เข้าวัดแล้วได้บาปหรือได้บุญ?...กรณีวัดพระธรรมกาย โดย สีกาข้างวัด
ที่มา
http://www.oknation.net/blog/satu/2016/06/24/entry-1
พระธัมมชโยขายค้อน
ในศาสนาพุทธ สอนเรื่องราวที่เป็นสัจจธรรม สอนให้ละกิเลสตัณหาเพื่อตัดภพตัดชาติ
เพื่อความหลุดพ้นและไปสู่พระนิพพาน
พฤติกรรมที่ทำให้คนหมกมุ่นแต่ในเรื่องของบุญ รวย สวรรค์
โดยบอกว่าทำบุญมาก ๆ แบบปิดบัญชีทางโลก เปิดบัญชีทางสวรรค์
ทำให้คนหลงเชื่อเกิดกิเลสตัณหา คนอยากได้บุญมาก ๆ ก็ทุ่มทำบุญจนตัวเองเดือดร้อน
บางคนก็ไปกู้หนี้ยืมสินมาทำบุญ บางคนถึงกับฆ่าตัวตายเพราะไม่มีเงินมาใช้หนี้
เป็นการกระทำที่เป็นอกุศลกรรมและเป็นบาป
หนทางไปสู่สวรรค์ก็ไม่มีวิธีวิเศษอื่นใดดังที่อวดอ้าง
ในคำสอนของศาสนาพุทธ หนทางที่จะไปสู่สวรรค์คือทาน และศีล*
*ในพระไตรปิฎกกล่าวถึง ทานที่มีอานิสงส์มาก คือ
การทำทานที่ไม่หวังผล แต่ทำเพื่อปรุงแต่งจิต
มีผลให้ผู้นั้นไปเกิดในชั้นพรหม
เมื่อเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก
**พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ทานสูตร
พระธัมมชโยพูดถึงพระพุทธเจ้า
ธัมมชโยพูดถึงพระพุทธเจ้าว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็แค่บรรลุ แต่ไม่รู้จักมาร
จึงต้องเข้านิโรธสมาบัติไปถามพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
ซึ่งสีกาข้างวัดเองฟังแล้วไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น
**ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
มารสังยุตต์ สุภสูตรที่ ๓
ได้กล่าวถึงเรื่องมารว่า
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ต้นไม้
อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ อุรุเวลาประเทศ ก็โดยสมัยนั้นแล
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้งในราตรีอันมืดทึบ และฝนกำลังตก
ประปรายอยู่ ฯ
ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปใคร่จะให้เกิดความกลัว ความครั่นคร้าม
ขนลุกขนพองแด่พระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้ว
แสดงเพศต่างๆ หลากหลาย ทั้งที่งามทั้งที่ไม่งาม ในที่ไม่ไกลแต่พระผู้มีพระภาค ฯ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป ดังนี้
จึงตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า
ท่านจำแลงเพศทั้งที่งามทั้งที่ไม่งาม ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาล
อันยืดยาวนาน มารผู้มีบาปเอ๋ย ไม่พอที่ท่านจะทำการจำแลง
เพศนั้นเลย ดูกรมารผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัด
เสียได้แล้ว ฯ
และชนเหล่าใดสำรวมดีแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา และ
ด้วยใจ ชนเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาร
ชนเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้เดินตามหลัง ฯ
ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงรู้จักเรา
พระสุคตทรงรู้จักเรา จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้ารู้จักมารตั้งแต่ตอนตรัสรู้ใหม่ๆ
แล้วพระองค์จะไปถามพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทำไม?
และพระพุทธเจ้าตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เองแล้วจะต้องไปถามใครอีก?
ผู้ก่อกรรมทำเข็ญเช่นไรย่อมได้รับผลกรรมและเป็นทุกข์
ถึงจะพยายามเลี่ยงกฎหมายบ้านเมืองแต่ก็เลี่ยงกฎแห่งกรรมไม่พ้น
ทุกข์ที่เห็นในปัจจุบัน คือ จิตเศร้าหมองมีแต่ความหวาดระแวง และความกลัว
ขาดความเป็นอิสระ ต้องอยู่อย่างหลบซ่อน
ถูกคนในสังคมรังเกียจและติเตียนกันอย่างแพร่หลาย
การมาวัดโดยไม่ได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองหรือพิจารณาโดยแยบคาย
หลงเสพในสิ่งหรือเกี่ยวข้องในบุคคลที่นำพาไปสู่บาปกรรมหรืออกุศลกรรม
และการชักชวนกันมาโดยอ้างว่ามาปฏิบัติธรรม
แต่แท้จริงมาขัดขวางเจ้าหน้าที่ คือชักชวนกันมาทำบาป ทำอกุศล
เกิดศีลวิบัติ เพราะทำผิดศีลข้อ 4
จึงเกิดความทุกข์ร้อนทั้งกายและใจในปัจจุบันเข่นนี้
*** โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความ
เสื่อมแห่งโภคะใหญ่ ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล
ข้อที่หนึ่ง ฯ
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์อันเสียหายของคน
ทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมระบือไป นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สอง ฯ
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหา
บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท
เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคนเก้อเขินเข้าไปหา นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล
ข้อที่สาม ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นคน
หลงทำกาละ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สี่ ฯ
๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้โทษแห่งศีลวิบัติ
ของคนทุศีลข้อที่ห้า ฯ
จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
ท้ายสุดนี้สีกาข้างวัดอยากจะให้ข้อคิดว่า
"คนดี ย่อมไม่ชักชวนคนอื่นไปทำผิดศีล
ส่วนคนไม่ดี คือตรงกันข้าม"
เข้าวัดแล้วได้บาปหรือได้บุญ?...กรณีวัดพระธรรมกาย โดย สีกาข้างวัด
ที่มา http://www.oknation.net/blog/satu/2016/06/24/entry-1
พระธัมมชโยขายค้อน
ในศาสนาพุทธ สอนเรื่องราวที่เป็นสัจจธรรม สอนให้ละกิเลสตัณหาเพื่อตัดภพตัดชาติ
เพื่อความหลุดพ้นและไปสู่พระนิพพาน
พฤติกรรมที่ทำให้คนหมกมุ่นแต่ในเรื่องของบุญ รวย สวรรค์
โดยบอกว่าทำบุญมาก ๆ แบบปิดบัญชีทางโลก เปิดบัญชีทางสวรรค์
ทำให้คนหลงเชื่อเกิดกิเลสตัณหา คนอยากได้บุญมาก ๆ ก็ทุ่มทำบุญจนตัวเองเดือดร้อน
บางคนก็ไปกู้หนี้ยืมสินมาทำบุญ บางคนถึงกับฆ่าตัวตายเพราะไม่มีเงินมาใช้หนี้
เป็นการกระทำที่เป็นอกุศลกรรมและเป็นบาป
หนทางไปสู่สวรรค์ก็ไม่มีวิธีวิเศษอื่นใดดังที่อวดอ้าง
ในคำสอนของศาสนาพุทธ หนทางที่จะไปสู่สวรรค์คือทาน และศีล*
*ในพระไตรปิฎกกล่าวถึง ทานที่มีอานิสงส์มาก คือ
การทำทานที่ไม่หวังผล แต่ทำเพื่อปรุงแต่งจิต
มีผลให้ผู้นั้นไปเกิดในชั้นพรหม
เมื่อเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก
**พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ทานสูตร
พระธัมมชโยพูดถึงพระพุทธเจ้า
ธัมมชโยพูดถึงพระพุทธเจ้าว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็แค่บรรลุ แต่ไม่รู้จักมาร
จึงต้องเข้านิโรธสมาบัติไปถามพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
ซึ่งสีกาข้างวัดเองฟังแล้วไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น
**ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
มารสังยุตต์ สุภสูตรที่ ๓
ได้กล่าวถึงเรื่องมารว่า
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ต้นไม้
อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ อุรุเวลาประเทศ ก็โดยสมัยนั้นแล
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้งในราตรีอันมืดทึบ และฝนกำลังตก
ประปรายอยู่ ฯ
ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปใคร่จะให้เกิดความกลัว ความครั่นคร้าม
ขนลุกขนพองแด่พระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้ว
แสดงเพศต่างๆ หลากหลาย ทั้งที่งามทั้งที่ไม่งาม ในที่ไม่ไกลแต่พระผู้มีพระภาค ฯ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป ดังนี้
จึงตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า
ท่านจำแลงเพศทั้งที่งามทั้งที่ไม่งาม ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาล
อันยืดยาวนาน มารผู้มีบาปเอ๋ย ไม่พอที่ท่านจะทำการจำแลง
เพศนั้นเลย ดูกรมารผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัด
เสียได้แล้ว ฯ
และชนเหล่าใดสำรวมดีแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา และ
ด้วยใจ ชนเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาร
ชนเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้เดินตามหลัง ฯ
ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงรู้จักเรา
พระสุคตทรงรู้จักเรา จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้ารู้จักมารตั้งแต่ตอนตรัสรู้ใหม่ๆ
แล้วพระองค์จะไปถามพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทำไม?
และพระพุทธเจ้าตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เองแล้วจะต้องไปถามใครอีก?
ผู้ก่อกรรมทำเข็ญเช่นไรย่อมได้รับผลกรรมและเป็นทุกข์
ถึงจะพยายามเลี่ยงกฎหมายบ้านเมืองแต่ก็เลี่ยงกฎแห่งกรรมไม่พ้น
ทุกข์ที่เห็นในปัจจุบัน คือ จิตเศร้าหมองมีแต่ความหวาดระแวง และความกลัว
ขาดความเป็นอิสระ ต้องอยู่อย่างหลบซ่อน
ถูกคนในสังคมรังเกียจและติเตียนกันอย่างแพร่หลาย
การมาวัดโดยไม่ได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองหรือพิจารณาโดยแยบคาย
หลงเสพในสิ่งหรือเกี่ยวข้องในบุคคลที่นำพาไปสู่บาปกรรมหรืออกุศลกรรม
และการชักชวนกันมาโดยอ้างว่ามาปฏิบัติธรรม
แต่แท้จริงมาขัดขวางเจ้าหน้าที่ คือชักชวนกันมาทำบาป ทำอกุศล
เกิดศีลวิบัติ เพราะทำผิดศีลข้อ 4
จึงเกิดความทุกข์ร้อนทั้งกายและใจในปัจจุบันเข่นนี้
*** โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความ
เสื่อมแห่งโภคะใหญ่ ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล
ข้อที่หนึ่ง ฯ
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์อันเสียหายของคน
ทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมระบือไป นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สอง ฯ
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหา
บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท
เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคนเก้อเขินเข้าไปหา นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล
ข้อที่สาม ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นคน
หลงทำกาละ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สี่ ฯ
๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้โทษแห่งศีลวิบัติ
ของคนทุศีลข้อที่ห้า ฯ
จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
ท้ายสุดนี้สีกาข้างวัดอยากจะให้ข้อคิดว่า
"คนดี ย่อมไม่ชักชวนคนอื่นไปทำผิดศีล
ส่วนคนไม่ดี คือตรงกันข้าม"