ผมไปเปิดดูพระวินัยปิฎกแล้ว พบว่า มีกรณีที่สามารถเทียบเคียงได้ครับ
คือ กรณี คนรักษาสวนผลไม้ ได้ถวายผลไม้นั้นแด่พระภิกษุ
ประเด็นปัญหา ก็คิอ พระภิกษุในสมัยนั้น ท่านเห็นว่า ผู้รักษาสวน มึหน้าที่ แค่ดูแลรักษา แต่ไม่ใช่เจ้าของ(สวน)
แล้วเขาจะมีสิทธิ มีหน้าที่ ถวายผลไม้นั้น ได้อย่างไร ถ้าหากพวกท่านรับมา ก็อาจต้องอาบัติ ปาราชิก ก็ได้
แต่เมื่อ ภิกษุทั้งหลาย นำเรื่องนี้ มากราบทูลพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า .....
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
เรื่องนี้ คล้ายคลึงกับ กรณีผู้บริหารสหกรณ์ฯ ถวายเงินทำบุญ มากเลยครับท่าน
กล่าวคือ ผู้บริหารสหกรณ์ฯ เป็นเพียงแต่ ผู้ดูแล(และบริหาร)ทรัพย์ แต่ไม่ใช่ เจ้าของทรัพย์
ประเด็น ก็คือ แล้วพระ กับ วัด จะรับเงินบริจาค จากผู้บริหารสหกรณ์ได้อย่างไร ?
1 ถ้าเงินนั้น เป็นเงินของผู้บริหารสหกรณ์ฯเอง เช่น เป็นเงินค่าจ้าง สมบัติส่วนตัว กรณีเช่นนี้ วัด ก็รับบริจาคได้ครับ ไม่มีปัญหาเลย
2 ถ้าเงินนั้น เจ้าของทรัพย์ คือ สหกรณ์ โดยคณะผู้บริหาร หรือ บอร์ด หรือ ฯลฯ อนุมัติ อนุญาต ให้บริจาคทำบุญ ได้ ก็ไม่มีปัญหาครับ
3 จนแม้แต่ ผู้บริหารสหกรณ์ ถือวิสาสะ ทำเองโดยพลการ เช่น ใช้เงินทดรองจ่าย มาทำบุญ เป็นต้น
กรณีอย่างนี้ พระ หรือ วัด ก็ไม่ผิด ไม่ต้องอาบัติปาราชิก เช่นกันครับ
แต่ปัญหา ก็คือ เอาเข้าจริงแล้ว พระ หรือ วัด ไม่ทราบหรอกครับ ว่าผู้บริหารสหกรณ์ นำเงินอะไรมาบริจาค
เมื่อไม่รู้ ไม่ทราบ แล้วจะมาปรับอาบัติปาราชิกอะไรได้หละครับ
ก็ขนาดพระพุทธเจ้า ยังไม่ทรงปรับอาบัติเลย แล้วเหตุใด ชาวพุทธสมัยนี้ จึงจะทำตัว เก่งเหนือพระพุทธเจ้า กันไปเสียได้หละครับ ?
อนุโมทนา ครับท่าน
เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง
[๑๖๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะม่วงได้ถวายผลมะม่วงแก่ภิกษุทั้งหลายๆ
รังเกียจอยู่ว่า
คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาชมพู่ ได้ถวายผลชมพู่แก่ภิกษุทั้งหลายๆ มีความ-
*รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้
มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุนสำมะลอ ได้ถวายผลขนุนสำมะลอแก่ภิกษุ-
*ทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุน ได้ถวายผลขนุนแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจ
อยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ
ภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาผลตาลสุก ได้ถวายผลตาลสุกแก่ภิกษุทั้งหลายๆ
รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้
มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาอ้อย ได้ถวายอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า
คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะพลับ ได้ถวายผลมะพลับแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รัง-
*เกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้
มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=6656&Z=7435
ใน๑- คำนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย ซึ่งมีอยู่ในเรื่องทั้งหลายมีเรื่องคนรักษามะม่วงเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ถามว่า คนรักษาถวายเท่าไร จึงควร? ถวายเท่าไร ไม่ควร?
แก้ว่า พระมหาสุมัตเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ผลไม้ใดซึ่งคนรักษากำหนดถวายด้วยคำว่า พระคุณเจ้าจงถือเอาผลไม้มีประมาณเท่านี้ทุกวันๆ ผลไม้นั้นนั่นแหละย่อมควร เขาถวายเกินไปกว่านั้นไม่ควร.
ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวไว้ว่า หนังสือที่พวกคนรักษาเขียนไว้ หรือทำสัญญาเครื่องหมายถวายไว้ จะมีประโยชน์อะไร? คนรักษาเหล่านั้นก็เป็นอิสระแห่งผลไม้ที่เขาสละแล้วในมือของพวกเขา เพราะเหตุนั้น ผลไม้ซึ่งคนรักษาเหล่านั้นถวายแม้มากก็ควร.
____________________________
๑- แปลตามอัตถโยชนา ๑/๓๕๕-๓๕๖.
ส่วนในอรรถกถากุรุนที ท่านกล่าวว่า พวกเด็กหนุ่มของชาวบ้านย่อมรักษาสวน หรือผลไม้น้อยใหญ่อย่างอื่นไว้, ผลไม้น้อยใหญ่ที่เด็กหนุ่มเหล่านั้นถวาย ย่อมควร, แต่ภิกษุไม่ควรใช้ให้พวกเด็กนำมาแล้วจึงรับ, การถวายผลไม้ของชนผู้รับเช่ารักษาสวนของสงฆ์และของเจดีย์นั่นแหละ ย่อมควร, การถวายของชนผู้รักษาด้วยสินจ้างเพียงส่วนของตน จึงควร.
ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า
พวกลูกจ้างผู้รักษาสวนของคฤหัสถ์ถวายผลไม้ใดแก่ภิกษุทั้งหลาย ผลไม้นั้นย่อมควร, พวกคนผู้รักษาสวนของภิกษุสงฆ์ แบ่งผลไม้ใดจากค่าจ้างของตนถวาย ผลไม้นั้นก็สมควร, แม้ผู้ใดได้รับค่าจ้างแล้วจึงรักษาสวนเพียงกึ่งหนึ่ง หรือต้นไม้บางชนิดเท่านั้น, การถวายผลไม้จากต้นไม้ที่ถึงแก่ตนนั่นเองแม้ของผู้นั้น ก็ควร, แต่สำหรับชนผู้รับเช่ารักษาสวนจะถวายผลไม้ทั้งหมด ก็ควร.
ก็คำที่ท่านกล่าวมานั่นทั้งหมดต่างกันแต่โดยพยัญชนะ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรทราบความอธิบายแล้ว จึงถือเอา.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=126
ผู้บริหารสหกรณ์ฯ ถวายเงินบริจาคให้วัด พระต้องอาบัติปาราชิก หรือไม่ ? ดูพระวินัยกันครับ
คือ กรณี คนรักษาสวนผลไม้ ได้ถวายผลไม้นั้นแด่พระภิกษุ
ประเด็นปัญหา ก็คิอ พระภิกษุในสมัยนั้น ท่านเห็นว่า ผู้รักษาสวน มึหน้าที่ แค่ดูแลรักษา แต่ไม่ใช่เจ้าของ(สวน)
แล้วเขาจะมีสิทธิ มีหน้าที่ ถวายผลไม้นั้น ได้อย่างไร ถ้าหากพวกท่านรับมา ก็อาจต้องอาบัติ ปาราชิก ก็ได้
แต่เมื่อ ภิกษุทั้งหลาย นำเรื่องนี้ มากราบทูลพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ..... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
เรื่องนี้ คล้ายคลึงกับ กรณีผู้บริหารสหกรณ์ฯ ถวายเงินทำบุญ มากเลยครับท่าน
กล่าวคือ ผู้บริหารสหกรณ์ฯ เป็นเพียงแต่ ผู้ดูแล(และบริหาร)ทรัพย์ แต่ไม่ใช่ เจ้าของทรัพย์
ประเด็น ก็คือ แล้วพระ กับ วัด จะรับเงินบริจาค จากผู้บริหารสหกรณ์ได้อย่างไร ?
1 ถ้าเงินนั้น เป็นเงินของผู้บริหารสหกรณ์ฯเอง เช่น เป็นเงินค่าจ้าง สมบัติส่วนตัว กรณีเช่นนี้ วัด ก็รับบริจาคได้ครับ ไม่มีปัญหาเลย
2 ถ้าเงินนั้น เจ้าของทรัพย์ คือ สหกรณ์ โดยคณะผู้บริหาร หรือ บอร์ด หรือ ฯลฯ อนุมัติ อนุญาต ให้บริจาคทำบุญ ได้ ก็ไม่มีปัญหาครับ
3 จนแม้แต่ ผู้บริหารสหกรณ์ ถือวิสาสะ ทำเองโดยพลการ เช่น ใช้เงินทดรองจ่าย มาทำบุญ เป็นต้น
กรณีอย่างนี้ พระ หรือ วัด ก็ไม่ผิด ไม่ต้องอาบัติปาราชิก เช่นกันครับ
แต่ปัญหา ก็คือ เอาเข้าจริงแล้ว พระ หรือ วัด ไม่ทราบหรอกครับ ว่าผู้บริหารสหกรณ์ นำเงินอะไรมาบริจาค
เมื่อไม่รู้ ไม่ทราบ แล้วจะมาปรับอาบัติปาราชิกอะไรได้หละครับ
ก็ขนาดพระพุทธเจ้า ยังไม่ทรงปรับอาบัติเลย แล้วเหตุใด ชาวพุทธสมัยนี้ จึงจะทำตัว เก่งเหนือพระพุทธเจ้า กันไปเสียได้หละครับ ?
อนุโมทนา ครับท่าน
เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง
[๑๖๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะม่วงได้ถวายผลมะม่วงแก่ภิกษุทั้งหลายๆ
รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาชมพู่ ได้ถวายผลชมพู่แก่ภิกษุทั้งหลายๆ มีความ-
*รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้
มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุนสำมะลอ ได้ถวายผลขนุนสำมะลอแก่ภิกษุ-
*ทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุน ได้ถวายผลขนุนแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจ
อยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ
ภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาผลตาลสุก ได้ถวายผลตาลสุกแก่ภิกษุทั้งหลายๆ
รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้
มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาอ้อย ได้ถวายอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า
คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะพลับ ได้ถวายผลมะพลับแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รัง-
*เกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้
มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=6656&Z=7435
ใน๑- คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย ซึ่งมีอยู่ในเรื่องทั้งหลายมีเรื่องคนรักษามะม่วงเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ถามว่า คนรักษาถวายเท่าไร จึงควร? ถวายเท่าไร ไม่ควร?
แก้ว่า พระมหาสุมัตเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ผลไม้ใดซึ่งคนรักษากำหนดถวายด้วยคำว่า พระคุณเจ้าจงถือเอาผลไม้มีประมาณเท่านี้ทุกวันๆ ผลไม้นั้นนั่นแหละย่อมควร เขาถวายเกินไปกว่านั้นไม่ควร. ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวไว้ว่า หนังสือที่พวกคนรักษาเขียนไว้ หรือทำสัญญาเครื่องหมายถวายไว้ จะมีประโยชน์อะไร? คนรักษาเหล่านั้นก็เป็นอิสระแห่งผลไม้ที่เขาสละแล้วในมือของพวกเขา เพราะเหตุนั้น ผลไม้ซึ่งคนรักษาเหล่านั้นถวายแม้มากก็ควร.
____________________________
๑- แปลตามอัตถโยชนา ๑/๓๕๕-๓๕๖.
ส่วนในอรรถกถากุรุนที ท่านกล่าวว่า พวกเด็กหนุ่มของชาวบ้านย่อมรักษาสวน หรือผลไม้น้อยใหญ่อย่างอื่นไว้, ผลไม้น้อยใหญ่ที่เด็กหนุ่มเหล่านั้นถวาย ย่อมควร, แต่ภิกษุไม่ควรใช้ให้พวกเด็กนำมาแล้วจึงรับ, การถวายผลไม้ของชนผู้รับเช่ารักษาสวนของสงฆ์และของเจดีย์นั่นแหละ ย่อมควร, การถวายของชนผู้รักษาด้วยสินจ้างเพียงส่วนของตน จึงควร.
ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า พวกลูกจ้างผู้รักษาสวนของคฤหัสถ์ถวายผลไม้ใดแก่ภิกษุทั้งหลาย ผลไม้นั้นย่อมควร, พวกคนผู้รักษาสวนของภิกษุสงฆ์ แบ่งผลไม้ใดจากค่าจ้างของตนถวาย ผลไม้นั้นก็สมควร, แม้ผู้ใดได้รับค่าจ้างแล้วจึงรักษาสวนเพียงกึ่งหนึ่ง หรือต้นไม้บางชนิดเท่านั้น, การถวายผลไม้จากต้นไม้ที่ถึงแก่ตนนั่นเองแม้ของผู้นั้น ก็ควร, แต่สำหรับชนผู้รับเช่ารักษาสวนจะถวายผลไม้ทั้งหมด ก็ควร.
ก็คำที่ท่านกล่าวมานั่นทั้งหมดต่างกันแต่โดยพยัญชนะ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรทราบความอธิบายแล้ว จึงถือเอา.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=126