ดังสั่นโลก 103 ปี "หัวลำโพง"

โพสท์โดย  kamimura

เพราะวันนี้เมื่อ 103 ปีที่แล้วตรงกับ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 เป็นวันที่สถานีรถไฟหัวลำโพงได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งตรงกับสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  


สถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง  
ปัจจุบันมีรถไฟให้บริการ 200 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารที่มาใช้บริการที่สถานีกรุงเทพหลายหมื่นคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2561)

ลักษณะทางศิลปกรรมของ สถานีรถไฟหัวลำโพง  อ้างอิงจาก ผู้จัดทำข้อมูล พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ , ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล สถานีรถไฟหัวลำโพงนี้เป็นสถานีรถไฟแบบปลายตัน
ประกอบด้วยอาคาร 2 ส่วนเชื่อมต่อกัน คือโถงระเบียงหน้าสถานีและโถงชานชาลา โถงระเบียงหน้าออกแบบโดยนายมาริโอ ตามาญโญในปี พ.ศ. 2455 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459

มีผังเป็นรูปตัว E มีมุขกลางขนาดใหญ่มีหลังคาโค้ง ปลายสองด้านเป็นป้อมรูปสี่เหลี่ยมเชื่อมต่อกันด้วยระเบียงยาวชั้นเดียว ใช้เสาไอโอนิครับน้ำหนัก
ส่วนโถงชานชาลาสร้างขึ้นก่อนโดยนายเกอร์เบอร์ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2455 เป็นอาคารโถงหลังคาโค้งกว้างทำด้วยเหล็ก ผนังด้านหน้ากรุแผ่นกระจกเล็กๆเรียงกัน มีหอคอยสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ปลายปีกทั้งสองด้าน

เดิมทีสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟหัวลำโพงให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ

ที่มาของคำว่า “หัวลำโพง”

คำว่า “หัวลำโพง” มักสันนิษฐานตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่าตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ซึ่งเคยมีมากในบริเวณนี้ จึงเรียกว่า ทุ่งหัวลำโพง หรือ ทุ่งวัวลำพอง ซึ่งแต่เดิมคงเคยเป็นที่เลี้ยงวัวของแขก

และอีกแนวนึงมองว่า อาจจะเป็นคำผสมทั้งภาษาไทยกับภาษามลายู จากคำว่า ขัว ในภาษาไทย ซึ่งแปลว่า สะพาน กับคำว่า lampung ในภาษามลายู (ออกเสียง ลำพุง) แปลว่า ชั่วคราว, ลอย ขัวลำพุง จึงหมายถึง สะพานชั่วคราว (ทอดข้ามหรือลอยในลำน้ำ) กลายเป็นหัวลำโพง เพื่อสะดวกการออกเสียงของชาวไทยไปในที่สุด


โอกาสครบรอบ 103 ปี  เว็บไซต์ google ปรับเปลี่ยนหน้าตา doodle เป็นภาพสถานีหัวลำโพง สถานีเก่าแก่และคลาสสิกสุดในโลก

กิจการรถไฟในปัจจุบัน มีเส้นทางที่ออกจากสถานีหัวลำโพง จำนวน 4 สาย ได้แก่
ทางรถไฟสายเหนือ ต้นทางอยู่ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ ปลายทาง สถานีรถไฟเชียงใหม่ ระยะทาง 751.42 กิโลเมตร

ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นทางอยู่ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจะแยกออกเป็น 2 สาย ดังนี้
ปลายทางสถานีรถไฟอุบลราชธานี ระยะทาง 575.10 กิโลเมตร
ปลายทางสถานีรถไฟหนองคาย ระยะทาง 621.10 กิโลเมตร
ทางรถไฟสายตะวันออก ต้นทางสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราแล้วแยกออกเป็น 2 สาย คือ
ปลายทางสถานีรถไฟอรัญประเทศ ระยะทาง 254.50 กิโลเมตร
ปลายทางสถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวง ระยะทาง 184.03 กิโลเมตร
ทางรถไฟสายใต้ต้นทางสถานีกรุงเทพ และสถานีธนบุรีเมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่แล้วแยกออกเป็น 2 สาย คือ
ปลายทางสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 973.84 กิโลเมตร (นับถึงสถานีรถไฟปาดังเบซาร์)
ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ระยะทาง 1,142.99 กิโลเมตร
การใช้บริการ รถไฟ ในปัจจุบัน ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมท่องเที่ยว และ กิจกรรมย้อนยุค เนื่องจากผู้คนในอดีตนิยมใช้บริการรถไฟสัญจร เนื่องจากสะดวก

ล่าสุดสื่อที่ช่วยสร้างกระแสให้รถไฟไทยคือ ละครเรื่อง กรงกรรม บทประพันธ์ของ จุฬามณี หรือ นพนธ์ นครสวรรค์ เป็นละครย้อนยุคที่เกิดจากอำเภอต่างๆ ในนครสวรรค์
ซึ่งการสัญจรที่สะดวกที่สุดคือ รถไฟไทย ทั้งสถานนีชุมแสง สถานีไพศาลี สถานีตาคลี เป็นต้น

ขอขอบคุณที่มา:
https://www.zcooby.com/hua-lamphong-bangkok-railway-station/
POSTJUNG
ข้อมูล :Google  ,Wikipedia (สถานีรถไฟกรุงเทพ)
medhubnews.com
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่