ปืนจำเป็นไหมต้องมีเกลียวลำกล้อง ?

ปืนจำเป็นไหมต้องมีเกลียวลำกล้อง ?

แล้วเกลียวปืนควร วนซ้ายหรือวนขวา แบบไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากันครับ

แล้วความถี่ของเกลียว ควรอยู่ที่กี่เกลียวครับ

แล้วเขาใช้อะไรทำเกลียวลำกล้อง ครับ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระเจ้าไม่ได้สร้างคนมาให้เท่าเทียมกัน
แต่ปืนทำให้ทุกคนเท่าเทียมกัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เกลียวของลำกล้อง จะเป็นตัวปั่นหัวกระสุน ตามหลักไจโรหรือการหมุนควงเพื่อรักษาวิถี ทีนี้ รูปทรงกับน้ำหนักของหัวกระสุน ต้องสัมพันธ์กับอัตราการหมุน ด้วย หัวยาว น้ำหนักมาก ต้องการอัตราการหมุนที่เร็วกว่าเพื่อรักษาวิถีในระยะที่ไกลกว่า มีผลต่อความแม่นยำในระยะไกล แต่ถ้าปั่นเร็วมาก แรงดันในรังเพลิงจะสูงตามไปด้วย ต้องให้สัมพันธ์กันทั้งหมดด้วย ปืนแต่ละแบบจึงมีอัตราความเร็วเกลียวที่ต่างกันครับ เลขตัวหลังมากจะหมุนช้านะครับ เช่น 1:9 จะเร็วกว่า 1:12 นะครับ 1:9 หมายถึง กระสุนวิ่งเป็นระยะทาง 9 นิ้ว จะหมุนครบ 1 รอบ แต่ 1:12  หมายถึง กระสุนวิ่งเป็นระยะทาง 12 นิ้วถึงจะครบ 1 รอบ ถ้ากระสุนวิ่งเร็วเท่ากัน 1:12 จะหมุนช้ากว่า แต่ถ้า รอบ/นาที อันนี้ต้องเอาความเร็วกระสุนมาคำนวนด้วย 1:9 ถ้าวิ่งช้ากว่า 1:12 มาก อัตราการหมุน รอบ/นาที ของ 1:12 อาจมากกว่าได้ (งงมั๊ย เวียนหัว) กระสุนที่หมุน รอบ/นาที สูงๆ มักจะมีแจ๊คเกตทองเหลือง/ทองแดง หุ้มเพื่อไม่ให้เปลือกนอกของหัวกระสุนเหวี่ยงตัวจะหลุดออกไปเป็นชิ้นๆหรือเหวี่ยงจนเสียทรง (เขาว่ากันนะ ผมก็ว่าต่ออีกที)

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
เกลียวในลำกล้อง ในยุคแรก ๆ ลำกล้องปืนเป็นเพียงท่อกลวงเท่านั้น ในปีค.ศ.1450-1500 จึงเริ่มมีมีแนวความคิดที่จะผลิตเกลียวในลำกล้องปืนขึ้น โดยมีการผลิตเป็นครั้งแรกที่เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมันในปี 1498 แต่เป็นแบบเกลียวตรง เนื่องจากต้องการให้ร่องเกลียวเป็นตัวรองรับเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ของดินขับ ไม่ต้องทำความสะอาดกันบ่อย ๆ เนื่องจากในระยะแรกใช้ดินดำเป็นดินขับซึ่งก่อให้เกิดเขม่ามาก เมื่อยิงต่อเนื่องกันมาก ๆ นัดจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้น

        ในสมัยโบราณในยุคที่ยังใช้ธนูเป็นอาวุธ มีการค้นพบว่าการเอาขนห่านมาเสียบท้ายลูกธนูและมีการดัดเพื่อให้ลูกธนูหมุนรอบตัวเองในขณะที่ถูกยิงออกไปนั้น ส่งผลให้ลูกธนูมีเสถียรภาพในด้านความแม่นยำมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเกลียวในลำกล้องปืนให้มีการหมุนรอบตัวเอง บังคับให้หัวกระสุนหมุนรอบตัวเองในขณะที่ถูกยิงออกไปเช่นเดียวกับลูกธนู เพื่อให้มีเสถียรภาพในความแม่นยำมากขึ้น

        ในขณะเดียวกันร่องเกลียวก็ยังทำหน้าที่เป็นบ่อรองรับเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ของดินขับอีกด้วย เกลียวในลำกล้องในระยะแรกถูกนำมาใช้กับปืนยาว โดยร่องเกลียวเหล่านี้มีชื่อเรียกว่าในภาษาอังกฤษว่า"ไรเฟิ่ล"ร้องไห้Rifle) ส่วนกรรมวิธีการทำร่องเกลียวเรียกว่า"ไรฟิ่งก์"ร้องไห้Rifing) ดังนั้นปืนยาวที่มีร่องเกลียวในลำกล้องทุกขนาดจึงเรียกว่า"ไรเฟิ่ล" ในภาษาไทยก็เรียกปืนชนิดนี้ทับศัพท์ว่า "ปืนไรเฟิ่ล" ก่อนจะได้รับการบัญญัติศัพท์อย่างเป็นทางการว่า "ปืนยาว"

        ต่อมาก็ได้นำเอาเกลียวในลำกล้องมาใช้ปืนปืนสั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเพื่อเสถียรภาพในด้านความแม่นยำ ภายในลำกล้องประกอบด้วยสันเกลียวหรือแลนด์ส(Lands)กับร่องเกลียวหรือกรู๊ฟส (Grooves) ส่วนการวัดขนาดหรือ"คาลิเบ้อร์"ของกระสุน เป็นการวัดระยะห่างระหว่างสันเกลียวกับสันเกลียว มิใช่การวัดระหว่างร่องเกลียวกับร่องเกลียว

เกลียวปืนสั้นส่วนมากจะมี 5-6 เกลียว จะบิดซ้าย บิดขวา ก็ว่ากันไป ยกเว้น Glock , HK ใช้เหลี่ยมบิด ไม่ใช้เกลียว ดังนั้นปืนสั้นจึงไม่มีครบรอบเกลียว
และ มี ชูมาน เจ้าเดียวเท่านั้นที่ทำเกลียวเร่ง ซึ่งดัดแปลงมาจาก ลำเจาะเกราะ.....
คือ เกลียวจะตรงมาก่อน แล้วค่อยๆบิดเกลียวเร่งขึ้นเรื่อยๆ และนี่คือที่มาของความแม่นยำ ที่สร้างชื่อให้ลำกล้อง ชูมานน์...
เกลียวมีหน้าที่ปั่นให้หัวกระสุนหมุน เพื่อรักษาทิศทาง ก่อนมุ่งสู่เป้าหมาย เท่านั้น ถ้ายิงจากลำสั้นความเร็วของกระสุนก็จะลดลงเท่านั้นไม่มีผลอะไรครับ ผมพูดถึงเฉพาะปืนสั้นนะครับ ปืนยาวเรื่องมันยาวครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่