2016-07-11 16:28:16
ล่าสุดแกนนำสหภาพรัฐวิสาหกิจ บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที ได้ร่วมกันยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณานโยบายของคณะอนุกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และแสดงการคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยมีสมาชิกสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จำนวนหนึ่งร่วมให้กำลังใจที่ทำเนียบรัฐบาล
ทั้งนี้ประเด็นที่สหภาพแรงงานฯทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจโทรคมนาคม เรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ พิจารณาก็สืบเนื่องมาจากข้อเสนอของคณะทำงานพิจารณากลั่นกรอง แผนการแก้ไขรัฐวิสาหกิจ ชุดที่มี ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ เป็นประธาน ได้มีมติกำหนดให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที ปรับเปลี่ยนโครงสร้างในการทำธุรกิจใหม่ โดยการแยกเป็น 4 รัฐวิสาหกิจใหม่ ประกอบด้วย
1.บริษัท NGN Co. (Neutral Gateway Network)
2.บริษัท IDC Co. (Internet Data Center)
3.บริษัท NBN Co. ( Neutral Backbone Network)
4.บริษัท Fixed BB Co. ( Fixed Broadband)
โดยเป็นหน่วยธุรกิจที่อยู่ภายใต้แผนการจัดตั้งร่วมกันระหว่าง บมจ.กสท โทรคนาคม และ บมจ.ทีโอที ที่มีรัฐถือหุ้น 100% ในช่วงแรกหรือประมาณ 3 ปี และหาพันธมิตรเอกชนในภายหลัง ที่สำคัญทั้ง 4 บริษัทกลับไม่อยู่ในการควบคุมของ CAT และ TOT ซึ่งถือเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจรับผิดชอบธุรกิจโทรคมนาคมแห่งชาติโดยตรง
และจากแนวโนบายดังกล่าว ทำให้สหภาพแรงงานฯ บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที เห็นตรงกันว่าการปรับเปลี่ยนโครงสร้างรัฐวิสาหกิจดังกล่าว นอกจากจะไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาเพื่อการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจอย่างที่กล่าวอ้างแล้ว ยังจะทำให้รัฐวิสากิจทั้ง 2 องค์กรอ่อนแอลง และมีโอกาสขาดทุนมากยิ่งขึ้น จนท้ายสุดก็กลายเป็นช่องโอกาสให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่เข้ามายึดครองในที่สุด
เช่นกรณีตัวอย่างของผลที่จะเกิดขึ้น อย่างการนำโครงข่ายระหว่างประเทศ (เคเบิลใต้น้ำ) และโครงข่ายในประเทศ ไปเอื้อประโยชน์แก่เอกชน โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ หรือแม้แต่ความสำคัญของรัฐวิสาหกิจไทยในการสร้างรายได้เพื่อการพัฒนาประเทศและประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริงก็จะถูกลดทอนขีดความสามารถด้านการแข่งขันตามไปด้วย
จากเหตุผลทั้งหมดจึงทำให้สหภาพแรงงานฯทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจ ยืนยันจะคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกรูปแบบ เช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่ถูกกระทำมาก่อนหน้านี้ จึงนำเรียนความคิดถึงพล.อ.ประยุทธ์ให้พิจารณทบทวน มติของคณะอนุกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองแผนการการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ เพื่อร่วมแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกันต่อไปในอนาคต
ข่าวจาก tnews
http://deeps.tnews.co.th/contents/195704/
โดยกรณีดังกล่าว นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพฯบมจ.ทีโอที ได้พูดถึงประเด็นนี้เช่นกัน (ชมคลิปสัมภาษณ์)
สหภาพฯ CAT - TOT ผนึกกำลังต้านแผนแปรรูปรสก.โทรคมนาคมเปิดทางทุนสามานย์รุกเขมือบ??
ล่าสุดแกนนำสหภาพรัฐวิสาหกิจ บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที ได้ร่วมกันยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณานโยบายของคณะอนุกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และแสดงการคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยมีสมาชิกสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จำนวนหนึ่งร่วมให้กำลังใจที่ทำเนียบรัฐบาล
ทั้งนี้ประเด็นที่สหภาพแรงงานฯทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจโทรคมนาคม เรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ พิจารณาก็สืบเนื่องมาจากข้อเสนอของคณะทำงานพิจารณากลั่นกรอง แผนการแก้ไขรัฐวิสาหกิจ ชุดที่มี ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ เป็นประธาน ได้มีมติกำหนดให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที ปรับเปลี่ยนโครงสร้างในการทำธุรกิจใหม่ โดยการแยกเป็น 4 รัฐวิสาหกิจใหม่ ประกอบด้วย
1.บริษัท NGN Co. (Neutral Gateway Network)
2.บริษัท IDC Co. (Internet Data Center)
3.บริษัท NBN Co. ( Neutral Backbone Network)
4.บริษัท Fixed BB Co. ( Fixed Broadband)
โดยเป็นหน่วยธุรกิจที่อยู่ภายใต้แผนการจัดตั้งร่วมกันระหว่าง บมจ.กสท โทรคนาคม และ บมจ.ทีโอที ที่มีรัฐถือหุ้น 100% ในช่วงแรกหรือประมาณ 3 ปี และหาพันธมิตรเอกชนในภายหลัง ที่สำคัญทั้ง 4 บริษัทกลับไม่อยู่ในการควบคุมของ CAT และ TOT ซึ่งถือเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจรับผิดชอบธุรกิจโทรคมนาคมแห่งชาติโดยตรง
และจากแนวโนบายดังกล่าว ทำให้สหภาพแรงงานฯ บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที เห็นตรงกันว่าการปรับเปลี่ยนโครงสร้างรัฐวิสาหกิจดังกล่าว นอกจากจะไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาเพื่อการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจอย่างที่กล่าวอ้างแล้ว ยังจะทำให้รัฐวิสากิจทั้ง 2 องค์กรอ่อนแอลง และมีโอกาสขาดทุนมากยิ่งขึ้น จนท้ายสุดก็กลายเป็นช่องโอกาสให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่เข้ามายึดครองในที่สุด
เช่นกรณีตัวอย่างของผลที่จะเกิดขึ้น อย่างการนำโครงข่ายระหว่างประเทศ (เคเบิลใต้น้ำ) และโครงข่ายในประเทศ ไปเอื้อประโยชน์แก่เอกชน โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ หรือแม้แต่ความสำคัญของรัฐวิสาหกิจไทยในการสร้างรายได้เพื่อการพัฒนาประเทศและประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริงก็จะถูกลดทอนขีดความสามารถด้านการแข่งขันตามไปด้วย
จากเหตุผลทั้งหมดจึงทำให้สหภาพแรงงานฯทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจ ยืนยันจะคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกรูปแบบ เช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่ถูกกระทำมาก่อนหน้านี้ จึงนำเรียนความคิดถึงพล.อ.ประยุทธ์ให้พิจารณทบทวน มติของคณะอนุกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองแผนการการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ เพื่อร่วมแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกันต่อไปในอนาคต
ข่าวจาก tnews http://deeps.tnews.co.th/contents/195704/
โดยกรณีดังกล่าว นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพฯบมจ.ทีโอที ได้พูดถึงประเด็นนี้เช่นกัน (ชมคลิปสัมภาษณ์)