คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
เห็นด้วย...เด็ก ๆ เรียนภาษาอังกฤษ นั่งขำทั้งวัน กลั้นหัวเราะไม่ได้
แต่ตอนนี้...กลับกันคือถ้าได้ยินคนพูดสำเนียงไม่ตรงจะรู้สึกขำแทน
.................................................................................................
ใช่เลย ภาษาไทยใช้แต่งเพลงยาก โดยเฉพาะเพลงแบบตะวันตก
ที่สร้างเมโลดี้แปลกใหม่ตลอดเวลา เช่น เพลงแร๊ป เพลงละครเวที
.................................................................................................
แต่เทียบกับภาษาจีน(ซึ่งคล้ายกัน) ภาษาไทยจะร้องได้ลื่นไหลกว่า
เพราะ...
1.แม้คำโดดเหมือนกัน แต่เสียงวรรณยุกต์ไทยจะผ่อนคลายกว่าจีน
คือ มีแค่เสียงเอก โท เป็นหลัก เสียงตรี จัตวา มักเป็นคำยืมจากจีน
ทำให้เมื่อร้องเพลงเกิดเสียงวรรณยุกต์ต้านเมโลดี้น้อยกว่าโดยเฉลี่ย
2.คำไทยมีคำบาลีสันสกฤตอยู่เยอะมาก ซึ่งมีระบบเสียงที่เรียบง่าย
คล้ายระบบเสียงของภาษาญี่ปุ่น เช่น พาสา วัดทะนะทัม ดนตรี กะวี
3.นักแต่งเพลงที่เก่งกาพย์กลอนมักเลือกใช้คำโดยคำนึงถึงวรรณยุกต์
จนเกิดเพลงสมัยใหม่ที่เสียงต้านเมโลดีน้อยแต่ยังคงสื่อความหมายได้
4.นักร้องที่กล้าผันเสียงแชร์ระหว่างการสื่อความหมายกับความไพเราะ
จนคนไทยเข้าใจสุนทรียศาสตร์ และยอมรับได้เช่น คริสติน่า อากีล่าร์
ที่ปรับคำไทยให้เสียงใสกังวาลเป็นธรรมชาติของปากที่ถูกหลักดนตรี
และเอื้อนเสียงวรรณยุกต์ให้ตรงเมโลดี้ที่ไพเราะ แต่ยังคงสื่อความได้
.................................................................................................
จนปัจจุบัน...เพลงไทยใหม่ๆ คนต่างชาติฟังแทบไม่รู้สึกถึงวรรณยุกต์
ตัวอย่าง...เพลง"จะบอกเธอว่ารัก"
สังเกต...
-สระผสมที่ออกยากเช่น เอือ อัว จะลดรูปรวบคำให้ตรงจังหวะมากขึ้น
-ลดเสียงชักกระตุกของตัวสะกดลงเช่น "อ่อนแอ"กลายเป็น"อ่อน-แน"
-แทบไม่รู้สึกเสียงต้านวรรณยุกต์เลย ด้วยการเลือกคำ และการเอื้อน
แต่ตอนนี้...กลับกันคือถ้าได้ยินคนพูดสำเนียงไม่ตรงจะรู้สึกขำแทน
.................................................................................................
ใช่เลย ภาษาไทยใช้แต่งเพลงยาก โดยเฉพาะเพลงแบบตะวันตก
ที่สร้างเมโลดี้แปลกใหม่ตลอดเวลา เช่น เพลงแร๊ป เพลงละครเวที
.................................................................................................
แต่เทียบกับภาษาจีน(ซึ่งคล้ายกัน) ภาษาไทยจะร้องได้ลื่นไหลกว่า
เพราะ...
1.แม้คำโดดเหมือนกัน แต่เสียงวรรณยุกต์ไทยจะผ่อนคลายกว่าจีน
คือ มีแค่เสียงเอก โท เป็นหลัก เสียงตรี จัตวา มักเป็นคำยืมจากจีน
ทำให้เมื่อร้องเพลงเกิดเสียงวรรณยุกต์ต้านเมโลดี้น้อยกว่าโดยเฉลี่ย
2.คำไทยมีคำบาลีสันสกฤตอยู่เยอะมาก ซึ่งมีระบบเสียงที่เรียบง่าย
คล้ายระบบเสียงของภาษาญี่ปุ่น เช่น พาสา วัดทะนะทัม ดนตรี กะวี
3.นักแต่งเพลงที่เก่งกาพย์กลอนมักเลือกใช้คำโดยคำนึงถึงวรรณยุกต์
จนเกิดเพลงสมัยใหม่ที่เสียงต้านเมโลดีน้อยแต่ยังคงสื่อความหมายได้
4.นักร้องที่กล้าผันเสียงแชร์ระหว่างการสื่อความหมายกับความไพเราะ
จนคนไทยเข้าใจสุนทรียศาสตร์ และยอมรับได้เช่น คริสติน่า อากีล่าร์
ที่ปรับคำไทยให้เสียงใสกังวาลเป็นธรรมชาติของปากที่ถูกหลักดนตรี
และเอื้อนเสียงวรรณยุกต์ให้ตรงเมโลดี้ที่ไพเราะ แต่ยังคงสื่อความได้
.................................................................................................
จนปัจจุบัน...เพลงไทยใหม่ๆ คนต่างชาติฟังแทบไม่รู้สึกถึงวรรณยุกต์
ตัวอย่าง...เพลง"จะบอกเธอว่ารัก"
สังเกต...
-สระผสมที่ออกยากเช่น เอือ อัว จะลดรูปรวบคำให้ตรงจังหวะมากขึ้น
-ลดเสียงชักกระตุกของตัวสะกดลงเช่น "อ่อนแอ"กลายเป็น"อ่อน-แน"
-แทบไม่รู้สึกเสียงต้านวรรณยุกต์เลย ด้วยการเลือกคำ และการเอื้อน
แสดงความคิดเห็น
มาพูดคุยกันครับว่าภาษาใดบนโลกใบนี้การออกเสียงไพเราะน่าฟังภาษาอะไรฟังแล้วดูตลกหรือภาษาใดน่าที่จะเรียนรู้
1.ภาษาอังกฤษ : ใช่แล้วครับ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ไพเราะ ฟังง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อนเหมือนภาษาอาหรับครับ ชอบที่การออกเสียงตัวท้ายมากครับผม ท,ซ,ค
2.ภาษาเอสโตเนีย : ภาษานี้เป็นภาษาที่อ่านออกเสียงยากตรงที่มันจะมีเสียงตัวอักษรที่คล้ายกันแต่เป็นคนละตัวกันในรูปแบบการเขียน ภาษานี้ไพเราะตรงที่มันจะออกเสียงแบบเหมือนเรากำลังร้องเพลงแต่เป็นตอนที่เราพูดนะ ''เตเร กุยดัซซาลาเหบ"
3.ภาษาอัลบาเนีย : เป็นภาษาที่แตกต่างไปจากภาษายุโรปอื่น ๆในตระกูลเดียวกันครับ ตอนออกเสียงพูดออกมา จะฟังดูฝืด ๆหน่อยครับ แต่มีเสน่ห์ตรงที่มันฟังดูโรแมนติกจนทำให้เรายิ้มออกมาได้
4.ภาษาอิตาลี/ฝรั่งเศส : ตรงนี้ขอบอกเลยครับว่า ภาษาทั้งสองนี้ ฟังแล้วโรแมนติกมากก ภาษาอิตาลีออกเสียงง่ายดีสำหรับผม แต่ภาษาฝรั่งเศส ขอลาครับ ถึงว่ามันจะฟังดูจิ้นหูก็ตาม แต่มันออกเสียงยากสำหรับผม {อิตาลีกับฝรั่งเศสขอจัดอยู่ในข้อ4เพราะทั้งสองได้แค่ครึ่งหนึ่งของความชอบ}
5.ภาษาลัตเวีย : ครับผม ด้านการออกเสียงพูดภาษาลัตเวีย จะคล้ายกับไทยอยู่บ้าง เพราะมีการควบกล้ำหรืออะไรอื่น ๆที่พบได้ในภาษาไทยบางคำออกเสียงว่า ตัว เหมือนภาษาไทยแต่ความหมายต่างกันครับ เรื่องสำเนียงต่างกันนิดหน่อย แต่ภาษานี้ขอบอกเลยครับว่ามันฟังแล้วลื่นหูถึงว่าผู้พูดจะตะโกนก็ตามครับ
มีภาษาไหนอีกบ้างครับ ที่คุณชอบ ???