คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมาย
โดย สหบาท 24 มิ.ย. 2559 05:01น.
กลายเป็นข้อโต้แย้งของคนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจขึ้นมาอีก?
เมื่อตำรวจเริ่มจับกุมทั้งผู้ขายและคนสูบบุหรี่ไฟฟ้า ดำเนินคดีข้อหาเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ห้ามนำเข้า ห้ามขาย
ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2557 มีผลตั้งแต่ 27 ธ.ค. 2557!
สรุป ถ้าว่ากันตามกฎหมาย ห้ามแม้กระทั่งสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย
ที่ผ่านมาประกาศดังกล่าวดูเงียบๆ ไม่หวือหวาอะไร เพราะคนเดือดร้อนมีเพียงกลุ่มเดียว
แต่สำหรับคนที่ไม่รู้ประกาศดังกล่าว กลับกลายเป็นช่องทางหากินของตำรวจนอกแถว?
ถึงขนาดใช้เป็นข้ออ้างเรียกรับเงินจากคนสูบบุหรี่ไฟฟ้าครั้งละ 5,000-10,000บาท
เรียกว่า รีดหนัก โดยอ้างโทษหนักสูงสุดจำคุกถึง 10 ปี
ยิ่งถ้าถูกดำเนินคดีต้องใช้เงินประกันตัวคดีสูงถึงหลักแสนบาท!
ถามว่า จริงๆแล้วคดีแบบนี้ถือเป็นคดีใหญ่หรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ เป็นเพียงความผิดตามประกาศกระทรวงเท่านั้น
และที่สำคัญกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดโทษขั้นต่ำเอาไว้
ศาลจะปราณีให้รอลงอาญาโดยไม่ลงโทษจำคุกเลยก็ได้?
และอย่างที่บอก คดีแบบนี้เป็นเรื่องใหม่ ประกาศกระทรวงก็เพิ่งออกมาเมื่อปลายปี 2557 นี่เอง จึงยังไม่มีคดีไหนเข้าสู่กระบวนการศาลไปถึงชั้นฎีกา
จึงยังไม่มีคำพิพากษาฎีกามาเทียบเคียงว่า ศาลจะลงโทษหนักขนาดไหน?
นักสูบบุหรี่ไฟฟ้าเลยยังขยาด ไม่กล้าลองของ
แต่ผมว่า สุจริตชนอย่าไปลองของกับกฎหมายบ้านเมืองเลยดีกว่า ทางออกมีเยอะแยะ
หนักนักก็เลิกสูบมันไปเลย
นอกจากไม่เปลืองเงินแล้ว สุขภาพยังดีอีกด้วย?
สหบาท
Cr.- ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/645174
รายงาน:ลิงลพฯ/สื่ออาสา
โดย สหบาท 24 มิ.ย. 2559 05:01น.
กลายเป็นข้อโต้แย้งของคนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจขึ้นมาอีก?
เมื่อตำรวจเริ่มจับกุมทั้งผู้ขายและคนสูบบุหรี่ไฟฟ้า ดำเนินคดีข้อหาเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ห้ามนำเข้า ห้ามขาย
ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2557 มีผลตั้งแต่ 27 ธ.ค. 2557!
สรุป ถ้าว่ากันตามกฎหมาย ห้ามแม้กระทั่งสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย
ที่ผ่านมาประกาศดังกล่าวดูเงียบๆ ไม่หวือหวาอะไร เพราะคนเดือดร้อนมีเพียงกลุ่มเดียว
แต่สำหรับคนที่ไม่รู้ประกาศดังกล่าว กลับกลายเป็นช่องทางหากินของตำรวจนอกแถว?
ถึงขนาดใช้เป็นข้ออ้างเรียกรับเงินจากคนสูบบุหรี่ไฟฟ้าครั้งละ 5,000-10,000บาท
เรียกว่า รีดหนัก โดยอ้างโทษหนักสูงสุดจำคุกถึง 10 ปี
ยิ่งถ้าถูกดำเนินคดีต้องใช้เงินประกันตัวคดีสูงถึงหลักแสนบาท!
ถามว่า จริงๆแล้วคดีแบบนี้ถือเป็นคดีใหญ่หรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ เป็นเพียงความผิดตามประกาศกระทรวงเท่านั้น
และที่สำคัญกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดโทษขั้นต่ำเอาไว้
ศาลจะปราณีให้รอลงอาญาโดยไม่ลงโทษจำคุกเลยก็ได้?
และอย่างที่บอก คดีแบบนี้เป็นเรื่องใหม่ ประกาศกระทรวงก็เพิ่งออกมาเมื่อปลายปี 2557 นี่เอง จึงยังไม่มีคดีไหนเข้าสู่กระบวนการศาลไปถึงชั้นฎีกา
จึงยังไม่มีคำพิพากษาฎีกามาเทียบเคียงว่า ศาลจะลงโทษหนักขนาดไหน?
นักสูบบุหรี่ไฟฟ้าเลยยังขยาด ไม่กล้าลองของ
แต่ผมว่า สุจริตชนอย่าไปลองของกับกฎหมายบ้านเมืองเลยดีกว่า ทางออกมีเยอะแยะ
หนักนักก็เลิกสูบมันไปเลย
นอกจากไม่เปลืองเงินแล้ว สุขภาพยังดีอีกด้วย?
สหบาท
Cr.- ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/645174
รายงาน:ลิงลพฯ/สื่ออาสา
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบว่าตอนนี้ บุหรี่ไฟฟ้า ผู้มีไว้ในครอบครอง ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย มีความผิดทางกฎหมายอย่างไรบ้างครับ