สวัสดีครับ กระทู้นี้เป็นกระทู้แรกของผมในเว็บนี้ ภาพถ่ายเซทนี้เป็นภาพถ่ายที่ถ่ายเก็บไว้น่าจะราว1ปีก่อนตอนที่ผมเพิ่งเรียนจบใหม่ๆ และเริ่มต้นเก็บภาพในฐานะบันทึกกรุงเทพมหานคร
ภาพเซทนี้เป็นเซทแรกหลังที่ผมถอยเลนส์50 1.8 Stm ของ Canon มาได้1วัน และเอาไปลองถ่ายStreet Photography หรือภาพถ่ายชีวิตคนบนท้องถนนนั่นแหละ
จุดประสงค์ก็คืออยากนำเสนอภาพถ่ายเรื่องราวของสถานที่ในกรุงเทพมหานครผ่านมุมมองของตัวเอง
ส่วนข้อเขียนด้านล่างผมเคยเขียนใส่ไว้ในWord Press ของตัวเอง เป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานีรถไฟหัวลำโพง
ติชมได้ครับ
https://lifesfield.wordpress.com/2015/10/28/through-the-50mm-lens-%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%87-bangkok-thailand/
-หากเรานึกถึงบริการขนส่งมวลชน ส่วนใหญ่คนในเมืองก็จะมักนึกถึงรถเมล์ประจำทาง แต่หากมองให้ลึกไปถึงขนส่งมวลชนที่ไปได้ทุกจังหวัดและพื้นที่ รวมถึงเชื่อมต่อจังหวัดต่างๆ เข้าด้วยกัน เราอาจปฏิเสธไม่ได้ที่จะพูดถึงรถไฟ และเมื่อนึกถึงรถไฟ ภาพสถานีรถไฟภาพแรกๆ ที่จะปรากฏขึ้นก็คือสถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ และเชิงสังคมศาสตร์
-ทางด้านประวัติศาสตร์ สถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มสร้างปี พ.ศ.2453 และเสร็จสิ้น รวมถึงเริ่มใช้งานในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 โดยสถานีรถไฟหัวลำโพงนี้ เดิมทีถูกเรียกว่าสถานีรถไฟกรุงเทพ ส่วนชื่อหัวลำโพงนั้นเป็นคำนิยมเรียกซึ่งไม่มีที่มาชัดเจน โดยมีข้อมูลว่า “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 อย่างไรก็ตามชาวบ้านนิยมเรียกว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง มากกว่า อันมาจากชื่อคลองและทุ่งซึ่งฝูงวัววิ่งกันอย่างคึกคะนองอยู่กลางทุ่งจึงเรียกว่า ‘ทุ่งวัวลำพอง’ และได้เพี้ยนเสียงมาเป็น ‘หัวลำโพง’ ในภายหลัง บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ‘ต้นลำโพง’ ซึ่งเคยมีมากในบริเวณนี้” (
http://www.sarakadee.com/2012/08/16/hualampong/)
-ในเชิงสังคมศาสตร์นั้นเราอาจกล่าวได้ว่าสถานีรถไฟหัวลำโพงนอกจากจะมีความสำคัญในการสร้างความเจริญด้านการขนส่ง (ทั้งการเดินทางของผู้คน และการค้า) แล้วนั้น สถานีรถไฟหัวลำโพงยังเป็นดังจุดเชื่อมต่อความเจริญของเมืองกรุงเทพมหานครเข้ากับจังหวัดต่างๆ
-ด้วยลักษณะการบริหารจัดการของรัฐไทยที่ผ่านมาทุกยุคสมัยที่เน้นความเจริญแบบเมืองโตเดี่ยว หรือกล่าวอีกนัยคือการทำสร้างความเจริญด้านเศรษฐกิจโดยใช้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง ทำให้หัวลำโพงซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุด รวมไปถึงเป็นการเดินทางเข้าสู่เมืองหลวงที่มีราคาถูกที่สุด กลายเป็นดังศูนย์รวมของผู้คนมากหน้าหลายตาที่เดินทางเข้าสู่เมืองใหญ่ กลับออกไปสู่ภูมิลำเนา ตลอดจนหาเลี้ยงชีพกับอาชีพที่เกี่ยวกันกับสถานีรถไฟหัวลำโพง (คนขับแท็กซี่ พนักงานการรถไฟ แม่ค้าแม่ขาย ไปจนถึงวณิพก)
-จากปี พ.ศ.2459 มาจนถึงเวลาที่ผู้เขียนกำลังพิมพ์สิ่งที่ท่านกำลังอ่าน เวลาก็ล่วงเลยมากว่า100ปี ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงได้หยัดยืนตระหง่าน เป็นดังประตูแรกแห่งเมืองหลวง และยังคงเป็นที่พึ่งพิงด้านการเดินทางของผู้คนจำนวนมาก ด้วยการที่รถไฟยังคงเป็นขนส่งมวลชนระยะไกลที่มีราคาถูกที่สุดในระดับที่คนทุกระดับจะสามารถเข้าถึงและเดินทางไกลได้ กระนั้นในปัจจุบันการเดินทางด้วยรถไฟก็ไม่ได้มีเฉพาะคนมีรายได้น้อย การรถไฟมีรถไฟหลายระดับ หลากความสะดวกสบายบริการตามราคา ทำให้ผู้คนที่ใช้บริการมีอย่างหลากหลาย รวมไปถึงเหล่านักศึกษาและนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งที่ต้องการท่องเที่ยวด้วยราคาถูก และเสพบรรยากาศรถไฟแบบไทยแท้ๆ ซึ่งเก่าแก่และคลาสสิค ผ่านการโดยสารรถไฟฟรี และรถไฟราคาถูก ร่วมไปกับผู้คนอันหลากหลายบนเส้นทางของบริการสาธารณะที่ทุกคนสามารถร่วมทางไปได้
-เราอาจกล่าวได้ว่าบรรยากาศของหัวลำโพงสะท้อนความเป็นอยู่ที่แท้จริงของสังคมไทย เนื่องด้วยความหลากหลายของผู้คนที่ผ่านไปมาและดำรงอยู่ไปพร้อมๆ กับหัวลำโพง เมืองใหญ่อาจขยายตัวมากขึ้น มีความเจริญทางเศรษฐกิจมากขึ้น แต่หัวลำโพงก็ยังคงเป็นหัวลำโพง ผู้คนเดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อมาทำงานในเมืองก่อน เดินทางกลับอย่างเนืองแน่นในช่วงเทศกาล (ในปัจจุบันด้วยรายได้ของผู้คนบางกลุ่มที่มากขึ้น สถานีรถหมอชิตก็เป็นอีกสถานที่ที่แบ่งเบาความหนาแน่นของหัวลำโพงไป)
-บรรยากาศของหัวลำโพงนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนสถานที่ใด นอกจากผู้คนอันหลากหลายแล้วนั้น ที่แห่งนี้ยังเสมือนเป็นบ้านของผู้คนจำนวนหนึ่ง คนไร้บ้านหลบหลับนอนในเวลากลางคืน เจ้าหน้าที่รถไฟเอนหลังบนรถเข็นสัมภาระ คุณลุงคุณป้าทานข้าวบนม้านั่งรอรถไฟที่มาช้ากว่าเวลา โลกยังคงหมุนไป ประเทศไทยกำลังถูกขับเคลื่อนไปช้าๆ แต่หัวลำโพง ก็ยังคงเป็นหัวลำโพง
สุดท้ายนี้ ก็ต้องทำมาหากินครับ
ฝากเพจครับ รับถ่ายทุกอย่าง ฮ่าๆๆๆ
https://www.facebook.com/lifesfieldphoto/
หัวลำโพง In B&W
ภาพเซทนี้เป็นเซทแรกหลังที่ผมถอยเลนส์50 1.8 Stm ของ Canon มาได้1วัน และเอาไปลองถ่ายStreet Photography หรือภาพถ่ายชีวิตคนบนท้องถนนนั่นแหละ
จุดประสงค์ก็คืออยากนำเสนอภาพถ่ายเรื่องราวของสถานที่ในกรุงเทพมหานครผ่านมุมมองของตัวเอง
ส่วนข้อเขียนด้านล่างผมเคยเขียนใส่ไว้ในWord Press ของตัวเอง เป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานีรถไฟหัวลำโพง
ติชมได้ครับ
https://lifesfield.wordpress.com/2015/10/28/through-the-50mm-lens-%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%87-bangkok-thailand/
-หากเรานึกถึงบริการขนส่งมวลชน ส่วนใหญ่คนในเมืองก็จะมักนึกถึงรถเมล์ประจำทาง แต่หากมองให้ลึกไปถึงขนส่งมวลชนที่ไปได้ทุกจังหวัดและพื้นที่ รวมถึงเชื่อมต่อจังหวัดต่างๆ เข้าด้วยกัน เราอาจปฏิเสธไม่ได้ที่จะพูดถึงรถไฟ และเมื่อนึกถึงรถไฟ ภาพสถานีรถไฟภาพแรกๆ ที่จะปรากฏขึ้นก็คือสถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ และเชิงสังคมศาสตร์
-ทางด้านประวัติศาสตร์ สถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มสร้างปี พ.ศ.2453 และเสร็จสิ้น รวมถึงเริ่มใช้งานในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 โดยสถานีรถไฟหัวลำโพงนี้ เดิมทีถูกเรียกว่าสถานีรถไฟกรุงเทพ ส่วนชื่อหัวลำโพงนั้นเป็นคำนิยมเรียกซึ่งไม่มีที่มาชัดเจน โดยมีข้อมูลว่า “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 อย่างไรก็ตามชาวบ้านนิยมเรียกว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง มากกว่า อันมาจากชื่อคลองและทุ่งซึ่งฝูงวัววิ่งกันอย่างคึกคะนองอยู่กลางทุ่งจึงเรียกว่า ‘ทุ่งวัวลำพอง’ และได้เพี้ยนเสียงมาเป็น ‘หัวลำโพง’ ในภายหลัง บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ‘ต้นลำโพง’ ซึ่งเคยมีมากในบริเวณนี้” (http://www.sarakadee.com/2012/08/16/hualampong/)
-ในเชิงสังคมศาสตร์นั้นเราอาจกล่าวได้ว่าสถานีรถไฟหัวลำโพงนอกจากจะมีความสำคัญในการสร้างความเจริญด้านการขนส่ง (ทั้งการเดินทางของผู้คน และการค้า) แล้วนั้น สถานีรถไฟหัวลำโพงยังเป็นดังจุดเชื่อมต่อความเจริญของเมืองกรุงเทพมหานครเข้ากับจังหวัดต่างๆ
-ด้วยลักษณะการบริหารจัดการของรัฐไทยที่ผ่านมาทุกยุคสมัยที่เน้นความเจริญแบบเมืองโตเดี่ยว หรือกล่าวอีกนัยคือการทำสร้างความเจริญด้านเศรษฐกิจโดยใช้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง ทำให้หัวลำโพงซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุด รวมไปถึงเป็นการเดินทางเข้าสู่เมืองหลวงที่มีราคาถูกที่สุด กลายเป็นดังศูนย์รวมของผู้คนมากหน้าหลายตาที่เดินทางเข้าสู่เมืองใหญ่ กลับออกไปสู่ภูมิลำเนา ตลอดจนหาเลี้ยงชีพกับอาชีพที่เกี่ยวกันกับสถานีรถไฟหัวลำโพง (คนขับแท็กซี่ พนักงานการรถไฟ แม่ค้าแม่ขาย ไปจนถึงวณิพก)
-จากปี พ.ศ.2459 มาจนถึงเวลาที่ผู้เขียนกำลังพิมพ์สิ่งที่ท่านกำลังอ่าน เวลาก็ล่วงเลยมากว่า100ปี ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงได้หยัดยืนตระหง่าน เป็นดังประตูแรกแห่งเมืองหลวง และยังคงเป็นที่พึ่งพิงด้านการเดินทางของผู้คนจำนวนมาก ด้วยการที่รถไฟยังคงเป็นขนส่งมวลชนระยะไกลที่มีราคาถูกที่สุดในระดับที่คนทุกระดับจะสามารถเข้าถึงและเดินทางไกลได้ กระนั้นในปัจจุบันการเดินทางด้วยรถไฟก็ไม่ได้มีเฉพาะคนมีรายได้น้อย การรถไฟมีรถไฟหลายระดับ หลากความสะดวกสบายบริการตามราคา ทำให้ผู้คนที่ใช้บริการมีอย่างหลากหลาย รวมไปถึงเหล่านักศึกษาและนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งที่ต้องการท่องเที่ยวด้วยราคาถูก และเสพบรรยากาศรถไฟแบบไทยแท้ๆ ซึ่งเก่าแก่และคลาสสิค ผ่านการโดยสารรถไฟฟรี และรถไฟราคาถูก ร่วมไปกับผู้คนอันหลากหลายบนเส้นทางของบริการสาธารณะที่ทุกคนสามารถร่วมทางไปได้
-เราอาจกล่าวได้ว่าบรรยากาศของหัวลำโพงสะท้อนความเป็นอยู่ที่แท้จริงของสังคมไทย เนื่องด้วยความหลากหลายของผู้คนที่ผ่านไปมาและดำรงอยู่ไปพร้อมๆ กับหัวลำโพง เมืองใหญ่อาจขยายตัวมากขึ้น มีความเจริญทางเศรษฐกิจมากขึ้น แต่หัวลำโพงก็ยังคงเป็นหัวลำโพง ผู้คนเดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อมาทำงานในเมืองก่อน เดินทางกลับอย่างเนืองแน่นในช่วงเทศกาล (ในปัจจุบันด้วยรายได้ของผู้คนบางกลุ่มที่มากขึ้น สถานีรถหมอชิตก็เป็นอีกสถานที่ที่แบ่งเบาความหนาแน่นของหัวลำโพงไป)
-บรรยากาศของหัวลำโพงนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนสถานที่ใด นอกจากผู้คนอันหลากหลายแล้วนั้น ที่แห่งนี้ยังเสมือนเป็นบ้านของผู้คนจำนวนหนึ่ง คนไร้บ้านหลบหลับนอนในเวลากลางคืน เจ้าหน้าที่รถไฟเอนหลังบนรถเข็นสัมภาระ คุณลุงคุณป้าทานข้าวบนม้านั่งรอรถไฟที่มาช้ากว่าเวลา โลกยังคงหมุนไป ประเทศไทยกำลังถูกขับเคลื่อนไปช้าๆ แต่หัวลำโพง ก็ยังคงเป็นหัวลำโพง
สุดท้ายนี้ ก็ต้องทำมาหากินครับ
ฝากเพจครับ รับถ่ายทุกอย่าง ฮ่าๆๆๆ
https://www.facebook.com/lifesfieldphoto/