อยากถามคนลาวหรือคนที่ลุกคลีกับประเทศลาวในเรื่องภาษาว่าพ่อเฒ่าแม่เฒ่ากับพ่อตู้แม่ตู้นี่ต่างกันยังไงครับ

คือตามหัวข้อเลยครับคือเวลาดูผ่านสื่อลาว ไม่ว่าจะหนังเรื่องสบายดีหลวงพระบาง หรือวเลาสัมภาษณ์คนลาว หรือเวลาไปเที่ยวหรือคลุกคลีกับคนลาวจะเห็นคนเราเรียกตายายว่าพ่อเฒ่าแม่เฒ่าสลับกับพ่อตู้แม่ตู้ เลยสงสัยว่าสองคำนี้แตกต่างกันยังไงแล้วมีหลักการเรียกยังไง แล้วคนอิสานที่เว้าลาวมีการเรียกหรือรู้จักคำสองคำนี้มั้ยบ้างมั้ยครับ

อ้อสุดท้ายนี่อยากถามเพิ่มทุกวันนี้ทำไมภาษาลาวในประเทศลาวโดยเฉพาะแถบเวียงจันทน์ หลวงพระบางพวกนี้ถึงใช้สำนวน และตำหลายอย่างที่ออกไปทางภาคกลางมาก คำแบบลาวในอิสานก็มีอยู่แต่ดูแทบไม่ค่อยคงความเข้มข้นเลยถ้าเทียบกับเรื่องสำเนียงวัฒนธรรมของคนในประเทศแบบคำเล็กๆน้อยลักษณะสำนวนแบบไทลาวเดิมหรือไทลาวในอิสานแทบใช้ค่อนข้างน้อยจะรักษาคำบางคำแต่พยายามเอาลักษณะ สำนวนแบบไทยภาคกลางเข้าไปแทน คงไว้แค่ศัพท์แสงเล็กๆน้อย ซึ่งถ้าคนที่มาหนองคายแทบทุกที่ทุกเขตจริงๆจะเห็นได้ว่าทางท้องถิ่นหนองคายจะมีการใช้ภาษาที่กลับกันทางหนองคายจะคงไว้ทั้งสำเนียงและศัพท์แสงและสำนวนอนุรักษ์คำไทลาวแบบดั้งเดิมไว้ ทำไมทางลาวถึงไม่พากันรักษาจุดนี้ไว้หรือวัฒนธรรมตรงส่วนนี้ไม่มีค่า หรือกลัวจะคล้ายอิสานมาก? ปล.ส่วนตัวผมเองก็มีเพื่อนมีญาติห่างที่เป็นคนเชื้อสายเวียดนามด้วยกันต้องบอกผมเป็นคนไทยเชื้อสายเวียดนามซึ่งก็มีญาติห่างๆด้วยที่มีเชื้อเวียดนามที่อยู่ทางนั้นไม่ได้ข้ามมาทางนี้ด้วยนั่นแหละเท่าที่เจอรุ่นน้องและรุ่นพี่คนเวียงจันทน์แต่ไม่ใช่เขตตัวเมืองจะเป็นแถบชานเมืองอ่ะครับเขาจะใช้คำค่อนข้างอนุรักษ์เหมือนกันทางลาวใต้และหลวงพระบางเอยก็เข้มข้น ลาวหลายๆภาค แต่ลาวเวียงจันทน์เห็นความเป็นไทลาวเดิมค่อนข้างเจือจาง หรือว่าเขาพูดให้คนไทยเข้าใจง่าย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่