2-3 ปีมานี้ทำให้เกิดความคิดที่ว่า รัฐบาล ควรจะบริหารประเทศโดยมีหลักคิดที่ว่า เท่าเทียม ไม่จำเป็นต้อง เท่ากัน (ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลทหารปัจจุบัน เอาหลักคิดนี้มาคิดหรือเปล่า จึงออกนโยบายบางอย่าง (ส่วนน้อย) ออกมาตรงใจ แต่คำอธิบายมันไม่ตรงกัน)
- ถ้าเรามีลูกอยู่ 2 คน คนแรกต้องกินข้าว 2 จานถึงจะอิ่ม ส่วนอีกคน กินข้าวเพียงจานเดียวก็อิ่มแล้ว หากเราให้ข้าว 2 จานเท่ากัน อีกคนก็จะกินเหลือให้เสียดายไปเปล่า ๆ แต่ถ้าให้ 1 จานเท่ากัน ลูกอีกคนก็จะกินไม่อิ่ม
- รัฐบาลแจกนมโรงเรียนให้กับเด็กทุกคนเท่ากัน วันละ 1 กล่อง แต่เด็กส่วนหนึ่งก็ไม่ได้กินนมโรงเรียนหรอก เพราะว่าไม่ชอบบ้างหรือดื่มนมอื่นมาแล้ว และได้รับสารอาหารจากทางอื่นมาด้วย ส่วนเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง นมวันละ 1 กล่องก็ยังไม่พอที่จะได้รับสารอาหารทั้งหมดที่จำเป็น เราควรให้เด็กที่ต้องการเพิ่มอีกหรือไม่
- รัฐบาลมีนโยบายประกันสุขภาพทั่วหน้า คนไม่มีหรือคนพอมี (คนรวยไม่ค่อยใช้หรอก) ก็จ่ายเท่ากัน จะดีกว่าหรือไม่หากคนพอมีบ้างก็ช่วยจ่ายสมทบบางส่วน เพื่อทำให้บริการดีขึ้นและพอเพียงสำหรับคนที่ไม่มี มีน้อยก็ร่วมด้วยช่วยกันน้อย มีมากก็ร่วมช่วยกันมาก
- ในด้านรายได้ หากมีคนมาบอกว่า ขายของแล้วได้กำไร 5% นั้นอยู่ได้ 5% ของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน 5% ของ 10,000 บาท คือ 500 บาท แต่ 5% ของ 1,000,000 บาท คือ 50,000 บาท ความมีชีวิตอยู่ได้มันจึงแตกต่างกัน
- หรือจะวลีที่ว่า คนจนหรือ คนรวย ก็มีสิทธิ์สอบชิงทุนได้เหมือนกัน จะดีกว่าหรือไม่หากคนรวยร่วมจ่ายบางส่วน เพื่อกระจายโอกาสของทุนให้กับคนด้อยโอกาสอื่น ๆ
ตัวอย่างเกี่ยวกับความเท่าเทียม ไม่จำเป็นต้อง เท่ากันนั้นมีอีกมากมาย
ประเทศนี้ มีคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่ง มีอภิสิทธิ์ เหนือกว่าคนอื่นอีกมากมาย ทำให้การกระจายความเท่าเทียมนั้นเป็นไปได้ยาก วิถีทางที่จะเริ่มแก้ไขคือ การให้ทุกคนมีความเท่ากัน ทางกฎหมาย ก่อนจึงจะทำให้การกระจายความเท่าเทียมนั้นเป็นไปได้อย่างเสมอภาค และทำให้ความเท่าเทียมไม่จำเป็นต้องเท่ากันเกิดขึ้นได้
ตราบใดที่ยังมีอภิสิทธิ์ชน กรณี ยึดภูเขาแล้วคืนจบ ขึ้นเงินเดือนตัวเองแล้วคืนจบ หนึทหารจนลอยลมจบ หนึคุกหนึตารางจบ ตรวจสอบจนคดีขาดอายุความจบ เอาเงินรัฐไปหาเสียงโดยมิชอบจบ นกเงือกบินไปบินมาก็คงจะจบ อีกฝ่ายหนึ่งทำได้-อีกฝ่ายหนึ่งทำไม่ได้ ก็คงจบ ปล้นสิทธิคนทั้งประเทศมาครั้งแล้วครั้งเล่าก็คงจบเหมือนเดิม ตราบที่บ้านเมืองยังคงไม่มีความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ก็คงไม่อาจหวังว่าจะมีความเท่าเทียมทางสังคมอย่างแท้จริงแน่นอน
และตราบใดยังมีคนมาเขียน-ตอบอยู่ตรงนี้ เราก็ยังคงเป็นเหมือนเดิมต่อไป
เท่าเทียม ไม่จำเป็นต้อง เท่ากัน
- ถ้าเรามีลูกอยู่ 2 คน คนแรกต้องกินข้าว 2 จานถึงจะอิ่ม ส่วนอีกคน กินข้าวเพียงจานเดียวก็อิ่มแล้ว หากเราให้ข้าว 2 จานเท่ากัน อีกคนก็จะกินเหลือให้เสียดายไปเปล่า ๆ แต่ถ้าให้ 1 จานเท่ากัน ลูกอีกคนก็จะกินไม่อิ่ม
- รัฐบาลแจกนมโรงเรียนให้กับเด็กทุกคนเท่ากัน วันละ 1 กล่อง แต่เด็กส่วนหนึ่งก็ไม่ได้กินนมโรงเรียนหรอก เพราะว่าไม่ชอบบ้างหรือดื่มนมอื่นมาแล้ว และได้รับสารอาหารจากทางอื่นมาด้วย ส่วนเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง นมวันละ 1 กล่องก็ยังไม่พอที่จะได้รับสารอาหารทั้งหมดที่จำเป็น เราควรให้เด็กที่ต้องการเพิ่มอีกหรือไม่
- รัฐบาลมีนโยบายประกันสุขภาพทั่วหน้า คนไม่มีหรือคนพอมี (คนรวยไม่ค่อยใช้หรอก) ก็จ่ายเท่ากัน จะดีกว่าหรือไม่หากคนพอมีบ้างก็ช่วยจ่ายสมทบบางส่วน เพื่อทำให้บริการดีขึ้นและพอเพียงสำหรับคนที่ไม่มี มีน้อยก็ร่วมด้วยช่วยกันน้อย มีมากก็ร่วมช่วยกันมาก
- ในด้านรายได้ หากมีคนมาบอกว่า ขายของแล้วได้กำไร 5% นั้นอยู่ได้ 5% ของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน 5% ของ 10,000 บาท คือ 500 บาท แต่ 5% ของ 1,000,000 บาท คือ 50,000 บาท ความมีชีวิตอยู่ได้มันจึงแตกต่างกัน
- หรือจะวลีที่ว่า คนจนหรือ คนรวย ก็มีสิทธิ์สอบชิงทุนได้เหมือนกัน จะดีกว่าหรือไม่หากคนรวยร่วมจ่ายบางส่วน เพื่อกระจายโอกาสของทุนให้กับคนด้อยโอกาสอื่น ๆ
ตัวอย่างเกี่ยวกับความเท่าเทียม ไม่จำเป็นต้อง เท่ากันนั้นมีอีกมากมาย
ประเทศนี้ มีคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่ง มีอภิสิทธิ์ เหนือกว่าคนอื่นอีกมากมาย ทำให้การกระจายความเท่าเทียมนั้นเป็นไปได้ยาก วิถีทางที่จะเริ่มแก้ไขคือ การให้ทุกคนมีความเท่ากัน ทางกฎหมาย ก่อนจึงจะทำให้การกระจายความเท่าเทียมนั้นเป็นไปได้อย่างเสมอภาค และทำให้ความเท่าเทียมไม่จำเป็นต้องเท่ากันเกิดขึ้นได้
ตราบใดที่ยังมีอภิสิทธิ์ชน กรณี ยึดภูเขาแล้วคืนจบ ขึ้นเงินเดือนตัวเองแล้วคืนจบ หนึทหารจนลอยลมจบ หนึคุกหนึตารางจบ ตรวจสอบจนคดีขาดอายุความจบ เอาเงินรัฐไปหาเสียงโดยมิชอบจบ นกเงือกบินไปบินมาก็คงจะจบ อีกฝ่ายหนึ่งทำได้-อีกฝ่ายหนึ่งทำไม่ได้ ก็คงจบ ปล้นสิทธิคนทั้งประเทศมาครั้งแล้วครั้งเล่าก็คงจบเหมือนเดิม ตราบที่บ้านเมืองยังคงไม่มีความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ก็คงไม่อาจหวังว่าจะมีความเท่าเทียมทางสังคมอย่างแท้จริงแน่นอน
และตราบใดยังมีคนมาเขียน-ตอบอยู่ตรงนี้ เราก็ยังคงเป็นเหมือนเดิมต่อไป