บันทึกบทที่ 4 ตามหารากเหง้า เล่าความหลัง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล คฤหาสน์กูเด็น อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ถนนสตูลธานี ซอย 5 ตรงข้ามกับสำนักงานที่ดินจังหวัดสตูล เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น อาคารเป็นตึกแบบตะวันตก ประตูหน้าต่างรูปโค้งสถาปัตยกรรมยุโรป
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล คฤหาสน์กูเด็น ถูกสร้างขึ้นในแบบหลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยและใช้กระเบื้องดินเผารูปกาบกล้วย บานหน้าต่างเป็นแผ่นไม้ชิ้นเล็กๆ เป็นเกล็ดแนวนอน ช่องลมหน้าบนตกแต่งรูปดาวสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม สร้างเมื่อ พ.ศ.2441 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459 โดยพระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกูบาฮารุดดินบินตำมะหงง (กูเด็น บินกูแม๊ะ) เจ้าเมืองสตูลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

คฤหาสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ไม่ได้ประทับแรม และเคยเป็นบ้านพักและศาลากลางจังหวัด ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมโบราณวัตถุและจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของชาวสตูลในด้านต่าง ๆ

รูปทรงสวยงามมากๆ ผ่านการปรับปรุงซ่อมแซมมาแล้ว ถ้าเกิดต้องเปลี่ยนไปกว่านี้คงหมดความงามไปเยอะ

ภายในจริงๆ ไม่อนุญาติให้ถ่ายภาพน่ะครับ ครั้งนี้ผมไปในนามของทีมช่างภาพที่บันทึกประวัติศาสตร์สตูลเลยได้เป็นกรณีพิเศษ

หน้าต่างบานประตูซุ้มประตูออกแบบงามมาก

บันไดส่วนหน้าเมื่อสมัยก่อนจะไม่อนุญาติให้สตรีเดินขึ้นมาเพราะถือกันว่าต้องให้ผู้ชายเป็นผู้นำขึ้นเท่านั้น

ผสมผสานวัฒนธรรม เรือไม้ตะเคียนขุด ที่นี่มีมุสลิมเยอะกว่าพุทธ บ้านหลังนี้ก็มีเจ้าของเก่าเป็นมุสลิม แต่เรือลำนี้ขุดพบแล้วนำมาไว้ที่นี่มีการทาแป้งผูกผ้าแสดงถึงความเชื่อของศาสนาอื่นชัดเจน

ผู้ดูแลเดินขึ้นมาชั้น2 เพื่อเปิดไฟ ผมเห็นแล้วรีบเดินตามขึ้นมาขณะคนอื่นอยู่ชั้น1 ภาพที่ได้คือสิ่งที่คิดไว้แต่แรก

จับจังหวะได้กดทันทีได้ดั่งหวัง แสงลอดบานเกล็ดโบราณที่ทำด้วยไม้เมื่อยกขึ้นแล้วพับก้านจับมันจะล๊อคในตำแหน่งที่ต้องการโดยไม่ต้องมีกลอนเลย

รีบวิ่งมาด้านหลังจับเฟรมนี้อิอิฟินจริงๆ

ว่าวควาย ไม่ต้องดัดจริตเรียกว่าวกระบือน่ะ ลวดลายที่ประดับและบรรจงเขียนช่างงดงามยิ่งนัก

ปกติว่าวชนิดนี้จะมีคันธนูอยู่ด้ายหลังเวลาติดลมบนจะมีเสียงร้องดังมาก เหมือนควายเรียกหาแม่เลยทีเดียว

การจัดแสดงดูหลวมๆ แต่ผมว่าดูดีมาก เพราะจะได้ไม่บังความงามของอาคารเก่า

การลงทองลวดลายสวยงามจริงๆ ให้ดูแบบชัดๆ

พระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกูบาฮารุดดินบินตำมะหงง (กูเด็น บินกูแม๊ะ) เจ้าเมืองสตูลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จำลองข้าวของเครื่องใช้ท่านเจ้าเมือง

แสงลงมาสวยพอดีอิอิ

เครื่องใช้ชาวบ้านสมัยก่อนใช้บดยาบดเครื่องเทศ

อันนี้คงไม่ต้องบอกมีใครไม่รู้จักไหม เกราะคล้องคอควาย เพื่อเวลาควายเดินไปไหนเจ้าของจะได้รู้ว่าอยู่ตรงไหน

เล่นกันสนุกเลยเทคโนโลยีภูมิปัญญาเมื่อสมัยก่อนสุดยอดจริงๆ จับยกแล้วพับ เปิดปิดบานเกร็ดไม้

แล้วก็ไปต่อถนนประวัติศาสตร์ วงเวียนหอนาฬิกา

บ้านเก่าสถาปัตยกรรมชิโนโปตุกีส แต่ปรับปรุงไปแบบสุดๆแล้ว จนแทบไม่เหลือเค้าเดิม





แล้วก็มาต่อที่มัสยิดกลางสตูลหรือมัสยิดมำบัง
ตั้งอยู่บริเวณมุมถนนบุรีวานิชและถนนสตูลธานี กลางเมืองสตูล เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตนกูมูฮำหมัดอาเก็ม) เป็นเจ้าเมืองสตูล ชื่อมำบังตั้งตามชื่อเมืองสตูลในสมัยนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้จัดสร้างลักษณะรูปทรงมัสยิดเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ตัวอาคารสีขาวตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบหินอ่อนและกระจกใส ตัวอาคารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนนอกเป็นระเบียง มีบันไดขึ้นหอคอย ลักษณะเป็นยอดโดม สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองสตูลได้ ส่วนในเป็นห้องโถงใหญ่ใช้เป็นที่ละหมาด ชั้นล่างมีห้องใต้ดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จทรงเปิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2525










แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่