตาลก็เก็บเข้าปี๊บ
รอขาย... จะว่ารอขายก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะมันจะมีประเพณีดั้งเดิมอยู่
คือการแลกเปลี่ยน หมากแลกข้าว หมากแลกไข่ ใครมีผลิตผลอะไรก็มาแลกเปลี่ยนกัน โดยไม่ต้องใช้เงินตรา
พาไปนอกเรื่องยาว กลับมาที่วัฒนธรรมการกินหมากต่อนะคะ
ในสมัยสุโขทัย เรารู้ว่า มีป่าหมาก ป่าพลู ส่วนในสมัยอยุธยา เรารู้ว่าตลาดในอยุธยามันมีหมาก
พลู ขายอยู่แล้วจากในคำให้การชาวกรุงเก่าฯ แต่วัฒนธรรมการกินหมากที่ทำให้คุณรุ่นหลังรู้ว่าคนสมัยก่อนผูกพันกับการกินหมากยังไง
เราเรียนรู้จากวรรณคดีที่เขียนในสมัยอยุธยา เช่น ขุนช้างขุนแผน ลิลิตพระลอ หรือแม้แต่อิเหนาที่ ร.2 ทรงพระราชนิพนธ์
ก็เป็นเรื่องดั้งเดิมที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ในขุนช้างขุนแผน เราจะเห็นถึงความรักที่ส่งผ่านการกินหมาก ในอิเหนา เราจะเห็นการส่งไมตรีจากการส่งพานหมากพลูให้
เช่นในตอนที่บุษบา ส่งพานหมากให้จินตะหรา หรือตอนที่ อิเหนาส่งคนไปขอชานหมากบุษบา แถมบุษบาไม่เอาอันเก่า
เคี้ยวใหม่ให้อีก ( เฮ่อ....สมัยนี้ คงเบือนหน้าหนี ) ในลิลิตพระลอ มันจะมีฉาก อาจารย์ของพระเพื่อนพระแพง
ส่งของที่ปลุกเสกการทำเสน่ห์ ไปในพานหมากของ พระลอ เพื่อให้พระลอหลงใหล
ซึ่งก็แสดงว่า เชี่ยนหมาก พานหมากนี่..จำเป็นสำหรับคนในยุคนั้นจริงๆ
เมื่อการกินหมาก ถือเป็นการมอบไมตรีให้กัน บางคู่เป็นการสื่อถึงความรัก ดังนั้นเชี่ยนหมาก ก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญ ราวโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน คนในสมัยก่อนเวลาไปไหน จะต้องถือเชี่ยนหมากติดตัวไปด้วย ไปเรือนใครเจ้าของบ้านก็ต้องนำเชี่ยนหมากมาต้อนรับ
นอกจากนี้เชี่ยนหมากก็ยังเป็นเครื่องแสดงถึงฐานะด้วย เพราะมีตั้งแต่เชี่ยนหมาก ทองคำ ทองเหลือง เงิน ไม้มงคล และไม้ไผ่
ในละครพิษสวาท เราจะแทรกอยู่ในบางฉาก ตัวละครที่นั่งอยู่บนตั่งจะมีเชี่ยนหมากวางอยู่ข้างตัว หรือฉากโรแมนติก
เช่น ฉากที่พระ-นาง เจอกันครั้งแรกนั้น พระอรรคมอบถุงอัฐ และหมากพลูให้นางเอก นั่นคือการส่งไมตรีของพระอรรค ต่อนางรำหลวง
เป็นเสี้ยวเล็กๆ แค่ไม่กี่วินาทีในฉาก แต่นั่นคือจุดเริ่มต้นของสัญลักษณ์เชิงความรัก
ปล...... จุเคยตอบน้องคนหนึ่งไปว่า การส่งหมากพลู เหมือนกับ จีบกันของคนสมัยก่อน น้อง Genus Canna เลยตั้งข้อสังเกตว่า การจีบหมากจีบพลู (จีบพลู เจียนหมาก? ) จะเป็นที่มาของคำว่า “จีบ” หรือเปล่า? อันนี้จุไม่รู้จริงๆ ใครรู้ช่วยตอบหน่อยนะคะ
เครดิต เกร็ดความรู้ จากคุณJu Nkt
เครดิตภาพสวยๆ จากกองละคร พิษสวาท.ค่ะ
((กระทู้ที่แล้ว)) พิษสวาท .... ด้วยความรัก ความแค้น (พร้อมเกร็ดความรู้เพิ่มเติมจากละครนะคะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/35400085
เกร็ดความรู้ ประวัติศาสตร์ จากละคร “พิษสวาท” ว่าด้วยเรื่อง “หมากพลู”
“พี่เคี้ยวหมากเจ้าอยากพี่ยังคาย” เป็นส่วนหนึ่งของกลอนเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน จุได้ยินครั้งแรก ตอน ม.4
ครูภาษาไทยคนหนึ่งเล่าให้ฟัง ถึงความรักของขุนแผนที่มีให้กับวันทอง ขนาดว่า หมากที่เคี้ยวอยู่ ก็ยังคายให้กินได้
ตอนนั้น นั่งฟังแบบงงๆ ....เพราะไม่เข้าใจ จนต่อมา เมื่อเรียนประวัติศาสตร์ ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมดั้งเดิม
และความรู้สึกนึกคิดของคนในแต่ละยุค ซึ่งจะเอาตัวเราเข้าไปตัดสินไม่ได้ ต้องพยายามคิด อย่างที่คนในยุคนั้นคิด
อย่างในละครพิษสวาท เราจะระวังไม่ใช้คำพูด ขอบคุณ ขอบใจ สวัสดี ในฉากที่ย้อนอดีต
เพราะในสมัยอยุธยา การที่ผู้ใหญ่มอบของให้ ถือเป็นพระคุณของผู้ที่ได้รับ จึงใช้ เป็นพระมหากรุณาธิคุณ หรือถือเป็นพระคุณ
หรืออื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าคนมอบมีน้ำใจต่อคนรับ แต่ถ้าผู้น้อยมอบของให้ผู้ที่อยู่สูงกว่า
ผู้ใหญ่จะอวยพรให้ว่า ขอให้เจริญ ขอให้จำเริญ ประมาณนี้ค่ะ
สำหรับ การเคี้ยวหมากที่หลายคนอยากรู้ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีมานานมาก และเป็นที่นิยมในสุวรรณภูมิ
สันนิษฐานว่าเรารับมาจากอินเดีย แม่ของวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ ลาว เขมร เวียดนาม ก็ล้วนแต่กินหมากกันนะ
ถ้าในความคิดจุ น่าจะเหมือนกับกัญชา เพราะหมากมันเป็นเป็นยาเสพติดอ่อนๆ กินแล้วก็ติด ไม่กินก็จะหาว หงุดหงิด กินแล้วบางคนอารมณ์ดี
ต้นหมากปลูกมานานแล้ว เราพบในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง
ด้านหนึ่ง ระบุว่า “ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง
ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้”
จากจารึก ทำให้เรารู้ว่า เวลานั้นเรามีต้นหมากแล้ว ซึ่งแสดงว่าชาวสุโขทัยก็เคี้ยวหมากกันเป็นปกติ
การเคี้ยวหมาก แต่แตกต่างกันแต่ละภูมิภาค ประเทศอื่นอาจจะเคี้ยวแค่ หมากอ่อน หรือ เนื้อหมากที่อยู่ด้านใน
แต่ของไทยเรา กรรมวิธีเยอะ ต้องถือกันเป็นเชี่ยนหมากเลย
ไทยเรากินหมากกันยังไง เริ่มจาก เชี่ยนหมาก ที่จะใส่ ใบพลู หมาก (หมากอ่อน หรือหมากแก่)
เต้าใส่ปูนแดง ไม้สีเสียด ตลับใส่ยาเส้น ตลับสีผึ้ง และกระโถนบ้วนน้ำหมาก คนกินหมากจะเริ่มการกิน
ด้วยการ ทาปูนแดง (บางบ้านใช้ปูนขาว) ลงที่ใบพลู ม้วนๆ แล้วค่อยๆ กัด หมากสดจะผ่าซีก
ถ้าอ่อนมากก็กินทั้งเปลือก ถ้ากำลังพอดี บางคนเอาแต่เนื้อข้างใน เปลือกจะเก็บไว้ถูฟัน แต่ถ้าช่วงนี้หมากขาดแคลน
เขาจะมีหมากแก่ตากแห้ง กินแทนหมากอ่อน (หมากแห้งจะทำจากผลหมากสดฝานบางๆ แล้วตากแดด เก็บไว้ในยามที่หมากขาดแคลน หรือหมากแพงก็จะหันมากินหมากแห้งแทน)
ไม้สีเสียดบางคนฝานบางๆ แล้วเคี้ยวไปด้วย บางคนไม่เอา เหมือนกับยาเส้นบางคนก็จะเหน็บไว้ที่เหงือก บางคนไม่ใช้ เคี้ยวๆไป ปากแห้งก็ทาสีผึ้ง
กรรมวิธีในการกินหมากแบบนี้ จุเห็นมาตั้งแต่เด็กๆ จากยาย จากหมู่บ้านตามชนบท
และเคยลองเคี้ยวมาแล้ว ก็สนุกดี ยิ่งตอนจ้างคนมาขึ้นต้นหมาก เป็นอะไรที่ตื่นตาตื่นใจ เพราะคนขึ้นต้นหมากได้
ต้องใช้ทักษะพิเศษเฉพาะตัว ไม่มีสลิง ไม่มีเบาะรอง ร่วงก็ไม่ต้องส่งโรงพยาบาล ส่งวัดอย่างเดียว
ตอนหมากเยอะๆ ยายจะให้เฉาะผลหมาก แล้วฝานผลแดงๆ ข้างในเป็นแว่นบางๆ ตากแดด พอแห้งเป็นสีน้ำตาลก็เก็บเข้าปี๊บ
รอขาย... จะว่ารอขายก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะมันจะมีประเพณีดั้งเดิมอยู่
คือการแลกเปลี่ยน หมากแลกข้าว หมากแลกไข่ ใครมีผลิตผลอะไรก็มาแลกเปลี่ยนกัน โดยไม่ต้องใช้เงินตรา
พาไปนอกเรื่องยาว กลับมาที่วัฒนธรรมการกินหมากต่อนะคะ
ในสมัยสุโขทัย เรารู้ว่า มีป่าหมาก ป่าพลู ส่วนในสมัยอยุธยา เรารู้ว่าตลาดในอยุธยามันมีหมาก
พลู ขายอยู่แล้วจากในคำให้การชาวกรุงเก่าฯ แต่วัฒนธรรมการกินหมากที่ทำให้คุณรุ่นหลังรู้ว่าคนสมัยก่อนผูกพันกับการกินหมากยังไง
เราเรียนรู้จากวรรณคดีที่เขียนในสมัยอยุธยา เช่น ขุนช้างขุนแผน ลิลิตพระลอ หรือแม้แต่อิเหนาที่ ร.2 ทรงพระราชนิพนธ์
ก็เป็นเรื่องดั้งเดิมที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ในขุนช้างขุนแผน เราจะเห็นถึงความรักที่ส่งผ่านการกินหมาก ในอิเหนา เราจะเห็นการส่งไมตรีจากการส่งพานหมากพลูให้
เช่นในตอนที่บุษบา ส่งพานหมากให้จินตะหรา หรือตอนที่ อิเหนาส่งคนไปขอชานหมากบุษบา แถมบุษบาไม่เอาอันเก่า
เคี้ยวใหม่ให้อีก ( เฮ่อ....สมัยนี้ คงเบือนหน้าหนี ) ในลิลิตพระลอ มันจะมีฉาก อาจารย์ของพระเพื่อนพระแพง
ส่งของที่ปลุกเสกการทำเสน่ห์ ไปในพานหมากของ พระลอ เพื่อให้พระลอหลงใหล
ซึ่งก็แสดงว่า เชี่ยนหมาก พานหมากนี่..จำเป็นสำหรับคนในยุคนั้นจริงๆ
เมื่อการกินหมาก ถือเป็นการมอบไมตรีให้กัน บางคู่เป็นการสื่อถึงความรัก ดังนั้นเชี่ยนหมาก ก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญ ราวโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน คนในสมัยก่อนเวลาไปไหน จะต้องถือเชี่ยนหมากติดตัวไปด้วย ไปเรือนใครเจ้าของบ้านก็ต้องนำเชี่ยนหมากมาต้อนรับ
นอกจากนี้เชี่ยนหมากก็ยังเป็นเครื่องแสดงถึงฐานะด้วย เพราะมีตั้งแต่เชี่ยนหมาก ทองคำ ทองเหลือง เงิน ไม้มงคล และไม้ไผ่
ในละครพิษสวาท เราจะแทรกอยู่ในบางฉาก ตัวละครที่นั่งอยู่บนตั่งจะมีเชี่ยนหมากวางอยู่ข้างตัว หรือฉากโรแมนติก
เช่น ฉากที่พระ-นาง เจอกันครั้งแรกนั้น พระอรรคมอบถุงอัฐ และหมากพลูให้นางเอก นั่นคือการส่งไมตรีของพระอรรค ต่อนางรำหลวง
เป็นเสี้ยวเล็กๆ แค่ไม่กี่วินาทีในฉาก แต่นั่นคือจุดเริ่มต้นของสัญลักษณ์เชิงความรัก
ปล...... จุเคยตอบน้องคนหนึ่งไปว่า การส่งหมากพลู เหมือนกับ จีบกันของคนสมัยก่อน น้อง Genus Canna เลยตั้งข้อสังเกตว่า การจีบหมากจีบพลู (จีบพลู เจียนหมาก? ) จะเป็นที่มาของคำว่า “จีบ” หรือเปล่า? อันนี้จุไม่รู้จริงๆ ใครรู้ช่วยตอบหน่อยนะคะ
เครดิต เกร็ดความรู้ จากคุณJu Nkt
เครดิตภาพสวยๆ จากกองละคร พิษสวาท.ค่ะ
((กระทู้ที่แล้ว)) พิษสวาท .... ด้วยความรัก ความแค้น (พร้อมเกร็ดความรู้เพิ่มเติมจากละครนะคะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้