ผู้กระทำผิดอาญา
ผู้กระทำผิดอาญาแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. ผู้กระทำความผิดด้วยตนเอง คือ การกระทำความผิดที่ผู้กระทำความผิดได้ลงมือกระทำความผิดนั้นด้วยตนเอง
2. ผู้ร่วมกระทำความผิด คือ การกระทำความผิดที่มีผู้อื่นมาร่วมกระทำผิดด้วย
3. ผู้ใช้ให้กระทำความผิด คือ ผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการบังคับขู่เข็ญ จ้างวานหรือยุยงส่งเสริมหรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้ใช้ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด แต่ถ้าความผิดมิได้กระทำลงไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำหรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียง 1 ใน 3 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
4. ผู้สนับสนุนการกระทำผิด คือ ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือหรือเอื้ออำนวยให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด ผู้สนับสนุนต้องได้รับโทษ 2 ใน 3 ของผู้กระทำผิด
ประเภทของความผิด
ตามประมวลกฎหมายอาญาประเภทของความผิดมี 9 ประเภท ดังนี้
1. ความผิดต่อชีวิต คือ ความผิดที่กระทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งมีหลายประเภท เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตายโดยไม่มีเจตนาฆ่า ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
2. ความผิดต่อร่างกาย คือ การกระทำผิดซึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย เช่น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ คือ ผู้กระทำผิดได้ทำร้ายร่างกายผู้อื่น จนได้รับบาดเจ็บแก่กายหรือจิตใจ
3. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ คือ ความผิดที่กระทำต่อทรัพย์ของผู้อื่น ซึ่งมีด้วยกันหลายประเภท
4. ความผิดฐานเป็นกบฏ เช่น ให้กำลังทุบร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจการปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักร
5. ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ เช่น สะสมกำลังคนหรืออาวุธ หรือเตรียมการเป็นกบฏ ยุยงทหารหรือตำรวจให้หนีราชการ หรือก่อการกำเริบยุยงหรือจัดให้เกิดการร่วมกันหยุดงาน ปิดงาน งดจ้าง หรือไม่ยอมค้าขาย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดิน หรือบังคับรัฐบาล หรือข่มขู่ประชาชน
6. ความผิดฐานวางเพลิง การลอบจุดไฟเผาอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์ หากเป็นอาคารสถานที่สาธารณะ มีโทษรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต แม้การวางเพลิงทรัพย์สินของตนเองก็มีโทษ ถ้าการกระทำนั้นอาจจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น
7. ความผิดฐานปลอมแปลงเงินตรา เช่น ทำธนบัตรปลอมหรือเหรียญกษาปณ์ปลอมนอกจากผู้ปลอมจะมีความผิดแล้ว ผู้ที่นำไปใช้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นของปลอมก็มีความผิดด้วย
8. ความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น การข่มขืนกระทำชำเรามีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 20 ปี ถ้ามีอาวุธข่มขู่ด้วย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี หรือตลอดชีวิต ถ้าเป็นผู้เยาว์อายุไม่เกิน 15 ปี ย่อมมีโทษที่หนักขึ้น
9. ความผิดฐานทำให้แท้งลูก หญิงที่ทำตนเองหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก มีความผิดฐานทำให้แท้งลูก และผู้ทำแท้งก็มีความผิดด้วยแม้ฝ่ายหญิงจะยินยอมก็ตาม
ขอแจ้งชาวพุทธ ให้ได้รู้ถึงฐาน และประเภทของความผิด
ผู้กระทำผิดอาญาแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. ผู้กระทำความผิดด้วยตนเอง คือ การกระทำความผิดที่ผู้กระทำความผิดได้ลงมือกระทำความผิดนั้นด้วยตนเอง
2. ผู้ร่วมกระทำความผิด คือ การกระทำความผิดที่มีผู้อื่นมาร่วมกระทำผิดด้วย
3. ผู้ใช้ให้กระทำความผิด คือ ผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการบังคับขู่เข็ญ จ้างวานหรือยุยงส่งเสริมหรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้ใช้ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด แต่ถ้าความผิดมิได้กระทำลงไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำหรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียง 1 ใน 3 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
4. ผู้สนับสนุนการกระทำผิด คือ ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือหรือเอื้ออำนวยให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด ผู้สนับสนุนต้องได้รับโทษ 2 ใน 3 ของผู้กระทำผิด
ประเภทของความผิด
ตามประมวลกฎหมายอาญาประเภทของความผิดมี 9 ประเภท ดังนี้
1. ความผิดต่อชีวิต คือ ความผิดที่กระทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งมีหลายประเภท เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตายโดยไม่มีเจตนาฆ่า ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
2. ความผิดต่อร่างกาย คือ การกระทำผิดซึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย เช่น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ คือ ผู้กระทำผิดได้ทำร้ายร่างกายผู้อื่น จนได้รับบาดเจ็บแก่กายหรือจิตใจ
3. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ คือ ความผิดที่กระทำต่อทรัพย์ของผู้อื่น ซึ่งมีด้วยกันหลายประเภท
4. ความผิดฐานเป็นกบฏ เช่น ให้กำลังทุบร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจการปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักร
5. ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ เช่น สะสมกำลังคนหรืออาวุธ หรือเตรียมการเป็นกบฏ ยุยงทหารหรือตำรวจให้หนีราชการ หรือก่อการกำเริบยุยงหรือจัดให้เกิดการร่วมกันหยุดงาน ปิดงาน งดจ้าง หรือไม่ยอมค้าขาย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดิน หรือบังคับรัฐบาล หรือข่มขู่ประชาชน
6. ความผิดฐานวางเพลิง การลอบจุดไฟเผาอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์ หากเป็นอาคารสถานที่สาธารณะ มีโทษรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต แม้การวางเพลิงทรัพย์สินของตนเองก็มีโทษ ถ้าการกระทำนั้นอาจจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น
7. ความผิดฐานปลอมแปลงเงินตรา เช่น ทำธนบัตรปลอมหรือเหรียญกษาปณ์ปลอมนอกจากผู้ปลอมจะมีความผิดแล้ว ผู้ที่นำไปใช้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นของปลอมก็มีความผิดด้วย
8. ความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น การข่มขืนกระทำชำเรามีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 20 ปี ถ้ามีอาวุธข่มขู่ด้วย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี หรือตลอดชีวิต ถ้าเป็นผู้เยาว์อายุไม่เกิน 15 ปี ย่อมมีโทษที่หนักขึ้น
9. ความผิดฐานทำให้แท้งลูก หญิงที่ทำตนเองหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก มีความผิดฐานทำให้แท้งลูก และผู้ทำแท้งก็มีความผิดด้วยแม้ฝ่ายหญิงจะยินยอมก็ตาม