วันนี้(10 มิ.ย.) มีรายงานว่า พบบ้านโบราณอายุประมาณ 170 ปี ตั้งอยู่ในพื้นที่ต.บ้านควน อ.เมือง จ.สตูล จากนั้น นายธงไชย สารอักษร วัฒนธรรมจังหวัดสตูล พร้อมนางสุชาดา ทุ่งหว้า นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ เจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ น.ส.ธนิสรา พุ่มผะกา นักโบราณคดีปฏิบัติการ และนายฉลาด แก้วพูล นายช่างศิลป์กรชำนาญการ ของสำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา ลงพื้นที่มาดู บ้านหลังดังกล่าว มีอายุเท่ากับจังหวัดสตูลที่มีมานานยุคสมัยเจ้าผู้ครองนครสโตยพระยาภูมินารถภักดี หรือมหาอำมาตย์ตรีพระยาภูมินารถภักดี และในปัจจุบันมีนายภินันท์ ฮะอุรา อายุ 70 ปีเป็นผู้ดูแลรักษาไว้
นายภินันท์ ฮะอุรา อายุ 70 ปี เผยว่า บ้านหลังนี้เป็นของบรรพบุรุษ ประวัติบ้านหลังนี้มีเรื่องเล่าว่า มีคนมาก่อสร้างเป็นชาวอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นบ้านที่ทำในยามกลางคืน ตามโบราณถือมาเป็นแบบนั้น ส่วนบ้านหลังนี้บ้างก็ว่าใช้เงินหลวงสมัยก่อนสร้าง แต่เมื่อสืบเรื่องราวพบใช้เงินส่วนตัวสร้าง และทางต้นตระกูลนั้นสร้างบ้านทรงแบบนี้ บริเวณบ้านหลังนี้เคยใช้เป็นที่ประหารนักโทษที่ทำผิดในสมัยก่อน ชิ้นส่วนของบ้านที่สร้างนำมาจากมะละกา ตั้งแต่กระเบื้องหลังคาทำจากดินมีลวดลาย ทรงอินโดผสมผสานมาเลเซียแต่ปัจจุบันเปลี่ยนใหม่เนื่องจากชำรุด
นางสุชาดา ทุ่งหว้า นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า บ้านหลังนี้สมัยมหาอำมาตย์ตรีพระยาภูมินาถภักดีเป็นผู้ให้สร้าง ขึ้นมาไว้ใช้ทำราชการ เหมือนเป็นศูนย์ร้องทุกข์ชาวบ้าน หากชาวบ้านเดือนร้อนให้มาที่นี่ และบ้านหลังนี้สมัยก่อนมีของโบราณทั้งทะเบียนสมรสโบราณ เครื่องใช้โบราณ แต่ปัจจุบันหายบ้าง ถูกขโมยบ้าง จนเจ้าของบ้านไปเก็บไว้ที่อื่น ส่วนบ้านนี้ทรงปันหยาหรือเรียกกันว่าทรงมลายูและ การมาของทีมคณะศิลปากรนั้น เพื่อมาเก็บข้อมูลนำเสนอและนำไปเป็นบ้านคู่ควรแก่การอนุรักษ์เพื่อขึ้นเป็น บ้านเก่าแก่เป็นโบราณสถานในความดูแลของกรมศิลปากรต่อไป
ที่มา ข่าวสด
MThai News
ตะลึง! พบบ้านโบราณ เคยใช้เป็นแดนประหารนักโทษ อายุกว่า 170 ปี
นายภินันท์ ฮะอุรา อายุ 70 ปี เผยว่า บ้านหลังนี้เป็นของบรรพบุรุษ ประวัติบ้านหลังนี้มีเรื่องเล่าว่า มีคนมาก่อสร้างเป็นชาวอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นบ้านที่ทำในยามกลางคืน ตามโบราณถือมาเป็นแบบนั้น ส่วนบ้านหลังนี้บ้างก็ว่าใช้เงินหลวงสมัยก่อนสร้าง แต่เมื่อสืบเรื่องราวพบใช้เงินส่วนตัวสร้าง และทางต้นตระกูลนั้นสร้างบ้านทรงแบบนี้ บริเวณบ้านหลังนี้เคยใช้เป็นที่ประหารนักโทษที่ทำผิดในสมัยก่อน ชิ้นส่วนของบ้านที่สร้างนำมาจากมะละกา ตั้งแต่กระเบื้องหลังคาทำจากดินมีลวดลาย ทรงอินโดผสมผสานมาเลเซียแต่ปัจจุบันเปลี่ยนใหม่เนื่องจากชำรุด
นางสุชาดา ทุ่งหว้า นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า บ้านหลังนี้สมัยมหาอำมาตย์ตรีพระยาภูมินาถภักดีเป็นผู้ให้สร้าง ขึ้นมาไว้ใช้ทำราชการ เหมือนเป็นศูนย์ร้องทุกข์ชาวบ้าน หากชาวบ้านเดือนร้อนให้มาที่นี่ และบ้านหลังนี้สมัยก่อนมีของโบราณทั้งทะเบียนสมรสโบราณ เครื่องใช้โบราณ แต่ปัจจุบันหายบ้าง ถูกขโมยบ้าง จนเจ้าของบ้านไปเก็บไว้ที่อื่น ส่วนบ้านนี้ทรงปันหยาหรือเรียกกันว่าทรงมลายูและ การมาของทีมคณะศิลปากรนั้น เพื่อมาเก็บข้อมูลนำเสนอและนำไปเป็นบ้านคู่ควรแก่การอนุรักษ์เพื่อขึ้นเป็น บ้านเก่าแก่เป็นโบราณสถานในความดูแลของกรมศิลปากรต่อไป
ที่มา ข่าวสด
MThai News