ธนาคารความสุข
จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 141 ค่ะ
โดย คุณ aston27 ค่ะ
ความในใจของชายนักปรุง
เท่าที่จำได้ ผมเริ่มทานก๋วยเตี๋ยวชามแรกตั้งแต่อยู่ป.๑ ที่รร. ซินเซิง เชียงใหม่
พูดไปคุณอาจจะสำลักก๋วยเตี๋ยวหมี่เกี๊ยวที่ทานอยู่
เพราะก๋วยเตี๋ยวชามแรกของผม ราคาชามละ ๕๐ สต.
จากที่เคยทานชามละ ๕๐ สต. วันนี้ชามละเกือบ ๕๐ บาทแล้ว
โลกเปลี่ยนไปไวแบบนี้เองนะ
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ค่อยเปลี่ยนสำหรับก๋วยเตี๋ยว ก็คือ
เขายังเสิร์ฟแบบร้อนๆ พร้อมวางเครื่องปรุงไว้ให้
จะมาเป็นพวง หรือใส่กระปุกใส่ถ้วยเล็กๆวางบนโต๊ะก็แล้วแต่
อีกอย่างที่ไม่ค่อยเปลี่ยนคือ คนทาน
เวลาไปทานก๋วยเตี๋ยวหมี่เกี๊ยวอะไรเคยสังเกตไหม
ว่าพอได้ก๋วยเตี๋ยวมาวางตรงหน้า
คนทั่วไปจะรีบหันไปหาเครื่องปรุง แล้วใส่ๆ ใส่ๆ ใส่ๆ
บางคนใส่น้ำตาลเยอะจนชวนสงสัย
ว่าจะทานก๋วยเตี๋ยวหรือกล้วยบวชชี
บางคนใส่พริกเยอะจนชวนสงสัย
ว่ากระเพาะทำจากอะไร ทำไมทานเผ็ดขนาดนั้น
แต่ไม่ว่าจะปรุงด้วยสูตรไหน
๙ ใน ๑๐ ของนักปรุงที่ผมเห็น มักจะปรุงโดยไม่ชิม
ผมเองก็เคยเป็นหนึ่งในจำนวน ๙ คนที่ว่า
จนวันหนึ่ง จำไม่ได้ว่าเพราะอะไร ได้ทานก๋วยเตี๋ยวแบบไม่ปรุง
เลยค้นพบว่า ก๋วยเตี๋ยวเพียวๆเดิมๆของแต่ละร้าน
เขาก็จะมีรสมือของเขาอยู่แล้ว ยิ่งถ้าเป็นร้านฝีมือดีจริงๆ
เครื่องปรุงแทบจะไม่จำเป็นเลย
เคยถามตัวเองว่าเมื่อก่อนกินทีไร ปรุงทุกทีเพราะอะไร
ได้คำตอบว่าเพราะความเคยชิน และเพราะเชื่อว่าต้องปรุงถึงจะอร่อย
ทั้งเคยชินในการที่จะปรุงโดยอัตโนมัติ ตามสูตรที่เคยใส่
ทั้งเคยชินในการทานรสหวาน เปรี้ยว เผ็ด เค็ม แบบที่เราชิน
แล้วไม่ใช่แต่ในชามก๋วยเตี๋ยวหรอกครับ
ในชีวิตจริง ในจิตใจเรา ก็เคยชินที่จะปรุงจะแต่งเหมือนกัน
เพราะเราเคยชินที่จะเป็น ที่จะทำ ที่จะคิด ที่จะเชื่อ
มีอะไรเสิร์ฟเข้ามากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จิตมันจะปรุงแต่ง ให้ค่าไปตามความเคยชิน
ว่าอันนั้นดี อันนี้ชอบ อันนั้นไม่สวย อันนี้ไม่เท่
ความปรุงแต่งที่ละเอียด ดูยาก เห็นยากที่สุด
ไม่มีอะไรเกินความปรุงแต่ง ว่ากายใจนี้เป็นตัวเรา
ปรุงแต่งความเป็นตัวเป็นตนขึ้นมานาน จนเชื่อว่าเราเป็นอัตตา
เราคนนี้กับชาติที่แล้วและชาติหน้าเป็นคนเดียวกัน
เพราะไม่เคยเห็นความจริงว่า จิตมันเกิดดับ เกิดดับตลอดเวลา
มันมีแต่ความสืบเนื่องของเหตุและปัจจัยที่ปรุงแต่งอยู่
ความยึดมั่นถือมั่นสำคัญหมายผิดๆว่ามีตัวมีตน จึงยังมีอยู่
ของแบบนี้ครูบาอาจารย์ท่านว่า มันข้ามภพข้ามชาติเสียด้วยนะ
ถามว่าแล้วจะทำยังไง
ตอบว่าถ้าเรื่องก๋วยเตี๋ยว ก็ลองเริ่มจากตั้งสติ ชิมดูก่อนปรุง
จำเป็นก็ปรุงนิดๆหน่อยๆ ไม่จำเป็นก็ทานตามรสเดิมๆของเขานั่นแหละ
แต่ถ้าเรื่องจิตปรุงแต่ง ก็ฝึกเปลี่ยนความเคยชินใหม่
แทนที่จะไหลไปตามการปรุงแต่ง ให้มีสติรู้ทันว่าจิตปรุงแต่งอยู่
เห็นอะไรแล้วชอบใจ รู้ว่าใจชอบ ไม่ชอบใจรู้ทันว่าใจไม่ชอบ
ได้ยินอะไรแล้วขัดใจ รู้ว่าใจมันขัด ได้ยินแล้วเบิกบาน รู้ทันว่าใจเบิกบาน
ได้กลิ่นอะไรแล้วยินดี รู้ว่าใจยินดี ถ้าอี๋ก็รู้ทันใจที่อี๋อยู่
ได้รสอะไรทางลิ้นแล้วสุขใจ รู้ว่าใจเป็นสุข ทานแล้วทุกข์ใจ ก็รู้ว่าใจเป็นทุกข์
กายได้สัมผัสอะไรแล้วถูกใจ รู้ว่าถูกใจ ไม่ถูกใจรู้ว่าไม่ถูกใจ
ใจมีความรู้สึกอะไรที่พอใจ รู้ว่าพอใจ ไม่พอใจก็รู้ว่าไม่พอใจ
ทานก๋วยเตี๋ยว ถ้าปรุงมากไป ก็ทุกข์กาย ฉันใด
มีชีวิต ถ้าปรุงมากไป ก็ทุกข์ใจ ฉันนั้น
สุขสันต์วันที่ยังมีก๋วยเตี๋ยวให้ทานได้โดยไม่ต้องปรุงครับ
ปล. Follow twitter ผมได้ที่ @aston_ed ส่วน facebook คือ “aston27” ครับ
...ความในใจของชายนักปรุง...(ธนาคารความสุข) จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 141 ค่ะ โดย คุณ aston27 ค่ะ
จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 141 ค่ะ
โดย คุณ aston27 ค่ะ
ความในใจของชายนักปรุง
เท่าที่จำได้ ผมเริ่มทานก๋วยเตี๋ยวชามแรกตั้งแต่อยู่ป.๑ ที่รร. ซินเซิง เชียงใหม่
พูดไปคุณอาจจะสำลักก๋วยเตี๋ยวหมี่เกี๊ยวที่ทานอยู่
เพราะก๋วยเตี๋ยวชามแรกของผม ราคาชามละ ๕๐ สต.
จากที่เคยทานชามละ ๕๐ สต. วันนี้ชามละเกือบ ๕๐ บาทแล้ว
โลกเปลี่ยนไปไวแบบนี้เองนะ
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ค่อยเปลี่ยนสำหรับก๋วยเตี๋ยว ก็คือ
เขายังเสิร์ฟแบบร้อนๆ พร้อมวางเครื่องปรุงไว้ให้
จะมาเป็นพวง หรือใส่กระปุกใส่ถ้วยเล็กๆวางบนโต๊ะก็แล้วแต่
อีกอย่างที่ไม่ค่อยเปลี่ยนคือ คนทาน
เวลาไปทานก๋วยเตี๋ยวหมี่เกี๊ยวอะไรเคยสังเกตไหม
ว่าพอได้ก๋วยเตี๋ยวมาวางตรงหน้า
คนทั่วไปจะรีบหันไปหาเครื่องปรุง แล้วใส่ๆ ใส่ๆ ใส่ๆ
บางคนใส่น้ำตาลเยอะจนชวนสงสัย
ว่าจะทานก๋วยเตี๋ยวหรือกล้วยบวชชี
บางคนใส่พริกเยอะจนชวนสงสัย
ว่ากระเพาะทำจากอะไร ทำไมทานเผ็ดขนาดนั้น
แต่ไม่ว่าจะปรุงด้วยสูตรไหน
๙ ใน ๑๐ ของนักปรุงที่ผมเห็น มักจะปรุงโดยไม่ชิม
ผมเองก็เคยเป็นหนึ่งในจำนวน ๙ คนที่ว่า
จนวันหนึ่ง จำไม่ได้ว่าเพราะอะไร ได้ทานก๋วยเตี๋ยวแบบไม่ปรุง
เลยค้นพบว่า ก๋วยเตี๋ยวเพียวๆเดิมๆของแต่ละร้าน
เขาก็จะมีรสมือของเขาอยู่แล้ว ยิ่งถ้าเป็นร้านฝีมือดีจริงๆ
เครื่องปรุงแทบจะไม่จำเป็นเลย
เคยถามตัวเองว่าเมื่อก่อนกินทีไร ปรุงทุกทีเพราะอะไร
ได้คำตอบว่าเพราะความเคยชิน และเพราะเชื่อว่าต้องปรุงถึงจะอร่อย
ทั้งเคยชินในการที่จะปรุงโดยอัตโนมัติ ตามสูตรที่เคยใส่
ทั้งเคยชินในการทานรสหวาน เปรี้ยว เผ็ด เค็ม แบบที่เราชิน
แล้วไม่ใช่แต่ในชามก๋วยเตี๋ยวหรอกครับ
ในชีวิตจริง ในจิตใจเรา ก็เคยชินที่จะปรุงจะแต่งเหมือนกัน
เพราะเราเคยชินที่จะเป็น ที่จะทำ ที่จะคิด ที่จะเชื่อ
มีอะไรเสิร์ฟเข้ามากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จิตมันจะปรุงแต่ง ให้ค่าไปตามความเคยชิน
ว่าอันนั้นดี อันนี้ชอบ อันนั้นไม่สวย อันนี้ไม่เท่
ความปรุงแต่งที่ละเอียด ดูยาก เห็นยากที่สุด
ไม่มีอะไรเกินความปรุงแต่ง ว่ากายใจนี้เป็นตัวเรา
ปรุงแต่งความเป็นตัวเป็นตนขึ้นมานาน จนเชื่อว่าเราเป็นอัตตา
เราคนนี้กับชาติที่แล้วและชาติหน้าเป็นคนเดียวกัน
เพราะไม่เคยเห็นความจริงว่า จิตมันเกิดดับ เกิดดับตลอดเวลา
มันมีแต่ความสืบเนื่องของเหตุและปัจจัยที่ปรุงแต่งอยู่
ความยึดมั่นถือมั่นสำคัญหมายผิดๆว่ามีตัวมีตน จึงยังมีอยู่
ของแบบนี้ครูบาอาจารย์ท่านว่า มันข้ามภพข้ามชาติเสียด้วยนะ
ถามว่าแล้วจะทำยังไง
ตอบว่าถ้าเรื่องก๋วยเตี๋ยว ก็ลองเริ่มจากตั้งสติ ชิมดูก่อนปรุง
จำเป็นก็ปรุงนิดๆหน่อยๆ ไม่จำเป็นก็ทานตามรสเดิมๆของเขานั่นแหละ
แต่ถ้าเรื่องจิตปรุงแต่ง ก็ฝึกเปลี่ยนความเคยชินใหม่
แทนที่จะไหลไปตามการปรุงแต่ง ให้มีสติรู้ทันว่าจิตปรุงแต่งอยู่
เห็นอะไรแล้วชอบใจ รู้ว่าใจชอบ ไม่ชอบใจรู้ทันว่าใจไม่ชอบ
ได้ยินอะไรแล้วขัดใจ รู้ว่าใจมันขัด ได้ยินแล้วเบิกบาน รู้ทันว่าใจเบิกบาน
ได้กลิ่นอะไรแล้วยินดี รู้ว่าใจยินดี ถ้าอี๋ก็รู้ทันใจที่อี๋อยู่
ได้รสอะไรทางลิ้นแล้วสุขใจ รู้ว่าใจเป็นสุข ทานแล้วทุกข์ใจ ก็รู้ว่าใจเป็นทุกข์
กายได้สัมผัสอะไรแล้วถูกใจ รู้ว่าถูกใจ ไม่ถูกใจรู้ว่าไม่ถูกใจ
ใจมีความรู้สึกอะไรที่พอใจ รู้ว่าพอใจ ไม่พอใจก็รู้ว่าไม่พอใจ
ทานก๋วยเตี๋ยว ถ้าปรุงมากไป ก็ทุกข์กาย ฉันใด
มีชีวิต ถ้าปรุงมากไป ก็ทุกข์ใจ ฉันนั้น
สุขสันต์วันที่ยังมีก๋วยเตี๋ยวให้ทานได้โดยไม่ต้องปรุงครับ
ปล. Follow twitter ผมได้ที่ @aston_ed ส่วน facebook คือ “aston27” ครับ