สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
นึกถึง Tsien Hsue-shen เลยครับ
Tsien Hsue-shen เป็นวิศวกรด้านจรวขับดันชาวจีน
เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งห้องทดลองจรวดขับดัน ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟลอเนีย ในเดือยพฤศจิกายน 1943
ซึ่งปัจจุบันคือ ห้องทดลองจรวดขับดัน (Jet Propulsion Laboratory) ของนาซ่าในปัจจุบัน
ห้องทดลองนี้อยู่เบื้องหลังการค้นพบครั้งสำคัญๆ มากมายของนาซ่า
และทำการที่มีผลต่อการพัฒนาอย่างมากในปัจจุบัน
แต่สำหรับ Tsien Hsue-shen แล้ว...
วันหนึ่งเขากลับมาเยี่ยมบ้านเกิดที่เมืองจีน แล้วรัฐบาลอเมริกาเห็นว่า Tsien Hsue-shen อาจจะเป็นภัยต่อความมั่นคง
จึงได้สั่งห้าม Tsien Hsue-shen กลับเข้าอเมริกาอีก และแน่นอนว่าถูกต่อต้าน และวิพากษ์วิจารย์อย่างมาก
จากนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยในประเทศ เพราะ Tsien Hsue-shen มีความสำคัญต่อการพัฒนาจรวดขับดันอย่างมาก
และหลังจากที่ Tsien Hsue-shen ถูกห้ามเข้าประเทศอเมริกาแล้ว
Tsien Hsue-shen จึงเขามาทำงานเป็นหัวหน้า ในห้องทดลองขีปนาวุธนิวเคลียร์ ให้กับรัฐบายจีน และแน่นอนครับ
จากนั้นไม่นานรัฐบาลจีนก็กลายเป็นประเทศที่ 5 ที่ประสบความสำเร็จในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์
และ Tsien Hsue-shen ยังเป็นหัวหน้าในห้องทดลองขีปนาวุธอีกหลายอย่าง
รัฐบาลจีนเคยบอกว่า ถ้าพวกเขาไม่มี Tsien Hsue-shen พวกเขาคงจะล้าหลังกว่านี้ครึ่งศควรรษ
ผมได้ยินชื่อ "เซียนซูเชน" ครั้งแรกในนิยาย 2010: Odyssey Two ครับ
เพราะผู้แต่ง และ Tsien Hsue-shen เขาอยู่ยุคเดียวกัน... เขาเลยตั้งชื่อยานลำหนึ่งตามชื่อของ Tsien Hsue-shen
ยานของประเทศจีน ที่ไปถึงดาวพฤหัสได้อย่างน่าทึ่ง และเขาทั้งสองก็ทำงานอยู่บนสายอาชีพเดียวกันครับ
Tsien Hsue-shen เป็นวิศวกรด้านจรวขับดันชาวจีน
เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งห้องทดลองจรวดขับดัน ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟลอเนีย ในเดือยพฤศจิกายน 1943
ซึ่งปัจจุบันคือ ห้องทดลองจรวดขับดัน (Jet Propulsion Laboratory) ของนาซ่าในปัจจุบัน
ห้องทดลองนี้อยู่เบื้องหลังการค้นพบครั้งสำคัญๆ มากมายของนาซ่า
และทำการที่มีผลต่อการพัฒนาอย่างมากในปัจจุบัน
แต่สำหรับ Tsien Hsue-shen แล้ว...
วันหนึ่งเขากลับมาเยี่ยมบ้านเกิดที่เมืองจีน แล้วรัฐบาลอเมริกาเห็นว่า Tsien Hsue-shen อาจจะเป็นภัยต่อความมั่นคง
จึงได้สั่งห้าม Tsien Hsue-shen กลับเข้าอเมริกาอีก และแน่นอนว่าถูกต่อต้าน และวิพากษ์วิจารย์อย่างมาก
จากนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยในประเทศ เพราะ Tsien Hsue-shen มีความสำคัญต่อการพัฒนาจรวดขับดันอย่างมาก
และหลังจากที่ Tsien Hsue-shen ถูกห้ามเข้าประเทศอเมริกาแล้ว
Tsien Hsue-shen จึงเขามาทำงานเป็นหัวหน้า ในห้องทดลองขีปนาวุธนิวเคลียร์ ให้กับรัฐบายจีน และแน่นอนครับ
จากนั้นไม่นานรัฐบาลจีนก็กลายเป็นประเทศที่ 5 ที่ประสบความสำเร็จในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์
และ Tsien Hsue-shen ยังเป็นหัวหน้าในห้องทดลองขีปนาวุธอีกหลายอย่าง
รัฐบาลจีนเคยบอกว่า ถ้าพวกเขาไม่มี Tsien Hsue-shen พวกเขาคงจะล้าหลังกว่านี้ครึ่งศควรรษ
ผมได้ยินชื่อ "เซียนซูเชน" ครั้งแรกในนิยาย 2010: Odyssey Two ครับ
เพราะผู้แต่ง และ Tsien Hsue-shen เขาอยู่ยุคเดียวกัน... เขาเลยตั้งชื่อยานลำหนึ่งตามชื่อของ Tsien Hsue-shen
ยานของประเทศจีน ที่ไปถึงดาวพฤหัสได้อย่างน่าทึ่ง และเขาทั้งสองก็ทำงานอยู่บนสายอาชีพเดียวกันครับ
ความคิดเห็นที่ 11
คนนอก การที่เรามองว่ามันง่าย หรือยาก ถ้าเรามองในมุมมองของคนนอก หลายๆอย่างมันอาจจะมองได้ว่าทำง่าย
อาจเพราะ เราไม่ได้ไปคลุกคลี เราไม่มีความรู้ หรือ เราไม่มีประสบการณ์เรื่องนั้นๆ เลยมองว่าทำง่าย
หากแต่ ถ้าได้เข้าไปศึกษา ไปคลุกคลี จะรู้ได้เองว่า สิ่งที่เราคิดว่ามันทำง่าย มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะเราได้ศึกษาแล้ว ได้มีความรู้แล้ว
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเรื่อง interface USB หลายๆคนในฐานะ "ผู้ใช้" คงมองว่ามันไม่ได้มีเทคโนโลยีอะไรที่พิเศษ เพราะ os จะ plug and play ให้อัตโนมัติ แต่ในมุมมองของ "ผู้ออกแบบ" มันมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเยอะพอสมควร การออกแบบระบบให้ interface บนบัส USB ได้ ไม่ใช่เพียงว่าเสียบและใช้แค่นั้น
ถ้าเราเลิกหมั่นใส้ หรือมองคนอื่นด้วยอคติ เราจะเริ่มเปิดใจและเห็นภาพอะไรหลายๆอย่าง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เลิกอคติต่อคนอื่น แล้วเริ่มหันกลับมามองตัวเอง ถ้าเราทำได้ สักวันเราอาจจะเปลี่ยนเป็นอีกคนนึงที่ไม่ได้อยู่ในฐานะเดิมๆก็ได้
อาจเพราะ เราไม่ได้ไปคลุกคลี เราไม่มีความรู้ หรือ เราไม่มีประสบการณ์เรื่องนั้นๆ เลยมองว่าทำง่าย
หากแต่ ถ้าได้เข้าไปศึกษา ไปคลุกคลี จะรู้ได้เองว่า สิ่งที่เราคิดว่ามันทำง่าย มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะเราได้ศึกษาแล้ว ได้มีความรู้แล้ว
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเรื่อง interface USB หลายๆคนในฐานะ "ผู้ใช้" คงมองว่ามันไม่ได้มีเทคโนโลยีอะไรที่พิเศษ เพราะ os จะ plug and play ให้อัตโนมัติ แต่ในมุมมองของ "ผู้ออกแบบ" มันมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเยอะพอสมควร การออกแบบระบบให้ interface บนบัส USB ได้ ไม่ใช่เพียงว่าเสียบและใช้แค่นั้น
ถ้าเราเลิกหมั่นใส้ หรือมองคนอื่นด้วยอคติ เราจะเริ่มเปิดใจและเห็นภาพอะไรหลายๆอย่าง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เลิกอคติต่อคนอื่น แล้วเริ่มหันกลับมามองตัวเอง ถ้าเราทำได้ สักวันเราอาจจะเปลี่ยนเป็นอีกคนนึงที่ไม่ได้อยู่ในฐานะเดิมๆก็ได้
แสดงความคิดเห็น
เผยโฉมวิศวกรไทยใน L.A. ผู้ออกแบบภายในเครื่องบิน MC-21 ของรัสเซีย
แอลเอ (สยามทาวน์ยูเอส) : เผยโฉมวิศวกรผู้ออกแบบเครื่องบิน เอ็มซี-21 ที่รัฐบาลรัสเซียเพิ่งเปิดตัวไปหมาดๆ เมื่อสัปดาห์ก่อน เป็นหนุ่มไทยในแอลเอ ที่คลุกคลีอยู่กับงานออกแบบเครื่องบินมานาน
เมื่อวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2016 รัฐบาลรัสเซีย โดยนายกรัฐมนตรีดมิตรี เมดเวเดฟ ได้ประกอบพิธีเปิดตัวเครื่องบินโดยสารขนาด 211 ที่นั่ง รุ่น เอ็มซี-21 ซึ่งรัสเซียได้ผลิตขึ้นเพื่อหวังแย่งส่วนแบ่งตลาดเครื่องบินโดยสารขนาดกลางจาก แอร์บัส เอ320 ของยุโรป และโบอิ้ง 737 ของอเมริกา ที่ครองตลาดการบินพลเรือนระหว่างประเทศอยู่ในปัจจุบัน โดยพิธีเปิดตัวเครื่องบิน “เมดอินรัสเซีย” ดังกล่าว เกิดขึ้นท่ามกลางความสนใจของสื่อมวลชนจากทั่วโลก
นายกรัฐมนตรี ดมิตรี เมดเวเดฟ กล่าวในพิธีเปิด ซึ่งมีขึ้นที่โรงงานผลิตอากาศยานเอียร์คุต ในเมืองเอียร์คุต แคว้นไซบีเรีย ว่า เครื่องบิน เอ็มซี-21 ถือเป็นการรอคอยที่ยาวนาน สำหรับวงการบินพลเรือน และการก่อสร้างอากาศยานของรัสเซีย และสำหรับชาวรัสเซียทุกคน เป็นสิ่งยืนยันว่ารัสเซียสามารถสร้างเครื่องบิน ที่ไม่เพียงแต่ทำให้วงการบินพลเรือนก้าวหน้า แต่ยังสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้
นอกจากจะผลิตเพื่อการค้าแล้ว ทางการรัสเซียจะใช้เครื่องบิน เอ็มซี-21 ให้บริการผู้โดยสารในประเทศแทนที่เครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 ที่ล้าสมัย โดยจะทำการบินทดสอบครั้งแรกในราวปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า ก่อนจะเริ่มบินอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2018
ต่อมา สยามทาวน์ยูเอส ได้รับแจ้งว่า เครื่องบิน เอ็มซี-21 ของรัสเซียดังกล่าวนี้ มีนายธนิก นิธิพันธวงศ์ สถาปนิกคนไทยในลอส แอนเจลิส เข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบมาตั้งแต่ต้น
ธนิก นิธิพันธวงศ์ อายุ 32 ปี เกิดที่รัฐเนวาดา แต่เติบโตที่ไทย โดยจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก แล้วเดินทางเรียนต่อที่ประเทศสหรัฐฯ จนจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล จากยูซีแอลเอ
นับจากปี 2007 เป็นต้นมา ธนิก นิธิพันธวงศ์ ได้ทำงานที่บริษัท Zodiac Aerospace ในฮันติงตันบีช ซึ่งเป็นบริษัทด้านอากาศยานของยุโรป มีชื่อเสียงด้านการออกแบบภายในเครื่องบิน ตำแหน่งงานปัจจุบันคือวิศวกรโครงการ (Project Engineer)
ที่ผ่านมา หนุ่มไทยคนนี้มีผลงานมากมาย รวมถึงร่วมออกแบบเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ตั้งแต่ลำแรก ซึ่งเป็นของสิงคโปร์แอร์ไลน์ ด้วย
นายธนิก กล่าวว่างานออกแบบเครื่องบิน เอ็มซี-21 ของรัสเซีย ที่บริษัทรับมานั้น ถือเป็นโครงการที่ใหญ่มาก เพราะเป็นการออกแบบภายในของเครื่องบินทั้งลำ รวมวงเงินค่าออกแบบประมาณ 60 ล้านดอลลาร์ หรือ มากกว่า 2,000 ล้านบาท ส่วนสาเหตุที่ทางบริษัทมอบหมายหน้าที่ควบคุมการออกแบบทั้งหมดให้กับตนนั้น น่าจะเป็นเพราะมีประสบการณ์ทำงานมานาน โดยตนได้ลงมือทำงานชิ้นนี้มาตั้งแต่ปี 2013 โดยที่ผ่านมา ตนได้เดินทางไปทำงานที่ไซบีเรียหลายครั้ง
“ส่วนขั้นตอนการออกแบบที่ผมทำนั้น ลำดับแรกคือ ต้องมี LOPA (Location of Passenger Accommodations) โดยจะต้องดูว่าส่วนประกอบต่างๆ ควรจะต้องตั้งอยู่ตรงไหนบ้าง เช่นห้องนำ้ ห้องครัว ช่องเก็บกระเป๋า ตู้เก็บของ ที่นั่ง ฯลฯ แล้วเราจึงจะเริ่มการออกแบบจากการติตตั้ง คือต้องนำส่วนประกอบต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีตามผัง มาประติดประต่อกับระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ จำพวกโลหะ พลาสติก หรือแผ่นคอมโพสิท (Composite) ที่ต้องผลิตแล้วนำมาประกอบกันให้ได้เป็นชิ้นส่วนขนาดที่ถูกต้อง ประกอบกันได้”
โดยทุกขั้นตอนของการทำงานนั้น นายธนิกกล่าวว่าจะต้องคำนึงถึงกฏข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีอยู่มากมาย เช่น องค์กรการบินจากประเทศต่างๆ เช่น FAA (Federal Aviation Administration) และ EASA (European Aviation Safety Agency) รวมถึงข้อกำหนดของลูกค้า รวมไปถึงราคาต้นทุน และความเป็นไปได้ในการผลิต เพื่อให้บริษัทได้มีกำไรที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ จึงต้องรู้ทั้งเรื่องเทคนิคและเรื่องธุรกิจควบคู่ไปด้วยกัน
วิศวกรหนุ่มไทยกล่าวต่อไปว่า งานนี้ ตนต้องประสานงานใกล้ชิดกับทีมวิศวกรจากแผนกต่างๆ เช่นกลไก ไฟฟ้า วัสดุ ความแข็งแรง การจุดติดไฟ ทดสอบ ระยะเวลาการใช้งาน ก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตให้ผลิตเพื่อให้บริการกับสาธารณชนได้
เมื่อถามถึงความพิเศษของเครื่องบิน เอ็มซี-21 นายธนิกตอบว่าเป็นเครื่องบินที่มีทางเดินที่กว้างขวางพอให้ผู้โดยสารเดินสวนกันได้ มีช่องเก็บกระเป๋าที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาสำหรับเครื่องบินโดยสารขนาดกลาง มีระบบไฟที่เชื่อมโยงกับแผงบังคับซึ่งทำให้ง่ายกับการควบคุมดูแล เหมือนกันกับระบบสมาร์ทโฮม คือถ้ามีส่วนใดไม่ทำงาน แผงวงจรไฟฟ้าจะแจ้งให้ทราบทันที เอ็มซี 21 ใช้เทคนิคการออกแบบชิ้นส่วนเพื่อช่วยลดนำ้หนักของเครื่องบิน ทำให้ประหยัดนำ้มัน และที่สำคัญมากคือเรื่องของราคา ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 91 ล้านดอลลาร์ ถือว่าย่อมเยาว์กว่าเครื่องบินขนาดและประเภทเดียวกันค่อนข้างมาก
ส่วนตลาดของเครื่องบินที่ผลิตโดยรัสเซียนั้น นายธนิก นิธิพันธวงศ์ บอกว่าเป็นกลุ่มประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบริษัท อีร์คุต คอร์ปอเรชั่น ที่อยู่ในเครือของยูไนเต็ด แอร์คราฟต์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นเจ้าของโปรเจคท์เครื่องเอ็มซี-21 นี้ ได้มีการออกแบบโทนสีพิเศษภายในเครื่องให้เอื้อกับรสนิยมความชอบของประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นแนวธรรมชาติ ดูแล้วสบายตา น่ารื่นรมย์ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยโทนสีหรือรายละเอียดอื่นๆ ได้
เมื่อถามถึงอนาคตข้างหน้า นายธนิกกล่าวว่าตนมีความมุ่งมั่นที่จะใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมมา กลับไปเปิดบริษัทสร้างเครื่องบินขนาดเล็กที่ประเทศไทย โดยเห็นว่าน่าจะเพื่อเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมอากาศยานและนวัตการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ขยายมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ และเปิดโอกาสให้คนไทยได้มีส่วนร่วมในงานด้านนี้อีกด้วย
“เพราะคนไทยเรามีความรู้และความสามารถมากนะครับ แต่เขาขาดโอกาส โดยเฉพาะนักศึกษาหรือบัณฑิตวิศวะที่จบใหม่ๆ หากเขาได้รับการสนับสนุน มีแนวทางในการทำงานตามแบบแผน เป็นระบบ คนไทยเก่งและสามารถทำงานโปรเจคขนาดใหญ่ได้ ไม่แพ้ชาติอื่นใดในโลก” นายธนิก นิธิพันธวงศ์ กล่าว.