การนิคมอุตสาหกรรม เดินหน้าจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย โดยเน้นให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว พร้อมกับสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่ภาคเอกชนบอกว่า ยังมีปัญหาการเช่าที่ดิน
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. เปิดเผยว่า กนอ. กำลังเร่งจัดพื้นที่รองรับ 10 เขตเศรษฐกิจพิเศษ หลังจากรัฐบาลขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการนำนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนา ซึ่งการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจากนี้ไป ต้องรองรับนวัตกรรมที่นำงานวิจัยมาพัฒนาต่อยอด รวมถึงต้องเป็นนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะทาง
ส่วนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 1 ที่จังหวัดสระแก้ว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลานั้น ขณะนี้มีความก้าวหน้าดี โดยได้ลงนามเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ไปแล้ว เป็นระยะเวลา 50 ปี และอยู่ในระหว่างการศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ส่วนระยะที่ 2 ใน 4 จังหวัด อยู่ระหว่างการจัดหาที่ดิน เพื่อเตรียมรับความพร้อมการลงทุน
ด้านนายอนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ชาวเชียงรายให้ความสนใจในเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างมาก แต่ติดขัดในเรื่องของพื้นที่ที่จัดหาให้กับภาครัฐและเอกชนที่จะเข้าไปเช่าในพื้นที่
อย่างไรก็ ตามหากนักลงทุนมีความพร้อม ก็สามารถเข้ามาลงทุนได้ ด้วยการขอรับสิทธิพิเศษจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ โดยไม่จำเป็นต้องรอเช่าที่ดินจากภาครัฐ
ซึ่งปัจจุบันมีนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาในพื้นที่ และเตรียมพร้อมที่จะเข้าลงทุนในจังหวัดเชียงราย แต่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจเชียงรายจะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สินค้าเกษตรของเชียงราย
ขณะที่ นายพละวัต ตันศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า พื้นที่ที่จะจัดทำเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น หากภาครัฐยังไม่พร้อม เอกชนที่ต้องการเข้าลงทุนสามารถที่หาคู่ธุรกิจ หรือ พาร์ทเนอร์ หรือซื้อที่ดิน หรือเช่าที่ดินของเอกชนได้ทันที โดยไม่ต้องรอที่ดินจากภาครัฐ ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษเช่นกัน
ตั้งเขต ศก. พิเศษเชียงราย ไม่ง่ายอย่างที่คิด
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. เปิดเผยว่า กนอ. กำลังเร่งจัดพื้นที่รองรับ 10 เขตเศรษฐกิจพิเศษ หลังจากรัฐบาลขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการนำนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนา ซึ่งการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจากนี้ไป ต้องรองรับนวัตกรรมที่นำงานวิจัยมาพัฒนาต่อยอด รวมถึงต้องเป็นนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะทาง
ส่วนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 1 ที่จังหวัดสระแก้ว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลานั้น ขณะนี้มีความก้าวหน้าดี โดยได้ลงนามเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ไปแล้ว เป็นระยะเวลา 50 ปี และอยู่ในระหว่างการศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ส่วนระยะที่ 2 ใน 4 จังหวัด อยู่ระหว่างการจัดหาที่ดิน เพื่อเตรียมรับความพร้อมการลงทุน
ด้านนายอนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ชาวเชียงรายให้ความสนใจในเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างมาก แต่ติดขัดในเรื่องของพื้นที่ที่จัดหาให้กับภาครัฐและเอกชนที่จะเข้าไปเช่าในพื้นที่
อย่างไรก็ ตามหากนักลงทุนมีความพร้อม ก็สามารถเข้ามาลงทุนได้ ด้วยการขอรับสิทธิพิเศษจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ โดยไม่จำเป็นต้องรอเช่าที่ดินจากภาครัฐ
ซึ่งปัจจุบันมีนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาในพื้นที่ และเตรียมพร้อมที่จะเข้าลงทุนในจังหวัดเชียงราย แต่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจเชียงรายจะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สินค้าเกษตรของเชียงราย
ขณะที่ นายพละวัต ตันศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า พื้นที่ที่จะจัดทำเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น หากภาครัฐยังไม่พร้อม เอกชนที่ต้องการเข้าลงทุนสามารถที่หาคู่ธุรกิจ หรือ พาร์ทเนอร์ หรือซื้อที่ดิน หรือเช่าที่ดินของเอกชนได้ทันที โดยไม่ต้องรอที่ดินจากภาครัฐ ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษเช่นกัน