ใกล้จะถึงวันลงประชามติเข้ามาแล้ว
และใกล้จะหมดเขตลงทะเบียนออกเสียงประชามตินอกเขตแล้ว
เมื่อวาน จึงได้โทรไปสอบถามข้อมูลจากสถานทูตไทย เกี่ยวกับการใช้สิทธินอกราชอาณาจักร
เจ้าหน้าที่สถานทูตให้คำตอบว่า จะไม่มีการลงประชามตินอกราชอาณาจักร
อธิบายมาพอคร่าว ๆ ว่าไม่มี แต่ผมลืมถามเหตุผล
ยังงงและไม่แน่ใจ เลยส่งข้อความไปสอบถามกับเฟสบุคของ กกต. อีกครั้ง
ก็ได้คำตอบมาตรงกัน ว่า การทำประชามติครั้งนี้ จะไม่มีการลงคะแนนนอกราชอาณาจักร
ได้รับข้อความตอบกลับมาเมื่อเช้า
และได้ส่งข้อความไปสอบถามเพิ่มเติมถึงเหตุผล
และผลที่ตามมาถ้าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงแต่ไม่ได้ไปใช้สิทธิ์
จะถูกตัดสิทธิ์บางประการเหมือนการเลือกตั้งหรือไม่?
ยังไม่ได้รับคำตอบกลับมา (อาจจะต้องรอสัปดาห์หน้า)
จากสถิติ อ้างอิงการเลือกตั้งเมื่อปี 2554
มีผู้พำนักอยู่ค่างประเทศลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์นอกราชอาณาจักรกว่า 80,000 คน
และมาลงคะแนนเสียงประมาณ 60,000 คน
จึงอดสงสัยไม่ได้ ว่าทำไม กกต. จึงไม่จัดให้มีการใช้สิทธิ์นอกราชอาณาจักรเหมือกับการเลือกตั้งทั่วไป
การลงประชามตินอกราชอาณาจักร
และใกล้จะหมดเขตลงทะเบียนออกเสียงประชามตินอกเขตแล้ว
เมื่อวาน จึงได้โทรไปสอบถามข้อมูลจากสถานทูตไทย เกี่ยวกับการใช้สิทธินอกราชอาณาจักร
เจ้าหน้าที่สถานทูตให้คำตอบว่า จะไม่มีการลงประชามตินอกราชอาณาจักร
อธิบายมาพอคร่าว ๆ ว่าไม่มี แต่ผมลืมถามเหตุผล
ยังงงและไม่แน่ใจ เลยส่งข้อความไปสอบถามกับเฟสบุคของ กกต. อีกครั้ง
ก็ได้คำตอบมาตรงกัน ว่า การทำประชามติครั้งนี้ จะไม่มีการลงคะแนนนอกราชอาณาจักร
ได้รับข้อความตอบกลับมาเมื่อเช้า
และได้ส่งข้อความไปสอบถามเพิ่มเติมถึงเหตุผล
และผลที่ตามมาถ้าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงแต่ไม่ได้ไปใช้สิทธิ์
จะถูกตัดสิทธิ์บางประการเหมือนการเลือกตั้งหรือไม่?
ยังไม่ได้รับคำตอบกลับมา (อาจจะต้องรอสัปดาห์หน้า)
จากสถิติ อ้างอิงการเลือกตั้งเมื่อปี 2554
มีผู้พำนักอยู่ค่างประเทศลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์นอกราชอาณาจักรกว่า 80,000 คน
และมาลงคะแนนเสียงประมาณ 60,000 คน
จึงอดสงสัยไม่ได้ ว่าทำไม กกต. จึงไม่จัดให้มีการใช้สิทธิ์นอกราชอาณาจักรเหมือกับการเลือกตั้งทั่วไป