คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ในส่วนตัวผม ผมขอตีความว่าลำกล้องรีดลูก ที่จขกท บอก = smooth bore นะครับ
smooth bore คืออะไร ???
ก็คือลำกล้องที่ไม่มีเกลียวนั่นแหละครับ ในปัจจุบันมีใช้ในปืนอยู่ 2 ชนิด ลูกซอง และ ปืนใหญ่ (เท่าที่ผมทราบ)
แล้วถ้า .22 LR จะใช้ลำกล้อง smooth bore ล่ะ ???
ในความคิดผมก็คือ ทำได้ และยิงได้ด้วย (ซึ่งคงไม่มีใครเถียงในข้อนี้) แต่อาจจะขาดซึ่งความแม่นยำ
ในระยะใกล้ๆ 10-20 เมตร อาจจะพอลุ้นได้ แต่ระยะที่มากกว่านั้นมันดูจะลุ้นไม่ขึ้น (ในความคิดผมนะ)
เพราะมันขาดแรงหมุน ที่จะช่วยพยุงกระสุน
แล้วอาจจะเกิดคำถาม แล้วทำไมลูกซองยิงลูกโดดได้ ทั้งๆที่ก็ใช้ smooth bore เหมือนกัน ???
คำถามตรงนี้ ผมก็ขอตอบตามความคิดส่วนตัวผมอยู่ดีนั่นแหละ นั่นก็คือ น้ำหนักของหัวกระสุน
.22 lr น้ำหนักหัวกระสุน มันเบามาก เมื่อเทียบกับ ลูกโดด หรือ slug shot
แต่ถ้าย้อนไปดูในอดีตกันซักหน่อย เอาแถวๆยุคปืน คาบศิลา ในยุคนั้นลำกล้องก็ยังไม่มีเกลียว เป็น smooth bore เหมือนกัน
รวมทั้งปืนใหญ่ในยุคนั้นด้วย
ก็มีการซุ่มยิงกันแล้ว (จริงๆการซุ่มยิงมันก็มีมาตั้งแต่ยุคธนูนั่นแหละ มาพีคจัดๆในยุคหน้าไม้ที่ระยะยิงไกลกว่า)
ขอยกเรื่องเล่าใน ยุโรปและกัน
ในปี 1520 ขณะที่เมือง ฟลอเรนซ์ โดนศัตรูรุกราน ลีโอนาโด ดา วินชี ได้ประดิษฐ์ปืนยาวขึ้นมาให้ทหารใช้ยิงกับศัตรู
จากนั้นในอีก 7 ปีต่อมา เบียงเวียนูโต เซลลินี นักดนตรีประจำวงประสานเสียงขององค์สันตะปาปา ได้ใช้ปืนยาวแบบคาบชุด
ของเขา อาสาเข้าร่วมปกป้องกรุงโรมจากการรุกรานของ ชาร์ล ที่ 3 ดุ๊ก แห่งบูร์บอง
(อ่านหนังสือไปพิมพ์ตามไปนะเนี่ยมีตัดรายละเอียดไปบ้างเอาแค่พอเข้าใจพอ)
เซลลิเนียเขียนบรรยายไว้ในบรรทึกของเขาว่า (จากส่วนนี้จะไม่ตัดแล้วเขามายังไงผมก็พิมพ์ตามนั้น)
"" ในวันนั้นกองทัพของชาร์ลที่ 3 อยู่ที่นอกกำแพงเมือง สภาพอากาศก็ไม่ค่อยเป็นใจ เนื่องจากมีหมอกลงจัด
ทำให้การเล็งยิงเป็นไปอย่างลำบาก ผมใส่ดินดำลงไปในลำกล้องปืน คิดเป็นอัตราส่วน 1.5 เท่าของน้ำหนักลูกปืน
เพื่อระยะยิงหวังผลประมาณ 200 ก้าว
ปกติผมเป็นคนไม่ค่อยร่าเริงเท่าไร แต่ขณะที่ผมกำลังปฏิบัติหน้าที่เพื่อปกป้องโรม ผมรู้สึกมาความสุขมาก
ผมรู้สึกว่าผมสามารถทำมันได้ดีกว่าช่วงเวลาที่ผมทำขณะเรียนหนังสือทั้งหมดรวมกันเสียอีก "
อย่างไรก็ตามแม้สภาพอากาศจะไม่เป็นใจแต่ เซลลินี ก็สามารถยิงกระสุนถูก ดุ๊ก แห่งบูร์บอง ได้
ซึ่งตัวเขากล่าวว่าเป็นเพราะโชคช่วย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่เลวนักสำหรับปืนลำกล้องเรียบที่ทำได้ในขนาดนี้.
(อ้างอิงจากหนังสือ : sniper หน่วยลอบสังหาร เพชฌฆาตจากระยะไกล หน้าที่ 12 - 13 )
ระยะ 200 ก้าว อาจจะประมาณ 100 - 150 เมตร หรืออาจจะ 200 เมตร ไม่รู้เหมือนกัน (อันนี้เดาเอา)
"ผมใส่ดินดำลงไปในลำกล้องปืน คิดเป็นอัตราส่วน 1.5 เท่าของน้ำหนักลูกปืน เพื่อระยะยิงหวังผลประมาณ 200 ก้าว"
มีอัดดินเองด้วย เอ็ง +P ปะเนี่ย หรือ +P+ วะ คุณ เซลลินี
( การอัดดินใช้เองในปัจจุบัน ผมถือให้เป็นพวกขั้นสูงหรือโปรแล้วเค้าทำกัน ก็แล้วแต่จะเพื่อจุดประสงค์อะไร บางคนไว้ใช้แข่ง
เช่น เอาดินออกลดปริมาณดินในกระสุน เพื่อให้รีคอยน้อย จับเป้าได้เร็วก็ยิงได้เร็ว ก็ทำเวลาได้ดีขึ้น พวกแข่งตระกูล IPSC ทั้งหลาย
เพราะถ้าอัดดินไม่ดีถ้ามากไป ก็ไมโอกาสปืนแตก ถ้าน้อยไป ก็มีโอกาสหัวกระสุนติดคาอยู่ในลำกล้อง )
ต่อมาปืนปืนมีการพัฒนา เช่น การทำปลายลำกล้องปืนให้แบนเล็กน้อย หรือ เซาะร่องเกลียวในกระบอก
เพื่อให้มีประสิทธิภาพแม่นยำมากขึ้น
(จาก หน้า 15 เล่มเดียวกับข้างบนนั่นแหละ)
จากประโยคนี้ "การทำปลายลำกล้องปืนให้แบนเล็กน้อย"
อนึ่งมันก็คือหรือคล้าย ลำกล้องรีดลูก ที่กำลังพูดถึงกันเนี่ยแหละ
smooth bore ก็พอจะแม่นแล้ว รีดลูกก็ทำให้มันแม่นขึ้นอีก (แต่ปลายทางของพัฒนาการคือเกลียว)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จบและครับ ไม่รู้จะพิมพ์อะไรที่มันเกี่ยวกับคำถาม และก็ไม่รู้จะตอบอะไรให้มันตรงคำถาม
ผมก็ ขออภัยมา ณ ตรงนี้
smooth bore คืออะไร ???
ก็คือลำกล้องที่ไม่มีเกลียวนั่นแหละครับ ในปัจจุบันมีใช้ในปืนอยู่ 2 ชนิด ลูกซอง และ ปืนใหญ่ (เท่าที่ผมทราบ)
แล้วถ้า .22 LR จะใช้ลำกล้อง smooth bore ล่ะ ???
ในความคิดผมก็คือ ทำได้ และยิงได้ด้วย (ซึ่งคงไม่มีใครเถียงในข้อนี้) แต่อาจจะขาดซึ่งความแม่นยำ
ในระยะใกล้ๆ 10-20 เมตร อาจจะพอลุ้นได้ แต่ระยะที่มากกว่านั้นมันดูจะลุ้นไม่ขึ้น (ในความคิดผมนะ)
เพราะมันขาดแรงหมุน ที่จะช่วยพยุงกระสุน
แล้วอาจจะเกิดคำถาม แล้วทำไมลูกซองยิงลูกโดดได้ ทั้งๆที่ก็ใช้ smooth bore เหมือนกัน ???
คำถามตรงนี้ ผมก็ขอตอบตามความคิดส่วนตัวผมอยู่ดีนั่นแหละ นั่นก็คือ น้ำหนักของหัวกระสุน
.22 lr น้ำหนักหัวกระสุน มันเบามาก เมื่อเทียบกับ ลูกโดด หรือ slug shot
แต่ถ้าย้อนไปดูในอดีตกันซักหน่อย เอาแถวๆยุคปืน คาบศิลา ในยุคนั้นลำกล้องก็ยังไม่มีเกลียว เป็น smooth bore เหมือนกัน
รวมทั้งปืนใหญ่ในยุคนั้นด้วย
ก็มีการซุ่มยิงกันแล้ว (จริงๆการซุ่มยิงมันก็มีมาตั้งแต่ยุคธนูนั่นแหละ มาพีคจัดๆในยุคหน้าไม้ที่ระยะยิงไกลกว่า)
ขอยกเรื่องเล่าใน ยุโรปและกัน
ในปี 1520 ขณะที่เมือง ฟลอเรนซ์ โดนศัตรูรุกราน ลีโอนาโด ดา วินชี ได้ประดิษฐ์ปืนยาวขึ้นมาให้ทหารใช้ยิงกับศัตรู
จากนั้นในอีก 7 ปีต่อมา เบียงเวียนูโต เซลลินี นักดนตรีประจำวงประสานเสียงขององค์สันตะปาปา ได้ใช้ปืนยาวแบบคาบชุด
ของเขา อาสาเข้าร่วมปกป้องกรุงโรมจากการรุกรานของ ชาร์ล ที่ 3 ดุ๊ก แห่งบูร์บอง
(อ่านหนังสือไปพิมพ์ตามไปนะเนี่ยมีตัดรายละเอียดไปบ้างเอาแค่พอเข้าใจพอ)
เซลลิเนียเขียนบรรยายไว้ในบรรทึกของเขาว่า (จากส่วนนี้จะไม่ตัดแล้วเขามายังไงผมก็พิมพ์ตามนั้น)
"" ในวันนั้นกองทัพของชาร์ลที่ 3 อยู่ที่นอกกำแพงเมือง สภาพอากาศก็ไม่ค่อยเป็นใจ เนื่องจากมีหมอกลงจัด
ทำให้การเล็งยิงเป็นไปอย่างลำบาก ผมใส่ดินดำลงไปในลำกล้องปืน คิดเป็นอัตราส่วน 1.5 เท่าของน้ำหนักลูกปืน
เพื่อระยะยิงหวังผลประมาณ 200 ก้าว
ปกติผมเป็นคนไม่ค่อยร่าเริงเท่าไร แต่ขณะที่ผมกำลังปฏิบัติหน้าที่เพื่อปกป้องโรม ผมรู้สึกมาความสุขมาก
ผมรู้สึกว่าผมสามารถทำมันได้ดีกว่าช่วงเวลาที่ผมทำขณะเรียนหนังสือทั้งหมดรวมกันเสียอีก "
อย่างไรก็ตามแม้สภาพอากาศจะไม่เป็นใจแต่ เซลลินี ก็สามารถยิงกระสุนถูก ดุ๊ก แห่งบูร์บอง ได้
ซึ่งตัวเขากล่าวว่าเป็นเพราะโชคช่วย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่เลวนักสำหรับปืนลำกล้องเรียบที่ทำได้ในขนาดนี้.
(อ้างอิงจากหนังสือ : sniper หน่วยลอบสังหาร เพชฌฆาตจากระยะไกล หน้าที่ 12 - 13 )
ระยะ 200 ก้าว อาจจะประมาณ 100 - 150 เมตร หรืออาจจะ 200 เมตร ไม่รู้เหมือนกัน (อันนี้เดาเอา)
"ผมใส่ดินดำลงไปในลำกล้องปืน คิดเป็นอัตราส่วน 1.5 เท่าของน้ำหนักลูกปืน เพื่อระยะยิงหวังผลประมาณ 200 ก้าว"
มีอัดดินเองด้วย เอ็ง +P ปะเนี่ย หรือ +P+ วะ คุณ เซลลินี
( การอัดดินใช้เองในปัจจุบัน ผมถือให้เป็นพวกขั้นสูงหรือโปรแล้วเค้าทำกัน ก็แล้วแต่จะเพื่อจุดประสงค์อะไร บางคนไว้ใช้แข่ง
เช่น เอาดินออกลดปริมาณดินในกระสุน เพื่อให้รีคอยน้อย จับเป้าได้เร็วก็ยิงได้เร็ว ก็ทำเวลาได้ดีขึ้น พวกแข่งตระกูล IPSC ทั้งหลาย
เพราะถ้าอัดดินไม่ดีถ้ามากไป ก็ไมโอกาสปืนแตก ถ้าน้อยไป ก็มีโอกาสหัวกระสุนติดคาอยู่ในลำกล้อง )
ต่อมาปืนปืนมีการพัฒนา เช่น การทำปลายลำกล้องปืนให้แบนเล็กน้อย หรือ เซาะร่องเกลียวในกระบอก
เพื่อให้มีประสิทธิภาพแม่นยำมากขึ้น
(จาก หน้า 15 เล่มเดียวกับข้างบนนั่นแหละ)
จากประโยคนี้ "การทำปลายลำกล้องปืนให้แบนเล็กน้อย"
อนึ่งมันก็คือหรือคล้าย ลำกล้องรีดลูก ที่กำลังพูดถึงกันเนี่ยแหละ
smooth bore ก็พอจะแม่นแล้ว รีดลูกก็ทำให้มันแม่นขึ้นอีก (แต่ปลายทางของพัฒนาการคือเกลียว)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จบและครับ ไม่รู้จะพิมพ์อะไรที่มันเกี่ยวกับคำถาม และก็ไม่รู้จะตอบอะไรให้มันตรงคำถาม
ผมก็ ขออภัยมา ณ ตรงนี้
แสดงความคิดเห็น
ขนาดปืน .22 ลูกโม่ ลำกล้องรีดลูก 5.7 ดีหรือไม่ดีคับ ???
มันดี หรือ ไม่ดีคับ ทำให้การยิงมีวิถีที่ดีกว่าลำกล้องปกติรึป่าว คับ
แล้วในการใช้ .22 ลำกล้องรีดลูกมันมีผลเสียอะไรกับตัวปืนหรือไม่คับ
เมื่อวานนั่งคุยเล่น ๆ กับพี่ ๆ ก้เลยอยากทราบเป็นความรู้ ขอบคุณคับ ...