ปฏิจจสมุปบาท หรือ law of causality คือต้นเหตุให้เกิดสิ่งต่างๆหรือธรรมทั้งหลายที่ต่อเนื่องอาศัยกันจริงหรือ?

คือถ้ามองในระดับชีวิตประจำวัน เหตุและผล เป็นสิ่งถูกต้อง
เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมีต่อเนื่องกันไป แต่อันนี้คือในระดับสิ่งมีชีวิตประจำวันดูอธิบายได้ดี ใช้ได้ดีมาก
แต่ธรรมชาติลึกซึ้งกว่านั้นการกระทำที่เราเห็น เปรียบดังเงาพาดผนังถ้ำของคนเคลื่อนที่ไปมาในถ้ำเพราะกองไฟ
เราเห็นเงา แต่เราไม่ได้เห็นคนจริงๆ

1 พอมองไปลึกๆ ระดับพื้นฐานสุดของธรรมชาติแล้ว มันไม่มีเหตุผล แต่มันเป็นเช่นนั้นเอง
ควรเรียกว่า ตถตามากกว่า เช่นในหนังสือฟิสิกส์ลึกๆ จะไม่มีcause and effect แต่จะมีเพราะมันเป็นอย่างนั้นเลย
เช่น field, space-time, equation of motion
คือพอถึงระดับฐานสุดของธรรมชาติแล้ว มันจะไม่มี causality แล้ว มันเป็นอย่างนั้นก็เพราะมันเป็นแบบนั้น
ไม่สามารถหาเหตุผลสืบสาวต่อไปได้อีก

2 อีกประเด็นเหตุและผลเกิดจากการเคลื่อนที่ของเวลา เหตุเกิดก่อนแล้วจึงมีผลตามมา นั้นเวลาเป็นสิ่งจำเป็น แต่พื้นฐานสุดๆในธรรมชาติไม่จำเป็นต้องมีเวลาก็ได้ เพราะถ้าไม่มี space ก็ไม่มี time เพราะมันเกี่ยวเนื่องกันเป็น spacetime ดังนั้น เหตุและผลจึงไม่ใช่สิ่งมูลฐานสุดในธรรมชาติ

3 นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงมาก เบอนาด รัสเซลบอกว่ากฎนี้มันเป็นของเก่า ของสะสม ล้าสมัยไปแล้ว
“The law of causality, I believe, like much that passes muster among philosophers, is a relic of a bygone age, surviving, like the monarchy, only because it is erroneously supposed to do no harm.”

http://www.goodreads.com/quotes/73992-the-law-of-causality-i-believe-like-much-that-passes

นั้นสิ่งต่างๆหรือธรรมต่างๆที่อาศัยต่อเนื่องกันแล้วกัน พื้นฐานสุดแล้วมาจาก  ตถตา ไม่ใช่ ปฏิจจสมุปบาท
คนเข้าใจผิดกันหมดมานาน หรือเปล่า โปรดแสดงความเห็น
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่