กสทช. เร่งแก้ปมคลื่นกวนการบิน คุมเข้มการต่ออายุไลเซนส์วิทยุทดลองออกอากาศ
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559
"กสทช." คลอด 2 ประกาศใหม่ คุมเข้ม 5,744 สถานีวิทยุทดลองประกอบกิจการ เน้นแก้ปัญหาคลื่นกวนวิทยุการบิน ขณะที่เรื่องร้องเรียนยังพุ่งสูงกว่า 1,600 กรณี กระทบชีวิตนักเดินทางด้วยเครื่องบินกว่า 103 ล้านคน/ปี แถมเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแล จี้ให้ยื่นขอต่อไลเซนส์เร็วขึ้นพร้อมแนบรายงานเทคนิค และเปลี่ยนวิธีคิดค่าธรรมเนียมวิทยุธุรกิจเป็นแบบขั้นบันไดตามจำนวนไลเซนส์ เจาะลึกถึงระดับผู้ถือหุ้น
นายภักดี มะนะเวศ รองเลขาธิการ สายงานกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 25 ส.ค.นี้ ประกาศ กสทช. 2 ฉบับใหม่ เกี่ยวกับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จะมีผลบังคับใช้ ได้แก่ ประกาศ หลักเกณฑ์ การกำกับดูแลการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง (ฉบับที่ 2) และหลักเกณฑ์ การวัดการแพร่แปลกปลอมของสถานีทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เพื่อแก้ปัญหาคลื่นวิทยุรบกวนการสื่อสารของวิทยุการบิน ซึ่งกระทบต่อความปลอดภัยด้านการบินของประเทศ
4 เดือนรบกวนการบิน 669 ครั้ง
ด้านนายสมเกียรติ แก้วไชยะ ผู้จัดการงานวิศวกรรมจราจรทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ปัญหาการรบกวนวิทยุการบิน ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้น ทั้งด้วยเที่ยวบิน ที่เพิ่มขึ้นและการเกิดขึ้นของสถานีวิทยุ แม้ช่วง 3 ปีนี้ การร้องเรียนเริ่มลดลงบ้างจากความพยายามเข้มงวดในการจัดระเบียบวิทยุทดลองประกอบกิจการ จาก 3,311 ครั้งในปี 2556 เป็น 2,267 ครั้งในปี 2557 และลดลงเหลือ 1,634 ครั้งในปีที่ผ่านมา ขณะที่ 4 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 669 ครั้ง แต่คาดว่าสิ้นปีน่าจะมีถึง 1,000 ครั้ง ยังถือ ว่าสูงและอันตรายต่อความปลอดภัยทางการบิน เพราะในปี 2558 มีผู้โดยสารเครื่องบินใน 35 ท่าอากาศยานของไทยรวมกันกว่า 103 ล้านคน
"ในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบสนามบินสุวรรณภูมิปัญหาหนักมาก ต้องเปลี่ยนคลื่นความถี่ที่ใช้สื่อสารอยู่ตลอด มีเสียงเพลงเสียงจากวิทยุ FM แทรกเข้ามาที่ห้องนักบินตลอดเวลาจนศูนย์ควบคุมการบิน คุยกับนักบินแทบไม่รู้เรื่อง เสี่ยงที่จะฟังพิกัดตัวเลขเส้นทางบินผิดพลาด และกระทบต่อการส่งสัญญาณระหว่างหอบังคับการกับอุปกรณ์นำร่อนในเครื่องบินด้วย"
นางปริตา วงศ์ชุตินาท ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม และเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ กสทช.กล่าวว่า ประกาศฉบับใหม่ได้เพิ่มเงื่อนไขการใช้คลื่นเพื่อป้องกันการรบกวนกิจการวิทยุการบินตามมาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จากเดิมมีการควบคุมแค่เครื่องส่งวิทยุ แต่ประกาศใหม่จะควบคุมสถานีทั้งหมด ตั้งแต่เครื่องส่งไปจนถึงที่ตั้งสายอากาศให้มีการแพร่สัญญาณตามเกณฑ์ และมีการกำหนดพื้นที่ควบคุมการแพร่แปลกปลอมที่จะทำให้เกิดการรบกวนคลื่น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงอุปกรณ์ต่างกัน
กลุ่มแรกคือ พื้นที่ปลอดการรบกวนการใช้คลื่นของท่าอากาศยาน ได้แก่ พื้นที่ 12 กิโลเมตรจากจุดพิกัดที่ตั้งของอุปกรณ์ระบบนำร่อน และทางวิ่งของอากาศยาน (Runway) ต้องปรับปรุงให้เสร็จภายใน 21 เดือน ก.พ. 2560
กลุ่มที่ 2 พื้นที่ภายในรัศมี 50 กิโลเมตร จากจุดพิกัดระบบควบคุมจราจรทางอากาศของสนามบินทั้ง 49 แห่ง และสถานีควบคุมจราจรทางอากาศอีก 21 แห่ง ซึ่ง 19 สนามบินหลักที่มีผู้โดยสารหนาแน่น อาทิ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ตรัง ผู้ประกอบการที่เข้าข่ายต้องปรับปรุงให้เสร็จภายใน 21 ก.พ. 2560 ขณะที่ในโซนสนามบินระดับรองอีก 23 แห่ง อาทิ นครพนม นราธิวาส สุโขทัย ต้องแก้ไขให้เสร็จภายใน 22 พ.ค. 2560 ส่วนโซนท่าอากาศขนาดเล็กอีก 7 แห่ง อาทิ ชลบุรี ลพบุรี สุรินทร์ ต้องปรับปรุงให้เสร็จภายใน 20 ส.ค. 2560 แบ่งกลุ่มตามกรอบเวลาเดียวกับกลุ่มที่ 3 คือสถานีวิทยุ ณ จังหวัดที่มีสนามบินหรือสถานีควบคุมจราจรทางอากาศ แล้วมีสถานีวิทยุ FM หลัก หรือสถานีวิทยุทดลองประกอบกิจการรายอื่นอยู่ภายในรัศมี 1 กิโลเมตร
แต่ถ้าอยู่นอกจังหวัดที่มีสนามบิน ต้องปรับปรุงให้เสร็จภายในวันที่ 20 ส.ค. 2560 เช่นเดียวกับสถานีวิทยุที่ไม่ข่ายกลุ่มใดเลย
"ประกาศ กสทช. ฉบับใหม่จะกำหนดผู้ทดลองประกอบกิจการต้องปรับปรุงแก้ไขการแพร่สัญญาณแปลกปลอมที่ออกจากสถานีวิทยุของตนเอง ตั้งแต่เครื่องส่งไปจนถึงสายอากาศ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนด และต้องจัดทำเป็นรายงาน เป็น 1 ในเอกสารที่ต้องใช้ในการต่ออายุใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการทุกปี"
ปรับค่าธรรมเนียมไลเซนส์
ขณะที่กระบวนการยื่นต่อใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ตามประกาศฉบับใหม่ ได้วางมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลสถานีวิทยุทดลองประกอบกิจการที่มีมากกว่า 5,000 แห่ง โดยนอกจากการตรวจสอบด้านเทคนิคเพื่อป้องกันคลื่นรบกวน ยังเร่งรัดให้ผู้รับใบอนุญาตต่ออายุไลเซนส์เร็วขึ้น จากเดิมระบุแค่ให้ต้องยื่นล่วงหน้าก่อนใบอนุญาตสิ้นสุด เป็นการกำหนดให้ต้องยื่นขอต่ออายุล่วงหน้าอย่างน้อย 120 วัน มิฉะนั้นจะต้องระงับการออกอากาศทันที ณ วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด และจะกลับมาออกอากาศใหม่ได้เมื่อกระบวนการต่ออายุไลเซนส์เสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับ ไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งการต่ออายุใบอนุญาตต้องทำก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นสุด หากพ้นไปแล้วต้องเข้าสู่กระบวนการขอรับใบอนุญาตใหม่ ซึ่งจะมีเอกสารมากขึ้นและต้องมีเงินค่าธรรมเนียมเพิ่ม 20% ของค่าดำเนินการพิจารณาการทดลองประกอบกิจการ โดยคิดเป็นรายวัน แต่ถ้าใบอนุญาตหมดไปแล้ว 6 เดือน จะถือว่าไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการทดลองประกอบกิจการวิทยุได้อีกต่อไป
ส่วนการพิจารณาจัดเก็บค่าดำเนินการพิจารณาการทดลองประกอบกิจการ ได้ปรับให้เป็นธรรมและประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น โดยในส่วนของกิจการบริการสาธารณะและชุมชน ที่มีข้อจำกัดในการหารายได้ยังจัดเก็บในอัตราคงที่เหมือนเดิมคือ กิจการบริการชุมชน 500 บาท/สถานี กิจการบริการสาธารณะ 2,000 บาท
ในส่วนของกิจการบริการธุรกิจ ที่สามารถหารายได้จากการโฆษณาได้ เปลี่ยนจากอัตราคงที่สถานีละ 10,000 บาท มาจัดเก็บในอัตราก้าวหน้า คือ หากนิติบุคคลใดถือใบอนุญาตเพียง 1 สถานี จะจ่ายค่าธรรมเนียม 10,000 บาท แต่ถ้าถือ 2 ใบอนุญาต จ่าย 22,000 บาท ถือ 3 ใบอนุญาต 35,000 บาท เป็นขั้นบันไดไปจนถึง 10 ใบอนุญาตที่ 200,000 บาท โดยจะมีการพิจารณาไปที่ถึงผู้ถือหุ้นด้วยว่าได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลรายอื่นด้วยหรือไม่ เพื่อคำนวณเป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย
ปัจจุบันจำนวนสถานีวิทยุที่ได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการจาก กสทช.มีทั้งหมด 5,744 แห่ง แบ่งเป็นกลุ่มที่ออกอากาศได้ตามปกติ 4,474 แห่ง เป็นวิทยุบริการธุรกิจ 3,444 แห่ง บริการสาธารณะ 778 แห่ง บริการชุมชน 252 แห่ง ส่วนอีก 1,270 แห่ง โดนระงับการออกอากาศเป็นการชั่วคราว เนื่องจากยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตทำ ใช้ เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคมให้แล้วเสร็จ
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า 32,29)
กสทช. เร่งแก้ปมคลื่นกวนการบิน คุมเข้มการต่ออายุไลเซนส์วิทยุทดลองออกอากาศ
กสทช. เร่งแก้ปมคลื่นกวนการบิน คุมเข้มการต่ออายุไลเซนส์วิทยุทดลองออกอากาศ
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559
"กสทช." คลอด 2 ประกาศใหม่ คุมเข้ม 5,744 สถานีวิทยุทดลองประกอบกิจการ เน้นแก้ปัญหาคลื่นกวนวิทยุการบิน ขณะที่เรื่องร้องเรียนยังพุ่งสูงกว่า 1,600 กรณี กระทบชีวิตนักเดินทางด้วยเครื่องบินกว่า 103 ล้านคน/ปี แถมเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแล จี้ให้ยื่นขอต่อไลเซนส์เร็วขึ้นพร้อมแนบรายงานเทคนิค และเปลี่ยนวิธีคิดค่าธรรมเนียมวิทยุธุรกิจเป็นแบบขั้นบันไดตามจำนวนไลเซนส์ เจาะลึกถึงระดับผู้ถือหุ้น
นายภักดี มะนะเวศ รองเลขาธิการ สายงานกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 25 ส.ค.นี้ ประกาศ กสทช. 2 ฉบับใหม่ เกี่ยวกับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จะมีผลบังคับใช้ ได้แก่ ประกาศ หลักเกณฑ์ การกำกับดูแลการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง (ฉบับที่ 2) และหลักเกณฑ์ การวัดการแพร่แปลกปลอมของสถานีทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เพื่อแก้ปัญหาคลื่นวิทยุรบกวนการสื่อสารของวิทยุการบิน ซึ่งกระทบต่อความปลอดภัยด้านการบินของประเทศ
4 เดือนรบกวนการบิน 669 ครั้ง
ด้านนายสมเกียรติ แก้วไชยะ ผู้จัดการงานวิศวกรรมจราจรทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ปัญหาการรบกวนวิทยุการบิน ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้น ทั้งด้วยเที่ยวบิน ที่เพิ่มขึ้นและการเกิดขึ้นของสถานีวิทยุ แม้ช่วง 3 ปีนี้ การร้องเรียนเริ่มลดลงบ้างจากความพยายามเข้มงวดในการจัดระเบียบวิทยุทดลองประกอบกิจการ จาก 3,311 ครั้งในปี 2556 เป็น 2,267 ครั้งในปี 2557 และลดลงเหลือ 1,634 ครั้งในปีที่ผ่านมา ขณะที่ 4 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 669 ครั้ง แต่คาดว่าสิ้นปีน่าจะมีถึง 1,000 ครั้ง ยังถือ ว่าสูงและอันตรายต่อความปลอดภัยทางการบิน เพราะในปี 2558 มีผู้โดยสารเครื่องบินใน 35 ท่าอากาศยานของไทยรวมกันกว่า 103 ล้านคน
"ในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบสนามบินสุวรรณภูมิปัญหาหนักมาก ต้องเปลี่ยนคลื่นความถี่ที่ใช้สื่อสารอยู่ตลอด มีเสียงเพลงเสียงจากวิทยุ FM แทรกเข้ามาที่ห้องนักบินตลอดเวลาจนศูนย์ควบคุมการบิน คุยกับนักบินแทบไม่รู้เรื่อง เสี่ยงที่จะฟังพิกัดตัวเลขเส้นทางบินผิดพลาด และกระทบต่อการส่งสัญญาณระหว่างหอบังคับการกับอุปกรณ์นำร่อนในเครื่องบินด้วย"
นางปริตา วงศ์ชุตินาท ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม และเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ กสทช.กล่าวว่า ประกาศฉบับใหม่ได้เพิ่มเงื่อนไขการใช้คลื่นเพื่อป้องกันการรบกวนกิจการวิทยุการบินตามมาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จากเดิมมีการควบคุมแค่เครื่องส่งวิทยุ แต่ประกาศใหม่จะควบคุมสถานีทั้งหมด ตั้งแต่เครื่องส่งไปจนถึงที่ตั้งสายอากาศให้มีการแพร่สัญญาณตามเกณฑ์ และมีการกำหนดพื้นที่ควบคุมการแพร่แปลกปลอมที่จะทำให้เกิดการรบกวนคลื่น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงอุปกรณ์ต่างกัน
กลุ่มแรกคือ พื้นที่ปลอดการรบกวนการใช้คลื่นของท่าอากาศยาน ได้แก่ พื้นที่ 12 กิโลเมตรจากจุดพิกัดที่ตั้งของอุปกรณ์ระบบนำร่อน และทางวิ่งของอากาศยาน (Runway) ต้องปรับปรุงให้เสร็จภายใน 21 เดือน ก.พ. 2560
กลุ่มที่ 2 พื้นที่ภายในรัศมี 50 กิโลเมตร จากจุดพิกัดระบบควบคุมจราจรทางอากาศของสนามบินทั้ง 49 แห่ง และสถานีควบคุมจราจรทางอากาศอีก 21 แห่ง ซึ่ง 19 สนามบินหลักที่มีผู้โดยสารหนาแน่น อาทิ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ตรัง ผู้ประกอบการที่เข้าข่ายต้องปรับปรุงให้เสร็จภายใน 21 ก.พ. 2560 ขณะที่ในโซนสนามบินระดับรองอีก 23 แห่ง อาทิ นครพนม นราธิวาส สุโขทัย ต้องแก้ไขให้เสร็จภายใน 22 พ.ค. 2560 ส่วนโซนท่าอากาศขนาดเล็กอีก 7 แห่ง อาทิ ชลบุรี ลพบุรี สุรินทร์ ต้องปรับปรุงให้เสร็จภายใน 20 ส.ค. 2560 แบ่งกลุ่มตามกรอบเวลาเดียวกับกลุ่มที่ 3 คือสถานีวิทยุ ณ จังหวัดที่มีสนามบินหรือสถานีควบคุมจราจรทางอากาศ แล้วมีสถานีวิทยุ FM หลัก หรือสถานีวิทยุทดลองประกอบกิจการรายอื่นอยู่ภายในรัศมี 1 กิโลเมตร
แต่ถ้าอยู่นอกจังหวัดที่มีสนามบิน ต้องปรับปรุงให้เสร็จภายในวันที่ 20 ส.ค. 2560 เช่นเดียวกับสถานีวิทยุที่ไม่ข่ายกลุ่มใดเลย
"ประกาศ กสทช. ฉบับใหม่จะกำหนดผู้ทดลองประกอบกิจการต้องปรับปรุงแก้ไขการแพร่สัญญาณแปลกปลอมที่ออกจากสถานีวิทยุของตนเอง ตั้งแต่เครื่องส่งไปจนถึงสายอากาศ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนด และต้องจัดทำเป็นรายงาน เป็น 1 ในเอกสารที่ต้องใช้ในการต่ออายุใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการทุกปี"
ปรับค่าธรรมเนียมไลเซนส์
ขณะที่กระบวนการยื่นต่อใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ตามประกาศฉบับใหม่ ได้วางมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลสถานีวิทยุทดลองประกอบกิจการที่มีมากกว่า 5,000 แห่ง โดยนอกจากการตรวจสอบด้านเทคนิคเพื่อป้องกันคลื่นรบกวน ยังเร่งรัดให้ผู้รับใบอนุญาตต่ออายุไลเซนส์เร็วขึ้น จากเดิมระบุแค่ให้ต้องยื่นล่วงหน้าก่อนใบอนุญาตสิ้นสุด เป็นการกำหนดให้ต้องยื่นขอต่ออายุล่วงหน้าอย่างน้อย 120 วัน มิฉะนั้นจะต้องระงับการออกอากาศทันที ณ วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุด และจะกลับมาออกอากาศใหม่ได้เมื่อกระบวนการต่ออายุไลเซนส์เสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับ ไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งการต่ออายุใบอนุญาตต้องทำก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นสุด หากพ้นไปแล้วต้องเข้าสู่กระบวนการขอรับใบอนุญาตใหม่ ซึ่งจะมีเอกสารมากขึ้นและต้องมีเงินค่าธรรมเนียมเพิ่ม 20% ของค่าดำเนินการพิจารณาการทดลองประกอบกิจการ โดยคิดเป็นรายวัน แต่ถ้าใบอนุญาตหมดไปแล้ว 6 เดือน จะถือว่าไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการทดลองประกอบกิจการวิทยุได้อีกต่อไป
ส่วนการพิจารณาจัดเก็บค่าดำเนินการพิจารณาการทดลองประกอบกิจการ ได้ปรับให้เป็นธรรมและประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น โดยในส่วนของกิจการบริการสาธารณะและชุมชน ที่มีข้อจำกัดในการหารายได้ยังจัดเก็บในอัตราคงที่เหมือนเดิมคือ กิจการบริการชุมชน 500 บาท/สถานี กิจการบริการสาธารณะ 2,000 บาท
ในส่วนของกิจการบริการธุรกิจ ที่สามารถหารายได้จากการโฆษณาได้ เปลี่ยนจากอัตราคงที่สถานีละ 10,000 บาท มาจัดเก็บในอัตราก้าวหน้า คือ หากนิติบุคคลใดถือใบอนุญาตเพียง 1 สถานี จะจ่ายค่าธรรมเนียม 10,000 บาท แต่ถ้าถือ 2 ใบอนุญาต จ่าย 22,000 บาท ถือ 3 ใบอนุญาต 35,000 บาท เป็นขั้นบันไดไปจนถึง 10 ใบอนุญาตที่ 200,000 บาท โดยจะมีการพิจารณาไปที่ถึงผู้ถือหุ้นด้วยว่าได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลรายอื่นด้วยหรือไม่ เพื่อคำนวณเป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย
ปัจจุบันจำนวนสถานีวิทยุที่ได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการจาก กสทช.มีทั้งหมด 5,744 แห่ง แบ่งเป็นกลุ่มที่ออกอากาศได้ตามปกติ 4,474 แห่ง เป็นวิทยุบริการธุรกิจ 3,444 แห่ง บริการสาธารณะ 778 แห่ง บริการชุมชน 252 แห่ง ส่วนอีก 1,270 แห่ง โดนระงับการออกอากาศเป็นการชั่วคราว เนื่องจากยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตทำ ใช้ เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคมให้แล้วเสร็จ
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า 32,29)