งานนี้ทุนธรรมกายสะเทือน
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ที่เคยใช้อำนาจเป่าคดีช่วยธัมมชโย ให้พ้นข้อหายักยอกเงินวัดและทรัพย์สินของวัดมาแล้ว จนเป็นที่สุดของความอัศจรรย์แห่งทศวรรษก็ว่าได้ แต่ทาง ธัมมชโย ก็ตอบแทนบุญคุณอันล้นเหลือด้วยการนำเอาธรรมกายไปรับใช้เป็นฐานการเมืองให้นายทักษิณ นับเป็นความต้องการที่สอดคล้องต้องกันอย่างเหมาะเจาะ เพราะใครๆ ก็รู้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ขณะนั้น ต้องการจะทำให้ “ธรรมกายเหมือนเมกกะ” และใช้ฐานการเมืองมวลชนเพื่อครองอำนาจ ทั้งการไปใช้พื้นที่วัดพระธรรมกายปราศรัยทางการเมือง ทั้งยังให้กระทรวงมหาดไทย ระดมสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศมาจัดงานที่วัดพระธรรมกาย ขณะเดียวกัน ธรรมกายก็อาศัยกระทรวงศึกษาธิการ จัดอบรมและเผยแผ่คำสอนตามแนวทางธรรมกายไปยังสถานศึกษาทั่วประเทศจนเป็นเรื่องที่ถูกครหาและคัดค้านกันทั่วเมือง
ฉากเป่าคดีธรรมกายของนายทักษิณ ที่ “เซี่ยงเส้าหลง” และทีมข่าวการเมือง บันทึกไว้ใน “ผู้จัดการรายวัน” ฉบับตีพิมพ์เมื่อวันที่16 มกราคม 2550 นั้น ระบุว่า เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก โดยเมื่อ ปี 2542 ประมุขคณะสงฆ์ไทยที่แท้จริงพระองค์เดียวพระองค์นี้ทรงมีพระลิขิตเป็นพระบัญชา ลงมาเมื่อ วันที่ 26 เมษายน 2542 หลังเกิดกรณีกล่าวหาเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายในลักษณะโกงที่ดินวัดโดยใส่ชื่อเป็นของตนเอง ว่าการกระทำเช่นนั้น “…ต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระ ปลอมเป็นพระด้วยการนำผ้ากาสาวพัตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียให้เกิดแก่สงฆ์ในพุทธศาสนา.” นั่นคือ ทางพระวินัยอันเป็นกฎหมายสงฆ์ ธัมมชโย ต้องโทษ “ปาราชิก”สิ้นสภาพความเป็นพระแล้ว ด้วยเอาทรัพย์ผู้อื่นเกิน 5 มาสก เท่ากับ 1 บาทขึ้นไป
แต่อำนาจของศิษย์เอก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ทำให้คดีนี้พลิกชั่วข้ามคืน เพราะจู่ๆ อัยการซึ่งเป็นโจทก์ ขอถอนฟ้องคดีธัมมชโยต่อศาลหลังจากสืบพยานไปแล้ว 7 ปี เหลืออีก2 ปาก ก็จะตัดสิน โดยยกเหตุว่า “….ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งมีทั้งที่ดินและเงินจำนวน 959,300,000 บาท คืนให้แก่วัดพระธรรมกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 กับพวก จึงเป็นการปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ครบถ้วนทุกประการแล้ว …..”
อัยการสูงสุด (นายพชร ยุติธรรมดำรง)จึงมีคำสั่งให้ถอนคดีนี้ ดังนั้น โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ทุกข้อกล่าวหา ขอศาลโปรดอนุญาต…..ฯลฯ ด้วยเหตุฉะนั้น การถอนฟ้องคดีจึงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2549 ก่อนรัฐประหาร 19 กันยาฯ2549 ไม่กี่วัน
หากกล่าวสำหรับความร่ำรวยของนายทักษิณและครอบครัว ต้องถือว่าอยู่ ในระดับท็อปเท็นมหาเศรษฐีของเมืองไทย ซึ่งจากการจัดอันดับมหาเศรษฐีในไทยที่ฟอร์บส์ระบุว่ามีทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000ล้านดอลลาร์ขึ้นไปประจำปี 2015 นั้น นายทักษิณและครอบครัว ติดอันดับที่ 7ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 1,700 ล้านดอลลาร์ และเป็นอันดับที่ 1,118 ของโลก ขณะที่ปี2014 นายทักษิณและครอบครัว ติดอันดับ 6 มีทรัพย์สินประมาณ 1,600 ล้านดอลลาร์ อยู่ในอันดับที่ 1,092 ของโลก ทั้งๆ ที่ถูกยึดทรัพย์ไปมโหฬารสี่หมื่นกว่าล้านก็ยังรวยล้นฟ้า
เจ้าสัวบุญชัย
ศิษย์เอกที่เป็นนักธุรกิจใหญ่อีกคนก็คือ นายบุญชัย เบญจรงคกุล อดีตผู้บริหารค่ายมือถือดีแทค เศรษฐีเมืองไทย อันดับที่ 13 ที่มีทรัพย์สินเกือบ 3หมื่นล้านบาท ศิษย์เอกผู้นี้ได้ชื่อว่าศรัทธาธรรมกายล้นเหลือ โดยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยสนับสนุนทั้งเงินและเทคโนโลยีในการเผยแพร่ข่าวสารและคำสอนของธรรมกาย การทุ่มเททำบุญทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อสะสมบุญไปสวรรค์
“….เรารู้แล้วว่า บุญที่เราสร้างด้วยความตั้งใจ กับความดีที่เราทำ เราเชื่ออย่างยิ่งว่าเราไปสวรรค์ เราอยากไปสวรรค์ชั้นที่สี่ คือชั้นดุสิต สวรรค์ชั้นดุสิต ต่างจากสวรรค์ชั้นอื่นๆ ทั้งหมดหกชั้นก็ตรงที่จะลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อสร้างกุศลเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องรอให้จุติเมื่อหมดบุญ อันนั้นคือสิ่งที่เราเชื่อ และบุญที่เราทำ ก็เชื่อว่ามันจะทำให้เราไปถึงชั้นดาวดึงส์ได้ คือชั้นที่สองที่พระอินทร์อยู่ แล้วก็มีการปฏิบัติธรรมที่ชั้นนั้นด้วย
“ดังนั้น ตายพรุ่งนี้เลยก็ดี เราจะได้ไปสวรรค์ชั้นดุสิต สวรรค์มันไม่มีเหงื่อ ไม่ต้องปวดท้องเข้าห้องน้ำ ไม่ต้องมายกกล้ามเข้าฟิตเนส ไม่มีป่วย ไม่มีแก่ หน้าเด้งตลอด แล้วก็อยู่อย่างนั้นประมาณ 36 ล้านปี ทุกคนหล่อหมด สวยหมด แต่หน้าตาเหมือนกันหมดเลยนะ …. นั่นคือกฎของสวรรค์ คนทำดีมันก็หน้าตาดีเหมือนกันหมด ต่างกันแค่รัศมีหรือออร่า” นั่นคือแรงศรัทธาต่อธรรมกายเพื่อไปสวรรค์ของเจ้าสัวบุญชัย
ร่ำรวยแถมใจบุญขนาดนี้ กระทั่งนิตยสารฟอร์บส์ ถึงกับยกย่องคุณบุญชัยฯ หนึ่งในมหาเศรษฐีไทยในฐานะ ‘วีรบุรุษใจบุญ’แต่ไม่ใช่บุญที่ทำกับธรรมกาย กลับเป็นผู้ใจบุญในฐานะเป็นผู้อุทิศตนสนับสนุนงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรมอย่างจริงจัง ซึ่งนับตั้งแต่นายบุญชัย ขายหุ้นบริษัท เมื่อปี 2548 ก็อุทิศตัวทุ่มเทให้กับงานด้านนี้ ทั้งเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยในกรุงเทพฯ มูลค่า 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นกองทุนพิพิธภัณฑ์ภาคเอกชนใหญ่ที่สุดของประเทศ และการทำโครงการสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อช่วยเหลือชุมชน
สปอนเซอร์รายใหญ่ของธรรมกายอู้ฟู้ขนาดไหน ดูจากการจัดอันดับมหาเศรษฐีในไทยที่ฟอร์บส์ระบุว่ามีทรัพย์สินตั้งแต่1,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไปประจำปี 2015 นั้น นายบุญชัย อยู่ในอันดับที่ 25 ถือครองทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ศุภชัย – สหกรณ์คลองจั่นฯ
เป็นข่าวอื้อฉาวรายล่าสุด ก็คือ นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ จากกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แจ้งข้อหานายศุภชัย ยักยอกเงินของสหกรณ์ฯ ทำให้ได้รับความเสียหายกว่า 12,402 ล้านบาท
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. ระบุชัดว่า จากการสอบเส้นทางการเงิน พบว่า นายศุภชัย ได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่วัดพระธรรมกายจำนวน 15 ฉบับ รวมเป็นเงิน714 ล้านบาท และทางวัดพระธรรมกายจำนนต่อหลักฐานที่ ปปง. ตรวจสอบจนยินยอมที่จะคืนเงินบริจาคดังกล่าวคืน เมื่อจำนนต่อหลักฐานดังนี้แล้ว คำถามคือ วัดพระธรรมกาย และพระเทพญาณมหามุนี ผู้เป็นเจ้าอาวาสรู้เห็นเป็นใจกับการทำความผิดกับการยักยอกเงินของนายศุภชัย หรือไม่ ถ้า ปปง.ตรวจสอบพบว่า วัดพระธรรมกายรับรู้ก็จะต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเช่นเดียวกับนายศุภชัย ผู้เป็นศิษย์เอกเช่นกัน
ดีเอสไอ ตรวจสอบถึงไหน ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบเส้นทางการจ่ายเช็ค 878 ฉบับของนายศุภชัย ให้แก่ผู้รับ 7 กลุ่ม ซึ่งผู้รับจะเข้าข่ายความผิดรับของโจร หรือฟอกเงิน ว่าทางเจ้าหน้าที่จะทำการสอบสวนกลุ่มแรกก่อน คือ กลุ่มของนายศุภชัยกับพวก เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ต้องหาหลักและค่อยดำเนินการกลุ่มต่อไป โดยกลุ่มวัดพระธรรมกายเป็นเพียง 1 ใน 7 กลุ่มซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำงานไปพร้อมๆ กัน รวมทั้งต้องออกหนังสือหมายเรียกตามขั้นตอนเพื่อความเหมาะสม
นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน)
ประธานโครงการก่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ ผู้ซึ่งถูกสังคมมองว่าเข้าหาธรรมกายด้วยแรงศรัทธาหรือว่าอาศัยเครือข่ายธรรมกายขยายธุรกิจกันแน่?แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ดูเหมือนจะ win win กันทั้งสองฝ่ายไม่ต่างไปจากทักษิณกับธรรมกาย
นิตยสารผู้จัดการรายเดือน ฉบับเดือนก.พ. 2542 เขียนเรื่อง “อนันต์ อัศวโภคิน ศรัทธา หรือจะขายบุญ?”ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ เพราะเป็นที่รู้กันในบรรดาแวดวงผู้ใกล้ชิดว่า คนอย่างนายอนันต์ ไม่เคยเลื่อมใสศาสนาใดศาสนาหนึ่งอย่างพิเศษมาก่อน อาจจะมีทำบุญตักบาตรในพิธีของศาสนาพุทธบ้าง แต่ไม่ได้ทุ่มเทมากมายอะไรนัก และที่สำคัญเขาเคยเกลียดที่สุดกับลัทธิของการสร้างวัตถุนิยม
ครั้งหนึ่งหากจำกันได้ นายอนันต์ เคยสนับสนุนงานทางด้านการเมืองของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ด้วยซ้ำไป ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า “มหาจำลอง” นั้นเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสำนักสันติอโศก ซึ่งวิถีปฏิบัติต่างกับธรรมกายชนิดคนละขั้วโลกกันเลย เพราะสันติอโศกนั้นผู้ปฏิบัติต้องเคี่ยวกรำตนเองอย่างหนัก ให้ลด ละ เลิก จากกิเลสทั้งหลาย คำถามที่ว่า เขาเกิดความศรัทธาต้องการสร้างบุญขึ้นมาจริงๆ แต่เรื่องของธุรกิจที่เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นเรื่องของจังหวะ หรือเขามองลึกลงไปเห็นเนื้องานที่จะงอกเงยมาจากวัดพระธรรมกาย รวมทั้งกำลังซื้ออันมหาศาลของญาติโยมวัดพระธรรมกายตั้งแต่เริ่มแรก
ภาพของเรื่องนี้ยังได้รับการตอกย้ำ ให้สงสัยลงไปอีกเมื่อบริษัทสยามสินธร บริษัทในเครือแห่งหนึ่งของแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ได้ไปสร้างโครงการสวนตะวันธรรม ภายใต้สโลแกน “บ้านสวยริมทะเสสาบติดธรรมกายเจดีย์”โดยใช้รูปแบบเดียวกับโครงการบ้านสวนธนที่แลนด์ฯ ขายได้ดีมาแล้ว บ้านสวนตะวันธรรม มีทั้งหมด 10 ตึก ตึกละ 22 ยูนิต รวม ทั้งหมด 220 ยูนิต ความสูงตึกละ 6 ชั้น พื้นที่ยูนิตละ 60 ตารางเมตร ขายที่ราคา 1.5 ล้านบาท และเรื่องที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษคือ การสร้างธรรมกายเจดีย์ ซึ่งนายอนันต์ได้เข้าร่วมพิธีสำคัญในการตอกเสาเข็มต้นแรก ในฐานะประธานในพิธีปิดแผ่นทองและตอกเสาเข็มฝ่ายฆราวาส เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2538
ธรรมกายเจดีย์ มีมูลค่าการก่อสร้างกว่า 10,000 ล้าน บาท และบริษัทที่เข้าไปรับงานนี้ก็คือ คริสเตียนีแอนด์นีลเส็น บริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ที่มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ และแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เข้าไปถือหุ้นรายใหญ่ และเม็ดเงินจากการรับงานธรรมกายเจดีย์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ สามารถชี้เป็นชี้ตายให้กับบริษัทและบรรดากลุ่มผู้ถือหุ้นในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540
นายอนันต์ หรือ “เฮียตึ๋ง”เศรษฐี ซึ่งนิตยสารฟอร์บจัดให้เป็นมหาเศรษฐีของไทย อันดับที่ 26 ประจำปี 2557 มีมูลค่าทรัพย์สิน 35,854.50 ล้านบาท นอกจากจะศรัทธาในพลังบุญของธรรมกายแล้ว ยังศรัทธาในพรรคเพื่อไทย โดยเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยยอดเงินบริจาคพรรคการเมือง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ว่า พรรคเพื่อไทย มียอดรับบริจาครวมทั้งหมด 19,918,755บาท ผู้บริจาครายใหญ่ 9 ราย หนึ่งในนั้นคือ นายอนันต์ บริจาค 5 ล้านบาท
ใครๆ ก็รู้ว่า นายอนันต์ มีความใกล้ชิดกับนายทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเมื่อคราวชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดง นายอนันต์ ก็ไปปรากฏตัวในการชุมนุมแสดงพลังของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่บริเวณถนนอักษะ พุทธมณฑลสาย 4 อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2557ก่อนหน้าที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะถูกยึดอำนาจในอีกไม่กี่วันต่อมา
นายสอง วัชรศรีโรจน์
นักลงทุนขาใหญ่ชื่อเสียงกระฉ่อนระหว่างปี 2532 – 2536และทำให้ตลาดหลักทรัพย์สั่นสะเทือนด้วยการซื้อหุ้นธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การหรือบีบีซีถึ
ธรรมกายกับนายทักษิณ งานนี้ทุนธรรมกายสะเทือน
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ที่เคยใช้อำนาจเป่าคดีช่วยธัมมชโย ให้พ้นข้อหายักยอกเงินวัดและทรัพย์สินของวัดมาแล้ว จนเป็นที่สุดของความอัศจรรย์แห่งทศวรรษก็ว่าได้ แต่ทาง ธัมมชโย ก็ตอบแทนบุญคุณอันล้นเหลือด้วยการนำเอาธรรมกายไปรับใช้เป็นฐานการเมืองให้นายทักษิณ นับเป็นความต้องการที่สอดคล้องต้องกันอย่างเหมาะเจาะ เพราะใครๆ ก็รู้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ขณะนั้น ต้องการจะทำให้ “ธรรมกายเหมือนเมกกะ” และใช้ฐานการเมืองมวลชนเพื่อครองอำนาจ ทั้งการไปใช้พื้นที่วัดพระธรรมกายปราศรัยทางการเมือง ทั้งยังให้กระทรวงมหาดไทย ระดมสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศมาจัดงานที่วัดพระธรรมกาย ขณะเดียวกัน ธรรมกายก็อาศัยกระทรวงศึกษาธิการ จัดอบรมและเผยแผ่คำสอนตามแนวทางธรรมกายไปยังสถานศึกษาทั่วประเทศจนเป็นเรื่องที่ถูกครหาและคัดค้านกันทั่วเมือง
ฉากเป่าคดีธรรมกายของนายทักษิณ ที่ “เซี่ยงเส้าหลง” และทีมข่าวการเมือง บันทึกไว้ใน “ผู้จัดการรายวัน” ฉบับตีพิมพ์เมื่อวันที่16 มกราคม 2550 นั้น ระบุว่า เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก โดยเมื่อ ปี 2542 ประมุขคณะสงฆ์ไทยที่แท้จริงพระองค์เดียวพระองค์นี้ทรงมีพระลิขิตเป็นพระบัญชา ลงมาเมื่อ วันที่ 26 เมษายน 2542 หลังเกิดกรณีกล่าวหาเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายในลักษณะโกงที่ดินวัดโดยใส่ชื่อเป็นของตนเอง ว่าการกระทำเช่นนั้น “…ต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระ ปลอมเป็นพระด้วยการนำผ้ากาสาวพัตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียให้เกิดแก่สงฆ์ในพุทธศาสนา.” นั่นคือ ทางพระวินัยอันเป็นกฎหมายสงฆ์ ธัมมชโย ต้องโทษ “ปาราชิก”สิ้นสภาพความเป็นพระแล้ว ด้วยเอาทรัพย์ผู้อื่นเกิน 5 มาสก เท่ากับ 1 บาทขึ้นไป
แต่อำนาจของศิษย์เอก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ทำให้คดีนี้พลิกชั่วข้ามคืน เพราะจู่ๆ อัยการซึ่งเป็นโจทก์ ขอถอนฟ้องคดีธัมมชโยต่อศาลหลังจากสืบพยานไปแล้ว 7 ปี เหลืออีก2 ปาก ก็จะตัดสิน โดยยกเหตุว่า “….ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งมีทั้งที่ดินและเงินจำนวน 959,300,000 บาท คืนให้แก่วัดพระธรรมกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 กับพวก จึงเป็นการปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ครบถ้วนทุกประการแล้ว …..”
อัยการสูงสุด (นายพชร ยุติธรรมดำรง)จึงมีคำสั่งให้ถอนคดีนี้ ดังนั้น โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ทุกข้อกล่าวหา ขอศาลโปรดอนุญาต…..ฯลฯ ด้วยเหตุฉะนั้น การถอนฟ้องคดีจึงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2549 ก่อนรัฐประหาร 19 กันยาฯ2549 ไม่กี่วัน
หากกล่าวสำหรับความร่ำรวยของนายทักษิณและครอบครัว ต้องถือว่าอยู่ ในระดับท็อปเท็นมหาเศรษฐีของเมืองไทย ซึ่งจากการจัดอันดับมหาเศรษฐีในไทยที่ฟอร์บส์ระบุว่ามีทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000ล้านดอลลาร์ขึ้นไปประจำปี 2015 นั้น นายทักษิณและครอบครัว ติดอันดับที่ 7ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 1,700 ล้านดอลลาร์ และเป็นอันดับที่ 1,118 ของโลก ขณะที่ปี2014 นายทักษิณและครอบครัว ติดอันดับ 6 มีทรัพย์สินประมาณ 1,600 ล้านดอลลาร์ อยู่ในอันดับที่ 1,092 ของโลก ทั้งๆ ที่ถูกยึดทรัพย์ไปมโหฬารสี่หมื่นกว่าล้านก็ยังรวยล้นฟ้า
เจ้าสัวบุญชัย
ศิษย์เอกที่เป็นนักธุรกิจใหญ่อีกคนก็คือ นายบุญชัย เบญจรงคกุล อดีตผู้บริหารค่ายมือถือดีแทค เศรษฐีเมืองไทย อันดับที่ 13 ที่มีทรัพย์สินเกือบ 3หมื่นล้านบาท ศิษย์เอกผู้นี้ได้ชื่อว่าศรัทธาธรรมกายล้นเหลือ โดยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยสนับสนุนทั้งเงินและเทคโนโลยีในการเผยแพร่ข่าวสารและคำสอนของธรรมกาย การทุ่มเททำบุญทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อสะสมบุญไปสวรรค์
“….เรารู้แล้วว่า บุญที่เราสร้างด้วยความตั้งใจ กับความดีที่เราทำ เราเชื่ออย่างยิ่งว่าเราไปสวรรค์ เราอยากไปสวรรค์ชั้นที่สี่ คือชั้นดุสิต สวรรค์ชั้นดุสิต ต่างจากสวรรค์ชั้นอื่นๆ ทั้งหมดหกชั้นก็ตรงที่จะลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อสร้างกุศลเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องรอให้จุติเมื่อหมดบุญ อันนั้นคือสิ่งที่เราเชื่อ และบุญที่เราทำ ก็เชื่อว่ามันจะทำให้เราไปถึงชั้นดาวดึงส์ได้ คือชั้นที่สองที่พระอินทร์อยู่ แล้วก็มีการปฏิบัติธรรมที่ชั้นนั้นด้วย
“ดังนั้น ตายพรุ่งนี้เลยก็ดี เราจะได้ไปสวรรค์ชั้นดุสิต สวรรค์มันไม่มีเหงื่อ ไม่ต้องปวดท้องเข้าห้องน้ำ ไม่ต้องมายกกล้ามเข้าฟิตเนส ไม่มีป่วย ไม่มีแก่ หน้าเด้งตลอด แล้วก็อยู่อย่างนั้นประมาณ 36 ล้านปี ทุกคนหล่อหมด สวยหมด แต่หน้าตาเหมือนกันหมดเลยนะ …. นั่นคือกฎของสวรรค์ คนทำดีมันก็หน้าตาดีเหมือนกันหมด ต่างกันแค่รัศมีหรือออร่า” นั่นคือแรงศรัทธาต่อธรรมกายเพื่อไปสวรรค์ของเจ้าสัวบุญชัย
ร่ำรวยแถมใจบุญขนาดนี้ กระทั่งนิตยสารฟอร์บส์ ถึงกับยกย่องคุณบุญชัยฯ หนึ่งในมหาเศรษฐีไทยในฐานะ ‘วีรบุรุษใจบุญ’แต่ไม่ใช่บุญที่ทำกับธรรมกาย กลับเป็นผู้ใจบุญในฐานะเป็นผู้อุทิศตนสนับสนุนงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรมอย่างจริงจัง ซึ่งนับตั้งแต่นายบุญชัย ขายหุ้นบริษัท เมื่อปี 2548 ก็อุทิศตัวทุ่มเทให้กับงานด้านนี้ ทั้งเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยในกรุงเทพฯ มูลค่า 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นกองทุนพิพิธภัณฑ์ภาคเอกชนใหญ่ที่สุดของประเทศ และการทำโครงการสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อช่วยเหลือชุมชน
สปอนเซอร์รายใหญ่ของธรรมกายอู้ฟู้ขนาดไหน ดูจากการจัดอันดับมหาเศรษฐีในไทยที่ฟอร์บส์ระบุว่ามีทรัพย์สินตั้งแต่1,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไปประจำปี 2015 นั้น นายบุญชัย อยู่ในอันดับที่ 25 ถือครองทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ศุภชัย – สหกรณ์คลองจั่นฯ
เป็นข่าวอื้อฉาวรายล่าสุด ก็คือ นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ จากกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แจ้งข้อหานายศุภชัย ยักยอกเงินของสหกรณ์ฯ ทำให้ได้รับความเสียหายกว่า 12,402 ล้านบาท
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. ระบุชัดว่า จากการสอบเส้นทางการเงิน พบว่า นายศุภชัย ได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่วัดพระธรรมกายจำนวน 15 ฉบับ รวมเป็นเงิน714 ล้านบาท และทางวัดพระธรรมกายจำนนต่อหลักฐานที่ ปปง. ตรวจสอบจนยินยอมที่จะคืนเงินบริจาคดังกล่าวคืน เมื่อจำนนต่อหลักฐานดังนี้แล้ว คำถามคือ วัดพระธรรมกาย และพระเทพญาณมหามุนี ผู้เป็นเจ้าอาวาสรู้เห็นเป็นใจกับการทำความผิดกับการยักยอกเงินของนายศุภชัย หรือไม่ ถ้า ปปง.ตรวจสอบพบว่า วัดพระธรรมกายรับรู้ก็จะต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเช่นเดียวกับนายศุภชัย ผู้เป็นศิษย์เอกเช่นกัน
ดีเอสไอ ตรวจสอบถึงไหน ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบเส้นทางการจ่ายเช็ค 878 ฉบับของนายศุภชัย ให้แก่ผู้รับ 7 กลุ่ม ซึ่งผู้รับจะเข้าข่ายความผิดรับของโจร หรือฟอกเงิน ว่าทางเจ้าหน้าที่จะทำการสอบสวนกลุ่มแรกก่อน คือ กลุ่มของนายศุภชัยกับพวก เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ต้องหาหลักและค่อยดำเนินการกลุ่มต่อไป โดยกลุ่มวัดพระธรรมกายเป็นเพียง 1 ใน 7 กลุ่มซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำงานไปพร้อมๆ กัน รวมทั้งต้องออกหนังสือหมายเรียกตามขั้นตอนเพื่อความเหมาะสม
นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน)
ประธานโครงการก่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ ผู้ซึ่งถูกสังคมมองว่าเข้าหาธรรมกายด้วยแรงศรัทธาหรือว่าอาศัยเครือข่ายธรรมกายขยายธุรกิจกันแน่?แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ดูเหมือนจะ win win กันทั้งสองฝ่ายไม่ต่างไปจากทักษิณกับธรรมกาย
นิตยสารผู้จัดการรายเดือน ฉบับเดือนก.พ. 2542 เขียนเรื่อง “อนันต์ อัศวโภคิน ศรัทธา หรือจะขายบุญ?”ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ เพราะเป็นที่รู้กันในบรรดาแวดวงผู้ใกล้ชิดว่า คนอย่างนายอนันต์ ไม่เคยเลื่อมใสศาสนาใดศาสนาหนึ่งอย่างพิเศษมาก่อน อาจจะมีทำบุญตักบาตรในพิธีของศาสนาพุทธบ้าง แต่ไม่ได้ทุ่มเทมากมายอะไรนัก และที่สำคัญเขาเคยเกลียดที่สุดกับลัทธิของการสร้างวัตถุนิยม
ครั้งหนึ่งหากจำกันได้ นายอนันต์ เคยสนับสนุนงานทางด้านการเมืองของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ด้วยซ้ำไป ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า “มหาจำลอง” นั้นเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสำนักสันติอโศก ซึ่งวิถีปฏิบัติต่างกับธรรมกายชนิดคนละขั้วโลกกันเลย เพราะสันติอโศกนั้นผู้ปฏิบัติต้องเคี่ยวกรำตนเองอย่างหนัก ให้ลด ละ เลิก จากกิเลสทั้งหลาย คำถามที่ว่า เขาเกิดความศรัทธาต้องการสร้างบุญขึ้นมาจริงๆ แต่เรื่องของธุรกิจที่เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นเรื่องของจังหวะ หรือเขามองลึกลงไปเห็นเนื้องานที่จะงอกเงยมาจากวัดพระธรรมกาย รวมทั้งกำลังซื้ออันมหาศาลของญาติโยมวัดพระธรรมกายตั้งแต่เริ่มแรก
ภาพของเรื่องนี้ยังได้รับการตอกย้ำ ให้สงสัยลงไปอีกเมื่อบริษัทสยามสินธร บริษัทในเครือแห่งหนึ่งของแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ได้ไปสร้างโครงการสวนตะวันธรรม ภายใต้สโลแกน “บ้านสวยริมทะเสสาบติดธรรมกายเจดีย์”โดยใช้รูปแบบเดียวกับโครงการบ้านสวนธนที่แลนด์ฯ ขายได้ดีมาแล้ว บ้านสวนตะวันธรรม มีทั้งหมด 10 ตึก ตึกละ 22 ยูนิต รวม ทั้งหมด 220 ยูนิต ความสูงตึกละ 6 ชั้น พื้นที่ยูนิตละ 60 ตารางเมตร ขายที่ราคา 1.5 ล้านบาท และเรื่องที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษคือ การสร้างธรรมกายเจดีย์ ซึ่งนายอนันต์ได้เข้าร่วมพิธีสำคัญในการตอกเสาเข็มต้นแรก ในฐานะประธานในพิธีปิดแผ่นทองและตอกเสาเข็มฝ่ายฆราวาส เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2538
ธรรมกายเจดีย์ มีมูลค่าการก่อสร้างกว่า 10,000 ล้าน บาท และบริษัทที่เข้าไปรับงานนี้ก็คือ คริสเตียนีแอนด์นีลเส็น บริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ที่มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ และแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เข้าไปถือหุ้นรายใหญ่ และเม็ดเงินจากการรับงานธรรมกายเจดีย์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ สามารถชี้เป็นชี้ตายให้กับบริษัทและบรรดากลุ่มผู้ถือหุ้นในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540
นายอนันต์ หรือ “เฮียตึ๋ง”เศรษฐี ซึ่งนิตยสารฟอร์บจัดให้เป็นมหาเศรษฐีของไทย อันดับที่ 26 ประจำปี 2557 มีมูลค่าทรัพย์สิน 35,854.50 ล้านบาท นอกจากจะศรัทธาในพลังบุญของธรรมกายแล้ว ยังศรัทธาในพรรคเพื่อไทย โดยเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยยอดเงินบริจาคพรรคการเมือง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ว่า พรรคเพื่อไทย มียอดรับบริจาครวมทั้งหมด 19,918,755บาท ผู้บริจาครายใหญ่ 9 ราย หนึ่งในนั้นคือ นายอนันต์ บริจาค 5 ล้านบาท
ใครๆ ก็รู้ว่า นายอนันต์ มีความใกล้ชิดกับนายทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเมื่อคราวชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดง นายอนันต์ ก็ไปปรากฏตัวในการชุมนุมแสดงพลังของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่บริเวณถนนอักษะ พุทธมณฑลสาย 4 อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2557ก่อนหน้าที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะถูกยึดอำนาจในอีกไม่กี่วันต่อมา
นายสอง วัชรศรีโรจน์
นักลงทุนขาใหญ่ชื่อเสียงกระฉ่อนระหว่างปี 2532 – 2536และทำให้ตลาดหลักทรัพย์สั่นสะเทือนด้วยการซื้อหุ้นธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การหรือบีบีซีถึ