นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย กำหนดให้วันที่ 1 ก.ค. ของทุกปี เป็นวันรณรงค์ตรวจเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะมีการรณรงค์ตลอด ก.ค. โดยปี 2559 นี้ มีคำขวัญว่า “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ยุติเอดส์” โดยสถานการณ์โรคเอดส์ของประเทศไทยในปัจจุบัน พบว่า ทุกปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 7,000 คน ซึ่งจากการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโรค ซึ่งคำนวณจากจำนวนประชากรและผลสำรวจต่าง ๆ แล้ว คาดว่า ขณะนี้ในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 438,100 คน มีรายงานผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการวินิจฉัยในปี 2558 คือ 391,484 คน แสดงว่า มีผู้ติดเชื่อเอชไอวีที่ยังไม่ได้รับการตรวจและทราบสถานการณ์ติดเชื้อของตนเองไม่ต่ำกว่า 47,000 คน ทำให้ขาดโอกาสได้รับการรักษา ป้องกันตนเองและคู่ และยังทำให้มีโอกาสถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีไปยังสังคมโดยไม่รู้ตัวอีกมาก
นพ.อำนวย กล่าวว่า มาตรการรองรับการรณรงค์ให้ผู้มีความเสี่ยงมาตรวจเชื้อเอชไอวีนั้น คือ 1. ขอให้หน่วยบริการสุขภาพและโรงพยาบาลทั่วประเทศ ร่วมจัดบริการและร่วมรณรงค์ 2. การตรวจเชื้อเอชไอวีแบบทราบผลในวันเดียว 3. จัดบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีปีละ 2 ครั้ง โดยใช้บัตรประชาชนและรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้ฟรีตามสิทธิ 4. ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถรับคำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องขอรับการยินยอมจากผู้ปกครอง 5. หญิงฝากครรภ์และสามี ได้รับบริการปรึกษาและตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพื่อเข้าสู่ระบบป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารก และ 6. การจัดบริการเชิงรุกโดยโรงพยาบาล สถานบริการของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
นพ.อำนวย กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎระเบียบให้คนทั่วไปตรวจเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง (self-test) ซึ่งเป็นการตรวจ “น้ำในช่องปาก” จากกระพุ้งแก้ม ซอกเหงือก ซึ่งจะตรวจในระดับเซลล์ โดยจะเป็นการตรวจสำหรับประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และไม่ต้องการไปตรวจยังสถานพยาบาลก็สามารถเลือกใช้ได้ด้วยตนเอง โดยขณะนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้สนับสนุนให้แต่ละประเทศจัดบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีดังกล่าว และมีการทำในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา และ ฝรั่งเศส ได้อนุญาตให้มีการตรวจด้วยตนเองแล้ว ส่วนประเทศไทยก็ต้องมีการศึกษาเรื่องนี้ในแง่กฎระเบียบ เนื่องจากที่ผ่านมามีกฎหมายว่า การตรวจเชื้อเอชไอวีจะต้องทำในสถานพยาบาลเท่านั้น ดังนั้น ก็ต้องมาพิจารณาว่าจะแก้กฎหมายอย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เดิมนั้นชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวีจากน้ำในช่องปาก มีการนำพิจารณามาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2537 แต่คณะอนุกรรมการจัดบริการทางการแพทย์และให้คำปรึกษา ภายใต้คณะกรรมการบริหารป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ มีมติห้ามใช้ในการตรวจวินิจฉัย แต่อนุญาตให้ใช้ชุดตรวจเชื้อเอชไอวีจากน้ำในช่องปากและปัสสาวะ มาใช้เฉพาะในงานวิจัยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 สภาอุตสาหกรรมได้ยื่นเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อขอให้เพิกถอนมติดังกล่าว เนื่องจากทั่วโลกมีการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจเอชไอวีจากน้ำในช่องปากให้มีความรวดเร็วและแม่นยำใกล้เคียงกับชุดทดสอบการติดเชื้อในเลือด และได้รับการรับรองจากสำนักงานอาหารและยาสหรัฐอเมริกา และการห้ามใช้ของไทยทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและมูลค่าทางเศรษฐกิจประเทศ โดย ม.ค. 2558 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้มีมติอนุยาตให้ใช้ชุดทดสอบดังกล่าวในโรงพยาบาลได้ แต่ยังห้ามจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป และการใช้ในบุคคลทั่วไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก manager.co.th
Report by LIV Capsule
เร่งปลดล็อกตรวจ “เอชไอวี” ด้วยตัวเอง หลังพบติดเชื้อไม่รู้ตัวกว่า 4.7 หมื่นคน
นพ.อำนวย กล่าวว่า มาตรการรองรับการรณรงค์ให้ผู้มีความเสี่ยงมาตรวจเชื้อเอชไอวีนั้น คือ 1. ขอให้หน่วยบริการสุขภาพและโรงพยาบาลทั่วประเทศ ร่วมจัดบริการและร่วมรณรงค์ 2. การตรวจเชื้อเอชไอวีแบบทราบผลในวันเดียว 3. จัดบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีปีละ 2 ครั้ง โดยใช้บัตรประชาชนและรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้ฟรีตามสิทธิ 4. ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถรับคำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องขอรับการยินยอมจากผู้ปกครอง 5. หญิงฝากครรภ์และสามี ได้รับบริการปรึกษาและตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพื่อเข้าสู่ระบบป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารก และ 6. การจัดบริการเชิงรุกโดยโรงพยาบาล สถานบริการของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
นพ.อำนวย กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎระเบียบให้คนทั่วไปตรวจเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง (self-test) ซึ่งเป็นการตรวจ “น้ำในช่องปาก” จากกระพุ้งแก้ม ซอกเหงือก ซึ่งจะตรวจในระดับเซลล์ โดยจะเป็นการตรวจสำหรับประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และไม่ต้องการไปตรวจยังสถานพยาบาลก็สามารถเลือกใช้ได้ด้วยตนเอง โดยขณะนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้สนับสนุนให้แต่ละประเทศจัดบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีดังกล่าว และมีการทำในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา และ ฝรั่งเศส ได้อนุญาตให้มีการตรวจด้วยตนเองแล้ว ส่วนประเทศไทยก็ต้องมีการศึกษาเรื่องนี้ในแง่กฎระเบียบ เนื่องจากที่ผ่านมามีกฎหมายว่า การตรวจเชื้อเอชไอวีจะต้องทำในสถานพยาบาลเท่านั้น ดังนั้น ก็ต้องมาพิจารณาว่าจะแก้กฎหมายอย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เดิมนั้นชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวีจากน้ำในช่องปาก มีการนำพิจารณามาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2537 แต่คณะอนุกรรมการจัดบริการทางการแพทย์และให้คำปรึกษา ภายใต้คณะกรรมการบริหารป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ มีมติห้ามใช้ในการตรวจวินิจฉัย แต่อนุญาตให้ใช้ชุดตรวจเชื้อเอชไอวีจากน้ำในช่องปากและปัสสาวะ มาใช้เฉพาะในงานวิจัยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 สภาอุตสาหกรรมได้ยื่นเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อขอให้เพิกถอนมติดังกล่าว เนื่องจากทั่วโลกมีการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจเอชไอวีจากน้ำในช่องปากให้มีความรวดเร็วและแม่นยำใกล้เคียงกับชุดทดสอบการติดเชื้อในเลือด และได้รับการรับรองจากสำนักงานอาหารและยาสหรัฐอเมริกา และการห้ามใช้ของไทยทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและมูลค่าทางเศรษฐกิจประเทศ โดย ม.ค. 2558 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้มีมติอนุยาตให้ใช้ชุดทดสอบดังกล่าวในโรงพยาบาลได้ แต่ยังห้ามจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป และการใช้ในบุคคลทั่วไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก manager.co.th
Report by LIV Capsule