ขสมก. ตั้งเป้าเพิ่มรถในระบบเป็น 3,000 คัน เฉลี่ยสายละ 30 คัน รับแผนปรับเส้นทางเดินรถใหม่
นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการองค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้ ขสมก.เร่งดำเนินการจัดหารใหม่เพื่อมาให้บริการประชาชน ขสมก.ได้จัดทำแผนจัดหารถโดยสารใหม่และปรับปรุงสภาพรถโดยสารเก่า เพื่อนำมาใช้งานระหว่างการจัดหารถโดยสาร ซึ่งขณะนี้ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ(บอร์ด) ขสมก. และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)แล้วรอเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการเร็วๆ นี้คือ จะมีการปรับปรุงรถปรับอากาศ 500 คัน และรถโดยสารธรรมดา 172 คัน ซึ่งหากได้รับอนุมัติจะใช้เวลาประมาณ 10 เดือนในการทยอยปรับปรุงรถจำนวนดังกล่าว
“การปรับปรุงรถเก่าจะช่วยรัฐประหยัดงบประมาณได้มาก เพราะการปรับปรุงรถเก่าหากเป็นรถธรรมดาใช้งบ 1 คันไม่ถึง 1 ล้านบาท ส่วนรถปรับอากาศประมาณ 1.5-1.6 ล้านบาท ขณะที่ถ้าซื้อใหม่หมดอย่างถูกก็คันละประมาณ 3 ล้านบาท” นายสุระชัย กล่าว
ผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า นอกจากการปรับปรุงรถเก่าแล้วตามแผนของ ขสมก. ยังมีแผนกาจัดซื้อรถเมล์เอ็นจี 489 คัน ซึ่งล่าสุดได้ผู้ชนะการประมูลการจัดหาไปแล้วคือบริษัท เบสท์ริน กรุ้ป รวมถึงการจัดหารถโดยสารขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าล็อตแรก 200 คัน งบประมาณ 2,300 ล้านบาท แต่ส่วนนี้ยังต้องมีการพิจารณาว่าจะเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด หรือว่ารถไฮบริดจ์ด้วย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างทีโออาร์เพื่อให้การจัดซื้อครั้งนี้เอื้อต่อการพัฒนารถไฟฟ้าในประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้งการซ่อมรถเก่า การจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีใหม่ และจัดซื้อรถไฟฟ้าแล้วจะทำให้มีรถใหม่เข้าสู่ระบบประมาณ 1,400 คัน ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งของรถของ ขสมก. ที่วิ่งอยู่ในระบบขณะนี้ทั้งหมด 2,700 คัน แต่เป้าหมายของ ขสมก. คือการมีรถวิ่งในระบบ 3,000 คัน เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับแผนการเดินรถตามคำสั่งของ คนร. ซึ่ง ขสมก. จะมีการเดินรถประมาณ 90-100 สาย ทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล เฉลี่ยสายละ 30 คัน
นายสุระชัย กล่าวว่า ในช่วงเช้าของวันนี้ (12 ก.ค.) ขสมก. ได้จัดแสดงรถโดยสารพร้อมอุปกรณ์ส่วนควบและคุณลักษณะสำคัญของรถโดยสารเก่าที่ปรับปรุงสภาพใหม่และรถโดยสารตัวอย่างที่ ขสมก.กำลังดำเนินการจัดหา เพื่อให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและครม. ได้พิจารณาเปรียบเทียบคุณลักษณะของรถและอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง โดยมีการจัดแสดง 5 คัน ได้แก่
1.รถโดยสารเก่าที่ปรับปรุงสภาพเป็นรถใหม่ ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง 2 คัน 2. รถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง 1 คัน 3.รถโดยสารปรับอากาศระบบไฟฟ้า 1 คัน 4.รถโดยสารปรับอากาศระบบดีเซลและไฟฟ้า(Hybrid) จำนวน 1 คัน โดยในนี้เป็นรถโดยสารของ ขสมก.เอง 3 คัน ได้แก่โดยสารเก่าที่ปรับปรุงสภาพเป็นรถใหม่ยี่ห้อฮีโน่และเบ๊นซ์ ซึ่งใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง โดยรถที่นำมาจัดแสดงเป็นรถต้นแบบที่ ขสมก.จะทยอยปรับปรุงเพื่อให้มีสภาพใช้งานได้เทียบเท่ากับรถโดยสารใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560 อีก 1 คันเป็นรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวียี่ห้อฮีโน่ ซึ่งเปลี่ยนเครื่องยนต์จากระบบดีเซลเป็นระบบก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี
นอกจากนี้ บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด(มหาชน) ยังได้นำรถโดยสารปรับอากาศระบบไฟฟ้า 1 คัน ซึ่งเคยนำมาให้ ขสมก.ทดลองวิ่งให้บริการระหว่างวันที่ 26 ก.พ. -25 พ.ค. 2559 และบริษัทฮีโน่มอเตอร์สเซลล (ประเทศไทย) จำกัด นำเข้ารถโดยสารปรับอากาศยี่ห้อฮีโน่ระบบดีเซลและไฟฟ้า (Hybrid) 1 คัน มาทดลองวิ่งให้บริการในเส้นทางจริง เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานและสมรรถภาพของรถโดยสาร ซึ่งขณะนี้วิ่งให้บริการในเส้นทางเดินรถสาย A1,A2,510,522,77,137,138,140,511 และ 145 รวม 10 เส้นทาง เส้นทางละ 15 วัน เก็บค่าโดยสารในอัตราปกติ เริ่มเดินรถตั้งแต่ 16 มิ.ย.-15 พ.ย. 2559 เพื่อเป็นทางเลือกในการจัดหารโดยสารที่ประหยัดเชื้อเพลิงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยกระดับมาตรฐานการให้บริการรถโดยสารของ ขสมก. ด้วย
http://www.posttoday.com/local/bkk/442490
ขสมก. ตั้งเป้าเพิ่มรถในระบบเป็น 3,000 คัน เฉลี่ยสายละ 30 คัน รับแผนปรับเส้นทางเดินรถใหม่
นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการองค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้ ขสมก.เร่งดำเนินการจัดหารใหม่เพื่อมาให้บริการประชาชน ขสมก.ได้จัดทำแผนจัดหารถโดยสารใหม่และปรับปรุงสภาพรถโดยสารเก่า เพื่อนำมาใช้งานระหว่างการจัดหารถโดยสาร ซึ่งขณะนี้ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ(บอร์ด) ขสมก. และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)แล้วรอเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการเร็วๆ นี้คือ จะมีการปรับปรุงรถปรับอากาศ 500 คัน และรถโดยสารธรรมดา 172 คัน ซึ่งหากได้รับอนุมัติจะใช้เวลาประมาณ 10 เดือนในการทยอยปรับปรุงรถจำนวนดังกล่าว
“การปรับปรุงรถเก่าจะช่วยรัฐประหยัดงบประมาณได้มาก เพราะการปรับปรุงรถเก่าหากเป็นรถธรรมดาใช้งบ 1 คันไม่ถึง 1 ล้านบาท ส่วนรถปรับอากาศประมาณ 1.5-1.6 ล้านบาท ขณะที่ถ้าซื้อใหม่หมดอย่างถูกก็คันละประมาณ 3 ล้านบาท” นายสุระชัย กล่าว
ผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า นอกจากการปรับปรุงรถเก่าแล้วตามแผนของ ขสมก. ยังมีแผนกาจัดซื้อรถเมล์เอ็นจี 489 คัน ซึ่งล่าสุดได้ผู้ชนะการประมูลการจัดหาไปแล้วคือบริษัท เบสท์ริน กรุ้ป รวมถึงการจัดหารถโดยสารขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าล็อตแรก 200 คัน งบประมาณ 2,300 ล้านบาท แต่ส่วนนี้ยังต้องมีการพิจารณาว่าจะเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด หรือว่ารถไฮบริดจ์ด้วย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างทีโออาร์เพื่อให้การจัดซื้อครั้งนี้เอื้อต่อการพัฒนารถไฟฟ้าในประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้งการซ่อมรถเก่า การจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีใหม่ และจัดซื้อรถไฟฟ้าแล้วจะทำให้มีรถใหม่เข้าสู่ระบบประมาณ 1,400 คัน ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งของรถของ ขสมก. ที่วิ่งอยู่ในระบบขณะนี้ทั้งหมด 2,700 คัน แต่เป้าหมายของ ขสมก. คือการมีรถวิ่งในระบบ 3,000 คัน เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับแผนการเดินรถตามคำสั่งของ คนร. ซึ่ง ขสมก. จะมีการเดินรถประมาณ 90-100 สาย ทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล เฉลี่ยสายละ 30 คัน
นายสุระชัย กล่าวว่า ในช่วงเช้าของวันนี้ (12 ก.ค.) ขสมก. ได้จัดแสดงรถโดยสารพร้อมอุปกรณ์ส่วนควบและคุณลักษณะสำคัญของรถโดยสารเก่าที่ปรับปรุงสภาพใหม่และรถโดยสารตัวอย่างที่ ขสมก.กำลังดำเนินการจัดหา เพื่อให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและครม. ได้พิจารณาเปรียบเทียบคุณลักษณะของรถและอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง โดยมีการจัดแสดง 5 คัน ได้แก่
1.รถโดยสารเก่าที่ปรับปรุงสภาพเป็นรถใหม่ ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง 2 คัน 2. รถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง 1 คัน 3.รถโดยสารปรับอากาศระบบไฟฟ้า 1 คัน 4.รถโดยสารปรับอากาศระบบดีเซลและไฟฟ้า(Hybrid) จำนวน 1 คัน โดยในนี้เป็นรถโดยสารของ ขสมก.เอง 3 คัน ได้แก่โดยสารเก่าที่ปรับปรุงสภาพเป็นรถใหม่ยี่ห้อฮีโน่และเบ๊นซ์ ซึ่งใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง โดยรถที่นำมาจัดแสดงเป็นรถต้นแบบที่ ขสมก.จะทยอยปรับปรุงเพื่อให้มีสภาพใช้งานได้เทียบเท่ากับรถโดยสารใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560 อีก 1 คันเป็นรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวียี่ห้อฮีโน่ ซึ่งเปลี่ยนเครื่องยนต์จากระบบดีเซลเป็นระบบก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี
นอกจากนี้ บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด(มหาชน) ยังได้นำรถโดยสารปรับอากาศระบบไฟฟ้า 1 คัน ซึ่งเคยนำมาให้ ขสมก.ทดลองวิ่งให้บริการระหว่างวันที่ 26 ก.พ. -25 พ.ค. 2559 และบริษัทฮีโน่มอเตอร์สเซลล (ประเทศไทย) จำกัด นำเข้ารถโดยสารปรับอากาศยี่ห้อฮีโน่ระบบดีเซลและไฟฟ้า (Hybrid) 1 คัน มาทดลองวิ่งให้บริการในเส้นทางจริง เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานและสมรรถภาพของรถโดยสาร ซึ่งขณะนี้วิ่งให้บริการในเส้นทางเดินรถสาย A1,A2,510,522,77,137,138,140,511 และ 145 รวม 10 เส้นทาง เส้นทางละ 15 วัน เก็บค่าโดยสารในอัตราปกติ เริ่มเดินรถตั้งแต่ 16 มิ.ย.-15 พ.ย. 2559 เพื่อเป็นทางเลือกในการจัดหารโดยสารที่ประหยัดเชื้อเพลิงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยกระดับมาตรฐานการให้บริการรถโดยสารของ ขสมก. ด้วย
http://www.posttoday.com/local/bkk/442490